สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปาฐกถาวันสันติภาพ: สันติภาพแห่งเสรีไทย สู่สันติภาพในสังคมไทย


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

ปาฐกถาวันสันติภาพ ประจำปี 2553
สันติภาพแห่งเสรีไทย
สู่สันติภาพในสังคมไทย
โดย ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553
ณ อาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย

The peace movement will not be killed.
It lives as naturally as the Sun, rising each day over the world.
Nikolai Tikhonov

ข้อความเบื้องต้น

1. ปัญหาเฉพาะหน้า : สังคมไทยกำลังถูกรัฐบาลบังคับให้มีสันติภาพ (หรือไม่)

จากที่เราได้เห็นโดยทั่วกันแล้วว่า รัฐบาลกำลังรณรงค์ ขะมักเขม้นประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางการสื่อสาร อีกทั้งพยายามเรียกร้องให้ได้มาซึ่งความปรองดอง ความสมานฉันท์และน้ำใจไมตรีที่คนไทยเคยมีต่อกันเฉกเช่นในอดีต โดยอ้างเสมอว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นและผ่านไปแล้วนั้น เป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่นิยมและสนับสนุนความรุนแรง รัฐบาลเองจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจตามกฎหมายและวิธีการรุนแรงเข้าตอบโต้และปราบ ปรามให้ราบคาบสิ้นเชิง และในที่สุด รัฐบาลก็ประสบผลสำเร็จในการนั้น โดยกลับมาเรียกร้องและเชิญชวนให้สังคมไทยหันมาคืนดีและปรองดองกันใหม่ โดยมิได้พิจารณาถึงต้นเหตุหรือมูลรากที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น การกระทำของรัฐบาลเช่นนี้ดูเสมือนว่า กำลังจงใจที่จะมองข้ามและอย่างน้อยปฏิเสธอยู่ในที (คือนิ่งเงียบและเพิกเฉยกับต้นเหตุแห่งปัญหา) ว่าแท้จริงแล้วไม่มีอะไรในกอไผ่

สถานการณ์ขณะนี้ และในเวลานี้ ไม่มีอะไรในกอไผ่จริงหรือ

ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่เกิดขึ้นและที่ผ่านมาแล้วราว 2 เดือน ได้แก่ คนกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาว่า มีต้นเหตุซึ่งเป็นเหตุที่จะก่อปัญหาติดตามมาอีกสารพันปัญหา ถ้ายังละเลยไม่แก้ปัญหาหรือต้นเหตุแรกนี้เสียก่อน กล่าวคือ ปัญหาความไม่ชอบธรรมหรืออย่างน้อยมีความเคลือบแคลงสงสัยในความชอบธรรมทางการ เมืองของผู้บริหารบ้านเมืองในขณะนั้น จึงเห็นควรนำปัญหานี้กลับมาสู่กระบวนการการตัดสินใจใหม่ในทางการเมืองของ ประชาชนอีกครั้ง แต่รัฐบาลที่อ้างตนว่า เป็นรัฐบาลที่มีความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยกลับเพิกเฉย ทั้ง ๆ ที่โดยเหตุผลที่ถูกต้องตามระบอบการปกครองแล้ว ประชาชนมีสิทธิที่จะให้การรับรองหรือปฏิเสธผู้ปกครองในขณะนั้นได้โดยผ่านการ ตัดสินใจใหม่ทางการเมืองเสมอ (ยกตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไปในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นต้นแบบของระบอบการ ปกครองของไทยนั่นเอง) และการเลือกที่จะใช้กำลังเข้าจัดการกับปัญหานี้แทนการกลับมาสู่วิถีทางแก้ ปัญหาตามระบบที่ควรจะเป็น จึงกลายเป็นว่า รัฐบาลยิ่งมัดปมขัดแย้งทางความคิดให้เขม็งเกลียว และบีบคั้นให้ข้อเสนอดังกล่าวแล่นไปสู่การตัดสินกันด้วยการใช้กำลังเข้า ประหัตประหาร ซึ่งในประเทศอารยะทั้งหลายล้วนเป็นวิธีการที่รัฐบาลที่มีคุณธรรมมักจะไม่ กระทำกัน

ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้คนไทยและสังคมไทยหันหน้ากลับมาหากันนั้น น่าสงสัยอยู่มากว่า รัฐบาลกำลัง บังคับให้คนไทยและสังคมไทยกลับมามีสันติภาพดังเดิมใช่หรือไม่ เพราะจากแนวทางการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ที่ปรากฏดูเสมือนว่า รัฐบาลเข้าใจไปแล้วว่าการมีสันติภาพแบบเดิม ๆ นั้นเป็นสาเหตุที่จะก่อผลคือความสมานฉันท์ของคนในสังคม และมีนัยไปในทำนองที่ว่า การมีสันติภาพเป็นสาเหตุที่โดดเดี่ยว ตัดขาดและไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นใดทั้งสิ้น แทนที่จะตระหนักให้ถ่องแท้ว่า สันติภาพนั้นมิใช่ สาเหตุแต่สันติภาพนั้นเป็น ผลโดยตรงจากเหตุหลายประการ ก็ ถ้ารัฐบาลเข้าใจกลับหัวเป็นหางเช่นนี้แล้ว แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ตัดสินใจนำมาใช้และประกาศเป็นการทั่วไปแก่สาธารณชน นั้น จะนับได้หรือว่าได้เดินมาถูกทางแล้ว

2.สันติภาพแห่งเสรีไทย : คุณค่าที่อนุชนรุ่นหลังพึงสืบสาน

ในโอกาสวันสำคัญซึ่งเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ กล่าวคือ วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ซึ่งถ้านับจากวันประกาศสันติภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 เป็นต้นมา ก็นับเป็นเวลา 65 ปีมาแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า เราอาจจะต้องมาพิจารณาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่า สันติภาพที่ได้มาในทางเอกราชและอธิปไตยของชาติโดยขบวนการเสรีไทยในเวลานั้น มีคุณค่าที่พึงตระหนักและที่อนุชนพึงสืบสานได้ในลักษณะใดบ้าง

จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี การปฏิบัติงานเสี่ยงภัยในระดับเอาชีวิตเข้าแลกของพลพรรคในขบวนการเสรีไทยที่ มี รู้ธเป็นผู้นำนั้น นับได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ต้องอาศัยระยะเวลา การวางแผนทางยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงาน ความอดกลั้นอดทน วินัยของสมาชิกที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งความลับแม้บางครั้งจะต้องแลกด้วยชีวิต ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การผลักดันและขจัดอิทธิพลทั้งหลายทั้งปวงของผู้รุกรานออกไปจาก แผ่นดินไทย อีกทั้งเพื่อประสานและบูรณะสัมพันธภาพที่เคยมีก่อนการประกาศสงครามของรัฐบาล ไทยในขณะนั้นกับฝ่ายสัมพันธมิตร การทั้งปวงนี้จึงเป็นการวมสมาชิกเสรีไทยทุกคนและทุกสายเข้าเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยวยิ่ง ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานสำคัญของชาตินี้ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้นได้แถลงอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะแล้ว ว่า เป็นงานเพื่อการรับใช้ชาติด้วยกันทั้งสิ้นทุกฝ่าย มีข้อที่น่าสังเกตด้วยว่า ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเช่นนี้ย่อมเป็นพลังในตัวมันเอง ขบวนการเสรีไทยหาใช่เกิดจากการนำโดยใช้อำนาจ กลยุทธ์ หรือกุศโลบายใด ๆ แต่เกิดจากแรงขับภายในอันเกิดจากความสมัครใจและเจตจำนงของสมาชิกทั้งหลายที่ มีความมุ่งประสงค์เป็นหนึ่งเดียวที่จะรับใช้ชาติ ภายใต้การนำที่มีภารกิจในอันที่จะประสานทุกฝ่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และในความเห็นผู้เขียนแล้ว คงหาไม่ได้ง่ายเท่าใดนักในประวัติศาสตร์ของไทยที่ดวงใจของคนไทยทั้งหลายจะ หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อปฏิบัติการกู้ชาติครั้งสำคัญนี้

