วันนี้ฝนตกพรำๆ อากาศชื้นและเย็นสบายๆ หลังจากที่อากาศร้อนติดต่อกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ข้าพเจ้ามีกาแฟในมือยืนจิบกาแฟรสขมพร้อมๆกับไออุ่นที่หอมละมุน ในใจก็ให้คิดว่าทำไมในไออุ่นที่หอมละมุนของกาแฟ จะเต็มไปด้วยรสขมที่ผู้คนยังหลงชื่นชอบกันทั้งๆที่มีข้อเสียมากกว่าข้อดี นี่ก็เป็นสิ่งแปลกที่เราต้องให้คิดว่าอะไรที่เราควรมองลงไปให้ลึกกว่ากลิ่น หรือรูปที่เห็น ดังเช่นประเทศตอแหลแลนด์แห่งนี้มีผู้คนไม่น้อยที่ชื่นชอบ รู้สึกอบอุ่นด้วยไอรักพร้อมไปกับกลิ่นหอมยวนใจในเสรีภาพที่ฉาบเคลือบผิวจน มิด ทั้งที่ภายในนั้นน่าสะอิดสะเอียนยิ่งนัก ในชีวิตของข้าพเจ้าที่ผ่านมานั้น ความขมขื่นที่เกิดขึ้นจากสภาพการณ์รอบข้างภายใต้การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า กลิ่นหอมที่ยวนใจภายในเต็มไปด้วยความขมขื่นนั้น มักสะท้องบางสิ่ง พยายามเปิดเผยบอกเล่าเรื่องราวบางอย่างที่ซ่อนเร้นให้แก่เรา แม้บางครั้งเรามักจะละเลยไม่ใส่ใจที่จะรับรู้ความพยายามนั้น
ข้าพเจ้านั่งลงบนม้านั่งเก่าๆมองดูน้ำฝนไหลหยดจากชายคา นึกย้อนกลับไปในวัยเด็ก วันนั้นเราหลายคนได้นั่งดูโทรทัศน์ขาว-ดำ ถ่ายทอดสดผ่านระบบไมโครเวฟ นั่งดูยานอะพอลโล่ 11 เยียบดวงจันทร์ ซึ่งข้าพเจ้าตื่นเต้นและสนใจเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นภาพอีกภาพหนึ่งก็ผลุดขึ้นมา เป็นภาพที่นักศึกษาถูกฆ่าหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บ้างถูกแขวนคอ ถูกลูกเสือชาวบ้านเอาหลาวทิ่มแทง เป็นภาพขาวดำในจอทีวี ที่ดุเดือดที่สุดไม่ต่างจากภาพสีสวยสดสมใจที่พ่อข้าพเจ้าได้ลงทุนซื้อมาในรา คาแพงยิ่งนัก
ข้าพเจ้ามิอาจหลุดลืมเหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์นั้นไปได้ ด้วยเหตุว่าเหตุการณ์แรกข้าพเจ้าสนใจในการที่มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ที่เรา มองเห็นจากหน้าต่างบ้านเราในทุกคืนวันเพ็ญ และอีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นภาพของความสะใจ ที่คนไทยได้ฆ่าคอมมิวนิสต์ และนั่นเป็นความสะใจที่เรารู้สึกดีไปกับการที่คนได้ฆ่ากัน และการฆ่านั้นได้กำจัดคนที่เรารับรู้มาจากสื่อว่าเป็นคนเลวทราม
ข้าพเจ้าพยายามเรียงร้อยเหตุการณ์ย้อนกลับไปในอดีต ข้าพเจ้าจำได้ว่าข้าพเจ้ามิใช่เด็กที่เติบโตมาจากในเมืองหลวง เมืองใหญ่ที่ทันสมัย ข้าพเจ้าเคยเรียนโรงเรียนวัดในหมู่บ้านเล็กๆแถบชานเมือง เป็นโรงเรียนเล็กๆที่มีชั้นประถมหนึ่งถึงชั้นประถมสี่ ข้าพเจ้าได้เรียนที่นั่น ข้าพเจ้าเป็นเด็กที่เรียนดีทีเดียว คุณครูรักและเอนดูยิ่งนัก วันที่ข้าพเจ้าเรียนจบ ป4 แม่ข้าพเจ้าบอกว่าจะให้ข้าพเจ้าเข้าไปเรียนต่อ ป 5 โรงเรียนเอกชนในเมือง ข้าพเจ้าไม่รู้สึกยินดีหรือตื่นเต้นใดๆ เพราะนึกกระหยิ่มในใจว่า ข้าพเจ้าเรียนเก่งซะอย่าง ทุกอย่างก็คงผ่านไปได้ไม่ยาก
