สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พงศ์เทพ เทพกาญจนา: "มองคดีพันธมิตรฯ – คิดถึงคดี นปช."

พงศ์เทพ เทพกาญจนา
https://www.facebook.com/note.php?note_id=135887443121093&id=116647698387091

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม2553 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฟ้องผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่หน้ารัฐสภาใน เหตุการณ์ล้อมรัฐสภาเมื่อวันที่7 ตุลาคม 2551 ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อน มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ ซึ่งโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกไปร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาล ปิดล้อมถนนและทางเข้าออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้ส.ส.และ ส.ว.ออกจากรัฐสภา จำเลยมีเจตนาฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ5 นายซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย โดยวางแผนล่วงหน้า จำเลยขับรถไล่ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าอย่างแรงจนผู้เสียหายล้มลงจากนั้น จำเลยขับรถถอยหลังทับผู้เสียหายที่นอนบาดเจ็บอยู่ จำเลยกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เมื่อผู้เสียหายไม่เสียชีวิต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 288, 289, 297

ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ วันเกิดเหตุช่วงเวลา 06.00 น.จำเลยออกมาจากบริเวณรัฐสภาเพื่อหาอาหารรับประทาน แต่เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มได้รับบาดเจ็บจำนวนมากบางรายขาขาด จำเลยมองเห็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน ขณะที่จำเลยรู้สึกว่ามีสิ่งมากระทบที่บริเวณใบหน้า เมื่อลูบใบหน้ามีเลือดไหลออกมาจึงขึ้นรถขับรถยนต์กระบะของจำเลยโดยมีผู้ ชุมนุมกระโดดขึ้นมาท้ายรถด้วย จำเลยไม่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ด้านข้างรถซึ่งเวลาดังกล่าวจำเลย เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายที่ภายหลัง พบว่าตาขวาของจำเลยได้รับบาดเจ็บจนตาบอดจากสิ่งที่มากระทบใบหน้า ศาลจึงเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เพราะบันดาลโทสะที่ได้รับบาดเจ็บและเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของเจ้า หน้าที่ตำรวจ แม้จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าที่ขับรถพุ่งชนเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้เสียหาย ทั้งห้า แต่การที่จำเลยขับรถพุ่งชนเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลที่จะให้ผู้เสียหายได้ รับอันตรายและเมื่อผู้เสียหายเป็นเจ้าหน้าที่ที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ ขณะเกิดเหตุ จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่โดยบันดาลโทสะ

พิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289, 80, 72 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี แต่จำเลย ไม่เคยต้องโทษอาญามาก่อน ประกอบกับจำเลยมีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดีโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี โดยให้จำเลยรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี และให้ทำงานสาธารณประโยชน์บริการสังคมเป็นเวลา48 ชั่วโมง ส่วนความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่10 คนขึ้นไป นั้น แม้จำเลยจะเข้าร่วมชุมนุม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับบุคคลใดในการวางแผนก่อความ วุ่นวายพฤติการณ์ของจำเลย ยังมีเหตุที่น่าพิรุธสงสัยตามสมควร จึงพิพากษายกฟ้องข้อหานี้

ข้อมูลข้างต้นได้มาจากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 17สิงหาคม 2553 โดยผมได้เติมบทมาตราที่อย่างไรศาลก็ต้องเขียนไว้ในคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏใน ข่าวของมติชนเพื่อความสมบูรณ์ นอกจากมติชนแล้วก็มีสื่ออื่นที่เสนอข่าวในทำนองเดียวกัน

