สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความ อ.สุธาชัย “ระบอบอำมาตยาธิปไตยใหม่” การเลือกตั้งที่ต้องได้อย่างใจ“ชนชั้นนำ"

อายุธ

ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง!


คอลัมน์ ถนนประชาธิปไตย

โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

ในสถานการณ์ขณะที่ดำรงอยู่นี้เป็นที่สงสัยกันเสมอว่าระบอบการปกครองปัจจุบันของประเท
ศไทยเป็นแบบไหน ยังเป็นประชาธิปไตยใช่หรือไม่

คำตอบคือไม่ใช่ ระบอบการปกครองแบบที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นระบอบที่เรียกว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง


ความจริงแล้วประเทศไทยของเราไม่ได้อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเลยนับตั้งแต่ การรัฐปร
ะหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา เพราะหลักการสำคัญของประชาธิปไตยในประเทศตะวันตกนั้นเขาถือเสียงของประชาชน เป็นเสียงสวรรค์ ใครหรือพรรคการเมืองใดจะได้อาณัติทางการเมืองไปบริหารประเทศจะต้องมาจาก คะแนนเสียงของประชาชนเป็นหลัก และเมื่อพรรคการเมืองนั้นได้สิทธิในการบริหารประเทศไปแล้วก็จะถูกกำหนด โดยกรอบเวลาที่แน่นอน เช่น 4 ปี หรือ 6 ปี ก็จะมีการคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินกันใหม่ ภายใต้ระบอบเช่นนั้นกองทัพก็ไม่มีสิทธิในการก่อรัฐประหารทำลายประชาธิปไตย และไม่มีศาลหรือตุลาการไหนจะมาตัดสินยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมืองผู้ชนะการเลือกตั้งหรือพรรคที่ชนะเลือกตั้งได้ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกมาจากประชาชนนั้นจะบริหารประเทศไปจนกว่าจะครบวาระ ที่ต้องตัดสินกันใหม่จึงจะว่ากันใหม่ตามกติกา

แต่ระบอบประชาธิปไตยในจินตภาพเช่นนี้ในสังคมไทยถูกทำลายไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยการยึดอำนาจของคณะทหารที่เรียกชื่อยาวว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือชื่อย่อว่า คปค. ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนั้นได้ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยังล้มเลิกรัฐธรรมนูญของชาติไปด้วย มีการล้มเลิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วตั้งรัฐสภาใหม่ที่มาจากการแต่งตั้ง ล้วนมาทำหน้าที่แทน นอกจากนี้ยังนำมาซึ่งรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ลาออกจากองคมนตรีมารักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มแห่งการสถาปนาอำนาจตามระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่าง ชัดเจน
ในตำรารัฐศาสตร์ของฝ่ายกระแสหลักมักอธิบายว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยคือระบอบที่ปกครองโดยอาศัยระบอบราชการ นำมาจากภาษาอังกฤษว่า bureaucratic state แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะการปกครองในแบบประชาธิปไตยต้องอาศัยกลไกรัฐการเช่นกัน อดีตรัฐคอมมิวนิสต์ เช่น โซเวียตรัสเซียก็เคยมีระบอบรัฐการอันใหญ่โต แต่การปกครองเช่นนั้นไม่ถือว่าเป็น อำมาตยาธิปไตย


ความหมายที่แท้จริงของอำมาตยาธิปไตยคือการปกครองโดยชนชั้นนำหรือชนชั้นสูง ผู้รู้ดี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Aristocracy ชนชั้นนำที่รู้ดีเหล่านี้จะเรียกว่า พวกอำมาตย์


กรอบความคิดพื้นฐานของระบอบอำมาตยาธิปไตยคือกรอบความคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่ ไม่เป็นปร
ะชาธิปไตย ในประวัติศาสตร์ไทยถือว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยเริ่มต้นจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นการรัฐประหารโค่นอำนาจของคณะราษฎร มีการฟื้นแนวคิดอนุรักษ์นิยมให้เป็นแนวคิดหลักของสังคม แนวคิดแบบอำมาตยาธิปไตยนี้ถือว่าประชาชนชาวบ้านส่วนมากไม่มีความรู้และไม่สา มารถปกครองตนเองได้ จึงต้องยินยอมให้อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของพวกอำมาตย์ ซึ่งเป็นชนชั้นนำจำนวนน้อย โดยถือว่าพวกอำมาตย์เหล่านี้เหมาะสมด้วยคุณงามความดีและความสามารถ โดยกลุ่มคนดีมีความสามารถเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือถ้ามาจากการเลือกตั้งก็ไม่จำเป็นต้องชนะ แต่ขอให้เป็นคนดี ถูกใจชนชั้นนำก็สามารถที่จะบริหารประเทศได้

ดังนั้น ภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย กลไกประชาธิปไตยจึงไม่มีความจำเป็น และโดยทั่วไปกลไกสำคัญของประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งจะถูกดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นกลไกทุจริต มาจากการซื้อเสียง นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็จะถูกพิจารณาว่าเป็นคนชั่ว ขณะที่พวกที่มาจากการแต่งตั้งหรือไม่เคยลงสมัครเลือกตั้งจะถือว่าเป็นคนดี ระบอบอำมาตยาธิปไตยจึงมีหลักการที่กลับตาลปัตรกับประชาธิปไตย


ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ คนดีในทรรศนะของฝ่ายอำมาตย์คือคนที่มีภาพพจน์ดี โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบ อาศัยความศรัทธา ขอให้ประชาชนเชื่อว่าเป็นคนดีเป็นใช้ได้ ซึ่งหลายครั้งจะพบว่าคนดีเหล่านี้คือพวกนักสร้างภาพ หน้าไหว้หลังหลอก พวกหน้าตาดีใจอำมหิต แต่กระนั้นก็ขอให้ประชาชนศรัทธาในคนพวกนี้ต่อไประบอบอำมาตยาธิปไตยก็ดำรง อยู่ได้

ครั้งหนึ่งฝ่ายอำมาตย์สามารถที่จะผลักดันการก่อการรัฐประหารแล้วบริหาร ประเทศโดยไม่ม
ีการเลือกตั้ง หวังจะให้ประชาชนอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการนาน 12 ปีนั้นคือรัฐบาลปฏิรูปของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมาจากการก่อรัฐประหาร เข่นฆ่านักศึกษาประชาชนเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลธานินทร์มีรัฐสภามาจากการแต่งตั้ง มีคณะบริหารที่มาจากการแต่งตั้งหมด แต่ในทางความเป็นจริงรัฐบาลอำมาตย์มักทำงานไม่ค่อยเป็น รัฐบาลธานินทร์บริหารผิดพลาดมากมาย จนในที่สุดก็ถูกกลุ่มขุนศึกสายปฏิรูปโค่นอำนาจลง หลังจากบริหารอยู่ได้เพียงปีเดียว หลังจากนั้นมีการฟื้นฟูประชาธิปไตยและให้ประชาชนมีการเลือกตั้ง จนทำให้กระแสประชาธิปไตยเริ่มมีความต่อเนื่อง และประชาชนไทยคุ้นเคยกับการที่มีการเลือกตั้งตามกำหนด

หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ฝ่ายอำมาตย์ก็ได้แต่งตั้งรัฐบาลของตนเองมาบริหารประเทศคือ รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ฝ่ายอำมาตย์ก็ตระหนักดีว่าไม่สามารถที่จะปกครองแบบเผด็จการโดยไม่มีการ เลือกตั้ง รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์จึงประกาศเป็นรัฐบาลชั่วคราว เพื่อดำเนินการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และเปิดให้มีการเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญใหม่ของฝ่ายอำมาตย์คือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็ออกแบบระบอบการเมืองให้พิกลพิการ ไม่ให้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ แล้วจึงให้มีการเลือกตั้ง

แต่จะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าประชาชนจะต้องเลือก บุคคลและเล
ือกพรรคที่ฝ่ายอำมาตย์ชอบ จะเลือกพรรคที่ประชาชนชอบไม่ได้ จึงได้มีความพยายามทุกทางที่จะให้พรรคที่ฝ่ายอำมาตย์นิยมชมชื่นคือ พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง แล้วจะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่การเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่ได้ให้ผลตามเจตนารมณ์ของฝ่ายอำมาตย์ พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นฝ่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชนะเลือกตั้ง ฝ่ายพรรคของอำมาตย์แพ้เลือกตั้ง ฝ่ายอำมาตย์จึงจำเป็นที่จะต้องให้ฝ่ายพรรคพลังประชาชนเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล และยอมให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ฝ่ายอำมาตย์ก็พยายามบ่อนแซะทำลายรัฐบาลพลังประชาชนมาตั้งแต่ต้น จนในที่สุดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ได้ใช้กลไกตุลาการฝ่ายอำมาตย์ยุบพรรคพลังประชาชน แล้วตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค จากนั้นก็ใช้กลไกฉ้อฉลในระบอบรัฐสภาอุ้มพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาล ให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีสมใจพวกอำมาตย์ ทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคขี้แพ้


การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์จึงไม่ได้มีความสง่างามอะไรเลย แต่ก็ยังไม่ละอายที่จะบริหารประเทศมาจนขณะนี้ และเมื่อมีประชาชนออกมาต่อต้านคัดค้าน นายอภิสิทธิ์ก็ใช้กองทัพเข้าเข่นฆ่าสังหารประชาชนเพื่อรักษาอำนาจ จนทำให้มีการเสียชีวิตนับร้อย และบาดเจ็บนับพันคน นายอภิสิทธิ์จึงเปลี่ยนภาพเป็น ฆาตกรอำมหิตกลายเป็นคนดีที่มือชุ่มเลือดแต่พวกอำมาตย์ก็ยังอุ้มนายอภิสิทธิ์ต่อไป


กล่าวโดยสรุป ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งก็คือระบอบการเมืองที่ฝ่ายอำมาตย์ถือ อำนาจสูงสุ
ด ปล่อยให้ประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนก็จะต้องอยู่ในโอวาท เลือกพรรคที่ฝ่ายอำมาตย์ชอบ เลือกบุคคลที่อำมาตย์พอใจ ถ้าเลือกพรรคที่ฝ่ายอำมาตย์ไม่ชอบพรรคนั้นต้องถูกยุบ บุคคลที่ประชาชนเลือกต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง และเปิดทางให้พรรคที่อำมาตย์ชอบมาบริหารจนได้ แม้ว่าจะเป็น ไอ้ขี้แพ้ก็ตาม อาณัติของประชาชนจึงไม่มีความสำคัญอีกต่อไปภายใต้ระบอบเช่นนี้

ปัญหามีว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยนั้นเป็นระบอบที่ล้าหลังทั้งทางความคิดและ วัฒนธรรม เป็นระบอบที่สวนทางประวัติศาสตร์และร่อแร่ใกล้จะหมดเวลา ในที่สุดแล้วจะต้องพังทะลาย ระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์จะต้องถูกรื้อฟื้นกลับมาใหม่

รอเพียงเงื่อนเวลาเท่านั้น!


(ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น