สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: ตอนที่ 3 บทสรุปโครงสร้างผู้พิพากษา


Fri, 2010-11-05 16:10

ประเวศ ประภานุกูล

ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม : ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม; ตอนที่ 3 บทสรุปโครงสร้างผู้พิพากษา

อย่างที่กล่าวแล้ว ระบบของศาลได้สร้างเครือข่ายที่ทำให้ผู้พิพากษาระดับสูงมีสายใยต่อผู้พิพากษาระดับล่างสายใยเหล่านี้ไม่เพียงผู้พิพากษาที่ยังทำงานอยู่ ผู้พิพากษาที่เกษียรแล้วก็ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้อบรมเคยเป็นอาจารย์ฝึกงานภาคปฏิบัติ เคยเป็นหัวหน้าศาล nเคยเป็นผู้พิพากษาระดับบริหารของผู้พิพากษาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สายใยที่ยังส่งต่อถึงผู้พิพากษา? หากผู้พิพากษาที่เกษียณแล้วไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทหรือเปิดสำนักงานทนายความคดีความของบริษัทที่มีอดีตผู้พิพากษาเป็นที่ปรึกษาหรือที่จ้างสำนักงานทนายความของอดีตผู้พิพากษาคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะเชื่อมั่นในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้?

หากอดีตผู้พิพากษาที่เกษียณเป็นอาจารย์บรรยายกฎหมายของเนติบัณฑยสภาเป็นอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องมีผลงานทางวิชาการมากมายบุคคลเช่นนี้ย่อมมีสายใยมากถึงขั้นเป็น "บารมี"หากรับเป็นที่ปรึกษาของผู้ประกอบการธุรกิจการค้าที่มีคดีความขึ้นสู่ศาลเป็นประจำจะมีผลต่อคดีที่บริษัทนั้นมีอยู่หรือไม่?

กรณีที่เป็นรูปธรรมนาย ป.ซึ่งคนรุ่นผมรุ่นอายุ 50 ปี ลงมาและเคยเรียนเนติน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เขาเป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เกษียรแล้วปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับบริษัทที่ประกอบการค้าแห่งหนึ่งรวมถึงธนาคาร ก. ซึ่งมีคดีความในศาลเป็นปกติตามสภาพการประกอบธุรกิจการค้า(ประชาไทพิจารณาใช้ชื่อย่อบุคคลเนื่องจากปัญหาทางกฎหมาย)

ได้ยินมาว่าปัจจุบัน นายป.ยังคงเป็นอาจารย์บรรยายกฎหมายเนติอยู่คำถามคือ

มีผู้พิพากษาที่ยังปฏิบัติงานอยู่กี่คนเคยเป็นนักศึกษาเนติที่ฟังการบรรยายของนาย ป.

มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นลูกศิษย์อบรมภาคทฤษฎีของนาย ป.

มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นลูกศิษย์การฝึกงานของนาย ป.

มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นผู้พิพากษาภายใต้การบริหารงานของนาย ป.

เช่นนี้การที่ธนาคาร ก. มีนาย ป. เป็นที่ปรึกษาไม่มีผลต่อคดีความในศาลที่มีธนาคารก. เกี่ยวข้องหรือเป็นคู่ความ???

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ตอนที่ 1 คงพอเห็นภาพได้ว่าศาลไทยมีความเป็นอิสระจริงหรือไม่เป็นกลางจริงหรือไม่ไม่สามารถแทรกแซงจริงหรือไม่

แน่นอนว่าไม่มีระบบที่สมบูรณ์แบบในโลกนี้มีแต่ระบบที่ดีพอดีพอในระยะเวลาหนึ่ง เท่านั้นแต่คำถามคือระบบนี้ดีพอในระยะเวลานี้หรือไม่

ปัญหาของระบบนี้อยู่ตรงไหน

กล่าวโดยสรุปปัญหาของระบบนี้มาจากกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นผู้พิพากษาและการเลื่อนตำแหน่ง

กระบวนการคัดเลือกคนที่ขึ้นอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียวเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในระบบอยู่แล้วระบบที่คัดคนที่มีความเห็นต่างออกไป

ที่สำคัญคือการเลื่อนตำแหน่งตราบใดที่มีการเลื่อนตำแหน่งก็ย่อมมีคนปราถนาตำแหน่งสูงขึ้นมีคนที่มีอำนาจตัดสินให้ใครได้เลื่อนตำแหน่งไม่มีทางทำให้ทุกคนที่อาวุโสถึงได้เลื่อนตำแหน่งครบทุกคนไม่มีทางสร้างระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ "ไม่ต้องมีคนตัดสินใจ"

ถึงเวลาปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้พิพากษาหรือยัง

ถึงเวลาหรือยังที่ต้องยกเลิกการเลื่อนตำแหน่ง

ถึงเวลาหรือยังที่การเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาต้องเชื่อมโยงกับประชาชนและให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระโดยไม่มีการเลื่อนตำแหน่ง

ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมีการถ่วงดุลผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยการนำระบบลูกขุนมาใช้

ถึงเวลาหรือยังที่ศาลต้องเชื่อมโยงกับประชาชนด้วยการนำระบบลูกขุนมาใช้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: (1) ความเป็นมาและโครงสร้างผู้พิพากษาของศาลไทย

บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: (2) โครงสร้างผู้พิพากษา..อิสระ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น