สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักปรัชญาชายขอบ : ฆ่าด้วยความรัก

Wed, 2010-11-03 18:05

นักปรัชญาชายขอบ

ผมไม่ตั้งใจจะ แซงคิว ท่านพี่ ใบต้องแห้ง นะครับ ที่เขียนบ่อยก็ไม่ใช่เพราะว่างมาก แต่เจียดเวลานอนบ้าง วันหยุดบ้างมาเขียน แล้วมันก็อยากเขียนๆ เพราะความโศกเศร้ายังเกาะกินหัวใจ กลัวจะเป็นโรคซึมเศร้าเลยต้องระบายออกด้วยการเขียน ไม่ทราบว่าเมื่อไรเราจะก้าวผ่าน ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้า ไปได้

ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้าคือ ประวัติศาสตร์แห่งการฆ่าด้วยความรัก ผมครุ่นคิดซ้ำซากกับเรื่องที่พี่ (ขออนุญาตเรียก พี่ นะครับ) ใบตองแห้ง พูดออกทีวีเมื่อช่วงรำลึก 6 ตุลา ที่ผ่านมาว่า โมเดล ที่ใช้ปราบคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ก็คือโมเดลเดียวกันกับที่ใช้ปราบนักศึกษา เมื่อ 6 ตุลา แต่ทำไมอดีตนักศึกษา 6 ตุลาที่อยู่ฟากเสื้อเหลืองจึงเชียร์ให้ใช้โมเดลนี้กับคนเสื้อแดง ทั้งที่ตัวเองเคยเป็นฝ่ายถูกระทำมาก่อน คุณทำได้ยังไงๆๆ (พูดถึงตรงนี้พี่ใบตองแห้งร้องให้สะอื้นออกมาอย่างระงับอารมณ์ไม่อยู่)

ถ้า ไม่มีการอ้างความรักสถาบัน รัฐประหาร 19 กันยา 49 ไม่น่าจะเกิดขึ้น ถ้าไม่อ้างความรักสถาบัน การเรียกร้อง การเชียร์ การสั่งใช้กำลังทหารปราบประชาชนช่วง เมษา-พฤษภา 53 ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น และถ้าไม่ใช่การฆ่าในนามของความรักสถาบัน ผู้ฆ่า ผู้สั่งให้ฆ่า คงถูกคนทั้งสังคมประณามในทางศีลธรรม และถูกดำเนินการทางกฎหมายไปแล้ว

ความโศกเศร้าจาก การฆ่าด้วยความรัก มีแง่มุมซับซ้อน เช่น

หนึ่ง ความรักเป็นสิ่งงดงาม ความรักสถาบันใดสถาบันหนึ่งทางสังคมก็เป็นสิ่งงดงาม และ ความรัก ย่อมตรงข้ามกับ ความอำมหิต หากรักอย่างมีเหตุผลย่อมเข้าใจสัจธรรมที่ว่าสถาบันใดๆ จะดำรงอยู่ได้ก็ด้วย บุญคุณ ของประชาชน ฉะนั้น เมื่อเรารักสถาบันใดๆ ในสังคม เราต้องรักประชาชนที่ค้ำจุนสถาบันนั้นๆ ด้วย (เช่น ด้วยการเสียภาษี ฯลฯ)

ประชาชน คือเจ้าของสถาบันทางสังคม อย่าคิดว่าสถาบันใดๆ จะมีบุญคุณกับประชาชน เช่น รัฐบาลแจกถุงยังชีพ จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ไม่ใช่รัฐบาลมีบุญคุณต่อประชาชน เพราะสิ่งของ เงินที่ใช้ทั้งหมดมาจากการบริจาคและภาษีของประชาชน

จึง เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สังคมเรามีการเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกบุญคุณต่อสถาบันใดสถาบันหนึ่ง แต่ละเลยที่จะเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกในบุญคุณของประชาชน!

แถมยังยอมให้อ้างความรักอ้างบุญคุณของสถาบันเพื่อใช้ กำลังทหาร (ที่เลี้ยงชีวิต/มีชีวิตอยู่ได้/ไม่ตาย เพราะอาศัยเงินเดือนจากภาษีประชาชน) ปราบปรามประชาชนที่มาเรียกร้องสิทธิ อำนาจของเขา แค่ขอ เลือกตั้ง เท่านั้นเอง โดยผู้สั่งใช้กำลังทหารไม่ต้องแคร์ว่าใช้กองกำลังและอาวุธมากขนาดนั้น จัดการกับประชาชนมากขนาดนั้น เขาจะต้องบาดเจ็บล้มตายกันเท่าไร

สอง โศกเศร้ากับ ข้อเท็จจริง ที่เห็น คือ นักวิชาการ สื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ตบเท้าเข้ารับตำแหน่งที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร ออกทีวี เดินสายทั้งในและต่างประเทศไปอธิบายความชอบธรรมของรัฐประหาร

แต่ คนขับแท็กซี่พลีชีพเพื่อต้านรัฐประหาร คนขับมอเตอร์ไชค์รับจ้าง แม่ค้า กรรมกร ชาวนา ป้าแก่ๆ จากชนบทจำนวนมากออกมาเสี่ยงตายเรียกร้องประชาธิปไตย ประชาชนพวกนี้ก็ถูกประณามว่าไม่เอาสถาบัน เป็นทาสของคนที่จ้องล้มสถาบัน โดยสื่อ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชนชั้นนำนิ่งเฉยต่อการที่ประชาชนเหล่านี้ถูกประณาม!