1. ความเห็นประการแรกของผมเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวคำพิพากษาของศาลของสื่อมวลชน ไทย สื่อมวลชนมักเสนอแต่เนื้อหาหรือผลของคำพิพากษาแต่ไม่ค่อยเสนอชื่อผู้พิพากษา ที่เป็นองค์คณะในการตัดสินคดีการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายตุลาการนั้นนอกจาก ระบบตรวจสอบภายในของตุลาการและระบบตรวจสอบภายนอกโดยองค์กรอื่นของรัฐแล้ว ระบบตรวจสอบโดยสาธารณชนก็มีความสำคัญ นี่เป็นที่มาของหลักในกฎหมายวิธีพิจารณาที่กำหนดให้การนั่งพิจารณาคดี ต้องกระทำโดยเปิดเผยประชาชนมีสิทธิเข้าฟังได้ แม้ในคดีที่ศาลสั่งให้พิจารณาลับการอ่านคำพิพากษาก็ต้องอ่านโดยเปิดเผย การตรวจสอบที่ว่านี้ไม่ใช่การตรวจสอบศาลในฐานะสถาบันแต่มุ่งตรวจสอบการทำงาน ของตุลาการแต่ละท่าน การที่สาธารณชนทราบชื่อตุลาการที่ตัดสินคดีจึงมีความสำคัญดังนั้นหากสื่อมวล ชนเสนอข่าวคำพิพากษาโดยระบุชื่อผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะตัดสินคดีให้สาธารณ ชนทราบด้วยก็จะทำให้ระบบการตรวจสอบฝ่ายตุลาการโดยสาธารณชนสมบูรณ์ตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายมากขึ้น

2. ความเห็นประการที่สองเกี่ยวกับการตัดสินของศาล โดยเป็นการให้ความเห็นจากข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอ ผมจึงไม่ได้ลงไปวิเคราะห์ละเอียดเหมือนได้อ่านสำนวนคดีเอง

2.1 คดีนี้ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งมีโทษสถานเดียวคือจำคุกตลอดชีวิตแต่ศาลลงโทษจำคุกเพียง 3 ปี ก็เพราะศาลเห็นว่าจำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ ได้
2.2 การกระทำโดยบันดาลโทสะเป็นการที่ผู้กระทำบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้าย แรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น

คดีนี้ศาลคงไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งห้าเป็นผู้ข่ม เหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมเพราะหากศาลฟังข้อเท็จ จริงเช่นนั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ ตามหน้าที่และศาลต้องไม่ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตาม หน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 แต่จะต้องลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา288 แทน

หากเจ้าพนักงานตำรวจทั้งห้าไม่ได้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่ เป็นธรรมแล้วการที่จำเลยขับรถชนก็ไม่ได้เป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง เหตุใดศาลจึงเห็นว่าจำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ จากข้อมูลที่มติชนนำเสนอศาลคงฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดว่าเจ้าหน้าที่ ตำรวจเป็นผู้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมโดยทำให้จำเลยได้รับ อันตรายที่ตา และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจกระทำด้วย การสำคัญผิดนั้นกฎหมายให้พิจารณาจากความเข้าใจของผู้กระทำทว่าไม่ใช่จะฟัง เฉพาะคำเบิกความของผู้กระทำคือจำเลยว่าเข้าใจว่าอย่างไรเท่านั้นแต่ต้อง พิจารณาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วจึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ศาลเชื่อ ว่าจำเลยเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างไร ปัญหาว่าจำเลยสำคัญผิดเช่นนั้นหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับพยาน หลักฐานในแต่ละคดี น่าสนใจว่าหากอัยการอุทธรณ์ประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์จะเห็นเช่นเดียวกับศาลอาญา หรือไม่ เพราะสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยใน การชุมนุมการปะทะและมีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการอยู่ในกรอบของกฎหมายมิใช่กระทำนอก อำนาจหน้าที่ เช่นเอาปืนไปไล่ยิงผู้คนโดยผิดกฎหมายซึ่งถือว่านอกอำนาจหน้าที่ ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงพิเศษที่ทำให้น่าเชื่อว่าผู้กระทำสำคัญผิดเช่นนั้นโดย แน่แท้การฟังว่าผู้กระทำสำคัญผิดซึ่งทำให้ผู้กระทำสามารถอ้างว่าการกระทำของ ตนเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะก็จะทำให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจประสบอุปสรรคที่สำคัญในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการ ชุมนุม