วันเปิดภาคเรียนในสัปดาห์แรกมาถึง ข้าพเจ้าต้องแปลกใจกับวิชาที่เขาเรียน นั่นคือวิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนโรงเรียนเอกชนในเมืองเขาได้เรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่ ป1 ส่วนข้าพเจ้าเรียนโรงเรียนวัดไม่เคยรู้เลยว่าหนังสือเรียนที่วางอยู่ตรงหน้า ข้าพเจ้านี้มันเป็นภาษาอะไร ข้าพเจ้าอ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ ครูให้ทุกคนเขียนประโยคตามในหนังสือให้เป็นตัวเขียน ข้าพเจ้าก็ลอกออกมาเหมือนในหนังสือ คือเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็ก คุณครูให้โมโหข้าพเจ้า เอ่ยปากไล่ข้าพเจ้าให้ไปเรียนอยู่ชั้น ป1 ข้าพเจ้าร้องไห้ หลังจากนั้นข้าพเจ้าต้องกลับไปเรียนในชั้น ป1 ในวิชาภาษาอังกฤษ เป็นเวลาติดต่อกันหนึ่งเทอม และข้าพเจ้าไม่เคยลืมเหตุการณ์นั้นด้วยว่าคุณครูผู้นั้นด่าข้าพเจ้าว่าโง่ เป็นควาย
จนกระทั่งข้าพเจ้าได้รู้จักกับเพื่อนข้าพเจ้าที่เป็นชาวม้ง เพื่อนม้งของข้าพเจ้าคนนี้เขาได้เข้ามาในชีวิตของข้าพเจ้าประมาณหนึ่งเดือน หลังจากย้ายโรงเรียนและเดินผ่านโรงเรียนพระคริสตธรรมเล็กๆเลยจากบ้าน ข้าพเจ้าขึ้นไป ข้าพเจ้าได้รู้จักกับมิชั่นนารีผู้ปกครองของเพื่อนม้ง เพื่อนม้งของข้าพเจ้าเขาพูดภาษาอังกฤษได้บ้าง เขาพูดกับมิชั่นนารีเป็นประจำ ข้าพเจ้านึกอิจฉาเพื่อนม้งคนนี้มาก ที่เขาเป็นคนเก่งที่พูดภาษาอังกฤษได้ และไม่มีใครว่าเขาว่าโง่เป็นควาย
ในทุกเย็นของวันศุกร์ข้าพเจ้าดีใจที่จะไปเรียนภาษาอังกฤษในที่พักของเพื่อน ม้งคนนี้เป็นประจำ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากมิชชั่นนารี ซึ่งเขาพยายามสอนอย่างเป็นกันเองและสนุก เขาร้องเพลงพร้อมกับเล่นกีต้าร์ให้พวกเราฟัง วันไหนที่เป็นวันเสาร์ วันอาทิตย์ ข้าพเจ้าก็ต้องกลับมานั่งท่องจำแกรมม่า กฎต่างๆในภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมตัวไปเรียนในวันจันทร์ด้วยว่าข้าพเจ้าต้องตามให้ทันเพื่อน ที่เพื่อนๆในห้องทุกคนท่องจำจนคล่องแล้ว
เพื่อนม้งของข้าพเจ้าเราเล่นกัน เราคบกันจนข้าพเจ้าเรียนอยู่ชั้น ป 7 ในขณะนั้น แล้วเขาบอกกับข้าพเจ้าว่าเขาต้องย้ายไปอยู่เมืองนอกกับมิชชั่นนารี ที่นิวซีแลนด์ และหลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ไม่เคยเจอเขาอีกเลย และข้าพเจ้าก็หมดโอกาสที่จะได้เรียนภาษาอังกฤษที่สนุกสนานนั้นอีก
ข้าพเจ้าไม่ยอมรับและคิดตลอดมาว่าทำไม คุณครูภาษาอังกฤษที่โรงเรียนที่ข้าพเจ้าเรียนทำไมไม่ได้สอนข้าพเจ้าเหมือน กับมิชชั่นนารีที่สอนทุกเย็นวันศุกร์ ทำไมคุณครู ถึงได้เคี่ยวเข็ญให้นักเรียนท่องจำแกรมม่า ทั้งๆที่ครูบางท่านก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ข้าพเจ้าจำได้ว่าในวิชา Reading มีอยู่คำหนึ่งที่คุณครูต้องสอนข้าพเจ้าผิดเป็นแน่ นั่นคือคำว่า Pupil ซึ่งคุณครูสอนให้อ่านว่า พิวพิ่ว (ออกเสียงตรงๆตามนั้น) ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้ยินมิชชั่นนารีพูดคำนี้พร้อมชี้ไปบนกระดาน แต่เสียงที่ออกมาไม่ใช่แบบนี้ (หากท่านที่มี Google แปลภาษาลองนำไปว่างแล้วกดฟังเสียงดูซิว่าเขาอ่านกันอย่างไร?)
