สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์: การกีดกันความเป็น “คอมมิวนิสต์” ออกจาก จิตร ภูมิศักดิ์ หลัง-พคท.


Tue, 2010-11-02 22:49

ธิกานต์ ศรีนารา

นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ: บทความวิชาการเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ ชิ้นนี้ ถูกนำเสนอในการสัมมนา 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ประชาไทขออนุญาตจากผู้เขียนนำมาเผยแพร่ต่อ

บทความชิ้นนี้ต้องการเสนอว่า มีข้อเท็จจริงร่วมสมัยจำนวนมากที่ยืนยันว่า จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคอมมิวนิสต์แบบ พคท.ซึ่งวิเคราะห์สังคมไทยว่าเป็นสังคม กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาและมุ่งทำการปฏิวัติโค่นล้มทั้ง ทุนนิยมและ ศักดินาในช่วงระหว่างหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เมื่อ พคท. สามารถขยายอิทธิพลทางความคิดเข้าสู่ขบวนการนักศึกษาปัญญาชนได้อย่างกว้าง ขวางนั้น ภาพพจน์ของการเป็น ปัญญาชนปฏิวัติของจิตรได้รับการ ขานรับเป็นอย่างดีจากนักศึกษาปัญญาชน และเมื่อนักศึกษาปัญญาชนฝ่ายซ้ายเข้าไปร่วมการต่อสู้ด้วยอาวุธกับ พคท. ในเขตป่าเขาภายหลังกรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ความเป็นคอมมิวนิสต์ของจิตรก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ไร้ข้อกังขาใดๆ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การกีดกัน ความเป็นคอมมิวนิสต์ออกจากจิตรเริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ ๒๕๒๐ เมื่อบรรดานักศึกษาปัญญาชนฝ่ายซ้ายเกิดวิกฤตศรัทธาต่อ พคท. แล้วแยกตัวออกจากพรรคไปหลบเร้นเยียวยาตนเองไม่ปรากฏตัวต่อหน้าผู้คน ได้เปิดที่ทางให้กับการพูดถึงจิตรแก่ปัญญาชนทั้งไทยและเทศที่ไม่ใช่ฝ่าย ซ้าย, มี อคติต่อ คอมมิวนิสต์ค่อนข้างรุนแรง แต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็ชื่นชมในอัจฉริยภาพในด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และ วิชาการของจิตรอยู่มาก ได้พยายาม กีดกันความเป็นคอมมิวนิสต์ผู้ซึ่งมุ่งทำการปฏิวัติโค่นล้มทั้ง ทุนนิยมและศักดินาออกไปจากจิตร แล้วเลือกที่จะพูดถึงเฉพาะอัจฉริยภาพในด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และ วิชาการจิตรเพียงด้านเดียว และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการพูดถึงจิตรในลักษณะที่ ขัดแย้งหรือไม่แคร์ไม่สนต่อความเป็น คอมมิวนิสต์ของจิตรซึ่งเกิดขึ้นตามวาระโอกาสต่างๆ ของผู้คนในยุคปัจจุบัน

๑. ก่อน ๑๔ ตุลา: จิตร ภูมิศักดิ์ ผู้เป็นอยู่และตายเยี่ยง คอมมิวนิสต์

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็น คอมมิวนิสต์อย่างไม่ต้องสงสัย ก่อนเข้าป่าเขาเขียนหนังสือวิพากษ์ทั้ง ศักดินาและ ทุนนิยม”, เขาเข้าร่วมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับ พคท. และถูกยิงตายที่ ชายป่าในฐานะ คอมมิวนิสต์

ความเป็น คอมมิวนิสต์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นแบบ พคท. ซึ่งยึดถือทฤษฎี กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาที่มุ่งต่อต้านโค่นล้มทั้งทุนนิยมและศักดินาดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากหนังสือที่ตีพิมพ์ในปี ๒๔๙๓ ชื่อ ไทยกึ่งเมืองขึ้น ของ อรัญญ์ พรมชมพู หรือ อุดม สีสุวรรณ กรรมการกลางพรรคปี ๒๔๙๕ และสมาชิกกรมการเมือง ปี ๒๕๑๒

ใน ไทยกึ่งเมืองขึ้น อุดม สีสุวรรณ วิเคราะห์ว่า นับตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นต้นมา สังคมไทยก็กลายเป็นสังคม กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาที่ด้านหนึ่ง การรุกรานของจักรพรรดิเฉือนเอาแผ่นดินไทยไปเป็นเมืองขึ้นของตน คุกคามทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในฐานะ กึ่งเมืองขึ้นของจักรพรรดินิยมขณะที่อีกด้านหนึ่ง การรุกรานของจักรพรรดินิยมได้ทำให้รากฐานทางเศรษฐกิจของระบอบศักดินาไทยต้อง สลายตัวลงสร้างเงื่อนไขและโอกาสให้แก่การผลิตแบบทุนนิยมในสังคมไทย ผลักดันให้สังคมไทยก้าวออกจากระบอบศักดินามาเป็น กึ่งศักดินา

เราสามารถมองเห็นความคิดที่วิพากษ์ทั้ง จักรวรรดินิยมและ ศักดินาของ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อย่างชัดเจนในหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบัน (๒๕๐๐) ที่เปิดฉากวิพากษ์ทั้ง จักรวรรดินิยมและศักดินาตั้งแต่ย่อหน้าแรก ดังนี้

ในกระแส คลื่นแห่งความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ, การเมืองและวัฒนธรรมปัจจุบันนี้ สิ่งที่ประชาชนไทยได้ยินและกล่าวขวัญถึงจำเจ เป็นปัญหาประจำวันก็คือ จักรวรรดินิยม (ซึ่งรวมทั้ง นายทุนนายหน้า และ นายทุนขุนนาง ผู้เป็นสมุนของมัน) และ ศักดินา. สถาบันของประชาชนทั่วไปจะเป็นหนังสือพิมพ์ก็ดี. การอภิปรายในที่สาธารณะเช่นท้องสนามหลวงของจังหวัดพระนคร และในบริเวณศาลากลางหรือตลาดของต่างจังหวัดก็ดี, และแม้ในความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของประชาชน เป็นต้นว่าการเดินขบวนก็ดี เสียงที่ดังที่สุดก็คือ เสียงคัดค้านและประณามจักรวรรดินิยมและศักดินา

แน่นอนความ เคลื่อนไหวอย่างกว้างของประชาชนไทยที่คัดค้านและประณามจักรวรรดินิยมและ ศักดินานี้ ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดีที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยในปัจจุบันนี้ ได้ตื่นตัวขึ้นแล้วโดยสมบูรณ์ เขาได้สามารถมองเห็นแล้วอย่างชัดเจนว่า ใครคือศัตรูที่ปล้นสะดมแล่เนื้อเถือหนังพวกเขาและใครคือศัตรูที่สูบรีดซึม ลึกเข้าไปจนถึงแก่นกระดูกดำของเขาทั้งมวล ความจัดเจนในชีวิต...สอนให้ประชาชนไทยมองเห็นได้ว่า ต้นตอที่มาใหญ่ของมันก็คือ จักรวรรดินิยม (รวมทั้งสมุนคือนายทุนนายหน้าและนายทุนขุนนาง) และศักดินา

...........

