สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Political Marketing - การตลาดการเมือง



โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

ท่ามกลางกระแสประชานิยมอันเชี่ยวกราก ที่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ต่างก็ช่วงชิงขายสินค้าทางการเมืองของตนเอง

โดย ใช้การตลาดนำ มีการงัดเทคนิคต่างๆทั้งที่เป็นการใช้งบส่วนตนและงบประมาณของทางราชการโหม กระหน่ำทุ่มลงไปในตลาดการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชื่อใดก็ตาม อาทิ ประชานิยม อภิมหาประชานิยม ซุปเปอร์ประชานิยม ประชาวิวัฒน์ ฯลฯ

ล้วนแล้วแต่ไม่แตกต่างกันมากนักเพราะต่างก็เป็น Political Marketing นั่นเอง

Political Marketing นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย เช่น Harrop (1990) บอกว่าPolitical Marketing นั้นมิใช่เป็นเพียงการโฆษณาทางการเมือง หรือการกระจายเสียงของพรรคการเมือง หรือการกล่าว สุนทรพจน์หาเสียงของนักการเมือง แต่ครอบคลุมทุกส่วนในตลาดของการเลือกตั้ง( political marketing as being not just about political advertising, party political broadcasts and electoral speeches but covering the whole area of party positioning in the electoral market).
Kavanagh (1995, 1996)

เห็น ว่า Political Marketing นั้น คือวิศวกรรมการเลือกตั้ง เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์และเครืองมือ เพื่อที่จะแกะรอยและศึกษาความเห็นสาธารณะ(มติมหาชน)ก่อนและระหว่างการรณรงค์ หาเสียงเลือกตั้ง เพื่อพัฒนาการสื่อสารการรณรงค์และประเมินผลกระทบ( political marketing as electioneering, i.e. as a set of strategies and tools to trace and study public opinion before and during an election campaign, to develop campaign communications and to assess their impact. )

กล่าวอย่างให้เข้าใจง่ายที่สุด Political Marketing ก็คือ การเมืองที่ใช้การตลาดนำ”(Marketing Orientation in Politics) นั่นเอง

ซึ่ง ก็เหมือนกับการยึดแนวทางการตลาดนำ(Marketing Oriented)ของภาคธุรกิจ เพียงแต่ต่างกันที่เป้าหมาย เพราะการเมืองมิได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างผลกำไร หรือ ความมั่งคั่งสูงสุดดังเช่นภาคธุรกิจ

เพราะกลุ่มเป้าหมายของการ เมืองคือผู้ออกเสียงเลือกตั้ง(Voter)โดยผู้เลือกตั้งจ่ายเป็นคะแนนเสียงแทน เงินเพื่อซื้อ ความเชื่อในแนวนโยบายและสัญญาต่างๆของพรรคการเมืองนั้นๆเช่น นโยบายประชานิยมที่ว่าดังกล่าวข้างต้น นั่นเอง

ในส่วนในเรื่อง ของวิธีปฏิบัติ เครื่องมือ และกลยุทธของ Political Marketing นั้น ก็ไม่แตกต่างจากการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็น Research,Segmentation,Targeting,Positioning,Marketing Strategies ,Marketing Program ,Implementation and Control ฯลฯ

โดยผู้ออก เสียงเลือกตั้งก็คือ ผู้บริโภค(Consumer)ที่เราสามารถใช้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior) มาประยุกต์ใช้ได้

ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าทั้งภาคธุรกิจและพรรคการเมืองต่างก็ต้องอาศัยบุคลากรและเครื่องมือทางการตลาดเพื่อให้ได้ชัยชนะทั้งสิ้น

อย่าง ไรก็ตามสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ผู้ออกเสียงเลือกตั้งในฐานะที่เป็นผู้ซื้อความเชื่อในแนวนโยบายและสัญญาต่างๆของพรรคการเมืองนั้นๆโดยการไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง นั้น จะได้รับประโยชน์จากการซื้อสินค้านี้มากน้อยเพียงไร และจะมีความมั่นใจขนาดไหนว่านักการเมืองและพรรคการเมืองจะส่งมอบสินค้าหรือ บริการทางการเมืองให้แก่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้

เพราะในตลาดการ เมืองนั้นผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะต้องจ่าย เงินซึ่งในที่นี้ คือคะแนนเสียงไปก่อน และหวังว่าจะได้รับสินค้าหรือบริการการเมืองในภายหลัง

ในสภาวการณ์เช่นนี้ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ บอกว่า ผู้ซื้อจะต้องเผชิญภาวะความไม่แน่นอนอย่างน้อย 3 ระดับ คือ

ระดับแรก คือ นักการเมืองและพรรคการเมืองที่ตนเลือกจะชนะการเลือกตั้งหรือไม่ หากนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ตนเลือกตั้งพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ผู้ซื้อย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับการส่งมอบสินค้า บริการการเมือง

ระดับที่สอง ถึงนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ตนเลือกจะชนะ แต่จะมีโอกาสในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลเพื่อผลักดันนโยบายที่ได้หาเสียงเข้าสู่ การปฏิบัติหรือไม่ ถ้าไม่ ผู้ซื้อก็ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับสินค้าบริการการเมืองเป็นผลต่างตอบแทน

ระดับที่สาม ถึงแม้นักการเมืองและพรรคการเมืองที่ตนเลือกได้รับเลือกตั้งและได้ร่วม รัฐบาล ประชาชนก็อาจจะต้องเสี่ยงต่อการ เบี้ยวสัญญา โดยการไม่ดำเนินตามนโยบายตามที่ให้สัญญาไว้กับประชาชน

ในทัศนะของ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เห็นว่า ตลาดการเมืองไทย เป็นตลาดที่มิได้มีการแข่งขันสมบูรณ์ (Imperfect Competition) ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 4 ประการ กล่าวคือ

ประการแรก ใน ตลาดการเมืองไทยยังมีทำนบกีดขวางสินค้าที่ดีมีคุณภาพเข้าสู่ตลาด (Barriers to Entry) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ผู้ที่มิได้อยู่ในชนชั้นนำทางอำนาจ (Power Elite) และผู้ที่ไม่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมืองและมิได้จัดระบบความ สัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ทำนบ กีดขวางดังกล่าว

จะเห็นได้จากตลาดการ เมืองไทยต้องมีรายจ่ายในการรณรงค์หาเสียงมาก ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะการรณรงค์ในการหาเสียงเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงรายจ่ายในการซื้อเสียงอีกด้วย การบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง รวมทั้งอิทธิพลของหลักความเชื่อที่ว่าพรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็ก

ประการที่สอง ตลาดการเมืองไทยยังมีการกระจุกตัวของอำนาจการเมือง (Power Concentration) กล่าวคือ อำนาจการเมืองในสังคมไทยมีการกระจุกตัวในฐานะเป็นแหล่งที่มาของทรัพย์สิน ศฤงคาร ที่สามารถใช้เป็นฐานขยายอำนาจ การสร้างเครือข่ายทางการเมือง รวมตลอดจนการขยายระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์

ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ไม่มีความเป็นธรรมในการกระจายรายได้และความไม่เป็นธรรมในการกระจาย ทรัพย์สิน ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและทางการเมืองย่อมสามารถใช้ฐานะของตนทางการเมืองผลัก ดันนโยบายในทางที่เกื้อผลประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ไม่นับรวมการใช้อำนาจในทางฉ้อฉล คอรัปชั่น ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นในตลาดการเมืองไทยในปัจจุบันอีกด้วย

ประการที่สาม ตลาด การเมืองไทยยังขาดความสมบูรณ์ของสารสนเทศทางการเมือง (Political Information Imperfection) กล่าวคือ ประชาชนในฐานะผู้ซื้อโดยการเลือกตั้ง ยังไม่มีหรือยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนักการเมือง พรรคการเมือง นโยบายทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองอีกด้วย

โดย เฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของสินค้า บริการการเมืองนอกจากจะไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแล้ว ประชาชนยังต้องเผชิญหน้ากับการโฆษณาชวนเชื่อหรือการโกหกทางการเมืองอีกด้วย นักการเมืองจึงเป็น สินค้าที่ผู้บริโภคหาข้อมูลจากประสบการณ์การบริโภค

กล่าว คือ ประชาชนในฐานะผู้ซื้อหรือบริโภค จะตัดสินใจซื้อสินค้านี้จากการมีข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ในการบริโภค มิได้แสวงหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ หากแต่รับทราบว่า สินค้าหรือบริการนั้นดีหรือเลวอย่างไรจากประสบการณ์บริโภคนั่นเอง

ดังนั้น กว่าจะรู้ว่า สินค้ามีคุณภาพมากน้อย ก็ต่อเมื่อได้ชิมหรือลิ้มรสแล้ว

ประการสุดท้าย ตลาด การเมืองไทย ยังขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (People Participation) อย่างแท้จริง รัฐบาลและนักการเมืองยังขาดความจริงใจในการให้ประชาชนได้เข้ามาสู่ตลาดการ เมืองแห่งนี้

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าการที่ตลาดการ เมืองไทยจะมิใช่ตลาดการแข่งขันที่สมบูรณ์ดังกล่าวมาก็ตาม เราก็คงต้องซื้อสินค้านี้อยู่ดี ไม่ว่าสินค้านี้จะมีคุณภาพมาก คุณภาพน้อยหรือไม่มีคุณภาพก็ตาม

สำคัญที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเอง ในฐานะผู้ซื้อ ต้องใช้วิจารณญาณให้มากขึ้น ศึกษาตัวอย่างให้มากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากเรามัวแต่หลงเชื่อในนโยบายประชานิยมหรือในชื่ออื่น ใดก็ตาม เราก็คงไม่พ้นที่จะเป็นดั่งประเทศแถบอเมริกาใต้ที่ล่มสลาย

เพราะนโยบายประชานิยมที่ใช้ในการทำPolitical Marketingนั่นเอง

---------------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553

สายพิน แก้วงามประเสริฐ :เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยืนผงาด ตำราเรียน "ประวัติศาสตร์ไทย" จะ "ปรับเปลี่ยน" อย่างไร?

สายพิน แก้วงามประเสริฐ

เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยืนตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง แล้วยื่นพระหัตถ์มาฝั่งไทย แสดงนัยยะของการให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำต่อพระองค์แล้ว ผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำจะไม่รู้สึกอย่างไรบ้างเชียว? เมื่อรู้สึกแล้ว ตำราเรียนประวัติศาสตร์ที่ได้หล่อหลอมกล่อมเกลาให้เกิดความบาดหมางกับประเทศ เพื่อนบ้าน จะไม่ยอมปรับเปลี่ยนบ้างเลย?

