Wed, 2010-08-11 02:19
ม.ราชภัฏพิบูลสงครามจัดสัมมนา “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” ตัวแทนสื่อชี้เหตุความขัดแย้งมาจากสื่อที่กลุ่มผลประโยชน์ใช้เป็นเครื่องมือ เชื่อจะปรองดองได้สื่อต้องเป็นกลาง ด้าน ส.ส.เพื่อไทยเชื่อแนวปรองดองยังมีจุดอ่อนเรื่องการถูกตรวจสอบ "ศิโรตม์" เชื่อยังไม่ขัดแย้งขั้นแบ่งประเทศ เสนอสร้างความไว้วางใจในสังคมด้วยการเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
การจัดสัมมนาหัวข้อ “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” เมื่อ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ที่มาของภาพ: ข่าวสารศรีพิบูล, 6 ส.ค. 53, หน้า 1
เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ (อาคาร IT) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) จ.พิษณุโลก มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” โดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นาย
ตัวแทนสื่อชี้จะปรองดองได้ สื่อต้องเป็นกลาง
นาย
ประการหนึ่ง คือ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องการการสนับสนุน ทางการเงิน ผนวกกับการนำเสนอของสื่อมวลชนเป็นไปในเชิงพาณิชย์ในลักษณะต้องตอบสนองต่อ ความต้องการบริโภคข่าวที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค และอีกประการหนึ่ง เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสื่อมวลชนกับกลุ่มผลประโยชน์
เหตุปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์สื่อเสนอข่าวข้างเดียวจนสามารถ แยกได้อย่างชัดเจนว่าสื่อเป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มก้อนทางการเมืองฝ่ายใด ทั้ยังลดทอนความสามารถในการวิเคราะห์ที่ควรจะเป็นของสื่อมวลชน สำหรับแนวทางสู่ความปรองดองแห่งชาติและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในฐานะสื่อมวลชน เห็นว่า สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางและตระหนักถึงเป้าหมายไปที่หน้าที่ ที่แท้จริงของตน
ส.ส.เพือไทยชี้ปรองดองยังมีจุดอ่อนเรื่องการถูกตรวจสอบ แนะแก้ไขปัญหาความเป็นธรรม
นาย
เขาเห็นว่าสื่อเป็นตัวแสดงหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย นอกจากนี้ยังมีตัวแสดงที่สำคัญอีกตัวแสดงหนึ่ง คือ ผู้นำประเทศหรือนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่ การปกป้องอธิปไตย การรักษาความสงบภายในประเทศ การรักษาความชอบธรรมและความเสมอภาค และการรักษาสุขภาพหรือชีวิตของประชาชน
นายนิยมยังเห็นว่าแนวทางปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นสิ่งที่ดี แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องความเป็นธรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมทั้งเสนอว่าสมาชิกวุฒิสภาน่าจะเป็นตัวกลางในการปรองดองได้ดีที่สุด นอกจากนี้การนำนโยบายปรองดองไปสู่การปฏิบัติยังมีประเด็นที่ควรคำนึงใน เรื่องการยอมรับจากประชาชนในเรื่องการกระจายทรัพยากรและปฎิรูปประเทศ ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้การแก้ไขปัญหาความเป็นธรรมในสังคมไทยกระทำไปบนพื้น ฐานของหลักนิติรัฐและนิติธรรม
ศิโรตม์เชื่อยังไม่ถึงขั้นแยกประเทศ แนะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สร้างความไว้วางใจในสังคม
ด้านนาย
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งในสังคมไทยในปัจจุบันนั้น ศิโรตม์เห็นว่ามีความรุนแรงและแตกต่างจากความขัดแย้งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ ผ่านมา ทั้งในมิติระดับของความรุนแรงและมิติในการจัดการความขัดแย้ง ในมิติระดับของความรุนแรง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากกว่าความขัดแย้งในครั้งก่อนหน้าเมื่อ พิจารณาในเชิงปริมาณของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
ในขณะที่หากจะมองถึงมิติการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งมีความแตกต่างจากการจัดการความขัดแย้งในเหตุการณ์ในอดีต ความแตกต่างในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน มาจากการสร้างภาพและผูกติดแบบเหมารวมของคนเสื้อสีต่างๆ ในสังคม จนหล่อหลอมให้ไปสู่การสร้างฐานคิดของผู้คนในสังคมในการไม่ยอมรับหลักการ บางอย่างที่จะไม่ละเมิดหรือกระทำรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นหลักการบางอย่างที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้ เช่น หลักกฎหมาย หรือ หลักความชอบธรรม
รัฐบาลในฐานะที่ควรกระทำตัวเป็นองค์การที่ให้ความเป็นธรรมกับกลุ่มต่างๆ อย่างเท่าเทียมก็มิได้ทำหน้าที่ดังกล่าว กลับนำตัวเข้าไปพันพัวกับความขัดแย้งมากเกินไปจนลดทอนความเป็นกลางและน่า เชื่อถือของรัฐบาลเอง การตั้งคณะกรรมการเป็นแกนนำในการปรองดองหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงของรัฐบาล แม้จะมีการคัดเลือกผู้มีความน่าเชื่อถือในวงสังคมเป็นแกนนำกลับสร้างความ แคลงใจให้กับกลุ่มคนที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลอยู่ไม่น้อย และทำให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งหรือองคาพยพที่เกี่ยวข้องทำงานด้วย ความยากลำบาก หากจะก้าวพ้นการมองกลุ่มก้อนทางการเมืองในขั้นตัวข้ามด้วยสายตาที่ปราศจาก อคติ
ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองไทยสู่การปรองดองอย่างแท้จริงนั้น ศิโรตม์เสนอว่า แนวทางปรองดองจะสำเร็จได้ต้องมีการสร้างเงื่อนไข โดยเห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงควรมาจากการเลือกสรรของรัฐสภาเพื่อ ลดแรงตึงและการมองแบบเหมารวมขององคาพยพที่มีอำนาจเกี่ยวข้อง
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลควรยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพราะการคง พ.ร.ก. ฉุกเฉินทำให้รัฐบาลสามารถกระทำรุนแรงแบบเหมารวมต่อผู้ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็น ภัยต่อความมั่นคงได้เรื่อยๆ เช่น กรณีที่กระทำกับเด็กมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงรายที่ถือป้าย “ที่นี่มีคนตาย” การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่ารัฐบาลจะยุติการกระทำบางอย่างที่เป็น การคุกคามและทำร้ายผู้บริสุทธิ์ในสังคม ทั้งยังก่อให้เกิดความไว้วางใจและความเป็นธรรมในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีก ด้วย นอกจากนี้ในระดับสังคม ฝ่ายต่างๆ ในสังคมต้องยอมรับฟังความจริงของฝ่ายที่เห็นตรงข้าม เพื่อลดภาวการณ์มองแบบเหมารวมของคนแต่ละสี และสร้างให้ทั้งสองฝ่ายมีวุฒิภาวะทางสังคมร่วมกัน
ต่อข้อซักถามเรื่องพัฒนาการของความขัดแย้งในสังคมไทยในปัจจุบัน ศิโรตม์เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทยยังไม่ถึงจุดที่จะยกระดับถึงขั้น แบ่งประเทศ เพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสีสองสีหลักมีความขัดแย้งส่วนตัวเข้าไปเกี่ยว พันอยู่มาก ทั้งยังยากที่จะพัฒนาเป็นการเมืองแบบสองขั้วเช่นที่เกิดขึ้นในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เพราะการเมืองแบบสองขั้วจะเกิดขึ้นในสังคมที่มีสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น