สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วาทกรรมจริยธรรมและรัฐประหาร


Wed, 2010-11-24 17:58


สุรพศ ทวีศักดิ์


ทำไมระยะหลังมานี้สังคมไทยจึงดูเหมือนจะเอียนกับคำว่า จริยธรรมหากมองย้อนกลับไป สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจาก การที่สื่อ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย (รวมทั้งตัวผมด้วยในเวลานั้น) ชู ประเด็นจริยธรรมมาขับไล่ทักษิณ

แล้วเรื่องจริยธรรมก็ถูกทำให้คลุมเครือ เช่น เป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นเรื่องจิตสำนึกส่วนบุคคล ชี้ถูก-ผิด หรือพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นตรงกันไม่ได้เหมือนประเด็นทางกฎหมาย ฉะนั้น เรื่องจริยธรรมจึงเอามาเป็นประเด็นทางการเมืองไม่ได้

แต่ในความเป็นจริง เราจะพูดถึงสังคม-การเมือง หรือรัฐที่ดีไม่ได้ ถ้าไม่มีความคิดพื้นฐานทางจริยศาสตร์บางอย่างรองรับ เช่น ในทางสังคม-การเมือง ที่เรายอมรับหรือเคารพความเสมอภาคตามกฎหมาย เท่ากับเรายอมรับความคิดพื้นฐานทางจริยศาสตร์ที่ว่าความเสมอภาคในความเป็น มนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวมันเองซึ่งละเมิดมิได้ การละเมิดความเสมอภาคในความเป็นคนเป็นสิ่งผิดจริยธรรม เป็นต้น

ทว่าเมื่อเราพูดถึงเรื่องจริยธรรมในสังคมไทย จะพบว่ามีความสับสนอย่างมาก เช่น

1. เรามองเรื่อง จริยธรรมคู่กับ คนดีฉะนั้น เราจึงสรุปว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของตัวบุคคล หรือเป็นเรื่องแล้วแต่จิตสำนึกของแต่ละคน ซึ่งมุมมองเช่นนี้ถูกต้องถ้าหมายถึงจริยธรรมทางศาสนาที่เป็นเรื่องของปัจเจก บุคคลที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเพื่อเข้าถึงพระเจ้า หรือบรรลุนิพพาน หรือเพื่อให้มีความสุข ความสำเร็จส่วนตัวอื่นๆ

แต่ตามความคิดทางจริยธรรมตะวันตก คำว่า คนดีจะคู่กับคำว่าคุณธรรมซึ่งคุณธรรมหมายถึง ความเป็นเลิศของบุคลิกภาพ (character) หรือลักษณะนิสัย (habit) ในด้านต่างๆ เช่น โสเครตีส มีบุคลิกภาพเป็นเลิศในด้านปัญญา พระเยซูเป็นเลิศในด้านความรักและความเสียสละ เป็นต้น

ส่วนคำว่า จริยธรรมจะคู่กับคำว่า หน้าที่คือ จริยธรรมมีสถานะเป็นกฎ หรือหลักการสากลอันถือเป็นหน้าที่ซึ่งทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เพื่อปกป้องคุณค่า ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ หรือความผาสุกของสังคม

เช่น หลักจริยธรรมสากลของคานท์ หลักประโยชน์นิยมของมิลล์ ซึ่งต่อมานักปรัชญาอื่นๆ ได้พัฒนาหลักจริยธรรมในฐานะที่เป็นหน้าที่ซึ่งเราต้องปฏิบัติเป็นหลัก จริยธรรมสากลหรือจริยธรรมภาคสาธารณะ คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งกลายมาเป็นพันธสัญญาพื้นฐานของระบบสังคม-การเมือง

ฉะนั้น จริยธรรมจึงมีความหมายเป็นพันธะสัญญาทางสังคมที่ทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามเพื่อปกป้องคุณค่าของมนุษย์ และความผาสุกร่วมกัน พูดอย่างเจาะจงคือการมีจริยธรรมสากลก็คือการเคารพหลักการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนนั่นเอง

