สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปฏิรูปประเทศไทยให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

Tue, 2010-11-23 00:17

พจนา คำหนัก

ผู้เขียนได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการ เมืองและชุมนุมใหญ่กับขบวนการคนเสื้อแดง ซึ่งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพวกเขา จึงขอเสนอว่า สงครามทางชนชั้นที่ประกาศจากฝ่ายเสื้อแดงต้องมีแนวทางเปลี่ยนแปลงระบอบอำมา ตยาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในตอนนี้ หรืออย่างน้อยก็ควรมีคำถามสำคัญออกมาแล้วว่า จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินได้อย่างไร เพราะฝ่ายสนับสนุนอำมาตย์กำลังสร้างกระแสช่วงชิงการปฏิรูปประเทศไทยโดยตั้ง โจทย์ใหญ่ของประเทศนี้ คือปัญหาโครงสร้างอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่ไม่เป็นธรรม ที่นำไปสู่การสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า นี่แหละคือปัญหาใหญ่แต่ทว่ามีคำถามต่อไปอีกว่า จะปฏิรูปได้ยังไง ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำก่อน?? เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาใหญ่ดังว่านั้น

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจ (อาจเรียกรวมกันว่าโครงสร้างอำนาจของชนชั้นอำมาตย์) ซึ่งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเสนอแนวทางเช่นนี้อยู่แล้ว แต่เสนอข้อเรียกร้องด้วยการยุบสภาก่อน และเสนอให้ได้ชัยชนะตรงนี้อย่างเด็ดขาด เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามกติกาของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนขั้วอำนาจและการนำประชานิยมแบบไทยรักไทยมา ใช้อีก

ประเด็นที่จะนำเสนอต่อขบวนการคนเสื้อแดงมี 3 ประเด็นคือ 1) สงครามทางความคิดระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายเสื้อแดงกับฝ่ายอำมาตย์ 2) การต่อสู้เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และ 3) ข้อเสนอการยกระดับการเมืองของคนเสื้อแดง

1. สงครามทางความคิดระหว่างฝ่ายเสื้อแดงกับฝ่ายอำมาตย์

การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนเสื้อแดง หลากหลายอาชีพซึ่งเป็นคนชั้นล่างและชนชั้นกลางบางส่วน ทำให้เห็นแล้วว่า พวกเขาได้เติบโตทางความคิด มีเหตุมีผล มีวุฒิภาวะทางอารมณ์เหนือกว่าฝ่ายเสื้อเหลือง และกล้าเผชิญหน้าทุกรูปแบบกับชนชั้นอำมาตย์ปัจจุบันที่ยังคงกุมชัยชนะทางการ เมืองเหนือประชาชนคนธรรมดามานานหลายปี

มีหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับเสื้อแดง ที่เราต้องตอบ และบางส่วนก็มีการตอบกันไปแล้ว เช่น ทำไมคนเสื้อแดงถึงรักทักษิณ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าก็ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีที่สมบูรณ์แบบนัก เพราะด้านหนึ่งใช้แนวนโยบายเสรีนิยม ให้นายทุนเอกชนมีบทบาทในการแสวงหาผลกำไรจากสมบัติสาธารณะที่หล่อเลี้ยงคน ส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ รถไฟ เป็นต้น และละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในภาคใต้ สงครามยาเสพติด นอกจากรักทักษิณแล้ว คนเสื้อแดงบอกว่า สู้เพื่อความเป็นธรรมเพื่อประชาธิปไตย ทว่าประชาธิปไตยในความหมายของเขาคืออะไรบ้าง ทำไมหลายคนยอมเสียสละชีวิตของตัวเองเพื่อแลกกับเป้าหมายเฉพาะหน้าคือการยุบ สภา แทนที่จะรอเป้าหมายที่ยาวอีกหน่อย

ส่วนความคิดของชนชั้นอำมาตย์ ตั้งแต่ระดับคนทั่วไปจนไปถึงระดับนำ ที่มีท่าทีและจุดยืนสนับสนุนการทำรัฐประหารทำลายรัฐบาลจากการเลือกตั้ง และส่วนใหญ่เต็มไปด้วยการใช้โวหารเล่นลิ้นหรือโกหกตัวเองและคนอื่นอย่างหน้า ตาเฉย เพื่อเอาชนะขบวนการประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เขาร่วมมือกับสื่อกระแสหลัก แก้ต่างให้ฝ่ายตนว่า ไม่มีชนชั้นอยู่จริง ไม่มีสองมาตรฐาน หรือถ้ามีก็เคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่มีอำมาตย์กับไพร่แล้วในยุคสมัยปัจจุบันที่เป็นรัฐสมัยใหม่ และเป็นคำล้าสมัย ไร้เหตุผลที่จะใช้ นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่า คนเสื้อแดงเป็นกบฏ เป็นผู้ก่อการร้าย ล้มเจ้า สร้างความวุ่นวาย ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สมควรจัดการให้เด็ดขาด