อนึ่งการกระทำโดยบันดาลโทสะนั้นกฎหมายยอมรับเฉพาะในกรณีที่จำเลยกระทำต่อ ผู้ข่มเหงเท่านั้น ในคดีนี้การบาดเจ็บที่ตาของจำเลยเกิดจากการกระทำของผู้ใดผู้หนึ่งแต่แน่นอน ว่าไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกๆคนในห้าคนที่จำเลยขับรถชน หากถือว่าการขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะทั้ง สิ้นเท่ากับต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้า ร่วมกันทำให้จำเลยบาดเจ็บโดยไม่มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าร่วมกับ ผู้อื่นทำให้จำเลยบาดเจ็บโดยไม่มีอำนาจด้วย

ดุลพินิจในการกำหนดโทษและการรอการลงอาญาเป็นความเห็นของผู้พิพากษาแต่ละ ท่านซึ่งมีความแตกต่างกันได้เป็นปัญหาในระบบตุลาการของทุกประเทศ และเป็นเรื่องปกติที่จะมีการเปรียบเทียบการใช้ดุลพินิจของศาลในคดีต่างๆ ยิ่งในยามที่ประเทศมีความขัดแย้งแบ่งเป็นสีแบ่งเป็นฝ่าย และกระบวนการยุติธรรมกำลังถูกตั้งข้อสงสัยศาลซึ่งเป็นองคาพยพหนึ่งในกระบวน การยุติธรรมก็ย่อมถูกจับตามองและเปรียบเทียบมากกว่าในยามปกติโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในคดีที่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองคล้ายๆกัน

ในช่วงเดียวกับที่มีการตัดสินคดีนี้ซึ่งจำเลยคือผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม พันธมิตรฯ มีคำพิพากษาของศาลหลายศาลที่ตัดสินคดีที่จำเลยคือผู้ร่วมชุมนุมกับแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ถูกฟ้องว่าชุมนุมโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 มาตรา18 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ต่ำกว่าโทษในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานมาก และทุกคดีจำเลยให้การรับสารภาพ คดีที่หนึ่งผู้ร่วมชุมนุม นปช. ถูกฟ้องกรณีเดินทางจากราชประสงค์ไปยังตลาดไทเมื่อวันที่28 เมษายน 2553 ศาลพิพากษาจำคุก 4 เดือน ลดโทษกึ่งหนึ่งเพราะรับสารภาพ เหลือจำคุก2 เดือน แต่ไม่รอลงอาญา คดีที่สองพราหมณ์ศักระพีพรหมชาติ ถูกฟ้องว่าฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม2553 ในการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่จังหวัดสกลนคร ศาลพิพากษาจำคุก 8เดือนโดยไม่รอลงอาญา คดีที่สามชาวออสเตรเลียถูกฟ้องว่าร่วมชุมนุมกับ นปช.ที่ราชประสงค์ ศาลพิพากษาจำคุก 3 เดือนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 เดือน 15 วัน โดยไม่รอลงอาญา

นอกจากนี้ ยังมีอีกคดีหนึ่งถึงแม้ไม่เกี่ยวกับการชุมนุมแต่ก็คงถูกนำมาเปรียบเทียบอยู่ เสมอคือ คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกฟ้องเนื่องจากลงนามยินยอมให้ภริยาซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 100 และมาตรา 122 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้เป็นคดีแรกที่ศาลนำมาตรา100 และมาตรา 122 มาใช้บังคับนักกฎหมายยังเข้าใจขอบเขตการใช้บังคับและความหมายของมาตราทั้ง สองแตกต่างกันแม้แต่องค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ มีผู้พิพากษาถึง 4 ท่าน ที่เห็นว่าจำเลยไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้พิพากษาอีก5 ท่าน เห็นว่าจำเลยมีความผิด แต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุกพ.ต.ท. ทักษิณถึง 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

หากนำคดีผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. และคดี พ.ต.ท.ทักษิณที่กล่าวมาทั้งหมดให้นักกฎหมายหรือผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายใช้ ดุลพินิจว่าคดีใดควรถูกลงโทษจากหนักไปหาเบาและคดีใดควรรอการลงอาญา ผมเชื่อว่าความเห็นคงไม่ต่างกันนักแต่จะตรงกับคำพิพากษาที่ออกมาแล้วหรือไม่ เชิญท่านผู้อ่านลองใช้ดุลพินิจของท่านแล้วเทียบกับคำพิพากษาเองครับ


พงศ์เทพ เทพกาญจนา
20
สิงหาคม 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น