"นิธิ" ชี้เปรี้ยง "แลนด์ลอร์ดโง่" ขวางปฏิรูป "จัดสรรที่ดิน"
มติชนออนไลน์
ในขณะที่รัฐบาลจุดกระแส "ปฏิรูปประเทศไทย"
ในขณะที่คณะกรรมการปฏิรูปที่มี "อานันท์ ปันยารชุน" เป็นประธาน จุดกระแส "ปฏิวัติระบบบริหารจัดการทรัพยากร" เพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
กลับปรากฏข่าว "ชนชั้นนำ-ชนชั้นปกครอง" เข้าครอบครองที่ดินโดยมิชอบ ไม่เว้นกระทั่งแกนนำคนสำคัญของ "รัฐบาลอภิสิทธิ์"
"นิธิ เอียวศรีวงศ์" กรรมการ ปฏิรูป เปิดฉากจาระไนปัญหาที่ดินและทรัพยากร ซึ่งยืดเยื้อ เรื้อรัง และเกี่ยวพันกับคนเป็นจำนวนมาก การแก้ไขปัญหาจึงไม่อาจสำเร็จได้ด้วยเงื้อมมือของคณะกรรมการรวม 20 ชีวิต แต่ต้องให้คนทั้งสังคมช่วยกันออกแรงผลัก
"ปัญหาทรัพยากรเป็นสิ่งที่ กรรมการพูดกันมาก เราจะเริ่มจากประเด็นที่เป็นปัญหาร่วมของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นกลาง หรือชนชั้นล่าง เช่น การรวมศูนย์อำนาจมากเกินไปโดยที่คุณไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลย ชนชั้นกลางเสียเงินทั้งชีวิตเพื่อจะซื้อที่ดิน
"นอก จากนี้ยังมีสิทธิในการกันที่ป่าที่เรียกว่า "เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า" หรืออะไรก็แล้วแต่ ชาวบ้านควรมีส่วนร่วมตัดสินว่ามันแค่ไหนถึงอนุรักษ์ได้ ผมว่าทั้งคนบ้านนอกและคนเมืองกรุงต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเราต้องเผชิญ ต้องเข้าไปโจมตีปัญหาเรื่องการตัดสินใจที่รวมศูนย์"
นั่นคือยุทธวิธีในการแสวงหาแนวร่วมที่คณะกรรมการปฏิรูปจะงัดขึ้นมาใช้
"นิธิ" ย้ำว่าปัญหาในการจัดการทรัพยากรทั้งในเมืองและชนบท เกิดจากการ "รวมศูนย์ของรัฐ" โดยประชาชนไม่มีอำนาจในการต่อรอง หรือคัดค้านการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรเลย
แสดงว่าการลงหลักปักฐานประชาธิปไตยของไทยต้องต่อสู้กับรัฐ ซึ่งใช้อำนาจแบบรวมศูนย์?
"แน่ นอน คือประชาธิปไตยเนี่ย ถ้าดูรัฐธรรมนูญฝรั่งทุกฉบับเขียนขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจรัฐ เพราะมันมีประวัติการต่อสู้กับรัฐมายาวนาน แต่ของเรา ต่อสู้แล้วไม่เคยชนะล่ะมั้ง จนกระทั่งลืมไปว่าตัวที่น่ากลัวที่สุดสำหรับชีวิตเราก็คือตัวรัฐเนี่ยแหละ ดังนั้น การปฏิรูปจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถทำลายฐานอำนาจของกลุ่มชน ชั้นนำลงได้ วันนี้คนทั้งสังคมต้องช่วยกันโจมตีกลุ่มปัญหาที่มีร่วมกัน ถ้าสังคมรู้สึกว่ามันกระทบกระเทือนก็ต้องช่วยกันผลักดัน มันน่าประหลาดไหมที่คุณ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ "ผู้ยึดกุมอำนาจ" และ "ผู้ครอบครองที่ดิน" เป็นคนกลุ่มเดียวกัน ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็น "ตัวฉุด" มากกว่า "ตัวผลัก"
"ผมว่าไม่นะ แต่ปัญหาเป็นเพราะประชาชนไม่รู้สึกด้วย เพราะคุณไม่ประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจว่าปัญหาที่ดินเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมือง"
แม้แต่กรรมการปฏิรูปบางคนก็เป็น "แลนด์ลอร์ด" ถ้าเช่นนั้นจะปฏิวัติระบบบริหารจัดการที่ดินได้จริงหรือ?
เขา โดดป้องเพื่อนร่วมวงทันควันว่า "การมองว่าเขาเป็นแลนด์ลอร์ดอย่างเดียว มันไม่ได้ ถ้าดูตัวอย่างแลนด์ลอร์ดจำนวนหนึ่งจะคิดว่าถ้ากูเปลี่ยนฐานทรัพย์ของกูไป เป็นอย่างอื่น กูจะรวยกว่าเก่า ถ้าพูดภาษาฝ่ายซ้าย นี่คือนายทุนก้าวหน้า เขารู้ว่าการกอดที่ดินเนี่ย มันไม่มีประโยชน์เท่าไร แต่ถ้าคุณเป็นคนผลักดันให้มีการปฏิรูปที่ดิน โดยเงินของคุณอยู่บนที่ดินต่อ เพราะที่ดินเป็นทรัพย์ที่เฮงซวยมาก จะเอาไปลงทุนอะไรไม่ได้สักอย่าง สู้ไปลงทุนทำโรงงานทอผ้า ไปลงทุนทำอย่างอื่น มันดีกว่าการเป็นตาแก่นั่งเฝ้าที่ดินอยู่"
"สิ่งที่เราจะทำมันไม่ถึง ขั้นปฏิวัติเพื่อล้มล้างทรัพย์ทั้งหมด เพียงแต่ปรับเปลี่ยนทรัพย์ให้สอดคล้องกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป พอคุณไม่ยอมปรับตัว คุณก็ไม่ยอมให้มีการปรับเปลี่ยน"
"กรรมการ ปฏิรูป" ฟันธงในบรรทัดสุดท้ายว่ากลุ่มคนที่เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปทรัพยากร หาได้เป็น "แลนด์ลอร์ด" ไม่ หากแต่เป็น "แลนด์ลอร์ดโง่ๆ ที่ไม่รู้จักปรับตัว" !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น