ยิ่งกว่า นั้น ประชาชนไทยยังมองเห็นอีกด้วยว่า การขูดรีดและกดขี่ประชาชนของจักรวรรดินิยมและศักดินานั้น เป็นการขูดรีดร่วมกัน (Collective Exploitation) นั่นคือ ทั้งคู่ต่างมีผลประโยชน์ในการขูดรีดร่วมกัน...ดังนั้นเอง เสียงสะท้อนจึงดังก้องมาจากประชาชนไทยเสมอว่า ศัตรูตัวสำคัญที่เขาจะต้องขจัดอย่างรีบด่วนที่สุดก็คือ จักรวรรดินิยมจากภายนอกและศักดินาจากภายใน

แต่ที่จิตรพูดออกมาอย่างชัดเจนที่สุดก็คือในบทความชื่อ ความพ่ายแพ้ของภาพยนตร์จักรพรรดินิยมซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ ปิตุภูมิ ระหว่างปี ๒๔๙๙ ๒๕๐๐ ที่ว่า

สภาพชีวิต ในสังคมไทยปัจจุบันเป็นสภาพชีวิตแบบ กึ่งศักดินา กึ่งเมืองขึ้น ซึ่งเป็นแบบเดียวกับสังคมจีนก่อนการปลดแอก คือ ศักดินายังคงมีอิทธิพลมหึมาในการขูดรีดประชาชน พวกขุนศึกกำลังแก่งแย่งอำนาจช่วงชิงผลประโยชน์กัน และขณะเดียวกันก็กดขี่ประชาชนอย่างหนัก จักรพรรดินิยมก็กระหน่ำซ้ำเติมการขูดรีดอยู่อีกแรงหนึ่งอย่างหนักหน่วงด้วย

การมีความคิดที่วิพากษ์ทั้ง จักรวรรดินิยมและศักดินาของจิตร เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่ปัญญาชนซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกับเขา ในหนังสือ คอมมิวนิสต์ลาดยาว ทองใบ ทองเปาด์ เล่าว่า จิตร เป็นคนที่เกลียดชังทุนนิยม ศักดินานิยมและจักรพรรดินิยมอย่างเข้ากระดูกดำ

ชื่อทางการ ของเขา ใครๆ ก็เรียกว่า จิตร ภูมิศักดิ์ถูกแล้ว ผมหมายถึงเขา จิตร ภูมิศักดิ์ หรือ ทีปกร หรือ สมชาย ปรีชาเจริญ หรือ กวีการเมือง หรือ อื่นๆ อีก ซึ่งล้วนเป็นนามที่ ศักดินาเกลียด จักรพรรดินิยมแสยงทั้งสิ้น

ขณะที่ในหนังสือ วาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ๒๕๓๑ แคน สาริกา ได้นำเสนอข้อมูลที่ ลึกยิ่งกว่าที่ ทองใบ ทองเปาด์ เล่าไว้ใน คอมมิวนิสต์ลาดยาว เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานของ พคท. กับ จิตร ภูมิศักดิ์ ในช่วงที่อยู่ใน คุกลาดยาวว่า การจับกุมอย่างเหวี่ยงแหของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำให้มีผู้คนจากหลายที่หลายกลุ่มมารวมกันอยู่ใน คุกลาดยาว

ข้อความต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่า ระหว่างที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในคุกลาดยาวนั้น รอบตัวเขาเต็มไปด้วยสมาชิกระดับสูงของ พคท.

กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) อาทิเช่น เปลื้อง วรรณศรี, อุดม สีสุวรรณ, หนก บุญโยดม และคนอื่นๆ

กลุ่มที่สอง นักการเมืองแนวสังคมนิยม อย่างเทพ โชตินุชิต, พรชัย แสงชัจจ์, เจริญ สืบแสง ฯลฯ

กลุ่มที่ สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ นักหนังสือพิมพ์ชื่อดังที่ติดร่างแหเข้ามาด้วยเช่น อุทธรณ์ พลกุล, อิศรา อมันตกุล, สนิท เอกชัย, เชลง กัทลีระดะพันธ์ ฯลฯ

กลุ่มที่ สี่ นักศึกษาปัญญาชน ที่มาจากรั้วจุฬาฯ ก็มี จิตร ภูมิศักดิ์, ประวุฒิ ศรีมันตะ และสุธี คุปตารักษ์ จากรั้วเกษตรฯ ได้แก่ นิพนธ์ ชัยชาญ และบุญลาภ เมธางกูร นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาหนุ่มไฟแรงอีกหลายคน

กลุ่มที่ ห้า เป็นชาวนาจากบ้านนอก และชาวเขาจากดงดอยภาคเหนือ พวกนี้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ผิดกับชาวนาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในสายจัดตั้งของ พคท.

กลุ่มนัก ศึกษารวมตัวกันในนาม กลุ่มหนุ่มหรือ กลุ่มเยาวชนโดยมีจิตรเป็นแกนหลักคนหนึ่งของกลุ่ม จริงๆ แล้ว คนในกลุ่มหนุ่มมีทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคฯ และเพิ่งก้าวเข้ามาสู่องค์กรจัดตั้ง อย่างนักศึกษาจากเกษตรฯ ส่วนหนึ่งกลายเป็นสมาชิกสันนิบาตเยาวชนของพรรคฯ มาก่อนเข้าคุก

อดีต กรรมการจังหวัด (พคท.) ตากผู้หนึ่งซึ่งเคยร่วมกับกลุ่มหนุ่มสมัยนั้นเล่าว่า แม้แต่องค์กรจัดตั้งของพรรคฯ ในลาดยาว ยังตื่นตระหนกต่อบทบาท ผู้นำกลุ่มเยาวชนของจิตร ถึงขนาดกลุ่มคนแก่ของพรรคฯ และกรรมการกลางพรรคฯ บางคนต้องคอยปรามจิตรด้วยการแสดงทัศนะตอบโต้ผ่านมาทางนักศึกษาปัญญาชนของ พรรคฯ คนหนึ่ง กล่าวหาว่า จิตรกับพวกเป็น หนุ่มเลือดร้อนหรือซ้ายไร้เดียงสา

อดีต กรรมการจังหวัดคนเดิม (ผู้มีฉายาว่า คอมมิวนิสต์กำแพง”) ขยายภาพความขัดแย้งให้ชัดขึ้นอีกว่า องค์กรพรรคฯ ในลาดยาวแบ่งเป็นสองปีก ปีกขวาประกอบด้วยกรรมการกลางพรรคฯ กับสมาชิกพรรคฯ ภาคใต้ ปีกซ้ายมีสมาชิกพรรคฯ ภาคอีสานร่วมมือกับกลุ่มหนุ่ม การต่อสู้ของสองปีกดำเนินไปเป็นระยะๆ บางคราวเป็นเอกภาพ และบางคราวก็ขัดแย้ง ธง แจมศรี กรรมการกลางพรรคฯ คนหนึ่งซึ่งอยู่ในคุกลาดยาวคอยทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครั้งแล้วครั้ง เล่า

ในปีกซ้าย มีสมาชิกพรรคฯ อาวุโสจากศรีสะเกษเป็นหัวหอก ปีกนี้โจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นพวกฝันกลางวัน หรือนักประนีประนอม พูดตามภาษาซ้ายทางการก็คือ พวกฉวยโอกาสเอียงขวาหรือ ลัทธิยอมจำนนสมาชิกบางคนในปีกนี้ถึงขั้นตั้งข้อสงสัยกรรมการกลางพรรคฯ คนหนึ่งว่าเป็นสายสันติบาล

ด้านปีกขวา ก็งัดตำราออกมาตอบโต้ปีกซ้ายอย่างหนักหน่วงเช่นกัน ข้อหาที่ตั้งให้อีกฝ่ายก็ฉกาจฉกรรจ์ไม่แพ้กับที่ปีกซ้ายตั้งให้ฝ่ายตน ฝ่ายนี้ถือว่าปีกซ้ายเป็น พวกฉวยโอกาสเอียงซ้ายหรือพวกลัทธิสุ่มเสี่ยง

แต่ที่ทั้ง สองปีกร่วมมือกันเป็นเอกภาพก็คือ การวิพากษ์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ด้วยเห็นว่า อาจารย์เสริฐเดินแนวทางสันติ หรือลัทธิแก้ ขณะเดียวกันก็ดึง สังข์ พัธโนทัย เข้ามาเป็นแนวร่วม

ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการ เป็นอยู่และ ตายอย่าง คอมมิวนิสต์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ นั้น สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ วาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์ ของ แคน สาริกา ซึ่งกล่าวไว้อย่างละเอียด

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคอมมิวนิสต์ เขาวิเคราะห์ว่าสังคมไทยเป็น กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาเขาต่อต้านทั้ง จักรวรรดินิยมและศักดินาเช่นเดียวกับ พคท. และเขาก็ตายในฐานะคอมมิวนิสต์

๒. จิตร ภูมิศักดิ์ หลัง ๑๔ ตุลา:ศิลปินนักรบของประชาชน”, “นักรบของคนรุ่นใหม่”, “นักปฏิวัติผู้ไม่ตาย”, “อัจฉริยะของประชาชนและอื่นๆ

