ในมุมมองของ ประเทศตะวันตก การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเปรียบเสมือนการประกาศการ “สิ้นสุดของประวัติศาสตร์” และยังเป็นการสันนิษฐานว่านี่คือชัยชนะอันถาวรและเด็ดขาดของแนวความคิดแบบ เสรีนิยมประชาธิปไตยและระบบตลาดทุนนิยมที่มีต่อประเทศคู่แข่งทางความคิดใน ศตวรรษที่ 20
การด่วนสรุปนี้ ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสื่อมของระบบคอมมิวนิสต์ และหลังจากหลายคนมองว่าระบบตลาดทุนนิยมคือตัวเลือกเดียวที่เหลืออยู่ ในปี 2535 ประเทศคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญกับตัวเลือก 3 ทาง คือ การแยกตัวของประเทศในยุโรปตะวันออก, ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (จีน, เวียดนาม) หรือเลือกที่จะอยู่ในสภาพที่ประเทศมีความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจและโดด เดี่ยวประเทศจากประชาคมโลก (คิวบา, เกาหลีเหนือ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การล้มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ประเทศทั่วทุกมุมโลกขยายและดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่าง ไม่เคยมีมาก่อน นายซามูเอล ฮันทิงตันเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “คลื่นลูกที่สาม”ของการเกิดประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์/ทหาร ที่ยังคงมีอยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก (สเปน โปรตุเกส และกรีซ) ได้ล่มสลายลงในกลางยุค 70 เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการทหารในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศที่ล่มสลายลง ในปลายยุค 70และ 80 คลื่น “พลังมหาประชาชน” ได้นำประชาธิปไตยมาสู่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ ในขณะที่การฆ่าหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมินแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพรรคผู้ นำทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายหลังที่ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตกล่มสลาย “คลื่นลูกที่สาม” ยังได้เคลื่อนไปยังเหล่าประเทศในแอฟฟริกาซึ่งตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่าอีก ด้วย โดยเหล่าผู้นำเผด็จการถูกโค่นล้มหรือกลุ่มผู้นำเหล่านั้นตัดสินใจเปลี่ยนการ ปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
ความเชื่อที่มีร่วมกันกันคือ อนาคตของ “ประชาธิปไตย” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคือเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบบที่อ่อนแอและไม่มีความชอบธรรม ทั้งแนวทางความคิดพื้นฐานของระบอบเผด็จการไม่มีความน่าเชื่อถืออย่างสิ้น เชิง เหตุผลง่ายๆของการล้มสลายของระบอบนี้และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอื่นคือ เงื่อนไขของเวลาและยุคสมัย
แต่ความคาดหวังในระบอบประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ต้องพังทลายลงอย่างช้าๆ เมื่อจีนและพม่าไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซ้ำประเทศประชาธิปไตย “คลื่นลูกที่สาม” บางประเทศกลับต้องเผชิญกับความเลวร้ายของการใช้อำนาจรัฐที่ไร้ขอบเขต บางประเทศติดชงักระหว่างความเป็นประชาธิปไตยและเผด็จการ ซึ่ง ก่อให้เกิดระบอบการปกครองแบบลูกผสมแบบใหม่ขึ้น และในบางประเทศพยายามรักษาโครงสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไว้ แต่เมื่อ“ลอกคราบ” ของประชาธิปไตยออกมาจะพบความด้อยของคุณภาพของผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำ ความเสื่อมของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง และ/หรือ ความล่มสลายของระบบนิติรัฐ
สาเหตุที่เหมือนกันของความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยอย่างช้าๆในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การปล้นอำนาจรัฐ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่องค์กรระหว่างประเทศศึกษาประเมินและพัฒนาคุณภาพของ รัฐบาลหลายองค์กรให้ความสนใจ กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกได้ให้ความหมายของ “การปล้นอำนาจรัฐ” ว่า “ขอบเขตของคือการที่กลุ่มบริษัทกระทำผิดกฎหมาย โดยการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับรัฐเพื่อแลกกับการมีอิทธิพลในการออกกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกโดยสถาบันรัฐ ” การที่กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกนิยามความหมายของปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นถือ ว่่ามีประโยชน์ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามคำนิยามดังกล่าวมีข้อผิดพลาดบางประการ ซึ่งทำให้ “การปล้นอำนาจรัฐ” เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
