เมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน ณ ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) จัดเสวนาเรื่อง "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านแบบไทยๆ"
นาย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ตัวแทนคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คปอ.) และ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ไม่ค่อยมีใครสนใจมามองเรื่องความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ มองว่าระบบความยุติธรรมช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศต่างๆ เราจะสามารถหยิบฉวยนำเอามาตรการใดมาใช้กับประเทศเราได้บ้างในสภาพความขัด แย้งของบ้านเรามาปรับใช้ให้เหมาะสม
ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
ประเด็น แรก เรื่อง ความยุติธรรมช่วงเปลี่ยนผ่านมาเทียบกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติว่ามันมี เหมือนและต่างกันอย่างไร เรื่องความยุติธรรมช่วงเปลี่ยนผ่านมีมานานแล้วในยุคแรกเป็นเรื่องของศาล อาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในต่างประเทศ เช่นในกรีซช่วง 1975 ต้นยุค 80 ช่วงแรกจะเห็นว่าการจะมีกระบวนการยุติธรรมปกติ เข้าไปจัดการปัญหาเรื่องสงครามความขัดแย้งที่มีการสูญเสียในการเปลี่ยนผ่าน เชิงอำนาจสูงมาก ซึ่งกระบวนการยุติธรรมใหม่กลุ่มผู้ชนะจะเข้าไปจัดการ
ต่อ มาในปี 80-90 มีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยในประเทศยุโรปและมีการเปิดไปสู่ประเทศใหม่ๆ เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านจากช่วงที่มีเผด็จการอาจจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างมากนำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน ช่วงหลังกลไกด้านความยุติธรรมอาจจะไม่เพียงพอในการจัดการปัญหาสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงหลายเรื่องเพราะขนาดของปัญหาคนที่ถูกละเมิด เยอะมาก มีผู้กระทำความผิด เป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับรัฐมิติของปัญหามีความซับซ้อนมากมาย
โดยความยุติธรรมของศาลปกติไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะเข้ามาดำเนินการจัดการได้ ทั้งในแง่ของข้อจำกัดที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐซึ่งกรอบการค้นหาความ จริงไม่ได้มองกว้างไปถึงสาเหตุของปัญหา ทั้งในเรื่องของการที่สังคมนั้นอาจจะไม่ได้มีแนวความคิดเรื่องการลงโทษอย่าง เดียวมาใช้เพราะในที่สุดต้องอยู่ร่วมกัน มีเรื่องการดูแลเหยื่ออย่างครบกระบวนการซึ่งกระบวนการยุติธรรมปกติคงไม่ได้ คิดถึงเรื่องนั้น เรื่องการพัฒนาโครงสร้างสถาบันเพื่อผลักดันประชาธิปไตย และต้องชั่งระหว่างการใช้แนวคิดเรื่องการลงโทษ การดำเนินคดีอาญาอย่างเดียว การประคับประคองประชาธิปไตยเพื่อให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้
ใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้
แนว คิดต่างๆเหล่านี้ทำให้กระบวนการยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านไม่ใช่กฎหมายอย่าง เดียว แต่มันเป็นเรื่องของมาตรการวิธีการ กระบวนการในการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีข้อจำกัดทำให้กระบวนการยุติธรรมปกติมีข้อขัดข้องมากมายที่ไม่อาจนำมา ใช้ได้อย่างเหมาะสม เป็นกรอบที่ถือว่าเป็นหัวใจเบื้องต้นในประเทศที่มีความขัดแย้งต่างกันแต่เรา จะพบว่าจะมีข้อจำกัดในกระบวนการยุติธรรมปกติไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง
ประเด็น ที่สอง มาตรการที่นำมาใช้มองย้อนตั้งแต่อดีตจะเห็นว่ากลุ่มของมาตรการมี 4-5 เรื่องด้วยกัน แต่ละเรื่องไม่ได้แยกกันต้องใช้ผสมผสานกัน เช่น เรื่องการฟ้องคดีผู้ละเมิดตอนแรกเน้นเรื่องการนำผู้กระทำมารับผิดชอบโดยโดย ตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นธรรม แต่ก็มีกระบวนการที่ใหม่ขึ้นในกระบวนการสร้างยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น การตั้งองค์กรตรวจสอบความจริง ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาจจะไม่ได้เป็นองค์กรกฎหมายเพื่อจะมาลงโทษแบบศาล อาจจะเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ หรือองค์กรที่ไม่มีอำนาจทางด้านตุลาการเข้าไปค้นหาความจริงในช่วงเวลาซึ่ง กว้างกว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ยก ตัวอย่างเหตุการณ์ในเมืองไทยช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม คณะกรรมการตรวจสอบความจริงอาจจะไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงในเหตุการณ์นั้น เหมือนกับเป็นคณะกรรมการไต่สวน ซึ่งองค์กรตรวจสอบความจริงนี้จะเข้าไปในช่วงเวลาที่กว้างกว่าเพื่อตรวจสอบ ความจริง ความจริงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงใครไปทำความรุนแรงในนั้น แต่เข้าไปดูในส่วนที่ว่าทำไมความรุนแรงแบบนี้ถึงเกิดขึ้น ทำไมคนทั่วไปที่ไม่ใช่อาชญากรถึงมาฆ่ากันทั้งสองฝ่าย การเข้าไปสำรวจถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะนำมาสู่การเข้าในสถานการณ์ต่างๆและข้อเสนอในการดำเนินการ
กระบวนการยุติธรรมทั่วไปผู้เสียหายเหมือนคนชายขอบ
ประเด็น ที่สาม เรื่องการเยียวยา เพราะว่ากระบวนการยุติธรรมทั่วไปผู้เสียหายเหมือนคนชายขอบจะไม่มีใครสนใจมาก นัก แต่พอพูดเรื่องผู้มีอำนาจรัฐใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชนคนกลุ่มใหญ่ จึงมีแนวคิดเรื่องการเยียวทั้งด้านจิตใจ ทรัพย์สินเงินทอง และทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้มากที่สุด อันนี้เป็นส่วนใหญ่ของแนวคิดเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเยียวยา
ประเด็น ที่สี่ เรื่อง การนำเสนอทางออกที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ กระบวนการปรองดอง ในที่สุดคนเหล่านี้ถ้ามีผู้มีอำนาจรัฐเคยปกครองอยู่ ยกตัวอย่างประเทศ แอฟริกาใต้ วันหนึ่งถูกจับไปด้วยข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดูถูกสีผิว ถ้าใช้วิธีการฟ้องกันแบบปกติสังคมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ฉะนั้นแนวคิดเรื่องความปรองดองและการอยู่ร่วมกันได้จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะโยงเรื่อง การแก้แค้นด้วย
"นอก จากนี้ยังต้องนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปองค์กรในเรื่อง ระบบทหาร ระบบตำรวจซึ่งอาจจะรวมทั้งศาลด้วย จะปรับอย่างไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น"
แค่ ลืมหรือเฉยๆทำไม่รู้ไม่ชี้อาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา
ประเด็น สุดท้าย คือ เรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย สิ่งที่พูดมาอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องของนักกฎหมายเป็นเรื่องของกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเดียวแล้ว เพราะถ้าพูดถึง"justice" เดิมความหมายอาจจะแคบในเรื่องของศาล กระบวนการยุติธรรม แนวคิดเชิงกฎหมาย มีหลายประเด็นที่ต้องคิดอยู่ในใจ ต้องเอากระบวนการที่หลากหลายที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ว่าจะทำอย่างที่จะนำมาจัดการให้สังคมก้าวข้ามเหตุการณ์นั่นไปโดยไม่ลืม เพราะการลืมหรือเฉยๆทำไม่รู้ไม่ชี้อาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา เพราะอาจจะนำไปสู่ การที่ทำให้เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นอีก