เนื้อหาตำราเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนไม่เคยสอนให้รักใคร นอกจากตัวเอง โดยเฉพาะความรักชาติของตนเองเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยความที่ตำราเรียนประวัติศาสตร์ถูกนำมาใช้รองรับอุดมการณ์ของรัฐ ไม่ว่าในยุคก่อนหรือหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แล้วก็ตาม

วิชาประวัติศาสตร์ยังคงเป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการรักตนเอง จนแทบไม่เคยสอนให้รู้จักรักผู้อื่น หรือเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าตนเลย

ด้วยเหตุดังนี้เนื้อหาสาระวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียน จึงเต็มไปด้วยการสู้รบ การศึกสงครามทุกยุคสมัย โดยมีพล็อตเรื่องที่แสดงความยิ่งใหญ่ กล้าหาญ ของบรรดาวีรบุรุษวีรสตรีทั้งหลาย เมื่อไทยเป็นฝ่ายชนะตำราเรียนประวัติศาสตร์จะแต่งแต้มเติมสีสันให้ยิ่งใหญ่ ขณะที่หากไทยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ หรือดูเหมือนว่าจะด้อยกว่า ตำราเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนก็จะมีเหตุผลแห่งความพ่ายแพ้นั้น หรือมีสิ่งแสดงความไม่ชอบมาพากลที่ทำให้พ่ายแพ้

เนื้อหาในตำราเรียน ประวัติศาสตร์ไทย ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำตามอุดมการณ์ชาตินิยมมาเนิ่นนานจนกระทั่งในความรับรู้ ของผู้คนที่ผ่านกระบวนการการเรียนการสอนในโรงเรียนมองพม่าเหมือนเป็นศัตรู มองกัมพูชา และมองลาวอีกรูปแบบหนึ่ง

ตำราเรียนประวัติศาสตร์ใน โรงเรียนจึงถูกวิจารณ์ว่าก่อให้เกิดความล้าหลังคลั่งชาติ เพราะสอนให้รักชาติของตนเองจนไม่สนใจไยดีเพื่อนบ้าน แม้บางประเทศเรามักจะพูดอยู่เสมอว่าเป็น "บ้านพี่เมืองน้อง" แต่เรื่องราวที่ถูกเขียนไว้ในตำราเรียน หรือเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมา ผ่านนวัตกรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ส่งเสริมความเป็นพี่น้องแต่อย่างใด จนทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นพี่น้องกันประสาอะไร?

เรื่องราวที่บาดหมางเช่นนี้ คงหนีไม่พ้นกรณีเหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์ ที่ตำราเรียนหรือเรื่องราวในประวัติศาสตร์ถูกเขียนขึ้นโดยผู้ชนะอยู่เสมอ และมักมองด้วยสายตา มุมมองของตนเอง โดยเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "กบฏ" ทั้งที่หากมองด้วยสายตาอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ย่อมเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นการกอบกู้เอกราช

ดังนั้นเจ้าอนุวงศ์ย่อมอยู่ในฐานะที่มิใช่ "กบฏ"

ด้วยความที่เหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์มีความชัดเจนว่าไทยเป็นฝ่ายชนะสงคราม อีกทั้งวีรกรรมท้าวสุรนารี ที่บอกเล่าเป็นตำนานสืบต่อกันมาว่ารบชนะลาว จนกลายเป็นเรื่องราวในตำราเรียน ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำทั้งในตำราเรียน บทเพลง บทละคร และอนุสาวรีย์ ในสมัยรัฐชาตินิยม และยังไม่จืดจางจนสมัยปัจจุบัน

การรับรู้ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม โดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้คนรอบบ้าน ยังคงสืบเนื่องยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ และควรจะเป็นเช่นนี้ต่อไป? ในเมื่อสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไป การอยู่ร่วมกับผู้คนไม่ใช่แค่ในประเทศเดียวกันเท่านั้น แต่ต้องอยู่ร่วมกับนานาชาติ โดยเฉพาะขณะนี้เราไม่ได้เป็นแค่พลเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังอยู่ในฐานะสมาชิกของอาเซียนด้วย แต่เนื้อหาตำราเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียน ที่ก่อให้เกิดความบาดหมางกับประเทศเพื่อนบ้านยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะอยู่ในสังคมแห่งอาเซียนอย่างไร?

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 รัฐบาลประเทศลาวได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ วีรกษัตริย์ของลาว ซึ่งรูปปั้นเจ้าอนุวงศ์หล่อด้วยทองแดงมีน้ำหนักถึง 8 ตัน อนุสาวรีย์นี้มีความสูงถึง 15 เมตร ตั้งอยู่บนแท่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 5.5 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่ทั้งสูงและใหญ่มาก

อนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หันพระพักตร์มาทางไทย สิ่งที่น่าสนใจมากคือพระหัตถ์ขวายื่นออกไปด้านหน้า ลักษณะผายออกผ่านแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย ซึ่งรัฐมนตรีลาวกล่าวถึงรูปลักษณ์ของรูปปั้นเจ้าอนุวงศ์ว่า พระหัตถ์ที่ยื่นออกมาเป็นการแสดงถึงการให้อภัยแก่ "ผู้รุกราน" และผู้ที่เคยกระทำต่อพระองค์แล้ว

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลรายละเอียด ที่แสดงถึงการรับรู้ของฝ่ายลาว ถึงการศึกษาสงครามครั้งนี้ ไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งการรับรู้เรื่องนี้สอดคล้องกับพระราชพงศาวดารของไทยที่บันทึกไว้ในฐานะ ผู้ชนะสงคราม จึงเขียนด้วยความสะใจ โดยหลงลืมนึกถึงจิตใจของผู้อื่น รวมทั้งการสร้างความรับรู้เรื่องวีรกรรมท้าวสุรนารี ที่ไปเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เป็นสิ่งที่แสดงว่าการเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนไม่เคยสอนให้เด็กรู้จัก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

แม้พระหัตถ์ที่ยื่นออกมาของเจ้าอนุวงศ์จะได้รับ การให้ความหมายโดยฝ่ายลาวว่า เป็นการยื่นออกมาเพื่อแสดงถึงการให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำกับพระองค์ แต่อีกนัยหนึ่งคือการตอกย้ำความมีอยู่จริงของโศกนาฏกรรมของความเป็นพี่เป็น น้องในครั้งนั้น

เป็นการใช้ประวัติศาสตร์ต่อสู้กันอีกครั้งหนึ่ง และเป็นประวัติศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายต่างยอมรับว่ามีอยู่จริง

ความ น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ เหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์หากนับถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบ 200 ปี แต่เพราะเหตุใดอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์จึงพึ่งปรากฏตัว ณ พ.ศ.นี้ แสดงนัยยะอะไรหรือไม่ ทั้งที่ประเทศลาวไม่ได้มีอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นแห่งแรก

อนุสาวรีย์ เจ้าอนุวงศ์แสดงความสัมพันธ์ หรือเป็นสัญญาอะไรบางอย่างหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้เมื่อลาวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ มีการสร้างสนามกีฬาขนาดใหญ่ โดยได้รับการสนับสนุนจากเวียดนาม และตั้งชื่อสนามกีฬาแห่งนี้ว่า "สนามกีฬาเจ้าอนุวงศ์"

ทั้งอนุสาวรีย์และสนามกีฬาล้วนแสดงทัศนคติ และนัยยะที่มีต่อไทย อย่างน้อยก็แสดงความรับรู้ต่อเรื่องราวที่ปรากฏแก่เจ้าอนุวงศ์ วีรกษัตริย์ของลาว

แม้สิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ย่อมมิอาจ เปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเป็นความจริงที่รับรู้กันทั้งสองฝ่ายแต่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ปัจจุบัน และอนาคตสามารถอยู่ร่วมกันฉันมิตรที่ดีได้อย่างจริงใจ

ถึงที่สุดแล้ว ลาวเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่มีประเพณีวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิต และภาษาพูด หรืออาจหมายถึงที่มาของเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ที่ทำให้คำกล่าวที่ว่า ไทยกับลาวเป็นบ้านพี่เมืองน้องไม่ไกลไปจากความจริงเท่าไร แล้วไยเนื้อหาในตำราเรียนประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ไม่เคยแสดงความรู้สึกห่วงใยพี่น้องของตนเองเลย โดยเฉพาะคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่ควรมีความเอื้ออาทรต่อคนเป็นน้อง

เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยืนตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง แล้วยื่นพระหัตถ์มาฝั่งไทย แสดงนัยยะของการให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำต่อพระองค์แล้ว ผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำจะไม่รู้สึกอย่างไรบ้างเชียว? เมื่อรู้สึกแล้ว ตำราเรียนประวัติศาสตร์ที่ได้หล่อหลอมกล่อมเกลาให้เกิดความบาดหมางกับประเทศ เพื่อนบ้าน จะไม่ยอมปรับเปลี่ยนบ้างเลย?

อย่างน้อยๆ การเหลือพี่น้องไว้คบค้าสมาคมบ้างก็ยังดี ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่เหินห่างกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่ได้ชื่อว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันมาเนิ่นนาน เพราะอย่างน้อยการมีพี่น้องย่อมดีกว่าการไม่มีใครคบ

เมื่อเป็นดังนี้ จึงควรหวนกลับมาพิจารณาตนเอง สร้างนิสัยการรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้วยการชำระสะสางตำราเรียนประวัติศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความล้าหลังคลั่งชาติ และประวัติศาสตร์บาดหมางกันเสียที

ที่มา:มติชนออนไลน์

http://prachatai.com/journal/2010/12/32478

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : กองทัพกับการเมืองไทย 1


Wed, 2010-12-29 07:33


นิธิ เอียวศรีวงศ์


เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการ เมืองเท่านั้น

คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้ง นั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย

ครั้นมาถึงตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลังเป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย

ผมคิดว่า ความจริงคงอยู่ระหว่างสุดโต่งสองด้านนี้ กล่าวคือกองทัพเป็นตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีผลประโยชน์, ความต้องการ, ความใฝ่ฝัน ฯลฯ ที่เป็นของตัวเอง แต่ตัวละครตัวเดียวนี้ไม่สามารถปฏิบัติการทางการเมืองแต่ลำพังได้ ต้องเชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในระบบ, นอกระบบ, และปริ่มๆ ระบบ อีกทั้งที่เข้าไปเชื่อมโยงก็ไม่ใช่เพราะกองทัพตัดสินใจได้เองเพียงอย่าง เดียว หากเชื่อมโยงเพราะสถานการณ์ชักจูงไปก็ไม่น้อย เหมือนตัวละครในการเมืองไทยอื่นๆ แหละครับ

แต่ก่อนจะพูดถึงพันธมิตร หรือเครือข่ายของกองทัพ ผมคิดว่ามาเริ่มต้นกับผลประโยชน์ของกองทัพในการเข้าไปมีบทบาทและอำนาจกำกับ (ระดับหนึ่ง) ในการเมืองไทยกันเสียก่อน

ผลประโยชน์ในที่นี้ ผมจะไม่รวมผลประโยชน์ทางอุดมการณ์ เช่น ทหารถูกทำให้เชื่อว่าตนมีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ และผดุงความเป็นชาติไทยเอาไว้ และผมไม่นับการที่นายพลได้กินสินบนในการสั่งซื้ออาวุธและอื่นๆ ว่าเป็นผลประโยชน์ของกองทัพ

เท่าที่ผมนึกออก ผมคิดว่ากองทัพได้รับผลประโยชน์จากการเข้าไปมีอำนาจและบทบาททางการเมืองไทยดังนี้

อันแรกคืองบประมาณ เป็นหลักประกันว่ากองทัพจะได้งบประมาณจำนวนมาก ในช่วงสี่ปีหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน งบประมาณกองทัพพุ่งขึ้นตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทหารต่อจีดีพีแล้ว งบประมาณทหารไทยดูเหมือนจะอยู่สูงสุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน (และแน่นอนว่าสูงกว่าประเทศอียูทั้งมวล)