หลังกรณี ๑๔ ตุลา กระแสความคิดสังคมนิยมของ พคท. ได้เติบโตขึ้นและแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในหมู่นักศึกษาและปัญญาชนอย่างกว้าง ขวาง จนในท้ายที่สุดก็ก้าวขึ้นมามีชัยชนะเหนือกระแสความคิดอื่นๆ

ในช่วงระหว่างปี ๒๕๑๖ ๒๕๑๙ ความเป็น คอมมิวนิสต์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หาได้เป็น ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเติบโตเฟื่องฟูของกระแสสังคมนิยมแบบ พคท. ไม่ หากแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแส พคท. เติบโตขึ้นด้วยซ้ำ ในการประชุมทางวิชาการ ๗๒ ปี จิตร ภูมิศักดิ์ ที่จัดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่า

จิตรเป็นคน แรกที่นำเอาไอเดียเรื่องการรับใช้ประชาชนที่ว่าศิลปะทุกอย่างจะต้องแยกกัน อย่างชัดเจน แม้กระทั่งรูปแบบก็ไม่เป็นรูปแบบที่ไม่เป็นแบบศักดินา เอาเข้าจริงๆ เหตุผลที่นักศึกษาหลัง ๑๔ ตุลา ชอบจิตรมากๆ มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ในความเห็นผม ถ้าถามว่าใครควรรับผิดชอบมากที่สุดต่อความเป็นซ้ายจัดแบบวรรณกรรมของนัก ศึกษาในช่วง ๑๔ ๖ คือจิตรนี่แหละ

ข้อเสนอนี้ไม่ผิดไปจากสิ่ง ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลานั้น เพราะในเวลานั้น ผลงานของจิตรถูกนำกลับมาพิมพ์ซ้ำหลายครั้งโดยกลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนฝ่าย ซ้ายหลากหลายกลุ่ม เช่น

ชมรมหนังสือแสงตะวันตีพิมพ์ บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา (ในปี ๒๕๑๗), กวีการเมือง (๒๕๑๗), โฉมหน้าศักดินาไทย (ในปี ๒๕๑๗),ทีปกร ศิลปินนักรบของประชาชน (๒๕๑๗) ด้วยเลือดและชีวิต เรื่องสั้นที่สรรแล้วของสงครามต่อต้านเวียดนาม (ในปี ๒๕๑๙), ความเรียงว่าด้วยศาสนา (ในปี ๒๕๑๙),

แนวร่วมนักศึกษาเชียงใหม่ตีพิมพ์ รวมบทกวีและงานวิจารณ์ศิลปวรรณคดีของกวีการเมือง (ในปี ๒๕๑๗),

กลุ่มวรรณกรรมธรรมศาสตร์ตีพิมพ์ รวมบทกวีที่สรรแล้วโดย กวีประชาชน” (ในปี ๒๕๑๗),

กมล กมลตระกูล ตีพิมพ์ ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน (ในปี ๒๕๑๗),

ฝ่ายศิลป-วัฒนธรรม ส.จ.ม. (สโมสรนิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ตีพิมพ์ บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรมของ จิตร ภูมิศักดิ์” (ในปี ๒๕๑๗)

สภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงตีพิมพ์ นิราศหนองคายวรรณคดีที่ถูกสั่งเผา (ในปี ๒๕๑๘)

ในปี ๒๕๑๗ หนังสือบางเล่ม เช่น โฉมหน้าศักดินาไทย ถูกจัด พิมพ์ร่วมกันโดยกลุ่มอิสระหลายกลุ่ม ได้แก่ สภาหน้าโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สภากาแฟ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, แนวร่วมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

เห็นได้ชัดว่า ชื่อเสียงของจิตรในช่วงหลัง ๑๔ ตุลานั้น เป็นที่รับรู้กันโดยทั่ว ในบทนำของหนังสือ บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรมของ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ๒๕๑๗ สถาพร ศรีสัจจัง นักศึกษาฝ่ายซ้ายในสมัยนั้นบรรยายว่า

ในช่วงแห่ง การต่อสู้ที่ทวีความเข้มข้นขึ้น งานของจิตร ภูมิศักดิ์ ก็ถูกพิมพ์เผยแพร่ใหม่ และขจายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการพูดถึงท่านกันอย่างมากมาย เด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ได้นำเรื่องราวของท่านมาแต่งเป็นเพลงขับร้องเชิงเป็น ตำนานนักสู้ประชาชนผู้ยิ่งใหญ่ แม้แต่บรรดานักวิชาการเสรีนิยมทั้งหลายก็ต้องหันมาสนใจถึงกับมีการจัดสัมมนา กันขึ้นถึงเรื่องราวของท่าน

ในเดือนกันยายนปี ๒๕๑๗ มีการจัดสัมมนาเรื่อง แนวความคิดของจิตร ภูมิศักดิ์โดย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

ในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๗ ชลธิรา กลัดอยู่ ในฐานะบรรณาธิการ อักษรศาสตร์พิจารณ์ ได้อุทิศเนื้อที่ของวารสารเกือบทั้งหมดให้กับเรื่องราวของ ศิลปินของประชาชน?”

สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๑๗ นำเอาบทกวีเปิบข้าวของจิตรมาไว้ที่ปกหน้าและเอาภาพถ่ายของจิตรมาแสดงในหน้าถัดไปและตีพิมพ์บท ความ โฉมหน้าศักดินาไทยในสายตาของ จิตร ภูมิศักดิ์ของ ธรรมเกียรติ กันอริ

ในเดือนตุลาคม ๒๕๑๗ มีการตีพิมพ์หนังสือ จิตร ภูมิศักดิ์ นักรบของคนรุ่นใหม่ โดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

ในเดือนธันวาคม ๒๕๑๗ มีการแสดงละครเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำ บทละครดังกล่าวมาตีพิมพ์ใน อักษรศาสตร์พิจารณ์ ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๑๘ เป็นต้น

นี่ยังไม่นับรวมไปถึงบทแนะนำหนังสือเล่มต่างๆ ของจิตรที่ปรากฏอยู่ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์, อักษรศาสตร์พิจารณ์ และ ประชาชาติ อีกหลายชิ้น

ใน The Communist Movement in Thailand ซึ่ง เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่า พคท. มีบทบาทสำคัญในการทำให้ จิตร ภูมิศักดิ์ มีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังกรณี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ทั้งนี้เพราะ มาโนช เมธางกูร หรือ ลุงประโยชน์สมาชิกระดับสูงของพรรคในเมืองคือผู้ที่เชื่อมโยงจิตรกับพรรคและเป็นผู้ที่รับผิดชอบจิตร ภูมิศักดิ์ ที่แท้จริง

ลุงประโยชน์เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำจิตรเข้าสู่ความสนใจของขบวนการนักศึกษา ๑๔ ตุลา โดยเริ่มจากการทำให้ เช กูวารา กลายเป็นนายแพทย์นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่และจากนั้นก็ทำให้ จิตร ภูมิศักดิ์ กลายเป็น ศิลปินนักรบของประชาชน

แม้แต่ เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ หรือ ยุค ศรีอาริยะก็ยังยอมรับว่า ในช่วงระหว่างปี ๒๕๑๖ ๒๕๑๙ เป็นช่วงที่ พคท. เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลทางอุดมการณ์เข้าสู่ขบวนการนักศึกษาผ่านเข้ามาในหลายรูป แบบทั้งที่เป็นเอกสาร, ความคิด, จิตร ภูมิศักดิ์ และ เช กูวารา

ขณะที่ ชมรมหนังสือแสงตะวันก็คือสำนักพิมพ์ของพรรคในเมือง โดย นิสิต จิรโสภณ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสำนักพิมพ์ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของลุงประโยชน์

ในช่วงปี ๒๕๑๗ ๒๕๑๘ ชมรมหนังสือแสงตะวันได้จัดพิมพ์ผลงานสำคัญของจิตร ๓ ชิ้น คือ โฉมหน้าศักดินาไทย, กวีการเมือง และ ทีปกร: ศิลปินนักรบของประชาชน