เรื่อง องค์กรตรวจสอบความจริงกลไกพื้นฐานสำคัญที่ต้องค้นหาความจริงในช่วงเวลากว้าง ขวางในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องเริ่มด้วยการค้นหาความจริง เมื่อเชื่อว่ามีความจริงเกิดขึ้นแล้ว ต้องมีกระบวนการที่นำไปสู่ความยุติธรรม แนวคิดของคนทั่วไป คือว่า มันไม่มีสันติภาพถ้าไม่มีความยุติธรรม แต่ในกระบวนการค้นหาความจริงอาจจะมีตัวเพิ่มขึ้นมาเพราะความจริงมันจะนำไป สู่การแก้แค้นในเชิงฟ้องคดีอาญาทุกคนที่เกิดขึ้น มันอาจจะไม่สามารถสร้างสันติภาพได้จริง
อย่าง พวกก่ออาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืน ละเมิดสิทธิคนอื่น ถ้าถูกลงโทษตัวเขาเองอาจจะสำนึกผิด แต่ถ้าเกิดจากเรื่องความขัดแย้งทางแนวคิดทางการเมืองแล้วนำไปสู่การเข่นฆ่า กัน ทั้งสองฝ่ายโดยพื้นฐานจะไม่ได้เป็นอาชญากร แต่สถานการณ์เหล่านั้นทำให้คนต้องทำ ถามว่าผิดไหม ผิด แต่เขาต้องรับผิดชอบ ในการรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สังคมคิดว่าเขาจะรับผิดชอบอย่างไรถึงจะเหมาะสม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสมานฉันท์ เพราะการลงโทษในเชิงแก้แค้นอาจจะไม่ใช่ทางออกเพียงทางเดียว
ถ้า เหยื่อถ้าสังคมร่วมกันรับรู้มีความสำนึกผิดแล้วมีกระบวนการที่ต้องรับผิดชอบ อย่างเหมาะสม แล้วเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายหาทางออกมันอาจจะนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนกว่า ก็ได้ แต่กระบวนการทั้งหมดมันไม่มีทางลัด ไม่มีการเริ่มต้นแล้วบอกว่าปรองดองกันไหม แล้วญาติคนที่เสียชีวิตก็จะต้องมีคำถามว่าทำอะไรกันหรือ คุณได้มาร่วมเสี่ยงภัยเรียกร้องความไม่ยุติธรรมกับเราหรือไม่ แล้วมีสิทธิอะไรจะมาเรียกร้องความปรองดอง
ดัง นั้นกระบวนการต่างๆข้ามไม่ได้จริงถ้าไม่มีการค้นหาความจริงทุกอย่างต้อง สัมพันธ์กัน พวกเราแต่ละคนไม่มีสิทธิตอบแต่ทุกคนในสังคมต้องร่วมกันคิดอาจจะเป็นสิ่งใหม่ สำหรับพวกเรา และคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ประเทศไทยก้าวข้าม เหตุการณ์เหล่านี้แล้วเริ่มต้นใหม่ที่มีบทเรียนแล้วรู้ว่าสิ่งที่เราผิดพลาด คืออะไรแล้วก้าวเดินต่อไป
ยอมรับ ไม่แน่ใจว่าจะเปลี่ยนระบอบได้สำเร็จ
"ใน กรณีของประเทศไทย ผมคิดว่ามันไม่ชัดตั้งแต่ต้นไม่แน่ใจด้วยว่ารัฐบาลที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา จะสามารถตั้งคณะกรรมการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความจริงได้ตั้งแต่ต้น หรือไม่ ถ้าทิศทางการปรองดองไม่ชัดตั้งแต่ต้น ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าจะตั้งขึ้นมาเพื่อไต่สวนเหตุการณ์ครั้งนั้น หรือตั้งขึ้นมาเพื่อหาทางออกให้สังคม ผมยังไม่แน่ในว่าท่านคิดอย่างไร แต่ผมรู้อย่างหนึ่งว่า ท่านประธาน คอป. ท่านคณิต (นายคณิต ณ นคร) ไม่ต้องการมาเป็นผู้ไต่สวนไม่ต้องการมาชี้นิ้วว่าใครผิดในสถานการณ์แบบนี้ ที่ยังสับสนหาทางออกไม่ได้
คอ ป.ตั้งเป้าว่า การตั้งคณะกรรมการแบบนี้ขึ้นมาในช่วงเวลาแบบนี้ที่ยังขัดแย้งอยู่มันยาก ตั้งแต่ต้น เพราะภาพของผู้ขัดแย้งผลงานของกรรมการชุดนี้ต่างกัน ความไว้วางใจของคณะกรรมการชุดนี้ติดลบมาทั้งแต่แรกเพราะตั้งโดยผู้ขัดแย้ง ทำให้หลายๆฝ่ายอาจจะไม่อยากเข้ามาร่วม อันนี้เป็นความจริงที่ต้องคิด เมื่อถามว่าจำเป็นต้องปรองดองก่อนหรือไม่ถึงจะตั้งคณะกรรมการได้ โดยส่วนตัวผมไม่แน่ใจเรื่องการเปลี่ยนระบอบอะไรหรือเปล่า แต่มองว่าเรื่องปรองดองไม่ได้มองที่พลลัพธ์อย่างเดียว ปรองดองเป็นกระบวนการ"