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลสำเร็จและคุณูปการของขบวนการเสรีไทยในเรื่องนี้คือ การนำสันติภาพกลับคืนสู่ประเทศ แน่นอนว่า สิ่งนี้คือความมุ่งประสงค์สุดท้ายแห่งการปฏิบัติหน้าที่ของเสรีไทย นี่คือภาวะสันติภาพที่จำเป็นเร่งด่วนและเป็นปัญหาเฉพาะหน้าในขณะนั้น หากกล่าวโดยรวบรัดก็คือ ภารกิจของขบวนการเสรีไทยที่ก่อตัว ดำเนินไปและปิดฉากลงแล้วได้กลายเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยไปแล้ว

ด้วยเหตุนี้ หากเราพิจารณาความหมายของสันติภาพดังเช่นที่สาธารณะเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไป ก็ย่อมหมายความว่า สันติภาพกลับคืนสู่แผ่นดินไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้วพร้อม ๆ กับการออกประกาศสันติภาพในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 หากเป็นเช่นนี้ หน้าที่ของอนุชนรุ่นหลังก็คงจะมีเพียงการจัดงานย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่นั่นบ้าง ที่นี่บ้าง อาจจะเป็นการจัดงานเพื่อยกย่องเชิดชูตัวบุคคลบ้าง กลุ่มบุคคลบ้าง งานเหล่านี้เองในแง่หนึ่ง เราคงไม่สามารถปฏิเสธความสำคัญในตัวของงานได้ แต่หากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว เจตจำนงสันติภาพแห่งเสรีไทยเป็นสันติภาพที่เสร็จสิ้นในตัวของมันเอง แล้วกระนั้นหรือ เป็นเจตจำนงที่ปิดฉากตนเองลงพร้อม ๆ กับการประกาศสันติภาพจริงหรือ หากคำตอบคือ ใช่ ผู้เขียนก็เห็นว่า ถ้าเช่นนั้นวันสันติภาพก็เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์โบราณแห่งหนึ่งที่มุ่งเก็บและ สงวนเอาไว้เพียงความทรงจำในอดีตเท่านั้น

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเทียบเคียงกับวาระการจัดรัฐพิธีงานหนึ่งในทวีปยุโรป ที่มี วัตถุประสงค์ใกล้เคียงกันกับวันสันติภาพของไทย กล่าวคือ งานที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.2004 (พ.ศ. 2547) ในโอกาสครบรอบ 60 ปีแห่งการยกพลขึ้นบกของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ณ ชายหาดนอร์มองดี [1] กล่าวได้ว่า งานนี้เป็นรัฐพิธีขนาดใหญ่ที่มีผู้นำของสหรัฐอเมริกา ผู้นำและประมุขของประเทศยุโรปที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าร่วม งานอย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งขณะนั้น ผู้เขียนยังศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสและได้ติดตามการจัดรัฐพิธีนี้อย่าง ใกล้ชิด อนึ่ง แม้การจัดงานและความประสงค์ของทุกฝ่ายนั้น จะมุ่งย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตและยังเป็นโอกาสพิเศษในการมาร่วมพบปะ สังสรรค์ของบรรดาทหารผ่านศึกบางนายที่ยังมีชีวิตอยู่และได้ร่วมในเหตุการณ์ จริงด้วยก็ตาม (ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับนายทหารบางนายที่เข้าร่วมการจัดงานครั้งนี้อาจจะไม่ เป็นวาระพิเศษแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังอาจเป็นโอกาสสุดท้ายในชีวิตของนายทหารท่านเหล่านั้นก็เป็นได้) แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ต่างปรารถนาตรง กัน ได้แก่ การนำเหตุการณ์สำคัญในอดีตนี้มาพินิจพิจารณา เพื่อเน้นย้ำและมองไปยังอนาคตของอนุชนรุ่นใหม่และพยายามให้ภาพที่พึงประสงค์ โดยต่างคาดหมายถึงเส้นทางในอนาคตที่มนุษย์ไม่ว่ากลุ่มชนหรือเชื้อชาติใดบน โลกควรจะก้าวเดินไปอย่างมั่นคงบนเส้นทางแห่งสันติภาพ [2]