และไม่นานก่อนที่เขาจะเสียชีวิต นิสิต จิรโสภณ ได้โฆษณาอย่างเปิดเผยไว้ว่า มีโครงการจะตีพิมพ์ สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง จำนวน ๘ เล่ม

๓. จิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานที่มั่นปฏิวัติภายใต้การนำของ พคท.: วีรชนปฏิวัติ

กรณี ๖ ตุลา ทำให้นักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมากหันไปเข้าร่วมและสนับสนุนการต่อสู้ด้วย อาวุธกับ พคท. ในเขตป่าเขา และทำให้ พคท. ขยายเติบโตพุ่งขึ้นสู่กระแสสูงอย่างรวดเร็ว

ในช่วงที่กระแสการปฏิวัติภายใต้การนำของ พคท. ขึ้นสู่กระแสสูงสุดภายหลังกรณี ๖ ตุลานี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูจากนักศึกษาและปัญญาชนในฐานะ วีรชนปฏิวัติหรือไม่ก็ ปัญญาชนปฏิวัติซึ่งสามารถเห็นได้ใน สิ่งพิมพ์ใต้ดินของนักศึกษาที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งในป่าและในเมือง ตัวอย่างเช่น

นิตยสาร หลักชัย ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ ตีพิมพ์บทความของ ศรีสุวรรณ ชื่อ บทรำลึกวีรชนปฏิวัติ

วารสาร พลัง ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๑ ตีพิมพ์บทความชื่อ ศึกษาและสืบทอดแบบอย่างจากวีรชนปฏิวัติ จิตร ภูมิศักดิ์

วารสาร ส่องทาง ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๒๓ ตีพิมพ์บทความของ สิริอุษา พลจันทร์ (ชลธิรา สัตยาวัฒนา) เรื่องศึกษาแบบอย่างคุณแม่สหายจิตร ภูมิศักดิ์ รักลูก รักพรรคยืนหยัดสืบทอดภารกิจปฏิวัติ

จุลสาร เปลวเทียน ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ ตีพิมพ์บทความชื่อ จิตรยังไม่ตาย”,

จุลสาร ชโยตุลาคม ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๒๓ ตีพิมพ์บทความของ เมือง บ่อยาง ชื่อ ความรัก ๓ แบบของจิตร ภูมิศักดิ์

จุลสาร ชโยตุลาชัย ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ ตีพิมพ์บทความชื่อ ฉลองวันกรรมกรกับจิตร ภูมิศักดิ์

ยังไม่นับรวมเอกสาร จริยธรรมปฏิวัติของพรรคที่ชื่อ ระลึกถึง จิตร ภูมิศักดิ์ นักรบประชาชนที่ยิ่งใหญ่

ในข้อเขียนชื่อ ศึกษาและสืบทอดแบบอย่างจากวีรชนปฏิวัติ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร พลัง ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๑ ผู้เขียนกล่าวว่า

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นแบบอย่างของปัญญาชนปฏิวัติที่ดีเลิศ ด้วยความสามารถอย่างเอกอุเช่นนี้ เขาสามารถดำรงชีพอยู่ในต่างประเทศได้อย่างสุขสบาย แต่เพราะกลิ่นคาวเลือดคลุ้งอยู่จนไม่อาจทนดูด้วยความเย็นชาได้ จิตร ภูมิศักดิ์ ธงของกองทัพวัฒนธรรม จึงตัดสินใจเดินทางเข้าป่า...

คุณธรรมและ ความสามารถที่สมบูรณ์พร้อมด้านของ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ส่งอิทธิพลใหญ่หลวงต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา และปัญญาชนชาวไทยทั่วไป เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม แสดงให้เห็นว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษา และปัญญาชน ผู้ก้าวหน้ารักความเป็นธรรมไม่เพียงแต่ร้องเพลงที่ จิตร ภูมิศักดิ์ แต่ง หากแต่ได้ยืนหยัดสืบทอดแบบอย่างที่น่าคารวะตามที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ชี้นำไว้ในเพลง วีรชนปฏิวัติ

ขณะที่ข้อเขียน บทรำลึกวีรชนปฏิวัติใน นิตยสาร หลักชัย ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ กล่าวถึง จิตร ภูมิศักดิ์ อย่างยกย่องชื่นชมว่า

เรื่องราว ของเขา ดุจจะเป็นตำนานการต่อสู้อันอมตะที่จะสืบขานเล่าไปไม่รู้จบเพื่อเป็นแบบอย่าง แก่ชนรุ่นหลังได้ศึกษาจิตใจของปัญญาชนปฏิวัติคนหนึ่งที่อุทิศร่างกายและจิต ใจเพื่อสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อชนชั้นที่ถูกกดขี่ในสังคมด้วยจุดยืนที่หนักแน่นไม่คลอนแคลน ไม่ว่าผลนั้นจะทำให้เขาทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส และถูกจองล้างทำลายจากศัตรูของประชาชน แม้กระทั่งหลั่งเลือดจนหยดสุดท้ายเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง

๔. จิตร ภูมิศักดิ์ ในยุควิกฤตศรัทธา, การล่มสลายของ พคท. และทฤษฎี กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา

๔.๑. วิกฤตศรัทธา การล่มสลายของ พคท. และทฤษฎี กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินานี้ ทำให้นักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายจำนวนมาก ลดบทบาทของตนเองลงและต่างพากันหลบหน้าหลบตาผู้คนไปเยียวยาตัวเองในรูปแบบต่างๆ

ผลก็คือ มันได้เปิดพื้นที่ทางสังคมให้กับบรรดาปัญญาชนนักคิดนักเขียนอีกกลุ่มที่ไม่ เคยได้เข้าร่วมการปฏิวัติกับ พคท. ในทางตรงข้าม พวกเขาโน้มเอียงไปในทางที่ไม่ชอบ”, “เกลียดหรือไม่ก็ ต่อต้านพคท. และคอมมิวนิสต์ทุกชนิดด้วยซ้ำ และพวกเขานี่เองที่มีบทบาทสำคัญในการพูดและเขียนถึง จิตร ภูมิศักดิ์ ท่ามกลาง ความเงียบของบรรดานักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้าย

การที่บรรดาผู้ที่มีบทบาทในการพูดถึงจิตรส่วนใหญ่ในยุคนี้ เกลียดคอมมิวนิสต์ แต่ก็ยกย่องชื่นชมในความเป็นอัจฉริยะของจิตรไปพร้อมๆ กัน นี่เป็นภาวะอิหลักอิเหลื่อ

ผลก็คือ พวกเขาพยายาม กีดกันความเป็น คอมมิวนิสต์ออกไปจากจิตรเสีย โดยใช้วิธี เลือกที่จะชมเชยยกย่องเฉพาะในด้านที่เป็นอัจฉริยะทางวรรณกรรม, นิรุกติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของเขา หรือไม่ก็หันไปพูดถึงเฉพาะชีวิตในช่วงวัยเด็กของจิตรแทน และจงใจที่จะไม่พูดถึงประวัติช่วงที่เป็นคอมมิวนิสต์ของเขา

การหันไปนิยมตีพิมพ์งานเขียนในด้านนิรุกติศาสตร์และประวัติ ศาสตร์ของจิตรในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำภาพความเป็นคอมมิวนิสต์ของจิตรค่อยๆ เลือนหาย และทำให้ภาพพจน์ของความเป็นนักวิชาการของจิตร ลอยเด่นขึ้นมาแทนที่

ในปี ๒๕๒๒ เมื่อกองบรรณาธิการนิตยสาร โลกหนังสือ ตีพิมพ์ ภาษาและนิรุกติศาสตร์ พวกเขาเลือกที่จะกล่าวถึง คำชมของ วิลเลี่ยม เก็ดนี่ย์ ที่เคยมีให้ต่อจิตรที่ว่าเป็นบทความชิ้นที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งที่เคยเขียนขึ้นโดยนักวิชาการชาวไทยในปี ๒๕๒๔ เมื่อ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ตีพิมพ์ โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เขาก็ยกย่องจิตรในฐานะ นักวิชาการ

