สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเห็นของ ศ. ดร. ธงชัย วินิจจะกูล เทียบวิกฤติพฤษภา 53 กับประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม 19

August 17, 2010
ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย เกิดและโตที่กรุงเทพประเทศไทย อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาย้ายไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา

ดร. ธงชัย คุยกับ นิโคลัส เฟร์เรลลี่ ผู้ดูแลเว็บไซต์นวมณฑล (หรือ นิวแมนเดลา – New Mandela) ที่ออสเตรเลีย ผ่านทาง skype ในขณะที่เขาอยู่ที่เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดร. ธงชัยจะมาเล่าประสบการณ์ของเขาในช่วงที่เขาเป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาทำการ ชุมนุมประท้วง และถูกล้อมปราบในช่วงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จนถูกคุมขังอยู่เป็นเวลาสองปี ก่อนจะได้รับอภัยโทษ เขาให้ความเห็นว่า เขาสามารถผ่านวันเวลานั้นมาด้วยความเพ้อฝัน (fantasy) ที่จะมีสหายมาช่วยปลดปล่อยออกไปซึ่งไม่เป็นความจริง และในที่สุดก็กลับมายังคำถามว่า ระหว่างห้วงเวลานั้น กับห้วงเวลานี้ที่เกิดเหตุการณ์คล้ายกันขึ้นแต่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย แบบใดจะรวดร้าวกว่ากัน
ดร. ธงชัยยังเตือนว่า การสำรวจความจริงไม่ใช่แค่การรื้อฟื้นความทรงจำของแต่ละปัจเจกบุคคลใน สถานการณ์ เพราะความทรงจำรวมไม่ได้เท่ากับผลรวมของความทรงจำแต่ละปัจเจกบุคคล หลายคนไม่ได้เล่าเหตุการณ์ที่พบเห็น ในขณะที่หลายคนก็เล่าเหตุการณ์ที่ไม่ได้ประสบเอง แต่นำความทรงจำมาจากที่อื่น
ดร. ธงชัยยังมองว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงอาจทำอะไรเกินเลยออกไปบ้าง แต่โดยพื้นฐานพวกเขาไม่ได้ก่ออาชญากรรมกับการเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ในเมืองไทยการท้าทายผู้มีอำนาจกลับกลายเป็นอาชญากร ในขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงถูกจำคุก แต่รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้นเลย สิ่งที่น่าสนใจ (และเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับเมืองไทย) คือการพูดถึงเรื่อง “King maker” ที่เขาเคยเขียนบทความมาก่อน ตลอดจนการพูดถึงสถานการณ์เมืองไทยที่ “King maker” เริ่มมีบทบาทเป็นอย่างสูง
Thailand in Crisis - 4 - Thongchai Winichakul (แปลเป็นภาษาไทย)
http://www.youtube.com/watch?v=krVmgT1gycU&feature=player_embedded

ในเทปนี้ ดร. แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ ภาควิชาการเปลี่ยนแปลงการเมืองและสังคม วิทยาลัยการศึกษาด้านการเมืองและยุทธศาสตร์นานาชาติของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย จะมาเล่าให้ฟังถึงความเชื่อ (ที่อาจเคยเชื่อผิด ๆ) ว่า รัฐบาลทักษิณเน้นนโยบายด้านการเกษตรทำให้เขาได้คะแนนนิยมจากกลุ่มคนรากหญ้า ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อจำกัดด้านการคลังของประเทศในขณะนั้น แต่รัฐบาลทักษิณ สามารถดำเนินนโยบายด้านอื่นทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ขึ้นมาครองอำนาจก็ไม่อาจฉวยโอกาสนี้สร้างคะแนนนิยม แทนที่ได้
หมายเหตุ
SIU เห็นปฏิกิริยาจากสื่อต่างประเทศต่อปรากฎการณ์ 19 พฤษภาคม 2553 ที่น่าสนใจจากสื่อและผู้สังเกตุการณ์จากต่างประเทศ จึงนำมาเสนอตามมุมมองของแต่ละสำนัก ที่ผ่านมา SIU ได้เผยแพร่บทความดังต่อไปนี้
• ครั้งแรกเป็นมุมมองค่อนไปทางซ้ายจากสื่อในประเทศเยอรมนี
• ครั้งที่สองเป็นการนำเสนอบทความจากนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ต่าง ประเทศ จากองค์กรคลังความคิดที่มีอิทธิพลกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
• ครั้งที่สามเป็นการนำเสนอมุมมองจากนักวิชาการของออสเตรเลีย ที่เคยเข้ามาทำงานวิจัยภาคสนามในเมืองไทย
• ครั้งที่สี่ เป็นการนำเสนอมุมมองด้านการเมืองการทหารของเมืองไทย จากศ. เดส บอลล์ และ ดร. มาร์คัส มิตซ์เนอร์
• ครั้งที่ห้า เป็นการนำเสนอมุมมองด้านความรุนแรง ความรุนแรง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย จาก ศ. ฮิลลารี่ ชาร์ลส์เวิร์ธ และ ดร. ทีเรลล์ ฮาเบอร์คอร์น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น