หาก ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งแล้วเกิดกระบวนการในการปรองดองทุกวันจะคืบหน้า ไปได้ คือชุดที่ 1. คณะกรรมการต้องพยายามค้นหาความจริง 2. ชุดเยียวยาจำเป็นต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สร้างพื้นที่ให้พวกเขาได้สื่อสาร เป็นตัวแทนในการระบายสิ่งที่เขาอึดอัด 3.การมีองค์ความรู้ที่จะตอบถึงรากเหง้าของปัญหาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และชุดที่ 4.ที่ผมดำเนินการเองคือเรื่องปรองดอง ตั้งเป้าง่ายๆว่าทำอย่างไรที่จะลดการฆ่ากันให้ได้มากที่สุด ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่สุด หมายความว่าเราเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่าย
"ผม เชื่อว่าถ้ามีทิศทางที่ชัดเจนเป็นภาพร่วมกันของสังคมถ้าเราจะก้าวเดินไปสู่ หนทางปรองดองร่วมกันเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีตเป็นบทเรียนคนที่ทำอะไรผิดพลาด ต้องรับผิดชอบอย่างเหมาะสม ถ้ามีความรับผิดชอบร่วมกันกลไกนี้อาจจะไม่ต้องถึงขั้นเปลี่ยนระบอบอาจจะทำ ให้สังคมก้าวข้ามสถานการณ์แบบนี้ไปโดยไม่สูญเสีย"
สังคมไทยเป็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตย
รศ.ดร. ศรีประภา เพชรมณี ศูนย์มนุษยชนศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ต้องเข้าใจว่าเมื่อพูดถึงความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านมันไม่ใช่ความ ยุติธรรมพิเศษ แต่มันเป็นความมยุติธรรมที่นำมาปรับใช้กับสังคมที่เปลี่ยนผ่านหลังจากช่วง เวลาของความขัดแย้งหลังจากที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันอย่างรุนแรงเหมือน หลายประเทศ ถ้าเรามองความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านไม่รู้จะพูดถึงสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะสังคมไทยไม่ได้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แม้ไม่ได้เกิดสงครามแต่ภาพที่ปรากฏก็ไม่ต่างกับสงคราม ดังนั้นจะบอกว่าความยุติธรรมหลังความขัดแย้งคงไม่ได้
ความ ยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านจะมีรูปแบบของบางประเทศที่เกิดขึ้นหลังจากการ ปกครองแบบเผด็จการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย สังคมไทยก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น แต่สังคมไทยเป็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตยซึ่งยังดำรงอยู่ อย่างไรก็ตามความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านมันไม่ได้เป็นกระบวนการที่จะสนอง ตอบอย่างเป็นระบบต่อควมขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยที่จะต้องมีการ ยอมรับว่า เหยื่อที่เกิดจากความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยมีกลุ่ม หนึ่งที่ยอมรับว่ามีเหยื่อความขัดแย้ง แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่ยอมรับว่ามีเหยื่อที่เกิดขึ้น
ความ พยายามในการสร้างความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านต้องทำให้ได้เพื่อให้เกิด ความปรองดองเพื่อให้สร้างประชาธิปไตย คำถามว่าขณะนี้มีความพยายามที่จะสร้างสิ่งนี้ในสังคมหรือไม่
ความ ยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยต้องอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งรัฐไทยได้รักษา พันธกรณีที่เคยให้ไว้หรือไม่