ในปี ๒๕๒๖ เมื่อ วิชัย นภารัศมี ตีพิมพ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา ของ จิตร เขากล่าวว่า สำหรับเมืองไทยเรา เราไม่สามารถปฏิเสธความสำคัญทางด้านผลงานทางวิชาการของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ขณะที่ในเล่มเดียวกันนี้ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ กับ สุจิตต์ วงษ์เทศ ในฐานะผู้เขียน คำนำเสนอก็กล่าวเช่นกันว่าหนังสือเล่มนี้จึงเป็นเล่มที่ ๔ ที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่

ในปี ๒๕๒๖ อีกเช่นกัน เมื่อ วิชัย นภารัศมี ตีพิมพ์ ภาษาละหุหรือมูเซอร์ ของจิตร เขาก็เขียนคำนำว่า ผลงานชิ้นนี้ของจิตร พอจะเป็นเครื่องยืนยันต่อวงวิชาการในบ้านเราได้ว่า จิตรเป็นนักวิชาการโดยสมบูรณ์

นิตยสาร โลกหนังสือ ที่มี สุชาติ สวัสดิ์ศรี ทำหน้าที่บรรณาธิการ ก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ความคอมมิวนิสต์ของจิตร เลือนหายไปด้วย

ในเดือนพฤษภาคมปี ๒๕๒๒ นิตยสาร โลกหนังสือ เริ่มต้นการนำเสนอภาพพจน์ที่ไม่ใช่ คอมมิวนิสต์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นครั้งแรก โดยหันเหความสนใจของผู้อ่านไปที่บันทึกประจำวันในวัยเยาว์ของ จิตร ภูมิศักดิ์และชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่นของ จิตร ภูมิศักดิ์

ในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๒๒ โลกหนังสือ ก็นำเสนอข้อเขียนชื่อเบื้องหลังชีวิตและข้อถกเถียงใหม่ๆ เกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งเรียบเรียงมาจากวงอภิปรายที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในเวทีอภิปราย ขณะที่ สุภา ศิริมานนท์ แสดงความงุนงงสงสัยว่าทำไมจิตรถึงต้องตายและเสนอว่า ตัวอย่างที่ดีที่สุดอันหนึ่งของจิตรก็คือ แนวการศึกษาของเขาที่ เจริญรอยตามคนสำคัญที่สุดในโลกคนหนึ่ง ซึ่งมีมาในโลกนี้เมื่อ ๒๕๒๒ ปีมาแล้ว คือ เจ้าชายสิทธัตถะ คือ Self Study”

เคร็ก เจ เรย์โนลด์ ชื่นชมจิตรว่า

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคนที่มีพรสวรรค์มากคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยการสร้างสรรค์...จิตรเล่นดนตรีได้มาก มีความสามารถในการแต่งทำนองเพลง และเป็นนายเหนือภาษาด้วย ประเด็นนี้เราเห็นได้ชัดจากงานวิชาการและงานนิพนธ์ของเขา มีทั้งบทกวี บทเพลง บทความเรื่องภาษาศิลาจารึก และนิรุกติศาสตร์ บทวิจารณ์หนังสือและภาพยนตร์ จิตรมีทฤษฎีในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย เคยแต่งหนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไทยเล่มหนึ่ง และก็มีหนังสือวิเคราะห์ภาษาละหุเล่มหนึ่ง และหนังสือซึ่งผมคิดว่าจะมีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯตั้งแต่อายุยังน้อย

และนั่นทำให้เคร็กไม่สามารถเข้าใจได้ว่าจิตรกลายไปเป็น คอมมิวนิสต์ได้อย่างไร ดังคำของเขา

เรื่องการ เสียชีวิตของจิตรยากที่จะพิสูจน์ว่า จิตรไปป่าทำไม และเสียชีวิต จิตรเรียนรู้อะไรด้วยตัวเอง เขาเป็นครูของตัวเอง จึงเป็นการลำบากที่จะพิสูจน์ว่า จิตรเริ่มรับแนวความคิดมาร์กซิสม์เมื่อไร ในทำนองเดียวกัน ก็ยากที่จะพิสูจน์[ว่า] ลัทธิมาร์กซิสม์มีอิทธิพลมากแค่ไหนต่อความเปลี่ยนแปลงของจิตร

จากนั้น โลกหนังสือ ก็ตั้งหน้าตั้งตาตีพิมพ์ข้อเขียนที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนของ จิตร ภูมิศักดิ์ ชื่อ ประวัติความเป็นมาของโคลงห้าติดต่อกันนับตั้งแต่ฉบับเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๓

ใน โลกหนังสือ ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๓ ได้ตีพิมพ์บทความกลับไปอ่านศิลปเพื่อชีวิตศิลปเพื่อประชาชนของทีปกรของ ดวงมน จิตรจำนงค์ ซึ่งวิจารณ์หนังสือ ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน ของจิตรในหลายประเด็น อาทิ อาจจะเป็นเพราะในหนังสือเล่มนี้ ทีปกรต้องการเสนอแนวคิดทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลป มากกว่าที่จะวิเคราะห์เนื้อหาของศิลปและวรรณคดีที่ปรากฏอยู่ จึงน่าเสียดายที่บางครั้งเขามองอย่างรวบรัด และผิวเผินเกินไป จนบางทีการยกตัวอย่างก็มีลักษณะคลุมเครือ หรือถึงขั้นโมเม

จนถึงปลายปี ๒๕๒๔ โลกหนังสือ ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการนำเสนอภาพภาพชีวิตในวัยเยาว์ ช่วงที่ถูกโยนบก และงานเขียนที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์มาก่อนของ จิตร ภูมิศักดิ์ มากกว่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเป็น คอมมิวนิสต์ของเขา ตัวอย่างเช่น

โลกหนังสือ ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๒๔ ตีพิมพ์บทบันทึกความทรงจำของ ภิรมย์ ภูมิศักดิ์ พี่สาวคนเดียวของจิตร ชื่อ ความหลังในวัยเยาว์

บทความที่ทำให้จิตรถูกโยนบกเรื่อง ผีตองเหลืองและบทบันทึกเกี่ยวกับการถูกโยนบกของจิตรชื่อ เหตุการณ์ที่ข้าฯ ถูกกล่าวโทษที่เรียบเรียงโดย เมือง บ่อยางรวมทั้งคำ สัมภาษณ์ วิลเลียม เจ. เก็ดนี่ ต่อกรณีโยนบก

โลกหนังสือ ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๒๔ ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของ ดวงใจ ชุมพล เพื่อนสมัยเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของจิตรที่กล่าวว่า ถ้า จิตร ภูมิศักดิ์ มีชีวิตอยู่ คนจะไม่นิยมเขามากเท่านั้น จะรู้ว่าเขาเป็นคนพูดจาขวานผ่าซาก เห็นบุคลิกจริงแล้วน่ารำคาญด้วย

อย่างไรก็ตาม ใน โลกหนังสือ ฉบับเดียวกันนี้ มีบทความที่แสดงให้เห็น ความเป็นคอมมิวนิสต์ของจิตรอยู่ ๑ ชิ้น นั่นคือจากหลู่ซิ่นถึงจิตร ภูมิศักดิ์ของ ทวีปวรซึ่งเสนอว่า จิตร ภูมิศักดิ์ คล้ายคลึง ยกย่องนับถือ และได้รับอิทธิพลไม่น้อยจาก หลู่ซิ่น ผู้เป็นนักเขียนและนักปฏิวัติคนสำคัญของประชาชนจีน

ในช่วงกลางปี ๒๕๒๕ โลกหนังสือ ตีพิมพ์กวีนิพนธ์ขนาดยาวของ จิตร ภูมิศักดิ์ ชื่อ โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานคร ยุคไทยพัฒนา ตอน เศรษฐกิจรัดเข็มขัด

และตีพิมพ์ปาฐกถาเรื่อง ปัญหาคำว่าศักดินา: ศักดินาฝรั่งหรือฟิวดัลลส์ไทยของ เคร็ก เจ เรย์โนลด์ ที่วิจารณ์ โฉมหน้าศักดินาไทย ของจิตรว่า

ถ้าเรามอง หนังสือเล่มนี้ในแง่ใดแง่เดียวว่าเป็นการวิเคราะห์สังคมไทย เราจะพบข้อบกพร่องมากเหมือนกัน เพราะจิตรไม่มีโอกาสอ่านงานทฤษฎีของมากซ์และเองเกลส์โดยตรง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองคนนี้ไม่เคยรู้จักวิถีการผลิตแบบเอเชียอย่างที่ชัย อนันต์เคยวิจารณ์