ซึ่งถ้ามองจากกรอบของสังคม-การเมือง จริยธรรมสากลต้องเหนือกว่าจริยธรรมหรือคุณธรรมส่วนบุคคล เพราะจริยธรรมสากลเป็นหลักการหรือกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ขณะที่จริยธรรมหรือคุณธรรมส่วนบุคคลเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความสำเร็จหรือความ สุขส่วนตัว

2. แต่ความหมายของจริยธรรมที่ใช้กันในบ้านเรานั้นสับสนมาก เช่น มีการโปรโมทการชุมนุมทางการเมืองว่าใช้ธรรมนำหน้า มาทำบุญ มาตอบแทนคุณแผ่นดิน ฯลฯ เป็นการใช้ วาทกรรมจริยธรรมเพื่อ 1) สร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูเป็นคนดี ในขณะเดียวกันก็เหยียดฝ่ายที่ตนเองกล่าวหาว่าไร้จริยธรรมเป็นคนเลวทราม 2) เชิดชูคนมีจริยธรรมหรือคนดีเหนือหลักการ ถ้าพวกฉันเป็นคนดี หรือถ้าเป็นคนดีมีคุณธรรมก็สามารถล้มหลักการได้ (เช่น มีการชุมนุมที่ละเมิดกฎหมาย ทำรัฐประหาร ฯลฯ)

หลายๆ ครั้งเราจะเห็นการอ้างความเป็นคนดีทางศาสนา เช่น ถือศีล 8 กินมังสวิรัติ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม ฯลฯ มาสร้างความน่าเชื่อถือในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะความดีที่กล่าวอ้างนั้นเป็นคุณธรรมทางศาสนา หรือจริยธรรมส่วนบุคคลไม่เกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมือง หรือจริยธรรมประชาธิปไตย

การมีคุณธรรมทางศาสนา หรือจริยธรรมส่วนบุคคลจะมีความหมายต่อจริยธรรมทางการเมือง หรือจริยธรรมประชาธิปไตย ก็ต่อเมื่อสามารถทำให้จริยธรรมส่วนบุคคลนั้นสนับสนุนจริยธรรมประชาธิปไตย (เช่น กรณีคุณมด วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาช่วยให้มีจิตใจเข้มแข็งในการต่อสู้เพื่อคนยากจน เป็นต้น) ไม่ใช่ใช้คุณธรรมทางศาสนาสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ตนเอง แล้วก็ทำตัวเป็นคนดีเหนือหลักการ หรือเหนือหลักจริยธรรมประชาธิปไตย

ในทางตรงกันข้าม แม้ไม่อ้างอิงคุณธรรมทางศาสนา หากยึดมั่นในหลักจริยธรรมสากล หรือจริยธรรมประชาธิปไตยก็ถือว่ามีจริยธรรมทางการเมืองที่สมบูรณ์ในตัวเอง แล้ว

พูดตรงๆ คือ เวลาเราพูดถึงคำว่า จริยธรรมในบริบทของสังคม-การเมือง ก็เท่ากับเรากำลังพูดถึงจริยธรรมสากล จริยธรรมภาคสาธารณะ หรือจริยธรรมประชาธิปไตยนั่นเอง

การกล่าวอ้าง ธรรมนำหน้า มาทำบุญเพื่อประเทศ ตอบแทนคุณแผ่นดิน อ้างความเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด อ้างการถือศีลกินเจใดๆ แต่ละเลยหรือละเมิดหลักจริยธรรมสากล จริยธรรมภาคสาธารณะ หรือจริยธรรมประชาธิปไตย ย่อมเป็นการกล่าวอ้าง วาทกรรมจริยธรรมที่ไร้ความหมาย

นอกจากไร้ความหมายแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าคงมีประเทศนี้ประเทศเดียวกระมังที่มีการอ้างคุณธรรมทาง ศาสนา อ้างวาทกรรมจริยธรรม เพื่อให้สิทธิพิเศษแก่คนดีมีศีลธรรมล้มหลักการประชาธิปไตยได้

น่าอนาถ วาทกรรมจริยธรรมในบ้านเมืองนี้ไหมครับ ที่จนบัดนี้เหล่าคนดีมีศีลธรรมสูงส่งยังป้องปากตะโกนเรียกให้ทหารออกมาทำรัฐ ประหารกันอยู่อีก!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น