ข้อ ที่หนึ่ง หามาตรการในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยนไม่ให้เกิดขึ้นอีก ซึ่งรัฐไทยยังไม่ได้หาทางป้องกันไม่ให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก รัฐไทยยังมีเครื่องมือที่ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย ในเชิงนโยบายเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง เหล่านี้คือเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่มาตรการในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ข้อ ที่สอง การตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดขึ้น รัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จ จริง ดูมีข้อจำกัดที่ยังไม่ได้ทำกันอย่างกว้างขวาง และมีหลายส่วนรวมทั้ง ศปช.เองพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน แต่ทำอย่างไรที่จะให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้หาข้อเท็จจริงกับความ จริง เพราะความจริงอาจจะมีหลายความจริงก็ได้
ข้อจำกัดของสังคมไทย คนผิดลอยนวล
ข้อ ที่สาม ลงโทษผู้ที่กระทำผิดเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่าที่ ผ่านมา ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นไม่ว่าสมัยใดก็ตาม รัฐไทยไม่เคยมีความพยายามที่จะลงโทษผู้ที่กระทำผิด เพราะฉะนั้นเป็นข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ข้อ ที่สี่ หาทางเยียวยาในความเสียหายให้กับเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำง่ายที่สุด แต่อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด ในปัจจุบันอาจจะมีเหยื่อจำนวนหนึ่งที่อาจจะไม่ได้รับการเยียวยา เพราะการเยียวยาไม่ได้หมายความว่าชดเชยด้วยรูปตัวเงิน แต่การเยียวยาที่ดีที่สุดคือการเยียวยาด้านจิตใจ ซึ่งปัจจุบันไม่มีความพยายามทำมากนัก
นอก จากนี้มีหลักการหนึ่งที่สหประชาชาติรับรองว่า การไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวล ซึ่งกรรมการชุดนี้พูดถึงเหยื่อที่มีสิทธิสามประการด้วยกัน ประเทศไทยได้มีการหันมามองสิทธิของเหยื่อเหล่านั้นหรือไม่ สิทธิอย่างแรกคือ สิทธิที่จะรู้ความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น และเข้าถึงความจริง ตรงนี้เหยื่อในสังคมไทยไม่มีสิทธิเข้าถึงความจริงและรู้ความจริง สองสิทธิที่จะเข้าถึงความยุติธรรมตรงนี้ก็ขาดหายไปในสังคมไทย เมื่อพูดถึงความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านในสังคมไทยหากข้ามตรงนี้ไปเรื่อง ของความยุติธรรมคงเป็นไปไม่ได้ สามสิทธิในการได้รับการชดเชยและเยียวยา
ประเด็น สำคัญเรื่องความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านมีเป้าหมายในหลายๆเรื่องด้วยกัน โดยการเปรียบเทียบว่าประเทศไทยนำไปสู่เป้าหมายเหล่านั้นหรือไม่
เป้า หมายประการแรก การพยายามจัดการเยียวยาปัญหาความแตกแยกความขัดแย้งการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทย มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน แต่กรรมการเหล่านี้จะแก้ไขความขัดแย้งในสังคมได้หรือไม่ ไม่แน่ใจ
เป้า หมายประการที่สอง เพื่อปิดฉากความขัดแย้งแล้วสมานบาดแผลความขัดแย้งของแต่ละคนและสังคมโดยการ บอกกล่าวความจริง แต่การบอกกล่าวความจริงในสังคมไทยยังไม่เคยเกิดขึ้น รวมทั้งครั้งนี้ด้วย
เป้า หมายประการที่สาม ให้ความเป็นธรรมความยุติธรรมแก่เหยื่อรวมทั้งให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบด้วย ประเทศไทยไม่เคยมีความยุติธรรมและให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบได้เลยแม้แต่ครั้ง เดียว