ในทำนองเดียวกัน เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาวันสันติภาพของไทย เจตจำนงสันติภาพแห่งเสรีไทยก็พึงได้รับการหยิบยกขึ้นมาสำรวจตรวจสอบและสืบ สานโดยอนุชนรุ่นต่อไปเช่นกัน หากไม่ต้องการให้คุณค่าแห่งสันติภาพกลายเป็นเพียงสิ่งเก่าเก็บ ทั้งนี้ เรายังจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุว่าในปัจจุบัน สถานการณ์สงครามในดินแดนต่าง ๆ และที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยต่างค่อย ๆ ลดความเข้มข้นและความถี่ลงทุกขณะ และที่จะเกิดขึ้นใหม่ก็ดูจะมีโอกาสไม่มากนัก ดังนั้น คำว่า สันติภาพในสถานการณ์ปัจจุบันจึงอาจต้องเข้าใจในมิติที่แตกต่างออ

[1] การ ปฏิบัติภารกิจยกพลขึ้นบกในครั้งนี้ นักประวัติศาสตร์ยุโรปถือกันว่า เป็นการเริ่มปลดปล่อยดินแดนในทวีปยุโรปให้พ้นจากอำนาจของกองทัพนาซีเยอรมัน และยังเป็นจุดเริ่มแห่งการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมาด้วย.

[2] ในพิธีเปิดงาน เมื่อประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ในขณะนั้นคือ ฯพณฯ นายจ๊าคส์ ชีรัค) กล่าวสุนทรพจน์ช่วงต้นเพื่อเป็นการระลึกถึงทหารทั้งหลายที่มาจากประเทศต่าง ๆ และเข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้แล้ว ได้กล่าวต่อด้วยว่า แต่ทว่า จะมิได้มีสิ่งใด อีกทั้งจะไม่มีความบ้าคลั่งใดอันยิ่งไปกว่านี้ ที่จะหยุดย่างก้าวอันมุ่งไปสู่เสรีภาพได้อีก บัดนี้ จะเป็นย่างก้าวที่มุ่งสู่สันติภาพ และจะไม่มีสิ่งใดที่จะหยุดระเบียบใหม่ระหว่างประเทศในการอยู่ร่วมกัน อันเป็นระเบียบที่ก่อร่างขึ้นบนความเคารพต่อมนุษยชาติและความเคารพต่อกฎหมาย เป็นระเบียบที่เป็นฐานรองรับแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรมและประชาธิปไตย นี่คือระเบียบซึ่งยังคงเป็นจิตวิญญาณและได้รับการประกันไว้ด้วยกฎบัตรแห่งสห ประชาชาติในเวลานี้ ... เมื่อต้องเผชิญกับภยันตรายอันติดตามมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบน โลก ขอให้พวกเราทั้งหลายคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นศรัทธาในมรดกชิ้นนี้ กล่าวคือ การอุทิศชีวิตเลือดเนื้อและสารที่ชนรุ่นบิดาของพวกเราได้มอบไว้ให้ ขอให้พวกเรามุ่งมั่นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสาระสำคัญแห่งคุณค่าในความเป็น มนุษย์ที่พึงเคารพซึ่งกันและกัน อีกทั้งเคารพซึ่งความยุติธรรม การแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นระหว่างกัน อีกทั้งการยอมรับความแตกต่างของกันและกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดหมายปลายทางที่ชนรุ่นบิดาของพวกเราได้อุทิศแล้วซึ่ง ชีวิตเลือดเนื้อเพื่อให้ได้มา ขอให้พวกเรามุ่งมั่นต่อสู้ร่วมกันในอันที่จะสร้างโลกแห่งเสรีภาพและความก้าว หน้าของลูกหลานแห่งเรา โลกซึ่งเคารพความหลากหลายของปัจเจกและความคิด ของวัฒนธรรมต่าง ๆ และของประชาชาติทั้งปวง และด้วยมรดกชิ้นสำคัญนี้ หน้าที่อันสำคัญนี้นี่เองที่เราได้มาร่วมกันรำลึกถึงในวันนี้ เนื่องจากพวกเราคืออนุชนผู้พิทักษ์และสืบทอดมรดกเหล่านี้ ...แปล จาก สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในโอกาสรัฐพิธีรำลึกครบรอบ 60 ปีแห่งการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมืองอาร์โรมงช์ แคว้นนอร์มองดี (6 มิถุนายน 2004) ใน http://www.ambafrance-nl.org/france_paysbas/spip.php?article4602

https://www.suresome.com/proxy/nph-secure/00A/http/www.prachatai3.info/journal/2010/08/30738

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น