และล่าสุดความคิดของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ของสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มีทัศนะว่า คนเก่งและดีหายากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะคนเก่งมักไม่ดี จึงต้องเร่งสร้างคุณธรรมและจริยธรรม คือ เราต้องสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อให้ประเทศอยู่รอด เพื่อให้ตัวเองได้อยู่บนแผ่นดินไทยนี้ด้วย ในความเห็นของผู้เขียน ทัศนะแบบนี้สร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวงให้แก่สังคมไทย เพราะความคิดนามธรรมสร้างภาพลวงตานี้ซ่อนเจตนาที่ว่า เขาต้องการคนเก่งคนดีที่รับใช้ชนชั้นนำ ประชาชนควรต้องสละประโยชน์ของตัวเองเพื่อให้ชนชั้นนำคงอยู่ และต้องอยู่ในกรอบศีลธรรมของชนชั้นนำเพื่อจะได้มีแผ่นดินไว้ซุกหัวต่อไป คนเก่งต้องรับใช้ชนชั้นนำ ทำให้คำว่าประชาชนไร้ความหมาย และไร้อำนาจเพื่อมอบศักยภาพความเก่งไปรับใช้พวกเขาให้เข้มแข็งและมั่งคั่งต่อไป

สำหรับความคิดของฝ่ายแรงงานซีกเหลือง ที่รับใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ยอมรับการทำรัฐประหาร ทำลายระบอบประชาธิปไตยเพื่อแลกกับการเอาชนะนายทุนทักษิณที่คอรัปชั่น กลับไปสร้างความเข้มแข็งให้ชนชั้นนำยิ่งขึ้น ในขณะที่ตัวเองอ่อนแอเกินกว่าที่จะเสนอรูปแบบการต่อสู้ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ ใช้แรงงาน คนธรรมดา เน้นการล็อบบี้เข้าหาผู้ใหญ่ และไม่มีความสามารถที่จะทำงานมวลชนแข่งกับอดีตพรรคไทยรักไทยด้วยการตั้งพรรค การเมืองแข่งตั้งแต่แรก บวกกับไม่สนใจวิพากษ์วิจารณ์อำมาตย์ว่า เป็นนายทุนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นนายทุนที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการสร้างความมั่งคั่ง และกล่อมเกลาคนหลงงมงายกับลัทธิชาตินิยม จนทำให้ฝ่ายแรงงานซีกเหลืองลงเอยด้วยการเป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้น (ทุน)อำมาตย์ต่อไป

ผู้เขียนขอเป็นผู้ปกป้องความคิดของ ฝ่ายเสื้อแดงชนชั้นล่าง ไม่ว่าแกนนำที่นำเขาจะเป็นอดีตนักการเมือง นักการเมืองพรรคเพื่อไทย นายทุนรายใหญ่ อำมาตย์บางคน อดีตนายทหาร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งก็ตาม ในหัวข้อต่อไปนี้

2. การต่อสู้ของคนเสื้อแดง คือการต่อสู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตย

ตลอดระยะเวลาที่เคลื่อนไหวกับขบวนการ คนเสื้อแดงบนจุดยืนสำคัญคือ ต้านรัฐประหาร ต้านอำมาตย์ คัดค้านกฎหมายสองมาตรฐาน และตอกย้ำการสร้างความเท่าเทียมกันด้วยแนวทางรัฐสวัสดิการที่กำลังเสนออยู่ ในขณะนี้ ที่ทุกสถาบันการเมืองการปกครองต้องปรับเปลี่ยน ปรับปรุงตนเองให้เห็นหัวคนชั้นล่าง คนเสื้อแดงเข้าใจตัวเองว่า เขาต้องการความเป็นอยู่ที่ดีผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะจมปลักอยู่กับความเหลื่อมล้ำมาเป็นเวลานาน โดยเลือกพรรคการเมืองที่ให้ประโยชน์ตัวเอง แม้จะเป็นประโยชน์ระยะสั้นก็ตาม แต่เป็นประโยชน์ที่พรรคอื่นๆ ไม่เคยเสนอมาก่อน เพราะการมีชีวิตที่ดีหมายถึงการชีวิตที่มีศักดิ์ศรี

