หนังสือพิมพ์ Moscow Times ได้ตีพิมพ์บทความ “3 Wrongs Don’t Make a Right” ของผม
ในเดือนกันยายน 2553 และต่อถูกเผยแพร่ใน
Huffington Post
http://www.huffingtonpost.com/robert-ams...91622.html
บทความนี้ได้วิเคราะห์ให้เห็นถึงการปกครองประเทศในระบบ “กงสี”
ในประเทศเวเนซูเอล่า อิหร่าน และรัสเซีย ซึ่งกลุ่มอำมาตย์ที่โกงกินเหล่านี้
ได้ปกป้องเครือข่ายกลุ่มตนโดยการแทรกแซงอำนาจรัฐ
ผมไม่ต้องการเขียนบทความนี้ขึ้นมาใหม่ เพราะ“กลุ่มตระกูลผู้นำ”
ของประเทศไทยนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศที่ผมกล่าวถึง
และลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงระบบดังกล่าวได้เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกเช่นกัน
สิ่งที่แตกต่างคือลัทธิ “ต่อต้านอเมริกา”
ถึงแทนที่ด้วยลัทธิที่เรียบง่ายกว่านั้น
คือการที่ประชาชนไทยถูกครอบงำด้วยลัทธิ “ต่อต้านความเป็นต่างชาติ”
“การเยือนกรุงมอสโควและกรุงเตหะรานของนายฮูโก้ ชาเวซ เมื่อไม่นานมานี้
ทำให้หลายคนกังวลว่าการเยือนครั้งนี้จะเป็นการสร้างความความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศรัสเซีย อิหร่าน และเวเนซูเอล่าให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
หลายคนมักเข้าใจผิดในเรื่องของแรงจูงใจในการสานความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
ประเทศอย่างรัสเซีย อิหร่าน และเวเนซูเอล่า ความเข้าใจผิดประการแรกคือ
เหล่าผู้นำกลุ่มนี้ต้องการที่จะสร้างผลประโยชน์ร่วมของคนในชาติ
โดยรวมตัวกันต่อต้านภัยนอกประเทศและเพิ่มอำนาจในภูมิภาคให้แก่ประเทศของ
ตน
ประการที่สองคือ กลุ่มประเทศเหล่านี้รวนตัวกันเพื่อจะสร้าง
“โครงสร้างสถาปัตยกรรมทางเลือก” โดยการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านอเมริกา
โดยกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือระบอบแต่อย่างใด
ข้อสันนิษฐานสองข้อนี้เป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง เพราะความเป็นจริง
แรงจูงใจในการร่างนโยบายต่างประเทศของประเทศเหล่านี้
คือผลประโยชน์ของกลุ่มตระกูลของตน
โดยคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ควบคุมองค์กรระดับสูงในรัฐบาล
นอกจากจะมีแนวความคิดในเรื่องผู้นำตลอดกาลร่วมกันแล้ว
กลุ่มผู้นำเหล่านี้ยังใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มธุรกิจของตระกูลตนเอง
โดยเฉพาะธุรกิจด้านการค้าอาวุธและพลังงาน
วัตถุประสงค์ที่รองนายกรัฐมนตรีไอกอร์
เชชินเดินทางเยือนประเทศเวเนซูเอล่า (นายเชชินเดินทางเยือนกรุงคาราคัส
เมืองหลวงประเทศเวเนซูเอล่าบ่อยจนผิดสังเกต) แทบจะแยกไม่ออกว่าไป
ในนามของนักการทูตหรือเรื่องผลประโยชน์การเงิน
ส่วนตัวที่มีในข้อตกลงของบริษัทน้ำมันรัสเซีย Rosneft
และบริษัทน้ำมันเวเนซูเอล่า PAVSA
และเมื่อกลุ่มผู้นำอิหร่านเดินทางเยือนกรุงคาราคัส
พวกเขาได้รับการต้อนรับอย่างหรูหราจากรัฐบาลเวเนซูล่า
และถูกชักชวนให้ร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมโรงงานและเครือข่ายการการฟอกเงิน
กลุ่มตระกูลของนายชาเวชและกลุ่มนายทหารฝ่ายนายชาเวชได้กลายเป็นมหาเศรษฐี