นอกจากนี้ เคร็ก ยังได้ใช้ทฤษฎี สัญญะของ โรลองค์ บาทธ์ นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ โฉมหน้าศักดินาไทย ของจิตรด้วย

เคร็กเสนอว่า การสร้างความหมายใหม่ให้กับคำว่า ศักดินาของจิตรใน โฉมหน้าศักดินาไทย คือการสร้าง สัญญะใหม่ขึ้นมา ส่วนงานเขียนของ ขจร สุขพานิช เรื่อง ฐานันดรไพร่ และ ฝรั่งศักดินา ของ คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือแม้แต่ สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ ๒๔๑๖ ของ อคิน รพีพัฒน์ ก็คือ ความพยายามที่จะทำลายระบบ สัญญะที่จิตรสร้างไว้

การกีดกันความเป็น คอมมิวนิสต์ออกจาก จิตร ภูมิศักดิ์ ในทางวิชาการ บรรลุถึงจุดสูงสุดในปี ๒๕๓๔ เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือ ความคิดแหวกแนวในสังคมไทย ของ เคร็ก เจ เรย์โนลด์ ที่เกือบตลอดทั้งเล่ม พยายามแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง พคท. กับ จิตร ภูมิศักดิ์ ไม่ค่อยดีนัก

ตลอดระยะ เวลา ๓ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ ถึง ๒๕๑๙ นั้น คณาจารย์และนักศึกษา เช่นเดียวกับผู้พิมพ์หรือแม้แต่ พ.ค.ท. ต่างมีส่วนสร้าง จิตร ภูมิศักดิ์”....พ.ค.ท. ซึ่งรับจิตรเข้าเป็นสมาชิกพรรคหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ก็เร่งแจกจ่ายชีวประวัติขนาดสั้น และเอ่ยอ้างโยงถึงความหมายเชิงปฏิวัติอย่างเปิดเผยเพื่อผลประโยชน์ของพรรค เอง [หน้า ๒๒]

แม้ว่าทาง พรรคจะเร่งรีบผลิตชีวประวัติของเขาออกมาหลังเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากการที่เขาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน [หน้า ๗๔]

โฉมหน้า ศักดินาไทยในปัจจุบัน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และมีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งนับแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นมา ข้าพเจ้าทราบมาว่า ในขณะที่ พ.ค.ท. ไม่อาจอ้างได้ว่าผลงานเล่มนี้เป็นของพรรค แต่ก็เคยให้เงินสนับสนุนจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยตอนที่ชมรมหนังสือแสงตะวันนำมา พิมพ์ซ้ำเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าผู้ที่รับเงินก้อนนั้นมาคือ นิสิต จิรโสภณ จะมิได้ระแวงถึงแหล่งที่มาที่แท้จริงของมันเลยก็ตาม [หน้า ๘๑]

ไม่ว่าจะ ถูกมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรงอย่างไรก็ตาม โฉมหน้า มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของเยาวชนในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ และในหมู่นักวิชาการในแวดวงมหาวิทยาลัย หนังสือเล่มนี้ไม่เคยได้รับการรับรองจาก พ.ค.ท. ในฐานะที่เป็นการตีความประวัติศาสตร์ไทยของพรรคเลย [หน้า ๒๖๖]

เขาเป็นคน ที่ยึดมั่นในทฤษฎีมากที่สุดในบรรดาพวกมาร์กซิสต์ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกัน และไม่เหมือนคนเหล่านั้นตรงที่ผลงานของเขาไม่เคยรับใช้พรรคการเมือง หรือแผนการชาตินิยมที่จำเพาะเจาะจงแต่อย่างใด พ.ค.ท. ต้องเร่งรีบอ้างสิทธิ์เหนือชื่อเสียงของเขาเมื่อมันเติบโตขึ้นมากหลัง เหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม ทำให้เห็นว่าชีวิตหรือผลงานของเขาไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่เป็นทาง การของพรรค [หน้า ๓๒๗]

๔.๒. พร้อมๆ กับการตกต่ำลงอย่างรวดเร็วของ พคท. ปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยส่วนหนึ่ง ได้หันไปให้ความสนใจและพยายามชี้ชวนให้มีการศึกษาลัทธิมาร์กซ์สายอื่นๆ ซึ่งได้แก่

ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค (นั่นคือการหันกลับไปแปล ตีพิมพ์ และอ่านงานเขียนต้นฉบับของมาร์กซ์, เองเกลส์, เลนิน, ลุกแซมเบอร์ก และทรอตสกี้ ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์และการเมืองหรือ โครงสร้างส่วนล่าง”),

ลัทธิมาร์กซ์ในสายสากลที่ ๔ (นั่นคือการหันไปสนใจแปล อ้าง เขียน และอ่านงานเขียนของทร้อตสกี้ และ ผู้นิยมทร้อตสกี้อย่าง เอิร์นเนสท์ แมนเดล และ ไอแซค ดอยเซอร์ ซึ่งพยายามรักษาจารีตทางทฤษฎีของลัทธิมาร์กซ์คลาสสิคเอาไว้),

ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก (นั่นคือการหันไปสนใจศึกษาทฤษฎีของ อันโตนิโอ กรัมชี่, หลุย อัลธูแซร์, พวกลัทธิมาร์กซ์สำนักสำนักแฟรงเฟิร์ต ซึ่งให้ความสำคัญกับ การเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ หรือโครงสร้างส่วนบน”)

ซ้ายใหม่ (นั่นคือการหันไปสนใจนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์อังกฤษ อย่าง อีพี ทอมป์สัน, อิริค ฮอสบอว์ม และอ่านนิตยสาร New Left Review ที่อัดแน่นไปด้วยงานเขียนทางทฤษฎีอันซับซ้อน)

แต่ทั้งหมดเหล่านี้ให้ความสนใจต่อประเด็น ทุนนิยมไม่ใช่ ศักดินา

การที่ปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยหันไปสนในต่อกระแสลัทธิมาร์กซ์ทั้ง ๔ นี้ แม้ว่าจะทำให้พวกเขามีความขัดแย้งแตกต่างกันทางทฤษฎีอยู่มาก แต่มันก็ทำให้พวกเขามีจุดร่วมเหมือนกันบางอย่าง นั่นคือ พวกเขาเลิกสนใจประเด็น ศักดินาและหันไปให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์และต่อต้าน ทุนนิยมเป็นหลัก พวกเขามีแนวโน้มที่จะมองเห็นร่วมกันว่า สังคมไทยได้กลายเป็น ทุนนิยมแล้ว ไม่ใช่ กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาตามที่ พคท. เสนอ

นี่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ข้อวิพากษ์ ศักดินาอันทรงพลังของ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย และ ศิลปเพื่อชีวิตศิลปเพื่อประชาชน หมดความสำคัญลงไปอย่างน้อยก็ในสายตาของพวกเขาด้วย

อาจกล่าวได้ด้วยว่า ทั้งปัญญาชนฝ่ายซ้าย และปัญญาชนที่ไม่ใช่ฝ่ายซ้าย ในยุค หลัง-พคท.แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของทฤษฎี แต่พวกเขามีจุดร่วมกันอันหนึ่งโดยบังเอิญ นั่นคือ เห็นว่าประเด็นศักดินาไม่สำคัญอีกต่อไป และประเด็นที่ควรครุ่นคิดให้มากคือ ทุนนิยม

ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลจำเป็นอะไรที่ปัญญาชนยุคหลัง พคท. ที่มุ่งแต่จะวิพากษ์ต่อต้าน ทุนนิยมเพียงอย่างเดียว จะต้องปกป้องรักษาความเป็นคอมมิวนิสต์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในแบบที่มุ่งต่อต้านโค่นล้มทั้ง จักรวรรดินิยมและศักดินาเอาไว้