กรรมกรหลายคนที่ผู้เขียนเคยสัมผัส เขาชอบนโยบายประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน แม้เขาจะไม่ได้ประโยชน์โดยตรงแต่พ่อแม่ครอบครัวที่ชนบทได้รับเต็มๆ ซึ่งก็อาจจะขัดแย้งกับตัวเขาเองว่า รัฐบาลทุกสมัยไม่เคยมีนโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม ให้สวัสดิการที่ดี และคุ้มครองสหภาพแรงงานให้พ้นจากการรังแกของนายจ้าง เขาก็ยังยินดีที่จะเลือกอดีตพรรคไทยรักไทย ทั้งเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีอีกแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงเข้าใจว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ในชนบท คนจนในเมือง ในต่างจังหวัด คนที่กำลังสร้างฐานะให้หลุดพ้นจากความยากจน พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจระดับเล็ก กลาง ลูกจ้างที่ไม่มีสหภาพของตัวเอง ล้วนกระโจนลงมาสู้กับผู้กุมอำนาจรัฐอันใหญ่โตขณะนี้ แม้จะถูกดูหมิ่นเหยียดย่ำว่าโง่ และถูกยั่วยุจากประชาชนฝ่ายอำมาตย์ (ฟาสซิสต์)

อุดมการณ์หลักของคนเสื้อแดงคือ ยอมรับระบบการเลือกตั้งตัวแทนเข้าสู่สภา ยืนยันหลักการเคารพเสียงส่วนใหญ่ ไม่เอาอำนาจเถื่อน ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอาพรรคการเมืองของอำมาตย์ หลายคนกล่าวตรงๆ ว่า ทุกพรรคการเมืองล้วนใช้ระบบซื้อสิทธิขายเสียงและคอรัปชั่นทั่วไป รวมทั้งระบบราชการ แต่มันไม่ควรถูกนำมาเป็นประเด็นสำหรับเหยียดหยามประชาชนคนชั้นล่างว่า โง่ที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่โกงกินประเทศให้กลับเข้ามาสมัยที่สอง ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างหลักของฝ่ายเสื้อเหลืองในการทำลายระบบการเลือกตั้งทั้ง หมด เพื่อเอาชนะปัญหาคอรัปชั่น แต่ทว่าปัญหานี้ยังคงมีให้เห็นทั่วไปในสังคมไทย และยิ่งเป็นปัญหาหนักในยุคการปกครองของเผด็จการอำมาตย์ ยุคแห่งการทำลายอำนาจของประชาชนคนส่วนใหญ่ ที่รวมถึงอำนาจการตรวจสอบการทำงานของรัฐด้วย

ดังนั้น ประชาธิปไตยในความหมายของเขานี้อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่เพียงแค่นี้ฝ่ายอำมาตย์และประชาชนที่สนับสนุนก็ไม่ยินยอมที่จะให้เขามี เสรีภาพและความเท่าเทียมเทียบกับชนชั้นกลางและสูง เพราะคนชั้นล่างถูกทำให้เป็นแค่ฐานคะแนนเสียง ฐานแรงงานค่าจ้างราคาถูก ฐานเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานให้คนอื่นไว้เหยียบหัว ยกตนข่มท่าน โดยทำลายความมั่นใจของคนชั้นล่าง เพื่อให้เขาต้องแสวงหาที่พึ่งทางใจ ไสยศาสตร์ พิธีกรรม และโดยการล้างสมองด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม และให้อำนาจแก่สถาบันเหล่านี้ ปัญหาทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับชนชั้นล่างล้วนมีสาเหตุมาจากการกระทำของชนชั้น อำมาตย์ ดังนั้นเราจึงไม่ใช่ปัญหา อำมาตย์นั่นแหละคือตัวปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

3. ข้อเสนอของการยกระดับการต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดง

แน่นอนว่าข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง คือ ต่อต้านเผด็จการที่ทำลายประชาธิปไตย กำจัดสองมาตรฐานให้สิ้นไปจากสังคมไทย ต้องการความเท่าเทียม ความเป็นธรรมต่อหน้ากฎหมาย รวมไปจนถึงนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อตัวเองให้ดีขึ้นทัดเทียมกับคนรวยในสังคม ไม่ดิ้นรนตรากตรำและเจ็บปวดอย่างที่เป็นอยู่ เสื้อแดงหลายคนมองว่าให้ยุบสภาเสียก่อนแล้วค่อยว่ากันในขั้นตอนต่อไป ส่วนแนวทาง นปช.ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังการเลือกตั้งใหม่ ส่วนจะแก้เรื่องอะไรบ้างนั้นยังไม่ชัดเจน และเรื่องปากท้องคงเป็นเรื่องรองลงมาจากข้อเสนอทางการเมืองในตอนนี้ คำ ถามต่อไปคือ จะตอบโต้ความคิดของฝ่ายตรงข้ามที่ถั่งโถมเข้ามาในกระแสการต่อสู้ช่วงนี้ อย่างไร และจะวางเป้าหมายการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายตัวเองอย่างไรให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงจริงๆ หรือจะเอาประชานิยมเหมือนเดิม