และนั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวของตัวอย่างหนึ่งในหลายๆปัญหาที่ข้าพเจ้าสงสัยและ คาในหัวใจว่า บทเรียนภาษาอังกฤษที่เราเรียนมาตลอดชีวิตในวัยเรียนนั้น มิได้สอนให้เราพูดได้ ไม่ได้สอนให้เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันอย่างที่ควรจะเป็น บางคนอาจจะแย้งว่าเพราะเราไม่ได้ใช้บ่อยๆ หรือเพราะเราไม่ขนขวาย ไม่กระตือรืล้นที่จะเรียนรู้ต่อยอดให้เกิดทักษะในการพูด จึงไม่สามารถพูดได้ มีเหตุผลที่เยาะเย้ยข้าพเจ้าอยู่เนืองๆว่า มีบางคนที่พูดได้ด้วยที่เขาพยายามด้วยตัวเองไม่เห็นว่าต้องโทษโน่นโทษนี่ แต่ข้าพเจ้าก็นึกเถียงในใจว่า นั่นมันหนึ่งในพันนี่หว่า แล้วอีก 999 คนจะทำยังไงให้มันเก่ง ให้มันได้ในระดับหนึ่งวะ !
สุดท้ายข้าพเจ้าก็ต้องยอมรับอย่างเจ็บปวดทุกครั้งที่พูดถึงเรื่องนี้ และยิ่งตอกย้ำความเจ็บปวดนั้น เมื่อได้ฟังฝรั่งที่สอนพูดภาษาอังกฤษชาวออสซี่คนดัง ที่มีสโลแกนว่า “ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว” ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้ยินเขาพูดว่า “คนไทยหรือคนออสเตเลียน มีทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง คนที่โง่ที่สุดของออสเตเลียก็สามมารถพูดภาษาอังกฤษได้ แล้วคนไทยทำไมจะทำไม่ได้ “
เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนั้นก็ได้แต่ให้คิดว่า นี่เขาให้กำลังใจเราหรือเขาดูถูกเรากันแน่ แต่เมื่อเรามานึกย้อนกลับไปดูจากวัยเด็กจนถึงปัจจุบันในรุ่นหลานหรือ รุ่นลูก ก็ยังคงเรียนในหลักสูตรเดิมๆนั่งท่องจำแกรมม่าทั้งๆที่ฟังประโยคพูดไม่ออก ซักคำ เรียนก็คล้ายกับสิ่งที่ข้าพเจ้าเคยเรียนมาไม่เปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งเด็กที่จบมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้และเป็นอย่าง นี้กันทั้งประเทศ ทั้งๆที่ได้เรียนภาษาอังกฤษกันมาคนละไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี
แม้แต่คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ขณะนี้ ยังมีหนังสือแปลเป็นภาษาไทยสอนการใช้โปรแกรมต่างๆเล่มหนาเตอะออกวางขายทั้งๆ ที่ในหน้าต่างโปรแกรมต่างมี Help บอกถึงวิธีใช้ไว้อย่างละเอียด แต่ส่วนใหญ่แม้เป็นถึงโปรแกรมเมอร์ยังคงอ่านไม่เข้าใจ และต้องใช้บริการหนังสือหนาเตอะที่แสนแพงนั้น