แน่นอน ส่วนหนึ่งของงบฯนี้ถูกแบ่งไปซื้อเรือเหาะที่เหาะไม่ได้ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้อคติเป็นพลังงาน รถถังที่ไม่มีเครื่อง ฯลฯ แต่ที่ผมอยากพูดถึงมากกว่าก็คือ ทหารก็เหมือนข้าราชการอื่นๆ กล่าวคืออยากจะพิสูจน์ความชอบธรรมของหน่วยตนเอง ด้วยการแสดงสมรรถนะให้สังคมยอมรับ กองทัพเลือกการมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยเป็นเครื่องหมายแห่งสมรรถนะ (จะถูกหรือผิดคงเถียงกันได้)

ยิ่งกว่าหน่วยราชการทั่วไปด้วย กองทัพจะพิสูจน์ความชอบธรรมของการมีอยู่ของตนได้น้อยลง เพราะโลกข้างหน้าเท่าที่จะพอมองเห็นได้ คงไม่มีสงครามใหญ่กระทบมาถึงไทย นับวันภารกิจของกองทัพต้องหันมาสู่กิจการภายในมากขึ้น นับตั้งแต่ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล, ช่วยน้ำท่วม และสวนสนาม ฉะนั้นการป้องกันงบประมาณกลาโหมจะยิ่งยากขึ้น อย่าพูดถึงของบฯเพิ่มเลย แม้แต่จะรักษางบฯเก่าให้คงเดิมก็ยากแล้ว

การแผ่รังสีอำมหิตเข้าครอบงำการเมืองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะประกันว่างบประมาณทหารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดไป

ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการประกอบภารกิจภายในบางอย่าง ต้องการอำนาจทั้งในกฎหมายและเหนือกฎหมาย เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้ง่ายด้วย เช่น ผลักดันชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านกลับ, ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล และแหะๆ ยึดอำนาจ

ผลประโยชน์อย่างที่สองคือทรัพยากร อย่านึกว่ากองทัพไทยมีแต่ปืนและเครื่องแบบ ที่จริงแล้วกองทัพครอบครองทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสองอย่างคือที่ดินและคลื่นความถี่ ทรัพยากรเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทางการเมืองที่กองทัพมีอยู่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ หากทหารไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่เลย ระเบียบอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ที่รัฐเพิ่งเสนอ ก็คงริบเอาคลื่นความถี่ด้าน "ความมั่นคง" ทั้งหมด กลับมาให้คณะกรรมการพิจารณา ไม่ใช่สงวนไว้นอกอำนาจของ กสทช.หน้าตาเฉยอย่างนี้

ที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้ในราชอาณาจักรอีกจำนวน มหึมา สมัยที่หวงห้ามยังเป็นป่าเขาที่ห่างไกล แต่บัดนี้กลายเป็นพื้นที่ใกล้หรือในเมือง เพราะการขยายตัวของพื้นที่เมืองในประเทศไทย ย่อมเป็นแหล่งรายได้ทางธุรกิจมหาศาล ไม่พูดถึงการหาประโยชน์เข้ากระเป๋าของนายทหาร หากกองทัพนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ กองทัพก็จะมีเงินรายได้นอกงบประมาณไว้ใช้สอยอีกจำนวนมหึมา (มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียอีก)

แม้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้องรักษาเอาไว้ จะรักษาไว้ได้ก็ต้องควบคุมการเมืองในระดับหนึ่ง เช่น อย่าให้มีใครกล้าออกกฎหมายที่ดินซึ่งจะทำให้กองทัพสูญเสียทรัพยากรที่ดินใน ครอบครองไป

ผลประโยชน์อย่างที่สามคือโอกาสทางธุรกิจของนายทหาร เพราะอำนาจของกองทัพในการเมืองนี่เอง ธุรกิจจึงนิยมใช้ประโยชน์จากเส้นสายของนายทหารนอกราชการ ทหารเกษียณหลายคนได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ยังไม่พูดถึงรัฐวิสาหกิจ อย่ามองเรื่องนี้เพียงผลประโยชน์ของนายทหารบางคนเท่านั้น นั่นก็ใช่แน่

แต่หากมองว่าระบบบำนาญของกองทัพนั้น มีหลักประกันด้านสวัสดิการที่เหนือกว่าข้าราชการทั่วไป เป็นระบบสวัสดิการของกองทัพซึ่งจะรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องมีอำนาจในการเมือง

อีกเรื่องที่ผมอยากพูดถึงไว้ด้วยก็คือเรื่องของ redistribution หรือการกระจายทรัพย์สมบัติกลับสู่บุคลากรในกองทัพ

ทหาร ไทยมีประเพณีของ redistribution สูง นับตั้งแต่เลี้ยงเหล้าไอ้เณร ไปจนถึงแบ่งทรัพยากรของกองทัพให้ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนได้ดูแล (และบริโภค) เพราะเราจัดความสัมพันธ์ภายในกองทัพในลักษณะนาย-ไพร่ของกองทัพโบราณ เมื่อยึดทรัพย์จับเชลยมาได้ ก็แบ่งปันกันในหมู่ไพร่ในสังกัด ฉะนั้นต้องเข้าใจด้วยว่าผลประโยชน์ที่กองทัพมี หรือที่นายทหารเม้มใส่กระเป๋าของตนนั้น อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกไปในกองทัพ-ในรูปต่างๆ-อยู่พอสมควร

ภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมืองจึงเป็นภารกิจที่บุคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ

จะมีอำนาจเหนือการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือมีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อไรก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ผบ.กองทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้น ที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร (อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยนเลย)

แต่อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้น ไม่ได้มาจากรถถัง, ทหารป่าหวาย, หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนในการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆที่มีพลังในสังคม

เมื่อตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จ นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐ ประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย

เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ

ฉะนั้นเราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ "พันธมิตร" เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ "พันธมิตร" ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในของกองทัพเองด้วย และแน่นอนย่อมมีผลให้เกิดพลวัตที่แฝงอยู่ในการเมืองไทย

กลุ่มที่เข้ามามีบทบาทบนพื้นที่ทางการเมืองไทย นับจาก 14 ตุลาเป็นต้นมา มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รวมทั้งเพิ่มเข้ามาใหม่อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย) ทำให้อำนาจดิบของกองทัพยิ่งไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น การล่มสลายของคณะ รสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535 พิสูจน์ว่าอำนาจดิบอย่างเดียวใช้คุมการเมืองไม่ได้ กองทัพเหลียวมองข้างหลังแล้วพบว่า "พันธมิตร" ของตนส่วนใหญ่เผ่นป่าราบไปแล้ว บางส่วนถึงไม่ได้เผ่น ก็เริ่มแทงกั๊ก คือผลักภาระให้กองทัพรับผิดชอบไปแต่ผู้เดียว

ยิ่งย้อนกลับไปถึง 14 ตุลา ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า บางส่วนของ "พันธมิตร" ลอบแทงข้างหลังกองทัพมาแต่ต้น เป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในกองทัพอย่างหนัก แต่พัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้น กลับดึงให้ "พันธมิตร" บางกลุ่มต้องหันกลับมาร่วมมือกับบางส่วนของกองทัพ เพื่อผดุงอำนาจต่อรองของตนในการเมืองเอาไว้

ฉะนั้น ที่ผมเรียกว่า "พันธมิตร" ของกองทัพนั้น ไม่สู้จะถูกต้องนัก เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจับมือกับกองทัพในบางสถานการณ์ และหันหลังให้กองทัพในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ที่ถูกต้องกว่าก็คือกลุ่มคนเหล่านี้เป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทย ร่วมหุ้นกันบ้าง ถอนหุ้นกันบ้าง แล้วแต่จังหวะไหนจะทำกำไรได้มากกว่า

ในตอนหน้า ผมจะพูดถึงเรื่องนี้

ที่มา:มติชนออนไลน์

http://prachatai.com/journal/2010/12/32477

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: 'เวศ(ห)วะวิวัฒน์

หมอประเวศยื่น 9 ข้อเสนอประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ทำให้นักข่าว คอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุทีวี เดือดร้อนกันไปทั่ว เพราะต้องเวียนหัวตีความขยายประเด็นเฟ้นหาข้อดีมานำเสนอ

แบบว่าหมอประเวศท่านเป็นปราชญ์แห่งยุค เป็นคนดีที่เสียสละมาชั่วชีวิต ฉะนั้นข้อเสนอของท่านต้องไม่ธรรมดา ต้องลึกซึ้ง ถึงแก่น สุดสูงคืนสู่สามัญ ซับซ้อนคืนสู่เรียบง่าย จากเนื้อหามากมายท่านสรุปได้ซะจนไม่เหลืออะไร แต่ใครอย่าบังอาจบอกว่าท่านพูดไม่รู้เรื่องหรือไม่มีอะไรใหม่เชียว เดี๋ยวจะถูกโห่ฮาว่าไร้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เข้าไม่ถึงถ้อยคำของปราชญ์ ฉะนั้น ท่านพูดอะไรก็ต้องยกย่องเข้าไว้ ต้องดีต้องถูกเสมอ อะไรๆ ที่อธิบายขยายความได้ดีก็ช่วยกันเอามาขยายหน่อย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แปลโจนาธานลิฟวิงสตัน นางนวล เป็นหนังสือเบสต์เซลเลอร์ในหมู่ปัญญาชนสยาม ก็มีหนังโจนาธานลิฟวิงสตันซีกัลเข้ามาฉาย ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้ดูตั้งแต่รอบแรกๆ ยังจำได้ว่าดูที่โรงหนังฮอลลีวู้ด ออกจากโรงมาเดินตาลอย หัวหมุน มึนตึ้บ หนังเอี้ยอะไรไม่รุ มีแต่นกบินไปบินมา เดี๋ยวไอ้โจนาธานก็บินไปทางซ้าย ทางขวา แล้วคนพากย์ก็สาธยาย แต่พอเพื่อนถามว่าหนังดีไหม ก็ต้องวางฟอร์มทรงภูมิพูดให้เคร่งขรึมเข้าไว้ มันลึกซึ้ง เป็นปรัชญาที่ลึกซึ้งมาก” (ลึกจนกรูไม่รู้เรื่องเลย)

ฉันใดก็ฉันนั้นละครับ กับคนที่แห่แหนยกย่องลัทธิประเวศ แต่ตอนนั้นผมอายุแค่ 18 ไม่ใช่ตอนนี้ที่โตๆ กันแล้ว

9 ข้อของหมอประเวศ พูดอีกก็ถูกอีก ไม่ผิดแน่นอน เพราะกว้างขวางเวิ้งว้างเป็นมหาสมุทร เต็มไปด้วยภาษาสวยๆ สัมมาชีพ” “ปลดล็อคอำนาจ” “ดรรชนีพัฒนา” “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง” “ศูนย์ยุติธรรมชุมชนฯลฯ แต่ไม่รู้จะเอาอะไรเป็นรูปธรรมจับต้องได้

หมอประเวศให้นิรโทษกรรมประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ใครมั่งล่ะ แม่ขโมยนมห้างให้ลูกกิน หรือว่าเสื้อเหลืองเสื้อแดง ทักษิณก็เป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกันนะ และเขาก็โวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

