Mon, 2010-08-23 00:54
นักปรัชญาชายขอบ
ประเด็น “วิวาทะ” เรื่องนิสิตชูป้าย “เตือนความจำ” และขอยื่นหนังสือประท้วง นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มาปาฐกถา ในงานครบรอบ 60 ปีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 18 ส.ค. นั้น เป็นประเด็นที่ “น่าสะเทือนใจ”
1. สะเทือนใจที่นักศึกษาถูกยึดป้าย “เตือนความจำอภิสิทธิ์” ด้วยข้อความ เช่น “จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "ผมอยากเห็นรัฐบาลมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "ยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วพังไปเรื่อยๆ" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “หยุดปิดกั้นความคิด หยุดใช้ พ.ร.ก.”
แต่น่าสะเทือนใจยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อได้อ่านคำให้สัมภาษณ์ของ นาย
นี่คือทัศนคติที่ตัดสินล่วงหน้าว่า ถ้าคุณอยู่ฟากเสื้อแดงต้องไม่มีสมองคิด แม้คุณจะเป็นถึง “นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาฯ” ที่ผมสอนคุณมาดีแล้วก็ตาม แต่ถ้าคุณประท้วงอะไรเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของคนเสื้อแดง คุณ
ทว่าเมื่อได้รู้ข้อความ “เตือนสติ” นายกฯ ตรงๆ ที่แสนสุภาพและสละสวยยิ่งกว่าข้อความ เช่น “กระชับพื้นที่” เพื่อ “คืนความสุข” ให้ “คนกรุงเทพฯ” ในป้ายประท้วงของนักศึกษาแล้ว ไม่เห็นอาจารย์ท่านนั้น “ขอโทษ” นักศึกษา ที่ตนเองเข้าใจผิด มองนักศึกษาต่ำๆ เหมือนที่มองคนเสื้อแดง
2. เหตุผลของอาจารย์สับสนครับ เช่น คำให้สัมภาษณ์ที่ว่า “แล้วสิ่งที่ต้องคิดนะ สิ่งที่ต้องคิดก็คือ นี่คือนิสิตกลุ่มหนึ่ง นิสิต 3-4 คนก็แล้วแต่ แล้วเคยถามประชาคมจุฬาฯ ไหม...เคยถามเขาไหมว่า เรามาแสดงออกในเวทีนี้ เขาจะผลักดันนโยบายนี้ ถูกที่ไหม เคยถามหรือเปล่า หรือว่าเอะอะปาวๆ ก็จะแสดงออก แสดงออก ผมก็ถามกลับว่า อยากแสดงออกแล้วทำไม ต้องเลือกแค่ช่วงที่บุคคลสำคัญมา ช่วงที่คุณจาตุรนต์อยู่ ช่วงต่อจากนั้น ทำไมไม่แสดงออก.. เอ๊ะ เป็นการแสดงออกแบบเลือกที่มักรักที่ชังหรือเปล่า อย่างนี้เรียกเสรีภาพที่แท้จริงหรือ..."
ก็นิสิตเขาต้องการประท้วงนายกฯ เขาก็ต้องแสดงออกเวลาที่นายกฯ มาซิครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณ
ประชาคมจุฬาฯ ยิ่งใหญ่คับฟ้าเลยหรือครับ? ทำไมนิสิตจะแสดงสิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ รับรองโดยรัฐธรรมนูญ จะต้องไป “ถาม” ประชาคมจุฬาฯก่อนด้วย!
ที่จริงประชาคมจุฬาฯ ควรจะขอบคุณนิสิต 3- 4 คน นะครับ ที่พวกเขาแสดงออกให้สังคมไทยและสังคมโลกได้เห็นว่า ในจุฬาฯ ยังมีคนที่ “สามารถเข้าใจได้” ว่า รัฐบาลที่ทำให้คนตาย 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และยังบังคับใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐาน ปิดกั้นสิทธิทางการเมืองของประชาชนต่างๆ นั้น เป็นรัฐบาลที่ไม่เหลือ “ความชอบธรรม” อยู่อีกแล้ว!
3. ที่อาจารย์บอกว่า “...เราไม่ใช่แสดงเสรีภาพโดยไม่มีขอบเขตอะไรเลย นิสิตอยากแสดงออกแล้วสิทธิของผมในฐานะคนจัดงานประชุมอยู่ตรงไหน สิทธิของผมคือทำให้งานมันเรียบร้อยใช่ไหมครับ” สิทธิที่อาจารย์ต้องจัดงานให้เรียบร้อยนิสิตก็ควรเคารพครับ เหมือนสิทธิการจราจรของคนทั่วไปที่ผู้ประท้วงบนท้องถนนก็ควรเคารพ แต่บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องเลือกว่าสิทธิอันไหนสำคัญกว่า หากการแสดงออกซึ่งสิทธิทางการเมืองมันมีค่าต่อสาธารณชนหรือสังคมโดยรวม หรือความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า สิทธิที่รองลงมา เช่น สิทธิการจราจรในบางช่วงเวลา หรือสิทธิความสะดวกกายสบายใจส่วนบุคคลอื่นๆ ก็อาจต้องเสียสละกันบ้างใช่ไหมครับ! (ภายใต้ “เงาอำมหิต” ของอำนาจนิยม นิสิตเขาคงกลัวว่าถ้าแจ้งให้อาจารย์ทราบล่วงหน้าก่อน คงไม่ได้ชูป้ายประท้วง)
4.การตบท้าย “คำอธิบายตัวเอง” ด้วย “ภาษาอำนาจนิยม” สะท้อนถึงทัศนคติของอาจารย์... "นี่เวทีวิชาการ ผมเป็นคนรับผิดชอบงานนี้ นี่เป็นที่ของผม ถ้ามีปัญหาค่อยฟ้องทีหลัง " ...คำพูดผมหมายถึงสถานที่จัดงาน เป็นความรับผิดชอบของผม ไม่ได้หมายถึงว่าจุฬาฯ เป็นที่ของผม เป็นการตีความที่ผิดความหมาย ใครเรียนจุฬาฯ จะรู้ว่าที่จุฬาฯเป็นที่พระราชทาน"
สรุป ปัญหาอยู่ที่ทัศนคติและท่าทีของอาจารย์ เช่น ตัดสินล่วงหน้าว่าคำประท้วงจะหยาบคายเหมือนคนเสื้อแดง (ไม่ชอบคนเสื้อแดงไม่ว่า แต่ไม่ให้เกียรตินิสิตของตัวเองบ้างเลย!) จะแสดงออกทางการเมืองแบบนี้เคยถามประชาคมจุฬาฯ บ้างไหม คุณเคารพสิทธิของผมไหม และ “ท่วงทำนอง” ของคำพูด “ใครเรียนจุฬาฯ จะรู้ว่าที่จุฬาฯเป็นที่พระราชทาน" นั้น แสดงถึง “ระบบความนึกคิด” (ideology) แบบอำนาจนิยมอยู่ในที
และกล่าวอย่างถึงที่สุด ด้วยทัศนคติของคนที่เป็นถึงอาจารย์
ปล. อ่านข่าวประกอบที่ http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30744 http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30765 http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30783 และ http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/307686
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น