หลายคนที่เป็นชนชั้นผู้ปกครองพวกเขารู้ว่าภาษานั้นสำคัญแค่ไหน และรู้ว่าภาษาไหนที่ควรจะเป็นภาษาหลักที่ต้องใช้ในอนาคต อีกทั้งยังรู้ว่าจะเรียนอย่างไรที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเจ้าของภาษา เรียนอย่างไรถึงจะพูดได้ แต่พวกเขาไม่ทำ เขาไม่ทำให้ประชาชนเท่าเทียมกับพวกเขา พวกเขามีโอกาส มีเงิน นำครูมาสอนถึงบ้านหรือส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ตั้งแต่เด็กๆ บางคนอาจจะเกิดในต่างประเทศซะด้วยซ้ำ เรียนที่นั่นเห็นวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายแล้วที่นั่น สุดท้ายจึงกลับมา และเริ่มเรียนภาษาไทยตามในภายหลัง ในที่สุดก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำทางด้านภาษาไทย ทั้งๆที่เวลาคิดพวกเขายังต้องคิดเป็นภาษาอื่นแล้วพูดออกมาเป็นภาษาไทยที่ฟัง แล้วให้เรางงงวยเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นข้าพเจ้าว่าประเทศนี้ได้แต่หลอกลวงประชาชน หลอกว่าได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนอย่างเต็มที่ แต่ได้เรียนในสิ่งที่พวกผู้ปกครองเขารู้แล้วว่าถึงเรียนไปก็ไม่ได้เกิดผลที่ ทัดเทียมพวกเขาได้ แต่หากต้องการได้ผลทัดเทียมหรือได้ผลเท่าๆกับพวกเขา ข้าพเจ้าต้องใช้ความพยายามหลายสิบเท่า หรืออาจจะต้องไปเป็นเกย์ หรือไปขายตัวให้พวกฝรั่ง ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องหาฝรั่งมาเป็นสามีให้จงได้ ถึงจะได้มาซึ่งมาตรฐานทางภาษาที่เขายอมรับ นั่นหมายความว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เหตุการณ์ต่างๆที่ฝังจำในใจข้าพเจ้าได้คอยบอกเตือนข้าพเจ้าว่าประเทศนี้ ได้หลอกลวง ปิดกั้นประชาชนไว้เพียงใด แม้แต่โอกาสที่จะเรียนรู้ ก็ยังถูกกักขังด้วยวิธีการอันแยบยลเหลือเกิน และสิ่งที่เจ็บปวดไม่น้อยคือคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้อาจดูไม่แตกต่างจาก ควายเท่าไหร่ในสายตาพวกเขา แม้แต่ผู้นำคนปัจจุบันนี้ยังโชว์พลาวว่าตนพูดได้เหมือนเจ้าของภาษาข้าเป็น นักเรียนนอก และผู้นำบางท่านถูกค่อนแคะว่าใช้ภาษาอังกฤษได้ห่วยพอๆกับนิสัยที่ถูกพวกเขา ยัดเยียดให้ ทั้งๆที่เขาได้ขนขวายอย่างมากมายจนได้เป็นผู้นำประเทศ นำธุรกิจของตนเข้าสู่สังคมโลก แต่ก็ไม่วายหลายครั้งที่ถูกโจมตีด้วยประเดนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อถูกดูถูกดู แคลนอย่างคนต่ำต้อย ไร้ค่า เป็นคนโง่ คนเลวในสังคมไปในชั่วข้ามคืน และนั่นทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าคิด สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเจอมาในอดีต ยังคงมีพลเมืองในประเทศนี้พบเจอ มีประสบการณ์ที่ไม่แตกต่างกัน จนกระทั่งบัดนี้ ลูก หลานของข้าพเจ้าก็ได้รับประสพการณ์นั้นเช่นเดียวกัน