เสื้อเหลืองได้รับความเป็นธรรมไหม (ไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเขาโวยว่าช่วยให้มาร์คได้เป็นนายกฯ แล้วกลับเห็นเป็นนั่งร้าน อิอิ) เสื้อแดงได้รับความเป็นธรรมไหม ที่ถูกปราบ ถูกฆ่า และถูกจับกุมคุมขังมาครึ่งปีโดยไม่ได้ประกัน ถูกศาลตัดสินลงโทษอย่างรุนแรง รวบรัด ภายใต้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

ความยุติธรรมภายใต้ ศอฉ. ศตส. และตุลาการภิวัตน์เนี่ยนะ หมอประเวศตั้งความหวังกับกระทรวงยุติธรรมยุคพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เนี่ยนะ

หมอประเวศจะให้สื่อมวลชนของรัฐทำการสื่อสารเพื่อปฏิรูปประเทศไทย มิน่า ละครหลังข่าวเลยให้พระเอกทำการเกษตรอินทรีย์จนไปขัดผลประโยชน์กลุ่มอิทธิพล ที่ทำศูนย์หัตถกรรมไทย (OTOP เป็นพวกผู้ร้ายไปซะแล้ว ละครน้ำเน่าเดี๋ยวนี้ทันยุคทันสมัยนะ พูดถึงชุมชนท้องถิ่น พอเพียง เชิดชูความเป็นไทย รักษาท้องไร่ท้องนาไว้เป็นสมบัติชาติ ฯลฯ แต่พักโฆษณาเครื่องสำอางนาทีละหลายล้าน)

หลายวันก่อนผมบังเอิญเปิดวิทยุเจอรายการ 96.5 สัมภาษณ์อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ เรื่องการเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทย ผมฟังไปก็หัวเราะไป เพราะ อ.ณรงค์ก็ยังเป็น อ.ณรงค์ นักวิชาการแรงงานฝ่ายซ้ายผู้ไม่เคยเปลี่ยน ท่านสาธยายถึงความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมของค่าแรง เมื่อเทียบกับราคาผลผลิต ท่านบอกว่าประชาชนจะต้องลุกขึ้นต่อสู้และวันนั้นใกล้มาถึงแล้ว

ผมหัวร่อท้องแข็งเลยครับ วิทยุ อสมท.ในยุค พ.ร.ก.ฉุกเฉินเปิดโอกาสให้นักวิชาการฝ่ายซ้าย พล่ามได้หนึ่งชั่วโมงเต็มๆ ยังกะหลับฝันไปได้พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเป็นรัฐบาล ไม่ใช่อยู่ใต้ระบอบอำมาตย์ที่ปราบปรามประชาชนเลือดนอง มันผิดฝาผิดตัวพิลึก อ.ณรงค์อาจจะบอกว่าถ้าท่านไม่มาทำงานให้ระบอบอภิสิทธิ์ ท่านก็คงไม่ได้เผยแพร่ความคิดให้กว้างขวาง แต่ผมไม่รู้เหมือนกันว่า อ.ณรงค์พูดให้ใครฟัง เพราะคนชั้นล่างที่ อ.ณรงค์อยากพูดด้วย เขาไม่ฟังท่านแล้ว ส่วนคนชั้นกลางก็ใช่ว่าสนใจแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความเสมอภาคแปลว่าคนชั้นล่างตีตัวเสมอ คนชั้นกลางเป็นผู้มีจิตใจเมตตาสัตว์ผู้ยาก สนับสนุนประชาสงเคราะห์ ประชาวิวัฒน์ บริจาคผ้าห่ม เสื้อกันหนาวผ่าน จส.100 ....แต่ถ้ามันกล้าหือ ลุกขึ้นสู้ ก็เชียร์ทหารให้ยิงหัวแม่-เลย

ไม่ต่างกันเลยกับเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่ปาฐกถาเรื่องเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง ท่านบอกว่าต้องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชน การเมืองปัจจุบันกลายเป็นการเมืองแบบหางเครื่อง มวลชนฝากความหวังไว้กับชนชั้นนำกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ การช่วงชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำนำไปสู่ความรุนแรงเป็นระยะๆ

พูดอีกก็ถูกอีกนั่นแหละครับ แต่ตัวท่านอยู่ตรงไหนล่ะ พลังพลเมืองที่พร้อมจะเปลี่ยนประเทศนี้เกิดขึ้นแล้ว แม้อาจยังสะเปะสะปะไร้ทิศทาง แต่พวกเขาก็พร้อมจะสู้ถึงที่สุด ทำไมจึงมองพลังประชาชนเป็นแค่ หางเครื่องแล้วตัวเองยอมเป็นเครื่องมือให้ระบอบอภิสิทธิ์

ท่านหวังว่าระบอบนี้จะยอมปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ อย่างนั้นหรือ อำนาจที่เคยอยู่ในมือชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้งเปลี่ยนไปอยู่ในมือชนชั้น นำที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง แล้วยิ่งรวมศูนย์อำนาจ ใช้อำนาจทหารอำนาจศาล กดหัวชาวบ้าน นี่หรือคือผู้ที่จะปฏิรูป

ผมพยายามเข้าใจในแง่ดีว่า อ.เสกสรรค์ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงฝากความหวังไว้กับชนชั้นนำกลุ่มนี้ กระทั่งเอาชื่อเสียงเกียรติภูมิที่ได้มาจากการเสียสละต่อสู้เผด็จการของ วีรชน 14 ตุลา มาค้ำระบอบของพวกเขา

นี่คงเป็นสิ่งที่เราต่างกัน ผมต้องการการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ารุนแรงหรือไม่รุนแรง ถ้าทำได้ ก็ให้มันรุนแรงน้อยที่สุด แต่ถ้าสุดวิสัยจะหลีกเลี่ยง ผมก็พร้อมรับความพินาศย่อยยับ มิคสัญญีไม่มีที่สิ้นสุด หรือกระทั่งพังไปด้วยกันทั้งหมด มากกว่าการปฏิรูปดัดจริตภายใต้อภิสิทธิ์และอำมาตย์

ราชการวิวัฒน์

อะไรคือประชาวิวัฒน์ที่โพนทนากันนักหนา นอกจากน้ำฟรีไฟฟรีรถเมล์ฟรีที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลสมัคร ก็เห็นจะให้เงินกู้นั่นนี่ ช่วยเหลือเรื่องนั้นเรื่องนี้ ฯลฯ (อู้กำเมืองว่าสะป๊ะสะเป้ด) ที่ไม่มีอะไรชัดเจนจับต้องได้และส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วถึงเหมือนอย่างกอง ทุนหมู่บ้านหรือ 30 บาท

อย่างเดียวที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมคือ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว. ขึ้นเงินเดือน อบต. แล้วตอนนี้ อบจ.กับ สก.สข.ก็จะขอมั่ง

รสนายุให้ฟ้องศาลปกครอง มีคนถามว่าทำไมไม่ฟ้องเอง อ้าว ก็เธอเป็น ส.ว. ได้ขึ้นเงินเดือนกับเขาด้วย ไม่ใช่ผู้เสียหาย ศาลอาจตีความว่าไม่มีอำนาจฟ้อง

แต่รสนาลืมไปว่า ศาลปกครองก็จะได้ขึ้นเงินเดือนพร้อม ส.ส. ส.ว. ด้วย เพราะรัฐขึ้นเงินเดือนให้ประธานรัฐสภาเมื่อไหร่ก็ต้องขึ้นเงินเดือนให้ ประธานศาลฎีกาเท่านั้น และประธานศาลต่างๆ ประธานองค์กรอิสระ (ตลอดจนนายทะเบียนพรรคการเมือง) กรรมการ รองประธาน และตำแหน่งรองลงมา สะป๊ะสะเป้ด ก็จะได้ขึ้นเงินเดือนด้วยกันหมด

ฉะนั้น เราอาจจะตีความได้ว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจรับพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่ศาลปกครองก็ได้อ้อยเข้าปากด้วยเช่นกัน

ผมกำลังจะบอกว่าในขณะที่สังคมโวยวายคัดค้านการขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว. ซึ่งจริงๆ แล้วคิดเป็นเม็ดเงินนิดเดียว เม็ดเงินที่สูญเสียไปละลายแม่น้ำมากกว่าก็คือการขึ้นเงินเดือนศาล อัยการ องค์กรอิสระ และหน่วยงานพิเศษต่างๆ ที่เดิมก็ได้เงินเดือนและสวัสดิการสูงเหลื่อมล้ำกว่าข้าราชการธรรมดาๆ อยู่แล้ว

ผมไม่คัดค้านเลยกับการขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการ 5% เพราะข้าราชการหลายหน่วยงานทำงานหนัก อย่างที่ควรขึ้นให้ 10-20% เลยด้วยซ้ำ เช่น แพทย์ พยาบาล ครู ตำรวจ หรือหน่วยบริการประชาชนต่างๆ แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบราชการมี 2 ข้อ ข้อหนึ่งคือบางหน่วยทำงานหนัก บางหน่วยไม่มีงานทำและมีคนล้นเกิน ข้อสองคือเงินเดือนข้าราชการทั่วไปต่ำ แต่มีบางหน่วยงานเป็นข้าราชการอภิสิทธิ์ชน เงินเดือนสวัสดิการสูงกว่าข้าราชการทั่วไปทั้งที่ไม่ได้ทำงานมากกว่ากัน

ข้อแรกอาจยกตัวอย่างได้เช่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลนครที่ผมมีภูมิลำเนาอยู่เนี่ย ตอนไปทำบัตรประชาชนแทบจะถูกอุ้มขึ้นบันได เพราะมีเจ้าหน้าที่เกือบสิบ แต่มีคนไปทำบัตร 2-3 คน คิดถึงสมัยมาอยู่กรุงเทพฯใหม่ๆ ปี 2515 น้าชายผมพาไปทำบัตร คนเข้าคิวยังกะรอปอเต็กตึ๊งแจกข้าวสาร น้าผมเป็นข้าราชการ แกรู้ระเบียบดี พับแบงก์ยี่สิบใส่ไปในกองเอกสารด้วย

แต่ กทม.ทุกวันนี้บริการสะดวก รวดเร็ว ด้านหนึ่งต้องยกนิ้วให้ว่าปรับปรุงประสิทธิภาพยอดเยี่ยม แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องบอกว่ามีเจ้าหน้าที่เยอะ

นี่คือข้าราชการท้องถิ่นในปัจจุบัน งานเบา เงินดี บรรจุกันเข้าไปเพราะบรรจุง่าย ไม่มีใครตรวจสอบ

ข้าราชการที่ควบข้อหนึ่งข้อสองคือ ศอฉ.เอ๊ย ศตส. ทหารไงครับ ทหารยังอยู่ในระบบเงินเดือนปกติ เทียบเท่าข้าราชการพลเรือน แต่มีบัญชีแยกเป็นของตัวเอง ถ้าเทียบทหารระดับกลางระดับล่างกับข้าราชการระดับกลางระดับล่าง ก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่ที่ต่างกันจริงๆ คือระดับสูง ซึ่งนายทหารระดับพลตรี จะมีอัตราเงินเดือนเทียบเท่าซี 10 ถ้าเป็นพลเรือนก็คืออธิบดี ผู้ว่าฯ พลโทพลเอกเทียบเท่าซี 11 ปลัดกระทรวง ส่วนพลเอกอัตราจอมพลยิ่งไปโน่นเลย หาใครเทียบไม่ได้

