Mon, 2010-11-15 14:50
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ผมไม่มีเรื่องใหม่มาเสนอ แต่ขอถือโอกาสที่การเมืองของเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกของไทยมีความเคลื่อนไหว เอาเรื่องเก่าคาใจมาทวงถาม
การปล่อยตัวอองซาน ซูจี หลังการเลือกตั้งในสหภาพพม่าเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เป็นแผนการสร้างภาพประชาธิปไตยให้กับพม่าและรัฐบาลพม่าใต้เงื้อมมือกองทัพ ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้น เพื่อหวังจะคุยกับประเทศอื่นๆ ในประชาคมโลกได้บ้าง และเชื่อได้ว่า หากเสรีภาพของนาง
เรื่องนักโทษการเมืองที่มาจากความคิดต่าง ไม่ว่าจะโดยถูกกฎหมาย หรือโดยอำนาจของศาลนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะมันขัดและแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างที่สุด เราจึงเห็นประเด็นการกดดันให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองในทุกประเทศทั่วโลก เป็นประเด็นหลักขององค์การนิรโทษกรรมสากล และขณะที่โลกเฝ้าดูและยินดีกับการปล่อยตัวนาง
แต่ข่าวสารความเป็นไปในประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกของไทยนั้น มันไม่ได้โลดแล่นอย่างปราศจากความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย เพราะไม่ว่าเราจะเรียกคนเสื้อแดงจำนวนมาก และแกนนำ นปช. ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำของบ้านเราในเวลานี้ว่าอย่างไร 'ผู้ก่อการร้าย' หรือ 'ผู้ต้องคดีอาญา' ด้วยอำนาจจากคำสั่งของศาล แต่สาระสำคัญ ความผิดที่เขาถูกกล่าวหา และต้องกล่าวหา ก็มีฐานมาจากความคิดต่างทางการเมืองทั้งสิ้น
จำนวนมากพิสูจน์ตัวเองมาตลอดว่า ไม่เคยมีความคิดจะใช้ความรุนแรงด้วยวิธีใดๆ จำนวนมากเคยพูดจาปราศรัยที่ดูเหมือนเป็นการยุยงให้ใช้ความรุนแรงทำลาย ทรัพย์สิน กระนั้น เราต่างรู้ว่า มันเป็นกลวิธีในการปราศรัย ที่ทุกคนที่ฟังล้วนแต่ชัดเจนว่า เป็นแค่มุข และจำนวนมาก ไม่เคยแม้แต่จะพูด ไม่เคยแม้แต่จะคิด หรือกระทั่งไม่เคยแม้แต่จะไปร่วมชุมนุม
มิหนำซ้ำ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีและตัดสินแล้วนั้น รัฐก็ไม่เคยพิสูจน์ได้ว่าใครคือผู้กระทำความรุนแรงนั้น มีแต่การใช้อำนาจตามกฎหมายที่ชี้ว่าเขาทำ ด้วยคำสั่งของศาล ที่ 'เชื่อว่า-เห็นว่า-วินิจฉัยว่า-พิพากษาว่า' แม้เราจำต้องยอมรับในคำพิพากาษา แต่จำนวนมากคดีที่ไม่เคยทำให้เกิดการยอมรับ หรือทำให้เกิดสภาพ 'ธรรมอันเป็นที่ยุติ' ได้เลย
ในประเทศพม่า กองทัพและรัฐบาลย่อมไม่เรียกนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังว่า 'นักโทษการเมือง' เช่นเดียวกับบ้านเราที่กองทัพและรัฐบาลก็ไม่เรียกเช่นนั้น สื่อ ประชาชนส่วนหนึ่งก็ไม่เรียกเช่นนั้น เพราะจะอย่างไรก็ยังสนับสนุนรัฐบาลและกองทัพอยู่ หรือไม่เช่นนั้นก็มองและเห็นฝ่ายผู้ชุมนุมอย่างปราศจากความเข้าใจ เราจึงไม่เห็น นักโทษการเมืองในประเทศไทย เมื่อไม่เห็นก็ไม่เกิด 'กระแส'
แต่นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่า ไม่มีนักโทษการเมืองในประเทศไทย
ดังนั้น ในขณะที่โลกกำลังกดดันพม่าให้ปล่อยนักโทษการเมือง ผู้มีความละอายต่อบาปย่อมตระหนักได้ถึงภาวะที่คล้ายๆ กัน นั่นคือ โลกก็กดดันไทยด้วย เพียงแต่น้ำหนักที่ให้นั้นเบาบางกว่า แต่ยิ่งพม่าลดความกดดันเรื่องนี้ลงเท่าไร ไทยก็จะเป็นเป้าสายตามากขึ้นเท่านั้น
เราอาจจะมีข้อถกเถียงจำนวนมากถึงความผิดที่แกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ถูกคุมขังอยู่ในเวลานี้ แต่ถามกันแบบสามัญสำนึกดูเถิดว่า ท่านเชื่อจริงๆ หรือว่า แกนนำ นปช.และคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมอยู่ในเวลานี้เป็นผู้ก่อการร้ายที่สมควรถุก คุมขังอยู่นานเกือบ 6 เดือนแล้ว เหมือนกับที่เราเคยตั้งคำถามนั่นแหละว่า เราเชื่อจริงๆ หรือว่า แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ปิดสนามบินนั้นเป็นผู้ก่อการ ร้าย
หลายคนที่ถูกคุมขังอยู่ในเวลานี้ เป็นได้อย่างมากก็แค่นักการเมือง ที่จะอย่างไรก็หวังคะแนนนิยม และไม่มีทางที่จะมีแรงจูงใจจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับอำนาจรัฐ
กล่าวสำหรับการปรองดอง รัฐพึงเข้าใจด้วยว่า 'คนเสื้อแดง' นั้นไม่เคยได้สิ่งที่เขาเรียกร้องเลยสักข้อ ข้อเรียกร้องให้ 'ล้มอำมาตยฯ' นั้น ไกลเกินหวัง และเปลี่ยนมาเป็นให้ประชาชนตัดสินอนาคตบ้านเมืองด้วย 'การยุบสภา' เลือกตั้งใหม่ ซึ่งพ่วงมากับข้อเรียกร้องความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงจากการ สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553
มาขณะนี้ เขาไม่ได้เรียกร้องอะไรมากมาย ทว่าเขากลับตะโกนก้องจากหัวใจด้วยเสียงอันแหบสนิท เรียกร้องในสิ่งที่เป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์อันสำคัญ คือเรียกร้องให้ปล่อยตัวเพื่อนของเขา ครอบครัวของเขา
รัฐไทยที่ใช้อำนาจอธิปไตยของเขา ทั้ง รัฐบาล รัฐสภา และศาล จะไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องอันเป็นหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของเจ้าของอำนาจ ที่แท้จริงบ้างเลยหรือ
แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร
เราเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาเหล่านั้น หรืออย่างน้อยก็ประกันตัวออกมาก่อน
เราไม่ได้เรียกร้องเพื่อให้ท่านเป็นวีรบุรุษปรองดอง ไม่ได้เรียกร้องท่านในฐานะนักการเมืองของประชาชน ไม่ได้เรียกร้องท่านในฐานะผู้สถิตความยุติธรรม เราแค่เรียกร้องให้ท่านได้ละอายต่อบาป และซือตรงต่อความรู้สึกของตัวเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น