ข่าวเพื่อนม้งของข้าพเจ้าขณะนี้เขาเป็นเจ้าของไร่องุ่นในนิวซีแลนด์ ข้าพเจ้าเจอเขาที่เมืองไทย เขามาหาคนงานชาวไทยไปทำงานในไร่องุ่นกับเขา ข้าพเจ้าชื่นชมกับเพื่อนคนนี้มากทีเดียว เพราะเขาเป็นคนเดียวที่ทำให้ข้าพเจ้ามองเห็นถึงความแตกต่างของโอกาสที่เกิด ในประเทศตอแหลแลนด์แห่งนี้ เพื่อนม้งของข้าพเจ้าเขาได้รับโอกาสจากสงครามเวียดนาม จนได้เป็นพลเมืองของประเทศที่สวยงามแห่งนั้นไป
บทสรุปต่อเหตุการณ์
นี่เป็นปัญหาที่คุณครูผู้หวังดีผู้หนึ่งได้รวบรวมไว้ด้วยประสบการณ์ตลอด ชีวิตการทำงาน แต่ดูเหมือนท่านคุณครูผู้นี้มองประเทศตอแหลแลนด์นี้ดีเกินไป เธอมีจิตใจที่ดีเกินกว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศนี้ นั่นเป็นความเห็นของข้าพเจ้าที่ขอสรุปไว้ตอนท้ายบทความแห่งความเศร้านี้
สาเหตุที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่พูดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง อ่านไม่เข้าใจและเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ มีดังนี้
1. มีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ตนเองมีไวยากรณ์ที่ถูกต้องและเพียงพอแล้ว แต่ความเป็นจริงคือ ไวยากรณ์ที่มีอยู่อาจจะไม่ถูกต้อง ไม่เพียงพอ หรือมีไวยากรณ์เพียงพอแต่นำมาใช้ไม่เป็น
2. ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ใช้วัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษไม่มีคุณภาพพอและ ไม่สามารถชี้นำให้นักศึกษาเรียนรู้เนื้อหาของการที่จะนำไปใช้ในการพูดการ เขียนได้จริง ทำให้นักเรียนเข้าใจผิดว่า ตนเองรู้ภาษาอังกฤษโดยการตีความจากคะแนนสอบที่ออกมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระดับคะแนนที่สูงมิได้เป็นตัวสะท้อนถึงความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเลย เพราะมาตรฐานที่ใช้ประเมินยังไม่มีคุณภาพ
3. จากอดีตที่ผ่านมา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่เคยมีการสอนสำเนียงและวิธีการออก เสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ทำให้เมื่อพูดแล้วฝรั่งฟังไม่รู้เรื่อง สาเหตุที่สอนไม่ได้เพราะผู้สอนเองก็ไม่รู้วิธีการออกเสียงที่ถูกต้องเช่น เดียวกัน
4. ไม่มีการสอนให้คิดอย่างเป็นระบบ และจูงใจคนฟังได้ ทำให้ในขณะที่พูดกับชาวต่างชาติ นอกจากสำเนียงจะฟังลำบากแล้ว เนื้อหาที่พูดยังไม่ชัดเจน ไม่น่าสนใจ และไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่มีเหตุผลมาสนับสนุนในสิ่งที่พูด ในการเขียนก็เช่นเดียวกัน สังคมตะวันตกเน้นเหตุและผลเป็นหลัก การเขียนประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีเหตุผลมาสนับสนุน หรือไม่มีการหักล้างประเด็นของฝ่ายตรงข้ามว่า อีกฝ่ายไม่มีเหตุไม่มีผลตรงจุดใด ถือว่าเป็นการยกประเด็นที่ฟังไม่ขึ้น หรือเป็นการโต้เถียงไปอย่างน้ำขุ่น ๆ
5. ไม่มีการสอนให้สร้างมโนภาพ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้มโนภาพเข้ามาเกี่ยวข้องในทุก ๆ ส่วน ทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน ดังนั้น การไม่มีมโนภาพจะทำให้การเรียนรู้ช้าและไม่เป็นระบบ