คือถ้าพลตรีที่เป็น ผบ.พล ได้เงินเดือนเท่าผู้ว่าฯ มันก็สมควรนะครับ แต่ทุกวันนี้เราเสียข้าวสุกเลี้ยงนายพลเป็นดอกเห็ด ผู้ชำนาญการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำ บก.ทบ. ฯลฯ หิ้วกระเป๋าใบเดียวไปทำงาน มีโต๊ะนั่งมั่งไม่มีโต๊ะนั่งมั่ง มีงานทำมั่งไม่มีงานทำมั่ง ถ้าประเทศไทยลดนายพลลงเหลือเท่าที่จำเป็น อาจจะมีเงินจ้างแพทย์ไปประจำโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มอีกนับพันคน

ข้าราชการข้อสองก็คือ ตุลาการ อัยการ และองค์กรอิสระ ตุลาการแยกบัญชีเงินเดือนมาตั้งแต่สมัยประมาณ ชันชื่อ อาศัยนักการเมืองเกรงใจ จึงได้เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งสูงลิบ ขนาดผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด ยังเงินเดือนสูงกว่าผู้ว่าฯ ต่อมาอัยการก็ขอมั่ง ต่อมามีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ก็เทียบชั้นว่าประธาน กกต. ประธาน ปปช. เหล่านี้ต้องได้เงินเดือนเทียบเคียงประธานศาลฎีกา ซึ่งไม่ใช่แค่ระดับสูง ข้าราชการ กกต. ปปช.ก็กลายเป็นข้าราชการอภิสิทธิ์ เงินเดือนและสวัสดิการสูงกว่าข้าราชการทั่วไป พวกนี้ไม่ต้องมารอเข้า รพ.รัฐแล้วเบิกจ่ายเหมือนข้าราชการธรรมดา แต่ซื้อประกันกับบริษัทเอกชนเลย ฉะนั้น ตอนก่อตั้งหน่วยงานเหล่านี้ใหม่ๆ ก็มีข่าวข้าราชการวิ่งขอโอนย้ายกันขาขวิด

หน่วยงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านกฎหมาย จึงส่งผลกระทบให้รัฐบาลต้องมาปรับค่าวิชาชีพให้นิติกรประจำหน่วยงานราชการ ทั่วไปด้วย นิติกรกลายเป็นวิชาชีพหายาก ทั้งที่คนจบกฎหมายเกร่อ ประกาศ ก.พ.เมื่อกลางปีที่ผ่านมาขึ้นค่าตอบแทนให้นิติกรซี 3-8 ที่มีราว 5,000 คน ตั้งแต่ 3,000-6,000 บาท ทั้งที่ไม่ได้ทำงานมากกว่าเพื่อนข้าราชการในหน่วยงานเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีข้าราชการข้อสองครึ่ง ได้แก่องค์การมหาชนหรือหน่วยงานพิเศษที่จัดตั้งขึ้นทั้งสมัยรัฐบาลชวนและ ทักษิณ อย่างเช่น 5 ส.ของหมอประเวศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ เชื่อหรือไม่ว่าเปิดดูในวิกิพีเดีย เรามีองค์การมหาชนตั้ง 29 องค์การ

หน่วยงานราชการทั้งหมดนี้ได้ขึ้นเงินเดือน % พร้อมกันหมด โดยรวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่พนักงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งรัฐวิสาหกิจที่ทำงานหนัก (นึกชื่อไม่ออก) ทั้งรัฐวิสาหกิจเสือนอนกิน (อย่าง CAT ที่ได้อานิสงส์จากคำสั่งศาลปกครอง เซ็งลี้ 3G เข้าปากทรูมูฟของนายทุนไทยแท้แต่พูกไม่ชัก)

ถามว่ามันยุติธรรมไหม กับข้าราชการที่ทำงานงกๆ เพราะสิ่งที่รัฐบาลควรทำคือการปรับโครงสร้างเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเกลี่ยตำแหน่งลดกำลังพลระดับสูงของบางหน่วยงาน

แล้วถามว่ามันยุติธรรมไหม กับประชาชนตาดำๆ ที่ได้แค่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาท กับประชาวิวัฒน์ที่เป็นแค่น้ำจิ้ม

จาก ศอฉ.สู่ ศตส.

คณะรัฐมนตรียกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ยุบ ศอฉ. แล้วตั้ง ศตส. ซึ่งเรียก 19 หน่วยงานด้านความมั่นคงเข้าชี้แจงทันที

จากเดิมที่ ศอฉ.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเฉพาะ กทม.และปริมณฑล ตอนนี้เราได้ ศตส.ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ดูแลทั้งประเทศ

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยเพราะ พ.ร.บ.ความมั่นคงที่เป็นมรดก คมช.ฟื้นอำนาจ กอ.รมน.ให้เป็นรัฐซ้อนรัฐไว้ตั้งแต่แรกแล้ว (ตั้งแต่ปณิธาน วัฒนายากร เข้าไปยกร่าง) รัฐทหารที่ซ่อนอยู่ข้างในนี้มีอำนาจสั่งการทุกหน่วยงาน เสมือนที่ทำกันอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีอำนาจอนุมัติกระทั่งแผนพัฒนา การก่อสร้างโครงการต่างๆ มีกำลังพล มีงบประมาณไม่อั้น ทั้งงบลับงบเปิดเผย

ที่ผ่านมาเขายังไม่พร้อม แต่ตอนนี้ รัฐทหารพร้อมแล้ว ที่จะเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยไปกับหมอประเวศ (ฮา) แล้วการตั้ง ศตส.ก็ไม่มีกำหนดยกเลิก มีแต่จะขยายอำนาจแผ่อำนาจให้ครอบคลุมกว้างขวางทั่วถึงทุกปริมณฑล

ถ้าจะยกเลิก ศตส.มีทางเดียวเท่านั้นคือ ยกเลิก พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งคงต้องข้ามศพสถาบัน จปร.ไปก่อน

ในสภาพเช่นนี้ กองทัพจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องก่อรัฐประหารขึ้นมามีอำนาจเอง เพราะกุมอำนาจอยู่ภายในเบ็ดเสร็จ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และกำลังจะลงไปถึงชุมชนท้องถิ่นของนักเพ้อฝันทั้งหลาย ฝ่ายตรงข้ามต้องหืดขึ้นคอถ้าจะชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ที่ กอ.รมน.วางโครงข่ายอย่างหนาแน่น ขณะที่ยังมีอำนาจตุลาการภิวัตน์และองค์กรอิสระไว้ลงดาบพรรคการเมือง

อภิสิทธิ์จึงจะยืนหล่อบนโพเดียมได้ต่อไปในสมัยหน้า เป็นฉากหน้าที่ถูกจริตคนชั้นกลาง ขณะที่ภายในอยู่ได้ด้วยกำปั้นเหล็กของทหาร ควบกับการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของตุลาการภิวัตน์

ผมเห็นข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วีนแตกใส่นักข่าวแล้วก็ขำ แต่นี่แหละคือทหารแบบที่ชนชั้นนำและคนชั้นกลางต้องการ คือมีไว้เพื่อแสดงความกร้าวกำราบมวลชนเสื้อแดงและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย คนชั้นกลางพึงพอใจผลงานของทหาร โดยไม่แยแสว่าจะมีคนตายเท่าไหร่ ไม่สนใจข้อถกเถียงว่าใครเป็นคนยิง ต้องยิงหัวมันเสียบ้างจะได้ไม่กล้าหือคนชั้นกลางพึงพอใจการจับกุมคุมขังคนเสื้อแดงโดยไม่ให้ประกัน และตัดสินลงโทษอย่างหนัก ไม่แยแสว่าจะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ เคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีมาตรฐานเดียวกันกับเสื้อเหลืองขับรถไล่ชนตำรวจหรือไม่มันจะได้ไม่มีใครกล้าขึ้นมาเป็นแกนนำอีก

กองทัพวันนี้ได้แปรสภาพเป็น ทหารรับจ้างของชนชั้นนำและชนชั้นกลางอย่างเต็มตัว ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมากองทัพเป็นของคนชั้นล่าง เปล่า เพียงแต่เมื่อก่อน ผู้นำกองทัพยังมีสติปัญญาความสามารถพอจะขึ้นไปเป็นผู้นำประเทศ ขณะที่การให้สัมภาษณ์เมื่อ 2-3 วันก่อน มันบอกว่าผู้นำกองทัพมีสติปัญญาความสามารถแค่ไหน โถ เป็นได้แค่เนียะก็ยังจะเอาตัวไม่รอดเลย

นี่พูดจริงๆ นะครับ เท่าที่ทำข่าวและสัมผัสสัมภาษณ์ทหารมา ผู้นำกองทัพรุ่นเปรม รุ่นบิ๊กจิ๋ว รุ่น จปร.5 จปร.7 ยังเป็นพวกที่มีความคิดกว้างไกล มีประสบการณ์เห็นความขัดแย้งทางการเมือง เข้าใจโลกและสังคมมากกว่ารุ่นหลัง ซึ่งถ้าจะให้ขีดเส้น ผมมองว่ายุติแค่ พล.อ.สุรยุทธ์ ทหารรุ่นหลังจากนั้นไม่เห็นใครมีสติปัญญาความสามารถพอจะเป็นผู้นำประเทศได้ (ขนาด พล.อ.สุรยุทธ์ยังเอาตัวไม่รอด) ดูแต่ละรายก็เห็น ประวิตร บิ๊กบัง อนุพงษ์ ประยุทธ์ อนุพงษ์อาจดูสุขุมกว่า แต่อนุพงษ์ก็รู้ตัวว่าสูงสุดแค่ ผบ.ทบ.จึงขีดเส้นจำกัดบทบาทตัวเอง

ระบอบอภิสิทธิ์จึงมีจุดแข็งที่เชิดนักการเมืองผู้เข้าใจจริตคนชั้นกลาง เป็นผู้นำ โดยมีฐานอำนาจจากทหารและตุลาการ ปืนกับกฎหมาย ไว้ปราบปรามฝ่ายที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ (ต่อไปสื่อนอกจากสนใจข่าวแต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพว่าใครจะมาเป็นแม่ทัพภาค 1 ผบ.พล.1 ก็ต้องสนใจการแต่งตั้งโยกย้ายในศาลยุติธรรมด้วย เช่น ใครจะมาเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้แม่ทัพภาคเลยทีเดียว)

ระบอบนี้อาจโค่นล้มยาก แต่ก็เปราะบางเพราะขึ้นกับตัวบุคคล สมมติเช่นถ้าอภิสิทธิ์เสื่อม หรืออภิสิทธิ์มีอันเป็นไปอย่างหนึ่งอย่างใด จะหาใครมาถูกจริตแทน