กลุ่มเครือข่ายที่มีผลประโยชน์พิเศษและบริษัทเอกชนเกือบทั่วโลกเหล่านี้ มักพยายามที่จะซื้อโอกาสในการเข้าถึงองค์กรรัฐ ไม่เว้นแม้กระทั่งกลุ่มเครือข่ายหรือบริษัทเอกชนในประเทศที่มีระบอบ ประชาธิปไตยมายาวนานและ “มั่นคง” แต่ความแตกต่างของปรากฏการณ์การนี้ในประเทศรัสเซียและสหรัฐนั้นวับซ้อน มากกว่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญคือกลุ่มธุรกิจใหญ่เหล่านั้นอาจมีอิทธิพลต่อการออก นโยบายรัฐ แต่ประชาชนยังคงใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อการแต่งตั้งหรือล้มรัฐบาลได้ การสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้สถาบันของรัฐเพื่อการเพิ่มอำนาจและความร่ำรวยให้กับพรรคพวกของตน โดยจำกัดสิทธิของประชาชนและพื้นที่ของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยปกติ “การปล้นอำนาจรัฐ” มักจะเป็นเรื่องที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิการแสดงออกอย่างหนัก และกระบวนการข่มขู่คุกคามเพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้ประชาชนเหล่านั้นเคลื่อน ไหวล้มล้างอำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานกฎหมายของผมเผชิญกับปรากฏการณ์ “ปล้นอำนาจรัฐ”หลายรูปแบบจากทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตัวอย่างเช่นในประเทศกัวเตมาลาและ รัสเซีย กลุ่มคนเหล่านี้ได้ปล้นและบิดเบือนอำนาจรัฐและหน่วยงานสืบราชการลับ ศาล สภานิติบัญญัติ และกองทัพเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ระบอบประชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นคือภาพลวงตา เพราะการตัดสินใจไม่ได้มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง คดีความถูกตัดสินจากเบื้องบน กระบวนการยุติธรรมมีไว้เพื่อเป็นเครื่องประกันไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้และ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนคนกลุ่มนี้โดยยอมให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทาง อำนาจเพื่อให้ร้าย คุมขัง หรือเนรเทศกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ออกนอกประเทศ หรือลดอำนาจฝ่ายตรงข้าม สื่อถูกควบคุมโดยการผสมผสานระหว่างปิดกั้นข่าวสาร คุกคาม และให้สินบน และประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังตาบใดที่ไม่ใช้เสรีภาพเรียกร้องให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ในขณะเดียวกัน “การปล้นอำนาจรัฐ” คือปรากฏการณ์ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นใน ประเทศยุโรปและละตินอเมริกา และนั้นคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้คราบของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยได้อยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มธุรกิจครอบครัวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มนายทหาร
หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใดพยายามจะท้าทายระบบนี้โดยการควบคุมการ ออกนโยบาลรัฐหรือแทรกแซงเครือข่ายกลุ่มอำมาตย์เหล่านี้ก็จะถูกกล่าวหาอย่าง เป็นระบบว่าไม่จงรักภักดีต่อบัลลังและโกงกินประเทศ หากยังไม่สำเร็จ รัฐบาลนั้นจะถูกยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารของเหล่าทหาร สิ่งที่ตลกร้ายคือ กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยกระทำการไม่ต่างจากเครือข่ายกลุ่มอาชญากร แต่กลุ่มคนที่ต่อต้านระบบเหล่านั้นกลับถูกประณามว่าเป็นคนที่ “โกงกิน” ประเทศ และ “น่ารังเกียจ”
ข้ออ้างในการทำรัฐประหารในประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกครั้งคือ ต้องการกำจัดการคอรัปชั่น และในบางครั้งยังมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากทหารด้วยกันเอง ข้อกล่าวหาคอรัปชั่นให้ยึดอำนาจที่ผิดกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยโดยกลุ่มนายทหาร การใช้ข้ออ้างนี้ก็เพื่อที่จะปกปิดความ ชั่วร้ายของคนกลุ่มนี้ และประเทศตะวันยังคงเชื่อข้ออ้างดังกล่าวจนถึงทุกวันนี้ แม้มือของกลุ่มคนพวกนี้จะเปียกโชกไปด้วยเลือดของประชาชนที่พวกเขาสังหาร ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม
การต่อสู้คดีความในประเทศที่เผชิญกับปรากฏการณ์อำนาจรัฐถูกปล้นนั้นเป็น เรื่องที่ซับซ้อนอย่างมาก นั้นเพราะศาลเป็นสถาบันที่ถูกปล้นอำนาจได้ง่าย การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้ารัฐในการใช้อำนาจที่ผิดกฎหมายแทบจะเป็นสิ่งที่เป็น ไปไม่ได้ และในขณะเดียวกันการพิจารณาคดีในศาลไม่ได้ต่างไปละครที่วิจิตรบรรจงอย่าง ละครคาบูกิ ที่การพิพากษาคดีไม่ขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของการข้อต่อสู้ทางคดีของ ผู้ต้องหา อีกกรณีหนึ่งคือการทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาเป็นสิ่งที่ยากเพราะ ประโยชน์ที่ประเทศเหล่านี้ได้รับนั้นจำกัด และรัฐบาลตะวันตกนั้นให้ความสำคัฐกับภาพลักษณ์ในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า แก่นสารของระบอบนี้
การ “ปล้นอำนาจรัฐ” ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ในยุค 50 สิ่งสำคัญแรกสุดในมุมมองของประชาคมโลกต่อการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการใช้วิธีการทางการเมืองที่ไม่ได้คำนึงถึง จริยธรรม อย่างแรกคือการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ และเมื่อไม่นานมานี้คือลดอิทธิพลของสาธารณรับประชาชนจีน โดยสหรัฐได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างมากต่อกลุ่ม อำมาตย์ในประเทศไทย แม้ว่าในเวลานั้นรับบาลไทยจะใช้ระบบที่กดขี่ประชาชนแค่ไหนก็ตาม ผลก็คือประเทศเดียวที่สามารถกดดันและผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่แนวทาง ประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ได้มีความสนใจที่จะทำเช่นนั้น และในประเทศไทยนั้น พื้นฐานของ “การปล้นอำนาจรัฐ”มีเล่ห์อุบายที่ซับซ้อนกว่าประเทศรัสเซียหรือกัวเตมาลา ประเทศเหล่านี้ การปล้นอำนาจรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและกองทัพอย่างชัดเจน แต่การปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อในสิ่งที่เหนือ ธรรมชาติและกระบวนการล้างสมอง กว่าร้อยปีที่ผ่านมา หน้าที่หลักของระบบการศึกษาไทยและสถาบันทางศาสนาคือการหลอกลวงประชาชนให้ เชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและรายได้นั้นคือสิ่งที่ “เป็นธรรมชาติ” และคำกล่าวนั้น ทำให้เชื่อว่ากลุ่มอำมาตย์เหล่านั้นมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะได้ทำกรรมที่ดีกว่าและกระทำคุณงามความดีที่มากกว่าคนทั่วไป
โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นใน 4ปีที่ผ่านมา อาจจะเผยให้เห็นว่ากลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยสามารถรักษาอำนาจของกลุ่มตนโดย การใช้วิธีการสุดขั้วและจนตรอกอย่างการทำรัฐประหาร ยึดสนามบิน ปิดกั้นข่าวสารอย่างรุนแรง คุมขังนักโทษทางการเมืองหลายร้อยคน ใช้อำนาจฉุกเฉิน สังหารหมู่ประชาชนเท่านั้น และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่าจะมีการก่อการร้ายอย่างต่อ เนื่อง เหตุผลที่วิธีการเหล่านี้มีความจำเป็นเพราะกระบวนการล้างสมองประชาชนได้ล้ม เหลว ประชาชนไม่เชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป และหลายคนต้องการที่จะทวงประเทศของพวกเขาคืน
กว่าสองทศวรรษผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยใช้ได้ผลกับประเทศกำลังพัฒนาไม่เป็นไปอย่างที่ชาวตะวันตก กลัว แต่ข้อเท็จจริงคือจุดสูงสุดของคลื่นประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ได้ถอยหลังลงคลองแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในเรื่อง “จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” ไม่เป็นความจริง ความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาคมโลกได้เห็นในสองศตวรรษที่ผ่านมา ย้ำให้เห็นเราต้องระมัดระวังอย่างจริงจังว่าไม่มีชัยชนะใดที่ถาวร และเมื่อเราได้ความเป็นประชาธิปไตยมา เราจะต้องปกป้องเสรีภาพนั้นอย่างจริงจัง ประชาชนไทยกำลังจารึกประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพและ ประชาธิปไตยอันยาวนานหน้าใหม่ โดยทวงคืนอำนาจรัฐจากกลุ่มอำมาตย์เผด็จการที่ไร้ยางอาย และนี่จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ประชาคมโลกเห็นว่ากระบวนการการทวงคืนและ เรียกร้องสิ่งเหล่านั้นทำกันอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น