Thu, 2010-11-11 17:56
ประเวศ ประภานุกูล
ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม; ตอนที่ 4 ระบบลูกขุนไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทย?
ระบบลูกขุนคืออะไร
ระบบกฎหมายที่ใช้ในโลกนี้ทั้งหมดแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คอมมอนลอว์ หรือกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กับ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตที่สำคัญคือ อังกฤษ อเมริกา ปัจจุบันนี้ได้ยินว่า ญี่ปุ่น ซึ่งใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับบ้านเราก็ใช้ระบบลูกขุนด้วยแล้ว
อเมริกาปกครองแบบสหรัฐ หมายถึง รัฐ หลายๆ รัฐมารวมกันเกิดเป็นรัฐใหม่ อเมริกาจึงเหมือนมี 2 รัฐอยู่ภายในรัฐเดียวกัน รัฐสภาจึงประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนเลือกตั้งผู้แทนตามจำนวนประชาชน สภาซีเนท หรือที่บ้านเราเรียกวุฒิสภา เป็นผู้แทนของแต่ละมลรัฐ สภาซีเนทของอเมริกาจึงมีอำนาจสูงกว่าสภาผู้แทน ในส่วนของศาลก็มี 2 ศาล คือ ศาลของสหรัฐกับศาลของมลรัฐ แม้จะมี 2 ศาลแต่ถือว่าเป็นระบบศาลเดี่ยว การมีศาล 2 แบบเป็นเพียงการแบ่งหน้าที่เท่านั้น ศาลฎีกาของสหรัฐเป็นผู้ตัดสินว่า การกระทำ หรือกฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้พิพากษาศาลฎีกาของสหรัฐมาจากประธานาธิบดีเสนอชื่อให้สภาซีเนทพิจารณา ถ้า ซีเนทรับรองก็ผ่าน แต่ถ้าไม่รับรองก็ตกไป ประธานาธิบดีต้องเสนอชื่อคนใหม่และคนที่ประธานาธิบดีเสนอก็มักจะเป็นนัก กฎหมายที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น อาจารย์กฎหมายของมหาวิทยาลัย คนที่ได้รับคัดเลือกอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ถือได้ว่าผู้พิพากษาศาลสูงของสหรัฐมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม
ส่วน ศาลของมลรัฐเท่าที่ทราบมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในมลรัฐนั้นๆและอยู่ใน ตำแหน่งตามวาะ แต่ไม่นานมานี้มีคนบอกว่าอเมริกาได้เปลี่ยนระบบเป็นให้ลงมติรับรองหรือไม่ รับรอง
หากเปลี่ยนจากการเลือกตั้งมาเป็นลงมติรับรองหรือไม่รับรองจริงก็หมายความว่าจะต้องมีระบบคัดกรองคนเพื่อเสนอชื่อให้ประชาชนลงมติ
ไม่ว่าอย่างไรก็ยังถือได้ว่า ที่มาของผู้พิพากษาในอเมริกามีส่วนเชือมโยงกับประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการคัดสรรบุคคลมาใช้อำนาจสูงสุด 1 ใน 3 อำนาจตุลาการ
ส่วน ลูกขุนในอเมริกามาจากประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยจะจัดทำบัญชีรายชื่อลุกขุนจากผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาลก็จะนำบัญชีนี้มาใช้เลือกคณะลูกขุน โดยเลือกตามลำดับไปโดยคู่ความไม่รู้รายชื่อล่วงหน้ามาก่อน แต่คู่ความมีสิทธิค้านลูกขุนได้ตามจำนวนครั้งที่กำหนด เช่น อาจให้ค้านได้ฝ่ายละ 3 ครั้ง หรือ 3 คน คนที่ถูกค้านจะตกไป เลื่อนคนในบัญชีอันดับถัดไปขึ้นมาแทน
จำนวนลูกขุนจะถูกกำหนดตามกฎหมายของแต่ละมลรัฐไม่เท่ากัน ระหว่าง 8 -12 คน แต่ส่วนใหญ่จะมีจำนวน 12 คน
เมื่อคัดเลือกคณะลูกขุนได้แล้ว คณะลูกขุนทั้งหมดจะถูกเก็บตัวทันที ห้ามติดต่อกับโลกภายนอกทุกรูปแบบไม่ว่าจะโทร. จดหมาย หรือคนภายนอกคณะลูกขุน ต้อง พักในโรงแรมที่รัฐจัดให้จนกว่าจะพิจารณาคดีเสร็จ ดังนั้นคนที่ได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นคณะลูกขุนจึงต้องเตรียมกระเป๋าเสื้อ ผ้ามาด้วย
เมื่อได้คณะลูกขุนครบถ้วนแล้วก็จะเริ่มการพิจารณาคดีสืบพยานทันที และ จะสืบพยานต่อเนื่องไปทุกวันจนกว่าจะเสร็จและคณะลูกขุนลงมติพิพากษาคดีแล้ว จึงถือว่าเสร็จคดี แต่ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเพื่อแยกประเด็นข้อโต้ แย้งและเตรียมพยานหลักฐานมาแล้ว ไม่ใช่ว่าพอโจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธก็ส่งคดีเข้าขั้นตอนนี้เลย
คณะลูกขุนจึงเป็นเพียงประชาชนธรรมดา ประชาชนที่ทำหน้าที่พลเมืองดีด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ใน การสืบพยานในศาล ผู้พิพากษาจะเป็นคนควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมาย และการสืบพยานในศาลของอเมริกาจะให้การบันทึกเทปโดยมีเจ้าหน้าที่ถอดเทปแบบคำ ต่อคำ