สาม เศร้าโศกกับข้อตัดสินของคนมีการศึกษาในสังคมนี้ที่ว่า ระบอบทักษิณคือเผด็จการในคราบประชาธิปไตย แต่ระบอบอำมาตย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ตรวจสอบไม่ได้เป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรมที่จะขจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

สี่ เศร้าโศกกับวิธีคิดของปัญญาชนชั้นนำของประเทศ อย่างเช่น ประเวศ วะสี ยุค ศรีอาริยะ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ฯลฯ ที่พยายามประดิษฐ์ นวัตกรรมทางปัญญาพุทธ มาใช้อธิบายปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เช่น อ้าง กฎอิทัปปัจจยตา ว่า สรรพสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันเกิดขึ้น อ้างเหตุปัจจัยไปถึง ระบบโลก ทุนข้ามชาติ กระแสโลกาภิวัตน์ ฯลฯ เพื่อสรุปว่า รัฐประหาร 19 กันยา จำเป็นต้องเกิด เพราะมีเหตุปัจจัยหนุนเนื่องอย่างซับซ้อนและประจวบพร้อมให้ต้องเกิด

แต่จริงๆ คือ กฎอิทัปปัจจยตาในพุทธศาสนาหมายถึง กฎทั่วไป ที่บรรยายว่า สรรพสิ่งในธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกัน เมื่อนำกฎนี้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา กฎประยุกต์นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือ กฎที่ระบุสาเหตุที่เด่นชัดหรือแน่นอนในการเกิดทุกข์ (หรือการดับทุกข์) ในชีวิต ถ้าจะแก้ก็ต้องเจาะจงแก้ที่สาเหตุนั้น ไม่ใช่ต้องไปแก้เหตุปัจจัยอื่นๆ ครอบจักรวาล (เช่น อวิชชา ตัณหา เป็นสาเหตุที่แน่นอนหรือโดดเด่นของการเกิดทุกข์ในชีวิต ถ้าจะแก้ทุกข์ก็ต้องแก้ตรงๆ ที่สาเหตุนี้เป็นหลัก)

ฉะนั้น เมื่อประยุกต์กฎอิทัปปัจจยตา (ปฏิจจสมุปบาท) กับปัญหาประชาธิปไตย ก็ต้องระบุ สาเหตุที่โดดเด่นหรือแน่นอนที่เป็นอุปสรรคหรือหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตย ซึ่งสาเหตุที่โดดเด่นก็คือ รัฐประหาร โดยใช้โมเดลสถาบัน หรือการอ้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่ไปอ้างเหตุปัจจัยครอบจักรวาล แต่ไม่แตะสาเหตุจริงๆ ที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตยมาตลอด แล้วก็พยายามจะปฏิรูปอะไรต่ออะไรครอบจักรวาล แต่ไม่ชัดเจนว่า จะปฏิรูปกองทัพอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการใช้โมเดลสถาบันเพื่อทำรัฐประหาร และปราบปรามประชาชนอีก!

5. สุด ท้ายก็เศร้าอย่างยิ่งกับสังคมนี้ที่เอาแต่ประณามว่า นาย ก นาย ข จาบจ้วง หรือหมิ่นสถาบัน แต่ไม่ประณาม ไม่คิดจะเอาผิดกับคนที่นำสถาบันมาเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง อ้างสถาบันเพื่อแบ่งแยกคนในประเทศเป็นฝักฝ่าย

นาย ก นาย ข ที่บอกว่าเขาจาบจ้วงหรือหมิ่นฯ ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม ถ้ามีใครเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ ไม่ยุติธรรม ก็ต้องเอามาเถียงกันได้เพื่อแก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่อ้างการกระทำของนาย ก นาย ข เพื่อจะปิดปาก หรือใช้อำนาจควบคุมคนทั้งประเทศแบบเหมารวม หรืออ้างเพื่อยื่ดเวลาไม่ให้มีการเลือกตั้ง ฯลฯ

พูด อย่างตรงไปตรงมาถ้า นาย ก นาย ข หมิ่นฯ ก็จัดการตามกฎหมายเป็นรายๆ ไป ไม่ได้สร้างความแตกแยกแก่สังคมเหมือนกับการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการ เมือง ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐประหาร การปราบประชาชน

แต่ การอ้างความจงรักภักดีเพื่อใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมืองมักนำไปสู่ รัฐประหาร และการปราบปรามประชาชน เป็นความเสียหายมากกว่าการกระทำของ นาย ก นาย ข อย่างเทียบกันไม่ได้ มันจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนในสังคมไม่ประเมินปัญหาสองเรื่องนี้อย่าง เที่ยงธรรม!

ฉะนั้น แทนที่จะปฏิรูปจิตสำนึกใหม่ เราควร ปฏิรูปความรัก เพื่อหาแนวทางป้องกันอย่างถาวรว่า จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ฆ่าด้วยความรัก ในประเทศของเราอีกต่อไป!

ปล. คำขวัญปฏิรูปความรัก คือ เรารักประชาชน : เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ !” (อย่าลืมติดสติ๊กเกอร์คำขวัญนี้ที่รถของคุณด้วยนะครับ!)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น