สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อนุสรณ์ อุณโณ: ตายอย่างไรให้ไม่ตาย



Mon, 2010-11-01 20:03

อนุสรณ์ อุณโณ


นักปราชญ์ทางพุทธศาสนามักอาศัยความตายเป็นเครื่องเตือนสติ พวกเขาชี้ว่าชีวิตนี้ไม่มีแก่นสารและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นักปราชญ์บางรายเสนอว่ามนุษย์ควรเรียนรู้ที่จะตายก่อนตาย เพื่อว่าเมื่อถึงเวลาตายจะได้ตายอย่างไม่ทุกข์ ความตายสามารถเป็นสุขได้หากเรารู้เท่าทัน

สังคมศาสตร์เสนอวิธีการรู้เท่าทันความตายเช่นเดียวกันแต่ว่าเป็นในอีก ลักษณะ ในทางสังคมศาสตร์ ความตายไม่ได้ถูกนับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงชีวภาพ แต่มีสถานะเป็นความเป็นจริงทางสังคมอย่างหนึ่งที่มีความหมาย แต่ความหมายของความเป็นจริงข้อนี้ไม่ได้ตกที่ตัวผู้ตาย หากแต่อยู่ที่ตัวผู้อื่นซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความตายในฐานะการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพส่งผลกระทบต่อการจัดความสัมพันธ์ของ ผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม ของผู้ตาย หลายคนตายไปโดยแทบจะไม่มีใครสนใจ แต่ความตายของบางคนส่งผลต่อคนที่มีชีวิตอยู่อย่างมหาศาล หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นความตายชนิดที่ไม่ตาย

ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ด้วยการผูกคอตายกับสะพานลอยคนข้ามบริเวณใกล้กับสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังที่จอดอยู่บริเวณ ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า เขาระบุสาเหตุของการฆ่าตัวตายไว้ในจดหมายว่า เป็นเพราะต้องการลบคำสบประมาทของนายทหารรองโฆษกคณะรัฐประหารที่ว่าไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้ความตายของเขาจึงไม่เพียงแต่สั่นคลอนโวหารที่ผูกขาดความกล้าหาญและความเสีย สละไว้กับบุคคลในเครื่องแบบเพียงไม่กี่คนไม่กี่กลุ่ม หากแต่ยังท้าทายสถาบันจารีตที่ผูกขาดความจงรักภักดีด้วยการเสนอว่าหลักการ อื่นๆ เช่น ความเสมอภาค และความเป็นธรรม ก็สามารถเป็นหลักยึดของผู้คนในแผ่นดินนี้ได้ไม่แพ้กัน

ความตายของ ลุงนวมทองส่งผลกระทบในวงกว้าง คนธรรมดาหาเช้ากินค่ำจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแม่ค้า คนทำความสะอาด คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง หรือว่าคนขับรถแท็กซี่ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอาชีพกับเขา เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารโดยมีความตายของเขาเป็นความทรงจำร่วม ปัญญาชนหลายคนก้าวออกมาท้าทายการใช้อำนาจดิบหยาบของรัฐบาลอย่างเข้มแข็งมาก ขึ้น โดยมีความกล้าหาญและความเสียสละของเขาเป็นสิ่งเปรียบเทียบ การจัดกิจกรรมรำลึก วีรชนประชาธิปไตยซึ่งเคยกระจุกตัวอยู่ที่นักศึกษา ปัญญาชน และผู้นำประชาชน ได้ขยายครอบคลุมคนธรรมดาสามัญโดยมีเขาเป็นปฐมบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณถนนราชดำเนิน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมามีการจัดทำประติมากรรมส่วนบนของเขาเพื่อจะนำไป ติดตั้งเป็นการถาวร ความตายของเขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความเสียสละที่คนธรรมดา สามัญสามารถแบ่งปันได้ และเป็นครั้งแรกที่ความตายของคนธรรมดาสามัญได้รับการจดจำอย่างกว้างขวางใน กลุ่มของผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและความเปลี่ยนแปลง