ใบตองแห้ง
24 ธ.ค.53

http://prachatai.com/journal/2010/12/32426

การเมืองคือปัญหา • พญาไม้

การเมืองคือปัญหา
21 ธ.ค. 2553 10:26 น.
Tags:
• พญาไม้ทูเดย์
• พญาไม้
สำหรับประเทศทั่วไปในโลก...เขาใช้การเมืองแก้ปัญหาของประเทศ
ขึ้นฝั่ง...แผ่นดินใหม่ในโลกตะวันตก...ฝรั่งจากยุโรป...กระจัดกระจายกันตั้งรกรากอยู่ทั่วทุกท้องถิ่นในทวีปอเมริกา
มีปัญหาเกิดขึ้นมามากมาย
ไหนจะแย่งกันทำมาหากินแย่งกันทำมาค้าขาย...แย่งแผ่นดินกันอยู่อาศัย...จน ต้องใช้ปืนเป็นกฎหมาย...ใครชักปืนไวก็อยู่ใครชักปืนช้าก็ตาย...
ต้องเอาโจรมาเป็นนายอำเภอ
ไหนจะต้องสู้รบกับอำนาจเก่าที่ส่งทหารออกมาสร้างอาณานิคม...สังคมที่ผู้อพยพ ปฏิเสธและหลบหนีกันออกมา ต้องเผชิญหน้ากับคนอินเดียแดงเจ้าของพื้นที่
ที่สุดของที่สุด พวกเขาก็รวมตัวกัน...เอาการเมืองแก้ปัญหา...สร้างบุคลากรขึ้นมาเพื่อขจัด สาเหตุของการทะเลาะวิวาท เพื่อจัดสรรปัญหาของแต่ละสังคมให้กลมกลืนกัน สร้างกองทัพของพวกเขาขึ้นมา เพื่อเผชิญหน้ากับอำนาจเก่าทั้งจากอังกฤษและสเปน
เขาคบกับสเปนเพื่อสู้กับกองทัพอังกฤษ...และสู้กับสเปนเพื่อประกาศความเป็น ประเทศ...ของพวกเขา สร้างประเทศเกิดใหม่ที่ในที่สุดยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก...ประเทศของคนทุกเผ่า พันธ์ุ...ประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
รวมคนหลากภาษาให้เป็น...คนอเมริกัน
เมื่อมีปัญหา...การเมืองคือเครื่องมือสำหรับการแก้ไขขจัดปัดเป่า...200 กว่าปีของชาติเกิดใหม่...เขาใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียว...
ฝั่งตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกา...บนส่วนโค้งของผิว
โลก...แผ่นดินของคนเผ่าพันธ์ุเดียวกัน...พูดภาษาเดียวกันและอยู่กันมาเนิ่น นานเกือบ 1 พันปี...วันนี้มีแต่การทะเลาะและเข่นฆ่ากัน เหมือนรอวันแยกชาติ
แค่ครอบครัวเดียวกันมันยังยืนอยู่คนละเฉดสี...เคารพกันคนละที่...รักเกลียดไม่ตรงกัน...
การเมืองแก้ปัญหาไม่ได้...เพราะการเมืองมันกลายเป็นปัญหา...ซะเอง...
เพราะ...อำนาจที่ไม่พอเพียง...แผ่นดินหนึ่งกำลังล่มสลาย
http://www.bangkok-today.com/node/8060

กวีประชาไท : ข้าพเจ้าต้องการงานเฉลิมฉลองของประชาชน!

Homo erectus

ข้าพเจ้าต้องการงานเฉลิมฉลอง
ของพวกเราเหล่าพลเมือง
บรรณาการแด่เสรีภาพ ความเท่าเทียม
หาใช่การเซ่นสังเวยแด่เทพดาและผีห่าตนใด

ข้าพเจ้าปรารถนา รอยยิ้ม เริงรื่น เบิกบาน
เยี่ยงนกป่าเสรีที่โผบินไปในจินตนาการ
มิใช่เพียงประจักษ์พยานประดับฉาก
แห่งนาฎรัฐมหานครอันยิ่งใหญ่

ข้าพเจ้าฝันถึงรุ่งอรุณ
แห่งการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกใหม่
อหังการ์ของความเป็นคน
มิใช่เป็นฝุ่นใต้ฝ่าตีนใคร

ข้าพเจ้าต้องการงานเฉลิมฉลอง
ของพวกเรา- มนุษย์ผู้มีเสรีและเจตจำนง
มีรัก โลภ โกรธ หลง โง่งม อย่างแสนสามัญ
มิต้องการใบประกาศยืนยัน คุณความดี
ที่มิมีใครเสมอเหมือน

มากไปหรือเพื่อนผู้ร่วมโลกทั้งหลาย
หากชีวิตหนึ่งของเราเกิดขึ้นมา
จะยืนหยัดทะนงด้วยฝ่าตีนตนเอง
มากไปหรือเพื่อน
หากชีวิตหนึ่งเกิดมา
จะเรียกร้องแสวงหาเสรีภาพความเท่าเทียมของความเป็นคน

เพื่อนเอ๋ย ....
หากเธอเห็นว่าการเปล่งเสียงเรียกร้องนี้แสนธรรมดา
ฉัน เธอ พวกเราจงลุกขึ้นมา
ยืนยันว่าเรา คนเหมือนกัน
เมื่อนั่น เราจะร่วมดื่มอย่างหรรษา
ภายใต้ท้องฟ้าครามไร้หมู่เมฆทะมึน.

พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง(3):พุทธศาสนาเป็นวิถีที่ตรงกันข้ามกับอำนาจนิยม


Sun, 2010-12-26 03:06

ถอดเทปและเรียบเรียง โดย บ้านตีโลปะ

จากการเสวนา "พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง" โดย ส.ศิวรักษ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ และวิจักขณ์ พานิช เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2553 ณ ป๋วยเสวนาคาร วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ

วิจักขณ์พานิช: ผมจะพูดหัวข้อนี้ในแง่มุมที่ต่างออกไปนะครับ คือ จะเข้ามาในแง่ของคุณค่าทางจิตวิญญาณ และประวัติศาสตร์ศาสนา แต่โดยรวมแล้ว คิดเห็นไม่ต่างจากคุณศิโรตม์ คือ หากเราจะคุยกันถึงพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง เราอาจแยกออกได้เป็นสองประเด็นใหญ่ๆ คือ หนึ่ง พุทธศาสนาในตอนนี้กำลังมีปัญหาในตัวของมันเองหรือไม่ อย่างที่คุณศิโรตม์ได้ตั้งคำถามถึง ตัวคำสอนที่ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นสินค้า การเฝ้าแต่ผลิตคำซ้ำๆหรือสิ่งที่คนในสังคมเชื่อหรือรู้กันอยู่แล้ว ตัวคำสอนที่ไม่สามารถมองมนุษย์กับตัวศาสนาเท่ากันได้ ฯลฯ และประเด็นที่สอง คือ เรื่องบทบาทที่พุทธศาสนามีต่อสังคมและการเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะในฐานะสถาบันหลักทางสังคม ที่เราอาจมองเห็นถึงแนวโน้มที่พุทธศาสนาไม่ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สังคมไปในทางที่ดีขึ้น อย่างเช่น เรื่องบทบาทของผู้หญิง การเหยียดเรื่องเพศ การปฏิเสธความหลากหลายของคน และการเพิกเฉยต่อการฆ่าหรือความขัดแย้งทางการเมือง เป็นต้น

เราอาจลองดูกันที่ประเด็นหลังก่อนนะครับ อย่างที่คุณศิโรตม์ได้ตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีที่เพิกเฉยของศาสนจักรต่อความ เปลี่ยนแปลงหรือความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองมาโดยตลอด ไม่เว้นแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในศาสนจักรเอง ที่ไม่เคยมีความพยายามในการออกมาปกป้อง ให้ความชัดเจน หรือคลี่คลายความขัดแย้ง อย่างกรณีธรรมกาย กรณีสันติอโศก กรณีการบวชภิกษุณี หรือศีลวินัยของสงฆ์ในบางข้อที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ ปัญหา ทั้งหมดเต็มไปด้วยความคลุมเครือในท่าทีของศาสนาจักรเอง และมักจบลงด้วยการเพิกเฉย ไม่พูดถึง หรือปล่อยให้ข่าวซาๆไป ซึ่งผมมองว่ามีผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือที่สถาบันศาสนามีต่อเรื่องอื่นๆ

แบบอย่างความเพิกเฉยของศาสนาจักรทำให้คนตั้งคำถามกันมากนะครับ ว่าจริงๆแล้ว พุทธศาสนาเนี่ยมีมิติทางสังคมหรือเปล่า (ไม่นับเชิงสังคมสงเคราะห์) มีคนเยอะนะครับที่ปักใจเชื่อไปแล้วว่าไม่มี คือ พุทธศาสนาใช้ได้เฉพาะมิติของการเปลี่ยนแปลงภายในของปัจเจกเท่านั้น มันทำให้ผมคิดถึงคำพูดหนึ่งที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆในแวดวงคนที่สนใจพุทธ ศาสนาและการปฏิบัติธรรม คือ ขอแค่เรากลับมาดูแลจิตใจตัวเอง ภาวนาไป แล้วทุกอย่างก็จะดีเอง ไม่ต้องไปสนใจเรื่องนอกตัว ไม่ต้องไปมัววิพากษ์วิจารณ์สังคม ขอแค่ดูใจเราเอง แล้วทุกอย่างก็จะดีเอง เคยได้ยินมั๊ยครับ แต่คำถามก็คือถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว การมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยจะอยู่ที่ตรงไหน การช่วยกันตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลต่างๆที่มาจากอำนาจรัฐจะเกิดขึ้นได้อย่าง ไร คือ พูดง่ายๆพอมาสนใจศาสนาแล้ว มิติทางสังคมมันหายไปเลย

ผลที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของบทบาทศาสนจักร และความไร้ศักยภาพของพุทธศาสนาในการเผชิญปัญหา ความขัดแย้ง และความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ มันก็ทำให้หลายๆคนเริ่มรู้สึกท้อแท้กับพุทธศาสนานะครับ จนทำให้เกิดการตั้งคำถามกันมากในหมู่คนรุ่นใหม่ บ้างก็ว่าพุทธศาสนาเถรวาทแคบและเก่า พระเดี๋ยวนี้ไม่บริสุทธิ์ คำสอนใช้ไม่ได้ หรือไม่ก็เลือกจะเปลี่ยนศาสนาหรือไม่มีศาสนาไปเลยก็มีนะครับ อันนี้ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น ผมอยากจะชวนให้ลองกลับมาดูในประเด็นแรก ว่าตัวพุทธศาสนาที่เป็นอยู่ในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร และเรากำลังมีปัญหาในการทำความเข้าใจและการตระหนักถึงคุณค่าของตัวพุทธศาสนา เองมากน้อยแค่ไหน

ทุกคนคงรู้กันดีนะครับว่าพุทธศาสนาที่เรานับถือกับในประเทศไทยนั้นเป็น พุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัว ผมชักไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถเรียกพุทธศาสนาที่เรานับถือกันอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เต็มปากนัก ซึ่งเดี๋ยวเราจะกลับมาดูกันนะครับว่าถ้าไม่ใช่เถรวาทแล้วเป็นอะไร แต่ตอนนี้ผมอยากจะชี้ให้เห็นถึงจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาทในความเข้าใจของ ผมเสียก่อน

พุทธศาสนาเถรวาทถือเป็นนิกายของพุทธศาสนาที่มีความเก่าแก่ที่สุดนะครับ ประเทศไทยภูมิใจกับความเป็นเถรวาทของเรามาก บางคนถึงกับเรียกพุทธศาสนาของเราว่าเป็นของแท้ ของ original จากพระพุทธเจ้า เถรวาทเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสายอาวุโส (senior order) จุดเด่นของเถรวาทก็คือ การพยายามรักษาคุณค่าที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล อีกทั้งยังพยายามคงรูปแบบดั้งเดิมที่สะท้อนถึงคุณค่านั้นไว้ อย่างที่เรียกได้ว่า เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