ตอนนี้ตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่าง เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ยอมไม่ได้กับการที่จะให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ แต่บางคนอย่างบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อาจจะยินยอมให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ เมื่อมีประชาชนยกประเด็นนี้ขึ้นมา ส่วนฝ่ายนักพัฒนาเอกชนแนวชุมชนนิยม บิดเบือนปัญหาโครงสร้างการเมืองโดยบอกให้ไปแก้ไขที่ปัญหาระดับชุมชนเท่านั้น หรืออย่างพิภพ ธงไชยบอกว่า ปัญหาอยู่ที่โครงสร้างจริงแต่ขอแก้ภายใต้โครงสร้างอำนาจเดิมที่ให้นัก วิชาการ เอ็นจีโอ แกนนำภาคประชาชน ที่ไม่ต่อต้านอำมาตย์ทั้งหลายได้เป็นเจ้าภาพแก้ไขในลักษณะบนลงล่าง ซึ่งทำเหมือนดูดี เพราะมีคนเสนอเรื่องรัฐสวัสดิการ เก็บภาษีทางตรงจากคนรวยมากขึ้น และให้ระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องเท่านั้น แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงโครงสร้างการเมืองและอำนาจของอำมาตย์โดยตรง หรือบอกเพียงว่าประชาชนไม่ควรเลือกนักการเมืองเลว

ข้อเสนอของผู้เขียนคือ ควรมีการสรุปความคิดจากมวลชนระดับล่างสู่ระดับนำถึงรูปธรรมการสร้างความเข้ม แข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมให้ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีและมี ศักดิ์ศรี

แนวทางรัฐสวัสดิการสามารถเป็นทางออกของการเมืองไทยได้ เพราะเป็นแนวคิดที่จะสร้างหลักประกันความเป็นอยู่ที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มารดาจนถึงตาย หลักการกระจายปัจจัยทุนให้ประชาชนสร้างอาชีพและลืมตาอ้าปากได้ การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีให้เก็บทางตรงมากขึ้น ในอัตราก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ หลักการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย บริหาร ตรวจสอบองค์กรสาธารณะ กลไกรัฐทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้ แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน ซึ่งย่อมส่งผลต่ออำนาจของชนชั้นนำอย่างแน่นอน

ส่วนแนวการปฏิรูปแบบแยกส่วนใช้ไม่ได้ อีกต่อไป เพราะปัญหาทุกอย่างที่เรื้อรัง ล้วนเกาะเกี่ยวรวมศูนย์อยู่ที่การเมืองภายใต้ชนชั้นอำมาตย์ โดยเฉพาะความตกต่ำของการศึกษาไทยที่ทำลายจิตวิญญาณเสรีภาพ ความเป็นตัวของตัวเองของเด็กเยาวชน ก็มาจากการเมืองที่ฝ่ายชนชั้นอำมาตย์ได้รับชัยชนะในเหตุการณ์ล้อมปราบนัก ศึกษาประชาชนในวันที่ 6 ตุลา 19 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีบทบาทนำทางวัฒนธรรมสั่งสอนให้เด็กยอมรับระบบชนชั้น ระบบผู้อาวุโส โต้เถียงไม่ได้ ปัญหาการศึกษาจึงเป็นปัญหาทางการเมือง เหมือนปัญหาอื่นๆ ก็เป็นปัญหาทางการเมือง การจะแก้ไขปัญหาทั้งหลายก็ต้องแก้ไขด้วยแนวทางการเมือง และปัญหาใหญ่ของการเมืองไทยอยู่ที่ระบอบอำมาตย์ ไม่ว่าจะใช้วิธีการกดดัน เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมาย การเปิดโปง (โดยไม่ใช้ความรุนแรง) การรณรงค์ต่อสาธารณชน การผลักดันข้อเสนอผ่านพรรคการเมืองฝ่ายตนเอง การสร้างพรรคการเมืองตามแนวทางของตัวเอง เป็นต้น

โดยสรุปแล้ว สงครามชนชั้นจึงมีเป้าหมายปลายทางที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์ เชิงอำนาจ อันเป็นหัวใจที่ต้องยึดกุม โดยให้อำนาจทางการเมืองในระบบยึดโยงกับอำนาจของประชาชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวเอง ต่อแต่นี้ไปคนเสื้อแดงจะต้องมีพันธกิจในการเป็นผู้ทวงคืนอำนาจจากเผด็จการ และปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสรชน ยกระดับเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องทำงานทางความคิดอย่างหนัก เพื่อไม่ให้คำขวัญที่เชิดชู เช่น หยุดสองมาตรฐาน ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นนามธรรมอย่างนี้เรื่อยไป

http://prachatai.com/journal/2010/11/32006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น