เป้าหมายประการที่สี่ บันทึกประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้ เพราะว่าสังคมไทยมีความพยายามที่จะบิดเบือนประวัติศาสตร์ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนก็ตามการบันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่
เป้าหมาย ประการที่ห้า ฟื้นฟูความเป็นนิติรัฐ ประเทศที่ปกครองด้วยนิติรัฐจะไม่ใช้กฎหมายทำลายหลักนิติรัฐเด็ดขาดมีการพูด กันว่าประเทศไทยปกครองโดยหลักนิติรัฐ ซึ่งตรงนี้คงไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง
สถาบันความมั่นคง ถ้าไม่มีการปฏิรูป ความยุติธรรมไม่เกิด
เป้า หมายประการที่หก การปฏิรูปสถาบันต่างๆ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแต่การปฏิรูปไม่เกิดขึ้นและไม่ แน่ใจว่าคณะกรรมการปฏิรูปที่ตั้งขึ้นมาจะเข้าไปแตะต้องหรือไม่ ในการปฏิรูปสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ในหลายๆประเทศถือว่าเป็นเรื่องหลัก เพราะสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงถ้าไม่มีการปฏิรูปความยุติธรรมคงไม่ เกิดขึ้น ประเทศไทยการปฏิรูปสถาบันเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เป้า หมายประการที่เจ็ด ให้หลักประกันว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะไม่เกิดขึ้นอีก ปัจจุบันไม่มีหลักประกันและการละเมิดยังมีอยู่โดยทั่วไป
เป้า หมายประการที่แปด การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆครอบครัว จนถึงชุมชนและระดับชาติ ไม่แน่ใจว่าครอบครัวที่แตกแยกเป็นสีๆมีความพยายามจะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่
ดัง นั้นเมื่อกล่าวถึงความยุติธรรมที่พูดกันทั่วไปจะเข้าใจกันสองแบบ คือ หนึ่ง การนำคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมกระบวนการศาลปกติธรรมดา เข้าคุกไป สามารถทำได้ลงโทษแก้ไขพฤติกรรมคนทำผิดซึ่งไม่ใช่หลักประกันเสมอไป กับ แบบที่สองเน้นการสร้างความสัมพันธ์ใหม่การสร้างความยุติธรรมจากการฟื้นฟู อะไรบางอย่างเป็นการสร้างสัมพันธ์ใหม่ระหว่างปัจเจกชนในชุมชมและสังคม
ข้อ จำกัดของแบบแรกจะมีปัญหาหลายประการพยายามนำคนผิดมาลงโทษมีข้อจำกัดเน้นไปที่ ผู้กระทำผิดแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหยื่อ กระบวนการทางศาลอาจจะทำให้คนที่เป็นเหยื่อรู้สึกเป็นเหยื่อมากขึ้น เพราะต้องมาให้การในศาลให้ข้อเท็จจริงหลายครั้งจนรู้สึกเหมือนว่าถูกลงโทษ ในศาลอาญาต้องมีการตัดสินผิดถูกการตัดสินแบบนี้การจะได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ครบถ้วนคงไม่มีใครสารภาพทั้งหมด เพราะถ้ายิ่งสารภาพมากเท่าไรยิ่งจะทำให้ถูกลงโทษมากด้วย การใช้กระบวนการแบบนั้นไม่มีโครงสร้างตรวจสอบสถาบันซึ่งความจริงเป็นราก เหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อ จำกัดแบบที่สองเน้นการสร้างความสัมพันธ์ใหม่การสร้างความยุติธรรมจากการ ฟื้นฟูอะไรบางอย่าง ในสังคมไทยอย่างน้อยสองกลุ่มไม่มีโอกาสได้มานั่ง มาพูดคุยกันมาสนทนากัน
ฉะนั้น กระบวนการความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าความยุติธรรมความปรองดองไม่ได้เกิดจากคนทั้งสองฝ่ายที่กล่าวถึง นอกจากนี้สังคมไทยยังไม่มีการพูดถึงการซ่อมแซมความเสียหาย แก้ไขถึงรากเหง้า การให้ทุกฝ่ายมีโอกาสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การเยียวยาความเจ็บปวดโดยการขอและให้อภัย ผู้กระทำก็ไม่ได้ลุกขึ้นมาขอโทษ และถ้าไม่มีการขอโทษก็ไม่มีการอภัย
เขียนโดย Go6 TV ที่ 15:06
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น