เมื่อนายชาเวชขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม boligarchs
(กลุ่มที่ร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ)
กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการสามสัมพันธ์กับประเทศรัสเซีย
และอิหร่าน
เพราะเป็นการสร้างความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือให้กับการปล้นประเทศ
ของคนกลุ่มนี้ และเพื่อเป็นการตอบแทนการกระทำดังกล่าว
นายชาเวชได้เดินทางเยือนกรุงมอสโควเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
และกล่าวยอมรับการประกาศอิสรภาพของรัฐ South Ossetia
Abkhaziaที่แยกตัวออกมาจากประเทศจอร์เจีย ระหว่างการเยือนดังกล่าว และ
นายชาเวชได้แวะที่ประเทศ Turkmenistan
เพื่อเชิญชวนให้ประธานาธิบดีของประเทศดังกล่าวร่วมลงทุนกับกลุ่มบริษัทน้ำ
มันที่ตั้งขึ้นโดยรัสเซีย แม้ว่าข้อเท็จจริงแล้วประเทศเวเนซูเอล่า
จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศโคลัมเบียแล้วก็ตาม
เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ที่จะมองเห็นว่ากลไกเหล่านี้ที่สร้างเข็งแกร่งให้กับระบบคอรัปชั่นที่ใช้สถาบัน
รัฐบาลเป็นเคื่องมือในประเทศดังกล่าว ระบบเหล่านี้เป็นระบบที่หลอกลวง
มีใช้กฎหมายและอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือเพิ่มการคอรัปชั่นมากกว่าที่จะใช้
เพื่อควบคุม มีการใช้ใช้ลัทธิชาตินิยม
ศาสนาและภัยนอกประเทศเป็นเครื่องมือในการปกปิดการคอร์รัปชั่น
ความสัมพันธ์ของพลเรือนและทหารในประเทศเหล่านี้เต็มไปด้วยตึงเครียดในการ
ใช้อำนาจที่ไม่มีขอบเขตและความสามารถที่จำกัดในการควบคุมเหล่ากลุ่มผล
ประโยชน์ที่สำคัญเหล่านี้ ระหว่างสามประเทศนี้
ประเทศเวเนซูล่าเป็นประเทศที่มีปัญหามากที่สุด
และสิ่งที่ตลกร้ายคือประเทศอิหร่านเป็นประเทศที่มีการเปิดกว้างให้กลุ่มคนอื่น
มากที่สุด
อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศนี้ถูกปกครองด้วยระบบวงศคนาญาติ?
ความไร้สมรรถภาพของกลุ่มคนในตระกูลดังกล่าว
มากกว่าจะเป็นการล้มเหลาวในการสั่งการจากเบื้องบน :
การล้มเหลวอย่างเป็นระบบในการกระจายอำนาจภายในกลุ่มตนเพราะขาดความ
เชื่อถือในกลุ่มพวกพ้องตนเองและการแบ่งอำนาจความรับผิดชอบระหว่างองค์กร
ไม่มีความชัดเจน
วิสัยทัศที่สั้น
มีการต่อสู้และต่อรองอำนาจผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มพวกพ้องตลอดเวลา
โดยกลุ่มผู้นำทั้งสามประเทศนี้ให้ความสนใจในการต่อสู้กับคนในประเทศมาก
กว่านอกประเทศ การเปลี่ยนแปลงนโยบายไปมาถือเป็นเรื่องปกติ
และมีการสร้างปัญหาภายในเพื่อการสร้างความมั่งคงให้กับประเทศ
ปัญหาสงครามจอร์เจีย ในรัสเซีย ปัญหากลุ่ม FARC
และนโยบายต่อต้านและเกลียดชังคนยิวของนายชาเวช
และประธานาธิบดีอิหร่าน มาห์มุด อาห์มาดิเนจาด
ปัญหาเหล่านี้สร้างความจำเป็นในการใช้กองกำลังพิเศษเพื่อที่จะควบคุมฝ่าย
ตรงข้าม การลงโทษฝ่ายตรงข้ามทันทีทันในเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างความมั่นคง
ให้กับประเทศ
การลัทธิต่อต้านอเมริกา โดยการสร้างภาพว่าอเมริกาคือปิศาจร้าย
และแนวคิดนี้คือสิ่งที่ต้องคงไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ
กลุ่มผู้นำที่พูดจากลับกลอกนี้
จำเป็นอย่างมากที่จะพุ่งเป้าสนใจไปที่อำนาจของรัฐบาลสหรัฐและมีการใช้
ลัทธิต่อต้านอเมริกาในการสร้างความเป็นหนึ่งให้ประเทศของตนอย่างต่อเนื่อง
แต่ภายใต้การนำของรัฐบาลโอบามา
ทำให้การรักษาลัทธิเหล่านี้มีความยากลำบากมากขึ้น
สภานิติบัญญัติของรัสเซียออกกฎหมายปกป้อง “ปัจจัยยุทธศาสตร์” (น้ำมัน
/พลังงาน) ในภาคธุรกิจ
แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างที่ดีในการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจครอบครัว
ซึ่งน่าจะเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่าแผนการเกษียณของเหล่า siloviki
(กลุ่มนักการเมือง/นายทหาร)มากกว่า
เพราะแผนการดังกล่าวช่วยปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มสมาชิกคน
สำคัญที่มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาล
แต่ที่ดีกว่านั้นก็คือเป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าพวกพ้องของตนมีโอกาสทำข้อ
ตกลงทางธุรกิจเกี่ยวกับอาวุธ พลังงานและเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์
และหากคุณคือนายชาเวช การประกาศรับรองการแยกตัวของรัฐ Abkhazia
และ South Ossetia จะทำให้คุณได้รับส่วนลดในการซื้อรถถังของรัสเซีย
100คัน
การกำจัดกลุ่มพลเรือนที่เคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพเมื่อไม่นานมานี้ในกรุงเตหะราน
คาราคัสและมอสโควแสดงให้เห็นถึงความกลัวของเหล่ารัฐบาลทหารเหล่านี้
ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมภายในประเทศและยังเป็นแสดงให้เห็นว่า
คนกลุ่มนี้พยายามต่อสู้เพื่อรักษาทรัพย์สินที่ตนเองได้สะสมมาช้านาน
การทรมาน การคุมขังที่อำมหิต และกระบวนการศาลอันจอมปลอม ที่กลุ่ม
boligarchs ในเวเนซุเอล่า, กองกำลังปฎิวัติในอิหร่าน (กองกำลังหัวรุนแรง)
ในอิหร่าน หรือกลุ่ม siloviki ในรัสเซีย
ได้กระทำถือเป็นการกระทำเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง กลุ่มคนเหล่านี้
ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
โดยการแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ อย่างผู้นำในประเทศเวเนซูเอล่าและอิหร่าน
ความสำเร็จในเกาหลีเหนือคือตัวอย่างที่ผู้นำเหล่านี้ยึดถือ
ไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลรัสเซียไม่สนใจที่จะหยุดการสร้างโครงการพลังงานนิวเคลียร์
ในประเทศอิหร่าน
อย่างไรก็ตามอันตรายที่แท้จริงคือการที่เรามักจะสับสนระหว่างสาเหตุและอาการ
ทั้งยังล้มเหลวที่จะมองเห็นถึงการบริหารประเทศอันจอมปลอมของผู้นำเหล่านี้
ข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาภายในหรือภายนอกเกือบทั้งหมด
เป็นการมองระบบเหล่านี้ผ่านแก้วปิรามิดที่มักจะบดปังอำนาจของกลุ่มตระกูล
และพวกพ้อง เพื่อการเริ่มต้นที่จะกำหนดนโยบายตอบโต้พันธมิตรประเทศอย่างรัสเซีย
เวเนซูเอล่าและอิหร่าน
เราควรจะเริ่มทำความเข้าใจว่าแรงจูงใจที่แท้จริงของการสามสัมพันธ์ของประเทศ
เหล่านี้คืออะไร”
Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
http://robertamsterdam.com/thai/?p=380
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น