แบบอย่างอันเป็นอุดมคติของเถรวาท ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเองนะครับ และวิถีชีวิตที่พระพุทธเจ้าใช้ในการแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณในเบื้องต้น ก็คือ การออกจากสังคม การออกบวช พูดง่ายๆ คือ การตายไปจากสังคม เป็นการทิ้งสิทธิทั้งหมดที่ตัวเองมี สละสิทธิ์ แล้วกลายเป็นคนไม่มีสิทธิ์ใดๆในสังคมเลย

ในวัฒนธรรมอินเดีย การออกบวช หมายถึง คุณกลายเป็น nobody จริงๆ ไม่ใช่บวชแล้วกลายเป็นอะไรที่ดูโก้เก๋ สูงส่ง นักบวชนั้นไม่ใช่พราหมณ์ คือเป็นคนที่ไม่มีสิทธิอะไรเลย เวลามีใครตัดสินใจออกบวช คนในครอบครัวมีการเศร้าโศกเสียใจ ร้องห่มร้องไห้ หรือถึงขั้นทำงานศพให้เลยก็มีนะครับ เพราะในสังคมอินเดียสมัยพุทธกาลนั้น การไม่มีสถานะทางสังคมถือว่าคุณไม่มีตัวตน ไม่มีคุณค่า และไม่ข้องเกี่ยวกับสังคมอีกต่อไป

วิถีของนักบวชในอินเดียนั้น เรียกกันว่า วิถีของสมณะ คำว่า สมณะแปลว่า ผู้เดินท่องไปเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีสถานะ ไม่มีบทบาท ไม่มีที่พักพิงใดๆ สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือการเดินท่องไปเรื่อยๆ

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การกลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ของสมณโคดม สิ่งที่เขาได้รับก็คือ เสรีภาพนะครับ เรียกได้ว่า เขายอมแลกสิทธิ์ทั้งหมดที่เคยมีในฐานะคนคนหนึ่ง เพื่อจะได้มีเสรีภาพจริงๆ ซึ่งตรงนี้อาจทำให้เราเข้าใจมากขึ้นนะครับ ว่าทำไมพุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่ค่อยเน้นในเรื่องสิทธิ์ที่ ถูกกำหนดขึ้นจากสังคมมากนัก วิถีชีวิตอุดมคติทางศาสนาของภิกษุ/ภิกษุณี เรียกได้ว่าเป็นผู้ขอ หรือเป็นผู้ที่ไม่เรียกร้องสิทธิ์ใดๆทางสังคมเลย ขอเศษอาหาร นอนตามโคนไม้ หรือเรือนว่าง นัยของความไม่มีสิทธิ์ทางสังคม นำมาซึ่งคำว่า อะไรก็ได้ที่ติดปากคนไทยกันมานานนม วิถีสมณะ คือ รับอะไรก็ได้ กินอะไรก็ได้ ใครจะดูถูกดูแคลนยังไงก็ได้ ถูกปฏิเสธไม่เป็นไร ไม่พูดถึงสิทธิ์ของตัวเองเลย ขอให้มีเสรีภาพในการแสวงหาคุณค่าบางอย่างในแบบของตัวเองเป็นพอ

และสถานที่เดียวครับ ที่เหล่าสมณะจะมีเสรีภาพได้อย่างเต็มที่ ก็คือ สถานที่ที่สังคมยังไม่ได้แผ่อำนาจไปผูกคุณค่าไว้กับมัน สถานที่นั้น คือป่าป่าเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพ คือพื้นที่ หรืออาณาเขตที่ปลอดจากอำนาจ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือคุณค่าที่ถูกกำหนดไว้ก่อนแล้วโดยผู้อื่นหรือโดยสังคม ป่าถือเป็นสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดสำหรับการแสวงหาคุณค่าใหม่ ซึ่งอันนี้ก็ไปพ้องกับความหมายของ สมณะหรือ ผู้เดินท่องไปซึ่งหมายถึง ผู้ที่ผละจากบ้านไปสู่ความไร้บ้าน สมณะเลือกที่จะตายไปจากสังคม เพื่อออกแสวงหาคุณค่าบางอย่างที่ในสังคมตอนนั้นไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่มีอยู่ สิทธัตถะเลือกวิถีชีวิตแบบนี้ในการแสวงหาคุณค่า และแม้หลังจากที่รู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ยังคงวิถีสมณะไว้เป็นหลัก

คำว่า ไม่มีสิทธิ์นี่เป็นคำที่น่าสนใจนะครับ แม้หลังจากที่พระพุทธเจ้าค้นพบคุณค่าที่ท่านได้แสวงหาแล้ว โดยสถานะทางสังคม พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้กลายเป็นอภิสิทธิ์ชน ยังคงเป็นคนที่ไม่มีสิทธิ์เช่นเดิม คือในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า ท่านถือว่าท่านไม่มีสถานะใดๆทั้งสิ้น ไม่มีอำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆให้เป็นอย่างที่อยากให้เป็นเลย ตรงนี้ผมแปลคำว่าสิทธิ์เท่ากับคำว่าอำนาจนะครับ คือ วิถีพุทธจริงๆ แล้วมันตรงกันข้ามกับอำนาจนิยมโดยสิ้นเชิง เพราะวิถีพุทธนั้น หัวใจของมันนั้นคือศักยภาพบางอย่างที่ปรากฏขึ้นจากภาวะไร้อำนาจ ไม่มีนัยของการควบคุม จำกัด หรือบังคับ แต่มันคือการศิโรราบ ยอมรับความจริง และอยู่อย่างสอดคล้องกับสิ่งที่เป็น พระพุทธเจ้าแสดงแบบอย่างของคนที่สละอำนาจ ไม่มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น ในการเดินท่องไปของพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก เรียกได้ว่า เป็นคนที่ต่ำยิ่งกว่าต่ำ เพราะฉะนั้นท่านจะถูกดูแคลน ถูกเหยียดหยามยังไง คำสอนมันจะไม่เข้าหูใครยังไง สมณะเหล่านั้นไม่ว่าจะได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคลหรือไม่ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไป ต่อว่า หรือไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งจะไปสอนหรือแก้ไขเขานะครับ

พระพุทธองค์ยังบอกอีกนะครับ ว่าแม้แต่สาวกที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วเนี่ย ก็ขอให้รักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบนี้ คือ วิถีของการเดินท่องไป ผมว่ามันมีนัยอะไรบางอย่างของการวางรากฐานจิตวิญญาณของพุทธศาสนาในแบบนี้ แม้ว่าในช่วงหลังคำสอนของพระพุทธองค์จะเริ่มเป็นที่ยอมรับกันในคนจำนวนไม่ น้อยในสังคมแล้วก็ตาม พระพุทธองค์ก็ยังเดินท่องไปเรื่อยๆจนวันตายเลยนะครับ คือ เดินจากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง สิ่งที่เจอก็คือสถานการณ์ต่างๆของสังคมที่ต่างกันออกไป วัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ภาษาที่ไม่เหมือนกัน คุณค่าทางสังคมที่ไม่เหมือนกัน ความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน โรคภัยไข้เจ็บที่ไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าวิถีการเดินท่องไปแบบนั้น ไม่มีหลักยึดอะไรได้เลย ต้องปล่อยสิ่งที่ตนคิดไว้อยู่ตลอดเวลา ต้องตื่น และเรียนรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา มันทำให้คนที่เดินบนวิถีนี้ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรู้ที่เกิดขึ้นมันถูกสังเคราะห์ใหม่อยู่ตลอดเวลา คือต้องเปิดรับและอยู่กับความไม่รู้ อย่างที่ไม่สามารถจะเอาความรู้เดิมที่คิดว่ารู้แล้วมาใช้แบบสำเร็จรูป ได้ กลุ่มคนเหล่านี้แม้จะไม่มีสิทธิ์อะไรในทางสังคมเลย เดินจากบ้านสู่ความไร้บ้านตลอดชีวิต แต่กลับเป็นเหมือนเอเย่นต์ของการเปลี่ยนแปลง หรือเอเย่นต์ของการเรียนรู้ใหม่ การทำความเข้าใจใหม่อยู่ตลอดเวลา และนี่คือวิถีของพุทธะ หรือวิถีของความตื่น

จะสังเกตเห็นนะครับว่าการประกาศพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า มันไม่ได้เป็นประกาศความเชื่อ หรือหลักคิดใหม่ทางสังคมและการเมือง ธรรมวินัยไม่ได้แสดงถึงอำนาจที่จะไปเปลี่ยนแปลงโลกอย่างที่เราคิดว่าดี แต่เป็นการประกาศถึงการวางตัววางใจอันแสดงออกในวิถีชีวิตที่ลงไปเรียนรู้และ สัมผัสกับความทุกข์ ปัญหา และผู้คน โดยยังรักษาต้นธารในป่า คือ พร้อมที่จะสละสิทธิ์ ปล่อยวางจากอำนาจ ผละจากบ้านหรือความยึดถือในตัวตน แล้วใช้ศักยภาพของความตื่น สติปัญญาในการเข้าหาผู้คน เรียนรู้สังคม วัฒนธรรม และเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้อง

ตรงนี้ผมมองว่าเป็นหัวใจหรือต้นธารของพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะถ้าเราจะเรียกพุทธศาสนาในประเทศไทยว่าพุทธศาสนาเถรวาทเนี่ย ยิ่งจะต้องทำความเข้าใจคุณค่าของวิถีชีวิตอันเป็นต้นธารจิตวิญญาณพุทธศาสนา นี้ หล่อเลี้ยงและรักษามันไว้ให้ได้

เราอาจจะสงสัยว่าเมื่อไม่มีสิทธิ์แล้ว จะมีอำนาจอะไรไปเปลี่ยนแปลงสังคม ก็เล่นอยู่ในป่า หาที่หลีกเร้นไปภาวนา อยู่ตามชายขอบของสังคม อาจจะเรียนรู้ผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมนึง แต่สักพักก็จากออกมา แล้วเดินทางต่อ แต่ในทางปฏิบัติ วิถีของคนไม่มีสิทธิ์ หรือคนชายขอบเหล่านี้กลับมีผลสะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอินเดียสูง มาก เพราะมันทำให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงบางสิ่งบางอย่างที่คนส่วนใหญ่ไม่คิดกัน และแม้จะออกจากสังคมไปแล้ว แต่วิถีสมณะนั้นก็ยังต้องสัมพันธ์กับสังคมจากการขอนะครับ โดยเฉพาะในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ากำหนดไว้เลยว่าการบิณฑบาตถือเป็นกิจอย่างหนึ่งที่จะยกเว้นไม่ ได้ ดังนั้นไม่ว่าคุณค่าใดที่ถูกค้นพบ ฝึกฝน และปฏิบัติ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคมอยู่ตลอด การบิณฑบาตถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ยึดโยงให้พุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับสังคม ไม่หลุดลอยออกมากลายเป็นการตัดขาดจากผู้คนหรือความทุกข์ร่วมกับคนอื่น อีกทั้งวิถีของการเดินท่องไปก็ไม่ได้ให้นัยของการตัดขาดตัวเองจากคนอื่นอยู่ แล้ว มันทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นมีอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้มาจากสถานะที่อยู่สูงกว่า คือตรงกันข้าม มันต้องมาจากสถานะที่เท่ากันหรือต่ำกว่าเสียด้วย