ต่าง จากบ้านเราที่ผู้พิพากษาเป็นผู้บันทึกด้วยการสรุปคำพูดของพยานเอง ซึ่งมักจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งกับทนาย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่บันทึกคำให้การของพยาน
หลังจากสืบพยานทั้ง 2 ฝ่ายเสร็จ คณะลูกขุนจะประชุม(ลับ)เพื่อลงมติตัดสินคดี โดยลงมติผิดหรือไม่ผิดเท่านั้น ไม่มีการให้เหตุผล
มติของคณะลูกขุนที่จะตัดสินไปในทางใดต้องใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด บางมลรัฐอาจกำหนด 10-2 แต่ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นเสียงเอกฉันท์ ในบางครั้งที่เสียงแตกจึงอาจเห็นคณะลูกขุนประชุมเป็นเวลานาน
การตัดสินคดีของคณะลูกขุนเป็นการตัดสินคดีในส่วน ข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินในข้อกฎหมาย
การใช้ลูกขุนในอเมริกาใช้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
สำหรับ คดีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอิทธิพลจนอาจมีผลต่อการตัดสินคดีของคณะลูก ขุนก็สามารถย้ายไปดำเนินคดีที่มลรัฐอื่นหรือศาลอื่นที่ไม่มีอิทธิพลของคู่ ความฝ่ายนั้นได้
ในส่วนพยานที่มาเบิกความในศาลหากการเบิกความในศาลอาจเป็นอัตรายต่อตัวพยานขอเข้าโครงการคุ้มครองพยานได้
โครงการคุ้มครองพยานของอเมริกา ไม่เพียงจัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มกันระหว่างคดีเท่านั้น แต่หลังเสร็จคดีรัฐจะให้เปลี่ยนชื่อ ย้าย ที่อยู่ หางานใหม่ให้ทำ เป็นการลบประวัติเก่าแล้วสร้างประวัติใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยกับตัวพยานได้อย่างดี ไม่ใช่แค่จัดตำรวจมาประกบระหว่างคดีเสร็จแล้วก็ปล่อยพยานไปตามยถากรรมอย่าง บ้านเรา
แล้วจะนำระบบลูกขุนมาใช้ในบ้านเราได้หรือไม่
เหตุผล ของฝ่ายที่ค้านมักจะเป็นความไม่พร้อมของประชาชน เป็นเหตุผลเดียวกับที่ดูถูกประชาชนว่าไม่สามารถเลือกตั้งรัฐบาลที่ดีได้ เดิมทีเมื่อพูดถึงระบบลูกขุน ผมเองก็กังวลการแทรกแซงคณะลูกขุน โดยเฉพาะในคดีที่จำเลยเป็นผู้มีอิทธิพล อย่างนายกรัฐมนตรีหรือคนในคณะรัฐบาล แต่จากระบบของอเมริกาดังกล่าวข้างต้น จะ ไม่สามารถประยุคมาใช้หรือระบบการคุ้มกันคณะลูกขุนชนิดตัดขาดจากโลกภายนอก ย่อมป้องกันการแทรกแซงคณะลูกขุนได้ระดับหนึ่ง การโอนย้ายคดีมาพิจารณาในศาลที่ปราศจากอิทธิพลของจำเลยไม่มีส่วนช่วยป้องกัน การแทรกแซงคณะลูกขุน?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับระบบปัจจุบัน ระบบที่มีช่องโหว่ในการแทรกแซงผู้พิพากษามากมายดังกล่าวใน 3 ตอนที่แล้ว การใช้ระบบลูกขุนกลับจะช่วยอุดช่องโหว่ของการแทรกแซงผู้พิพากษา
การอ้างว่าประชาชนยังไม่พร้อมหรือไม่สามารถทำหน้าที่ลูกขุน ไม่เป็นการดูถูกประชาชน?
เป็นธรรมดาที่เมื่อมีคนเสนอสิ่งใหม่ ย่อมจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่สำหรับการคัดค้านการนำระบบลูกขุนมาใช้ ที่มาจากฝ่ายรัฐ ฝ่ายที่กุมอำนาจหรือแม้แต่ฝ่ายตุลาการเอง การคัดค้านโดยไม่มีเหตุผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีอะไรพิสูจน์ว่าไม่ใช่การค้านเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ต่อไปเท่านั้น มีอะไรแสดงความสุจริตใจในการคัดค้าน
สุด ท้ายหากมีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบศาล เสียงเรียกร้องให้การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาต้องเชื่อมโยงกับประชาชน เสียงเรียกร้องให้นำระบบลูกขุนมาใช้ในศาลไทย
นั่นก็เป็นเพราะระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้เป็นที่เชื่อถืออีกต่อไปแล้ว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: ตอนที่ 3 บทสรุปโครงสร้างผู้พิพากษา
บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: (2) โครงสร้างผู้พิพากษา..อิสระ?
บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: (1) ความเป็นมาและโครงสร้างผู้พิพากษาของศาลไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น