๔.๓. มีความพยายามที่รื้อฟื้นภาพพจน์ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะ คอมมิวนิสต์อยู่บ้าง ดังจะเห็นได้ว่า ในปี ๒๕๒๙ นิตยสาร ถนนหนังสือ ได้ อุทิศหน้ากระดาษจำนวนมากให้กับเรื่องราวของจิตรในช่วงที่เขาใช้ชีวิตในฐานะ นักปฏิวัติอยู่ในเทือกเขาภูพาน ผ่านข้อเขียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเขียนของ แคน สาริกา ที่ชื่อ ย้อนรอยเท้าบนทางป่าของ จิตร ภูมิศักดิ์

และต่อมา แคน สาริกา ก็ได้พัฒนาข้อเขียนชิ้นนี้ไปตีพิมพ์เป็นเล่มในชื่อ วาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์ ในปี ๒๕๓๑ และถูกพิมพ์ซ้ำอีกมากกว่า ๑๐ ครั้ง

แต่เมื่อมองในแง่ของ วิชาการแล้ว ความคิดแหวกแนวในสังคมไทย ของ เคร็ก เจ เรโนลด์ ย่อมน่าจะได้รับการเชื่อถือยอมรับในหมู่นักวิชาการมากกว่า เป็นกระแสหลักในวงวิชาการมากกว่า

๕. การกีดกันคอมมิวนิสต์ไทยในทางวิชาการ: สมศักดิ์ เจียมธีรกุล วิพากษ์ เคร็ก เจ เรย์โนลด์

งานวิชาการชิ้นสำคัญชื่อ ความคิดแหวกแนวในสังคมไทย ของ เคร็ก เจ เรโนลด์ ที่เลื่องลือกันว่าเป็นงานวิชาการเกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ถูกวิจารณ์อย่างไม่มีชิ้นดีโดย สมศักดิ์ เจียมธีรกุล ในฐานะตัวอย่างหนึ่งของการกีดกันคอมมิวนิสต์ไทยในทางวิชาการแต่น่าเสียดายที่ทั้งสมศักดิ์และข้อวิจารณ์ของเขา ดังไม่พอ จึงทำให้การกีดกันคอมมิวนิสต์ไทยในทางวิชาการยังคงเป็น กระแสหลักต่อไป

ในบทนำของ The Communist Movement in Thailand วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกภาษาอังกฤษที่ทำเสร็จในปี ๒๕๓๔ และปรับปรุงแก้ไขตีพิมพ์เป็นเล่มในปี ๒๕๓๖ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงวิชาการเมืองไทยเท่าไหร่ของเขา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่า มีงานศึกษาในเชิงวิชาการเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ไทยไม่กี่ชิ้น

และแม้ว่าในหลายปีที่ผ่านมา จะมีงานวิชาการที่ศึกษาคอมมิวนิสต์ไทยซึ่งทำโดยชาวตะวันตกหรือชาวไทยที่ เขียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่จำนวนหนึ่ง แต่งานเขียนเหล่านี้มีปัญหาร่วมกันบางอย่าง นั่นคือ ถ้าไม่ประเมินต่ำเกินไปก็ปฏิเสธบทบาทของคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์ที่มี ในการเมืองไทยไปเลย

แต่เนื่องจาก มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี ซึ่งบางช่วงก็เฟื่องฟู จึงทำให้งานเขียนเหล่านี้ถูกบังคับให้ต้องยอมรับการมีอยู่ของฝ่ายซ้ายไทย

แต่งานเขียนเหล่านี้ก็ปฏิเสธว่าการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายไทยไม่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้องน้อยมากกับคอมมิวนิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์

พวกเขา พยายามแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย กับ คอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นคนละอย่างกันและเข้ากันไม่ได้

พูดในเชิงตรรกก็คือ งานเขียนเหล่านี้จะไม่สามารถ ประเมินต่ำหรือปฏิเสธบทบาทของคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีในการเมือง ไทยต่อไปอีกได้ ถ้าพวกเขายอมรับว่าความเฟื่องฟูของกิจกรรมของฝ่ายซ้ายดังกล่าว คล้ายคลึงกันหรือเข้ากันได้กับลัทธิคอมมิวนิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์

และเพราะเหตุที่ โดยส่วนมากแล้ว ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยโดยชาวจีนอพยพ, จำกัดตัวอยู่เฉพาะภายในชุมชนชาวจีนมาเป็นเวลาหลายปี และเพราะในเวลาต่อมา พคท. ได้นำเอาลัทธิเหมามาปรับใช้เป็นทฤษฎีชี้นำ งานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของฝ่ายซ้ายไทยจึงมักจะปรากฏลักษณะของการแยก กันอยู่ต่างหากและเป็นการอยู่ตรงข้ามกันระหว่าง ชาวจีนและคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา กับ ฝ่ายก้าวหน้าไทยและลัทธิมาร์กซ์ไทย อยู่เสมอๆ

งานเขียนบางชิ้นไปไกลถึงขั้นเสนอว่า มีการแยกกันอยู่ต่างหากและเป็นการอยู่ตรงข้ามกันระหว่าง พคท. กับขบวนการนักศึกษาไทย หรือ มีการแยกกันอยู่ต่างหากและเป็นการอยู่ตรงข้ามกันระหว่าง พคท. กับ ปัจเจกบุคคล อย่างเช่น จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิจารณ์ว่า ในหนังสือ ความคิดแหวกแนวในสังคมไทย เคร็ก เจ เรโนลด์ เข้าใจผิดเกี่ยวกับ จิตร ภูมิศักดิ์ อย่างไม่น่าให้อภัยในหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ เคร็ก เจ เรโนลด์ พยายามจะบอกว่า จิตร ภูมิศักดิ์ กับ พคท. ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ เช่นว่า

คำว่ากึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาที่อ้างอยู่ในหมายเหตุของบรรณาธิการดึงการวิเคราะห์ให้มาสัมพันธ์กับรูปของ สังคมตามแบบซึ่งอันที่จริงแล้ว พ.ค.ท. เป็นผู้บัญญัติขึ้นใช้สำหรับสังคมไทย แต่กระนั้นก็ดีเนื้อหาสาระของหนังสือ โฉมหน้า เพิกเฉยไม่ยอมระบุถึงลักษณะ กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินาจิตรถูกดึงเข้าไปใกล้ชิดกับพรรคในฐานะปัญญาชนนักปฏิวัติ แต่ก็มักถูกกัน (หรือกันตัวเองด้วยความคิดอ่านที่เป็นของตัวเองอย่างรุนแรง)

แต่ความผิดพลาดของ เคร็ก เจ เรโนลด์ ที่หนักหนาสาหัสไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การที่เขาเสนอว่า

แต่ก็ดู เหมือนว่าเขาจะมิได้เป็นสมาชิกพรรคตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ พ.ค.ท. ยอมรับเขาเข้าเป็นสมาชิกก็ต่อเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ทางพรรคปล่อยข่าวออกมาว่าจิตรอาจถูกส่งไปเมืองจีน แต่นั่นก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อของพรรค เพราะว่าพรรคไม่เคยมีความตั้งใจจะแต่งตั้งให้เขาเป็นกรรมการกลาง (สัมภาษณ์ ประวุฒิ ๒๕๒๖) ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับแกนนำของพรรคมิได้ราบรื่นเลย ไม่ว่าจะอยู่ในคุกหรือในป่าก็ตาม เขาไม่เคยลงรอยกับ อุดม ศรีสุวรรณ ผู้มีบทบาทในขบวนการหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๘๐ อุดมเข้าป่าหลังได้รับการปลดปล่อยจากลาดยาวเมื่อตอนกลางทศวรรษ ๒๕๐๐ และก้าวขึ้นเป็นกรรมการกลางของพรรค (สยามสมัย; สัมภาษณ์ อุดม ๒๕๒๗) ในฐานะของผู้อาวุโสของพรรคที่มีวัยแก่กว่าจิตรถึง ๑๐ ปี อุดมบังคับใช้วินัยของพรรคอย่างเข้มงวดต่อผู้อาวุโสกว่า และจิตรก็ไม่ใช่คนแบบที่จะยอมให้พรรคไหนมาคอยตรวจสอบเขา หรือยอมอยู่ใต้ระเบียบวินัยของใครได้ง่ายๆ (สัมภาษณ์ อารีย์และสุภา ๒๕๒๒; สัมภาษณ์ คำสิงห์ ๒๕๒๓) อย่างที่ข้าพเจ้าจะชี้ให้เห็นในบทที่ ๓ ว่า โฉมหน้า เป็นการตอบโต้อย่างทันควันแบบหนึ่งต่อหนังสือประวัติศาสตร์แบบก้าวหน้าของอุดมเรื่อง ไทยกึ่งเมืองขึ้น ที่พิมพ์เมื่อ ๗ ปีก่อนหน้า คือ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ (อุดม ๒๕๒๒) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานทางด้านทฤษฎีหรือด้านส่วนตัวก็ตาม คนทั้งสองไม่เคยลงรอยกันเอาเสียเลย