และอีกประเด็นที่น่าสนใจมากของ ความไม่มีสิทธิ์ ซึ่งมันอาจดูไม่มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเลย แต่ผมกลับมองว่าเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มากๆ ก็คือว่า คนที่ไม่มีสิทธิ์เนี่ย เนื่องจากว่าเค้าไม่ได้ต้องการการรับรองหรือการยืนยันในเชิงคุณค่าใดๆจาก สังคม คุณค่าของเขาได้ถูกพบแล้วด้วยตัวเอง และเป็นสิ่งที่เขานำมาฝึกฝนและปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเขาด้วย ขณะเดียวกันเขาก็เจียมตัว และพร้อมที่จะถูกปฏิเสธหรือถูกเตะออกไปจากสังคมอยู่ตลอดเวลา ตรงนั้นทำให้คนเหล่านี้ แม้จะไม่มีสิทธิ์ แต่ด้วยความตื่นและความเข้าใจในความเป็นไปต่างๆที่ได้ไปพบเห็น ทำให้เขามีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นคือ ความกล้าคน พวกนี้เรียกได้ว่าไม่มีอะไรต้องกังวล ไม่มีอะไรต้องกลัวเสีย ไม่ต้องเกรงว่าคนจะไม่ยอมรับ หรือคนจะไม่รัก เพราะวิถีของสมณะไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิ์หรืออำนาจถูกมั๊ยครับ สิ่งที่เขาสนใจมีแค่ความจริง และหนทางที่จะคลี่คลายความทุกข์ ความขัดแย้งในตนเองและผู้อื่นเท่านั้น อันนี้ผมว่ามันน่าสนใจ และมันอาจเปิดมุมมองให้เราเห็นถึงอิทธิพลที่พุทธศาสนามีผลต่อสังคมในหนทาง ที่ต่างออกไป โดยเฉพาะในเรื่องของ ความกล้าและ ความตื่นที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อรับใช้อำนาจทางสังคมที่ถูกกำหนดไว้

ความกล้าหาญทางจริยธรรมมันเกิดขึ้นมากนะครับในสมัยพุทธกาล มันมีความตื่นอยู่ในนั้น มีใจที่เปิดกว้างอยู่ในนั้น ขณะเดียวกันก็ยังรักษาต้นธารหรืออุดมคติที่มีรากอยู่ในป่าซึ่งคือพื้นที่ของอิสรภาพ พื้นที่ที่ไม่ถูกอำนาจของสังคมในการควบคุม พื้นที่ที่ไม่ถูกปรุงแต่งหรือกำหนด หรือเจือปนด้วยอคติ ซึ่งพื้นที่นั้นคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากเราจะพูดถึงจิตวิญญาณของพุทธศาสนา สิ่งที่ผมพูดไปทั้งหมดเป็นมุมมองในทางประวัติศาสตร์ศาสนา ที่อธิบายถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่พุทธศาสนาเถรวาทให้ความสำคัญนะครับ ถ้าพุทธศาสนาที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นพุทธศาสนาเถรวาท เป็นพุทธศาสนาสายที่เก่าแก่ที่สุด และซื่อตรงต่อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ที่สุด รากฐานเหล่านั้นมันอยู่ตรงไหน และเรายังมองเห็นอะไรที่ตั้งอยู่บนรากฐานนั้นอยู่บ้างหรือไม่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง (2): บทบาทที่น่าตั้งคำถามของศาสนจักร

“สลักธรรม” ชี้รัฐสมอ้างช่วยประกันเสื้อแดง แถมจวก “สุเทพ” ให้ปล่อยหมอเหวง-ก่อแก้ว หวังเสี้ยม


Wed, 2010-12-22 19:36

สลัก ธรรมเขียนเฟซบุ๊คแจงข้อเท็จจริงเรื่องที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยประกันเสื้อแดง เผยความจริงเป็นการผลักดันของ คอป. แถมจวก สุเทพหวังเสี้ยมให้ นปช.แตก หนุนปล่อยแกนนำเฉพาะหมอเหวง-ก่อแก้ว ชี้อยากสร้างภาพต่อประชาคมโลก

วันนี้ (22 ธ.ค.53) สลักธรรม โตจิราการ บุตรชาย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.ชี้แจงผ่านหน้เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีรัฐบาลพยายามเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการประกันตัวเสื้อแดงผ่าน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โดยระบุว่าความจริงการดำเนินการดังกล่าวเป็นการผลักดันของ นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

อีกทั้งยังชี้แจงกรณีการพบกันของนางธิดา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า เป็นความบังเอิญ โดยการพูดคุยเป็นการทวงถามถึงความพยายามที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.คือให้คนเสื้อแดงรวมถึงแกนนำได้รับการประกันตัว

ทั้งนี้ เนื้อหาในหน้า Facebook ระบุข้อมูลดังนี้

ข้อเท็จจริงเรื่องที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยประกันเสื้อแดงผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ์

โดยสลักธรรม โตจิราการ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2010 เวลา 18:17 น.

เรื่อง ที่มีรัฐพยายามเข้ามามีบทบาทการดำเนินการประกันตัวนั้น จริงๆ แล้วเป็นการผลักดันของคณะกรรมการ คอป.ที่ อ.คณิตเป็นกรรมการต่างหาก ไม่ได้เป็นความริเริ่มของรัฐบาล (ซึ่งเมื่อพวกเราเอาความจริงไปชี้แจงมากเข้า อ.คณิตก็เลยเห็นด้วย จึงไปทำการผลักดันรัฐบาล แน่นอน อ.คณิตออกหน้าไปเองแล้ว แต่ว่าสื่อทั้งหลายก็ไม่ได้รายงานสิ่งที่ อ.คณิตเสนอไปอย่างชัดเจนเลย และรัฐบาลก็เพิกเฉยต่อข้อเสนอของคณะกรรมการชุด อ.คณิต จนถึงขั้นที่ว่า พอสื่อถาม อ.ว่าทำไมไม่เห็นรัฐบาลทำตามข้อเสนอ อ.คณิตเลยตอบไปว่า "คุณลองไปถามรัฐบาลดูสิ") โดย อ.คณิตเสนอว่า หากต้องการปรองดอง รัฐบาลต้องหาทางปล่อยผู้ถูกคุมขังเสื้อแดงทั้งหมด แล้วพอ คอป.กดดันรัฐบาลมากเข้า อภิสิทธิ์เลยพยายามมองหาทางมาพูดคุยกับ นปช.เพื่อลดแรงกดดันจากฝั่ง คอป.ซึ่งก็ได้บังเอิญมาพบกันที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ (วันนั้นพอคนของทางรัฐบาลเห็นคุณแม่ของผมเข้า ก็เลยรีบไปตามปณิธานมา ปณิธานจึงได้รีบมาขอให้นายกรัฐมนตรีเข้าพบคุณแม่ของผมในทันที)

เมื่อ ได้พบอภิสิทธิ์ทางคุณแม่ของผมจึงได้ทวงถามความพยายามที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.เพราะทางอภิสิทธิ์มักจะอ้างว่าเคารพและพยายามปฏิบัติตามข้อเสนอของ คอป.ที่ให้ปล่อยแกนนำทันที แต่ทางแกนนำและคนเสื้อแดงไม่ร่วมมือ ไม่ยอมให้คนของกรมคุ้มครองสิทธิ์ซึ่งพวกเขาอ้างว่าเป็นคนที่ทางรัฐบาลส่ง เข้าไปช่วยเหลือเข้าพบ จึงไม่สามารถทำให้ความพยายามของรัฐบาลที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.คือช่วยให้คนเสื้อแดงรวมถึงแกนนำได้ออกมาจากคุกได้

ซึ่ง ข้อสรุปออกมาว่า ทาง นปช.และทีมทนายของ นปช.จะเป็นผู้ประกันตัวพวกเราออกมากันเอง เนื่องจากพวกเราเองก็มีศักดิ์ศรี และจะออกมาตามสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ของพลเมืองไทย ไม่ใช่ด้วยความกรุณาของใคร หากรัฐบาลต้องการแสดงความจริงใจ ก็ทำหนังสือมายืนยันความบริสุทธิ์ของพวกเราในคุก ซึ่งรัฐบาลก็บอกว่าจะทำให้ โดยขอให้ผู้ต้องขังยื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมไปยังกรมคุ้มครองสิทธิฯ เสียก่อน แล้วกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะช่วยพิจารณา ไม่ใช่ว่ารัฐจะประกันตัวให้อย่างที่เป็นข่าวนะครับ

จากนั้น สลักธรรม ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า คิดว่าในตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่กระทำไป ก็คงจะไม่ใช่จากน้ำใสใจจริง แต่เป็นเพราะว่าถูกกดดัน โดยนอกจากจะจาก คอป.แล้ว คิดว่าคงจะมีอีกหลายชาติและหลายหน่วยงานระหว่างประเทศมากดดันในทางลับ ทำให้อภิสิทธิ์ต้องมากระทำอย่างนี้ และก็อีกประการหนึ่ง จริงๆ แล้ว สิ่งที่ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะให้กับเสื้อแดงในตอนนี้ก็คือ หนังสือรับรองเท่านั้นเอง ซึ่งจะเอาไปยื่นต่อศาล หากเขาไม่ให้ เราก็มีหลักฐานจำนวนมาก เช่น หนังสือของ คอป.เอง หนังสือของ Helsinki commission และหนังสือของ Human right watch ที่ได้พูดถึงประเด็นของความไม่ชอบธรรมในการจับกุมคุมขังเสื้อแดง ที่เตรียมเอาไปยื่นต่อศาลอยู่แล้ว

ชี้ สุเทพเสี้ยมให้ นปช.แตก จวกสร้างภาพต่อประชาคมโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สลักธรรม ได้แสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวที่ว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไม่คัดค้านการประกันตัวเฉพาะ นพ.เหวง โตจิราการ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง (คลิกเพื่ออ่านข่าว) ในขณะที่ทั้งอัยการหรือแม้กระทั่ง ศอฉ.ไม่คัดค้านการประกันตัวแกนนำคนใดคนหนึ่งเลย ส่วน คอป.ที่รัฐบาลตั้งให้ช่วยดูแลเรื่องนี้ขอให้ปล่อยตัวทุกคน โดยเป็นการกระทำเพื่อหวังผล คือ 1.สร้างปัญหาให้กับขบวนการของ นปช. เกิดความไม่ไว้วางใจกัน รวมกระทั่งวางแผนทำลายการทำงานของนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.คุณแม่ของเขา ทั้งที่อ้างว่าถือหางคุณแม่ของเขา

2.สร้างภาพต่อประชาคมโลกเพื่อลดแรงกดดันของตนเอง ซึ่งก็เกิดข้อสงสัยว่ารัฐบาลต้องการจะส่งสัญญาณที่ทำให้การตัดสินของศาลเป็น ไปตามเจตนารมณ์ของตนหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล อย่างไรก็ตาม สลักธรรมแสดงความคาดหวังว่าจะไม่มีคนตกหลุมพรางทางอารมณ์ที่มีการขุดหลุมดัก ไว้