ในทางกลับกัน ความตายของคนสำคัญหรือผู้อยู่ในอำนาจส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยน แปลง พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชนชั้นนำในสังคมวัฒนธรรมต่างๆ มักมีเป้าหมายที่การกระชับข่ายความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ดำรงอยู่ หรือเพื่อสร้างหลักประกันว่าการเปลี่ยนผ่านอำนาจจะเกิดขึ้นอย่างราบรื่น คติความเชื่อและสัญลักษณ์ต่างๆ มักถูกใช้เพื่อตอกย้ำอาญาสิทธิ์และความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ ผู้อยู่ใต้ปกครองจะถูกเกณฑ์มาทั้งในส่วนของการใช้แรงงานและการเข้าร่วมแสดง ความจงรักภักดี ขณะที่ในเอเชียอาคเนย์สมัยที่อาณาจักรต่างๆ สัมพันธ์กันในเชิงบรรณาการ เจ้าผู้ครองนครหรือแคว้นเล็กมีพันธกรณีต้องเข้าร่วมพิธีศพของเจ้าผู้ครอง แคว้นใหญ่และเครือญาติ นอกเหนือไปจากการส่งส่วย ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง รวมทั้งเสบียงอาหารและไพร่พลยามศึกสงคราม นอกจากนี้ ผู้ปกครองในสังคมร่วมสมัยยังมักกำหนดให้มีการจัดพิธีรำลึกความตายของผู้ที่ อยู่ในข่ายอำนาจเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีกิจวัตรในการเป็นศูนย์กลางในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของผู้ซื่อ สัตย์ เพื่อตอกย้ำความจงรักภักดีของผู้อยู่ใต้การปกครอง

สังคมไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและผู้อยู่ในอำนาจต่างก็พากันกังวลว่าจะ ประคองตัวเองให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้อย่างไร พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายจึงถูกพวกเขาใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงและความท้าทายครั้งนี้ ภาพยนตร์และละครอิงประวัติศาสตร์ที่เน้นความจงรักภักดีของราษฎรอย่างพลีกาย ถวายชีวิตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นกรณีพิเศษ ความตายของชาวบ้านบางระจันที่ต้องการปกป้องทรัพย์สินและบ้านเรือนของพวกเขา ถูกหมายความเป็นการปกป้องชาติบ้านเมืองหรืออาณาจักรอยุธยา ขณะเดียวกันผู้อยู่ในอำนาจก็หยิบเลือกความตายของผู้อยู่ใต้ปกครองที่เกื้อ หนุนสถานภาพพวกเขามายกย่องสรรเสริญ การเสียชีวิตของสมาชิกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้รับการยกย่องเชิด ชูว่าเป็นการเสียสละเพื่อชาติ และมีการจัดพิธีศพให้อย่างโอ่อ่า แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการตายจะยังไม่กระจ่างชัด ความตายของทหารในช่วงการล้อมปราบกลุ่มคนเสื้อแดงก็ได้รับการยกย่องเชิดชู อย่างมากแม้จะยังคงมีความครุมเครืออยู่เช่นกัน ทหารเหล่านี้ได้รับการเลื่อนชั้นยศเป็นกรณีพิเศษ พิธีศพของพวกเขาถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และความตายของพวกเขาได้รับการแซ่ซ้องสดุดี เพื่อเป็นเครื่องชี้ว่าความซื่อสัตย์และจงรักภักดีเหล่านี้จะได้รับการตอบ แทนอย่างที่สุด

เพราะเหตุนี้ นอกจากมรณานุสติตามหลักพุทธศาสนา การรำลึกถึงความตายของลุงนวมทองจึงต้องวางอยู่บนบริบททางการเมืองที่เขาเกี่ยวพันอยู่ด้วยลุงนวมทองเลือกที่จะตายก่อน ตายเพื่อที่จะได้ไม่ตายอย่างไร้ความหมาย เขาต้องการให้ความตายของเขาหมายถึงการไม่ยอมจำนนต่ออำนาจที่ฉ้อฉลและ อยุติธรรมที่กำลังพยายามหาทางออกให้กับตัวเองท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ผู้อยู่ในอำนาจเห็นความตายของเขาเป็นภัยคุกคาม จึงออกจะเพิกเฉย ไม่ปรากฏผู้มีอำนาจรายใดเดินทางหรือส่งพวงหรีดไปร่วมงานศพ หากเป็นไปได้พวกเขาต้องการให้ความตายของ ลุงนวมทองเป็นเรื่องของการฆ่าตัวตายของคนวิกลจริต สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน หรืออาจจะอาศัยกาลเวลาช่วยให้เรื่องราวของเขาลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้คน ในสังคม จึงเป็นพันธกรณีของผู้ที่อยู่ข้างหลังเช่นเราว่าจะทำอย่างไรให้ความตายของ เขาไม่สาบสูญ ทำอย่างไรให้ความหมายของความตายของเขายังคงมั่นและดังกึกก้องไปทั่ว มารำลึกถึงความตายของ ลุงนวมทองร่วมกัน

หมายเหตุ: บทความตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน ในหนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชนปีที่ 1 ฉบับที่ 9 (29 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น