ในประเด็นนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิจารณ์ว่า เป็นข้อเสนอที่ผิดข้อเท็จจริงหลายประการ เช่น อุดม สีสุวรรณ เป็นกรรมการกลางพรรคตั้งแต่ปี ๒๔๙๕ แล้ว ไม่ใช่หลังจากถูกปล่อยตัวจากคุกลาดยาว

และเอาเข้าจริงแล้ว ผู้นำสูงสุดของพรรคที่แท้จริงในเวลานั้นก็ไม่ใช่อุดมด้วย แต่เป็น เจริญ วรรณงาม, วิรัช อังคถาวร และธง แจ่มศรี ต่างหาก ดังนั้น ไม่ว่าจิตรจะขัดแย้งกับอุดมจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจพูดฟันธงได้ว่า จิตรขัดแย้งกับผู้นำพรรค

ส่วนการบอกว่า โฉมหน้า เป็นการตอบโต้อย่างทันควันแบบหนึ่งต่อหนังสือประวัติศาสตร์แบบก้าวหน้าของอุดมเรื่อง ไทยกึ่งเมืองขึ้นนั้น ก็ ผิดข้อเท็จจริงเพราะถ้าอ่านหนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้ให้ดีก็จะเห็นว่า เขาทั้งคู่เสนอตรงกันว่า สังคมไทยเป็นกึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา

ไม่ว่าจะในหน้าแรกของ โฉมหน้าศักดินาไทย หรือใน บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม จิตร ก็พูดชัดเจนว่า สภาพชีวิตในสังคมไทยปัจุบันเป็นสภาพชีวิตแบบ กึ่งศักดินา กึ่งเมืองขึ้น ซึ่งเป็นแบบเดียวกับสังคมจีนก่อนการปลดแอก

นอกจากนี้ สมศักดิ์ ยังวิจารณ์ด้วยว่า การที่ เคร็ก บอกว่า งานเขียนของจิตรไม่เคยรับใช้พรรคนั้นก็ ผิดข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน เพราะ เคร็ก ลืมไปว่า จิตรแต่งเพลงให้พรรคหลายเพลง เช่น ภูพานปฏิวัติ”, “วีรชนปฏิวัติกับ เลือดต้องล้างด้วยเลือดที่จิตรแต่งเพื่อยกย่องและตอบโต้ต่อการประหารชีวิต รวม วงศ์พันธ์ และเพลงแสงดาวแห่งศรัทธาซึ่งเป็นสรรเสริญพรรคในเชิงสัญลักษณ์

รวมทั้งการที่จิตร แต่งเพลงมาร์ชประจำพลพรรคประชาชนไทยต่อต้านอเมริกาซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ๒๕๐๘ ตามคำมอบหมายของ ธง แจ่มศรี สมาชิกระดับสูงของพรรค ด้วย

๖. ข้อสังเกตบางประการ:

ในท้ายที่สุด เราอาจสามารถตั้งข้อสังเกตเพื่อนำไปสู่การทะเลาะทางความคิดได้ด้วยซ้ำว่า ความชื่นชมดื่มด่ำของนักวิชาการไทยที่มีต่องานเขียนด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และ วิชาการของจิตรในปัจจุบันนั้น อาจเป็นเพราะว่า จิตรได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถอันล้ำลึกรอบด้านในการทำความเข้าใจความเป็นไทยซึ่งเป็น ประเด็นที่พวกเขามีความหมกมุ่นสนใจร่วมกันมาเป็นเวลานานแล้วนั่นเอง

เมื่อ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียน คำนำให้กับ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ๒๕๑๙ เขากล่าวว่า

จิตร ภูมิศักดิ์ คงจะเริ่มเขียน ความเป็นมาของคำสยามฯ ในช่วง ๖ ปีของการถูกจองจำ. ณ ที่นั้น คุกขังเขาได้แต่หัวใจอย่าปรารถนาทำให้เขามีเวลาค้นคว้าอย่างจริงทั้งในด้านหลักฐานข้อมูล และในด้านภาษาต่างๆ จิตร ภูมิศักดิ์เป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองจนชำนาญทางด้านภาษามาก่อนการถูกจองจำ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส และเขมร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยเบิกทางให้รู้อดีตของไทย, และเวลาที่อยู่ในคุกเขาก็มิได้ปล่อยให้ผ่านไปในการที่จะเรียนภาษาเพิ่ม ทั้งจีน และมอญ-พม่า ในบางส่วน อันจะเห็นได้ชัดจากบทต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ของเขา. ความพิถีพิถันและความประณีตในการทำงานนี้แหละที่ทำให้ จิตร ภูมิศักดิ์ สามารถเข้าถึงนิรุกติศาสตร์แห่งต้นตอของอดีตไทยได้อย่างลึกซึ้ง.

ความเป็นมา ของคำสยามฯเป็นเรื่องราวทางภาษาศาสตร์มุ่งไปในการค้นคว้าอดีตบางประการของ ไทย. จิตร ภูมิศักดิ์พยายามชี้ให้เห็นรากและต้นตอของคำแต่ละคำ, ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและความผิดพลาดในการหาหลักฐานจากคำต่างๆ; เขาใช้คำเหล่านี้สืบค้นต้นกำเนิดของคนไทยอย่างมีระบบ...

จะไม่ให้ชื่นชม ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ ได้อย่างไร ในเมื่อมันสามารถทำให้เราเห็นว่า ความเป็นไทยในปัจจุบันนี้ มีส่วนผสมที่มาอันยาวนานลึกลับซับซ้อนมากมายเพียงใด

๗. บทสรุป: จิตร ภูมิศักดิ์ ผู้ไม่ต่อต้าน จักรวรรดินิยมและศักดินา

จิตรเป็นคอมมิวนิสต์และตายไปอย่าง คอมมิวนิสต์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ปัญญาชนยุคหลังซึ่งที่เกลียดชังคอมมิวนิสต์แต่ก็ชื่นชมในอัจฉริยภาพของ จิตรไปพร้อมๆ กัน ได้ช่วยกัน กีดกันความเป็นคอมมิวนิสต์ออกไปจากชีวประวัติของจิตรเสียสิ้น หลงเหลือก็แต่เพียงฐานะของการเป็น นักคิดนักเขียนผู้มีอัจริยภาพในด้านวรรณกรรม นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ วิชาการเท่านั้น

แน่นอนที่ว่า ความเป็นคอมมิวนิสต์ที่ถูก กีดกันออกไปจากจิตรก็คือ คอมมิวนิสต์แบบ พคท. ผู้ยืดถือในทฤษฎี กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาที่มีนัยของการต่อต้านทั้ง ทุนนิยมและศักดินาไปพร้อมๆ กันนั่นเอง

โดยการ กีดกันการเป็นผู้ที่ยึดถือใน หลักการดังกล่าวออกไปจากจิตรเสีย จึงเป็นการ ง่ายที่ปัญญาชนในยุคปัจจุบันผู้ซึ่งเกลียดชังทุนนิยมและ คืนดีกับศักดินาไปแล้ว จะหยิบใช้จิตรสำหรับหนุนเสริมการต่อสู้ของพวกเขาอย่างไรก็ได้โดยไม่ต้องคิด ให้ตลอดว่ามันการอ้างจิตรของพวกเขาจะขัดแย้งต่อความเป็น คอมมิวนิสต์หรือขัดแย้งต่อความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยแบบ ถอนรากถอนโคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดที่ต้องการต่อต้านโค่นล้มทั้ง ทุนนิยมและศักดินาของจิตรหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น