6. ไม่มีการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากพอ หรือศัพท์ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือสอนในลักษณะ Collocation เพื่อใช้เน้นเรื่องในการถ่ายทอดแนวความคิดออกมา
7. มีความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า “ถ้าอยากพูดภาษาอังกฤษได้ จะต้องไปเรียนสนทนาภาษาอังกฤษ” การจะเรียนสนทนาภาษาอังกฤษนั้น ควรเรียนเมื่อเราพอมีพื้นฐานในด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องในระดับ หนึ่ง และมีคำศัพท์เพียงพอในการพูดเสียก่อน การเรียนสนทนาตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อฝึกพูดภาษาอังกฤษเป็นการเสียเวลา เพราะชาวต่างชาติมีวัฒนธรรมที่ว่า หากแก้ไขภาษาใครถือว่าเป็นการเสียมารยาท จึงพยายามเข้าใจในสิ่งที่เราพูดอยู่เสมอ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจผิดว่าสิ่งที่พูดนั้นถูกต้อง และต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้และซึมซับการใช้ภาษาที่ถูกต้องจริง ๆ ดังนั้น การเรียนสนทนาภาษาอังกฤษควรเรียนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย มีความชำนาญในการพูด และไม่เก้อเขินเมื่อต้องพูดคุยกับชาวต่างชาติ
แค่นี้คงจะสรุปได้แล้วว่า ...เพราะอะไร..สาเหตุที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ
และอีก 1 คนที่ตั้งใจดี
“การสอนภาษาอังกฤษในเมืองไทยส่วนใหญ่เน้นให้เด็กท่องแกรมม่า คำศัพท์ แต่ไม่สอนให้เด็กนำไปใช้ แม้ว่าจะเรียนตั้งแต่ชั้นป.5 จนถึงปริญญาตรี แต่ยังต้องเรียนใหม่อย่างน้อยอีก 6 เดือนถึง 1 ปี ถ้าต้องไปเรียนเมืองนอกจึงจะสามารถสื่อสารและเรียนต่อได้
แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนของเราเดินผิดทาง” เป็นเหตุผลให้ รศ.
รศ.ประเสริฐ เล่าว่าการเรียนในต่างประเทศ ทุกระดับจะเป็นการเรียนรู้จากการตั้งคำถาม และให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ แต่ผู้เรียนจะสามารถหาเหตุผลอธิบายว่าทำไมถึงไม่เป็นไปตามตำรา หรือไม่เป็นไปตามที่อาจารย์ได้สอนไว้”
ข้าพเจ้ากราบขอบคุณ คุณครูผู้แสนดีและท่านรองประเสริฐเธอทั้งสองที่มีความตั้งใจดีและเข้าใจ ปัญหาเป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ อย่างที่ข้าพเจ้าได้พบเจอจากประสบการณ์ในชั่วชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิอาจละเลยความตั้งใจอันแสนเลวทรามที่ผู้ปกครองของประเทศนี้ได้ กระทำมาอย่างยาวนาน ตลอดชั่วชีวิตของคนๆหนึ่งและยังกระทำต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ดังที่ท่านผู้แสนดีทั้งสองท่านได้สรุปว่า “คนไทยไม่ได้เรียนรู้จากคำถาม” เพราะคนไทยได้รับระบอบตอแหลแลนด์ครอบงำอย่างแยบยลจนไม่สามารถเรียนรู้ที่จะ ถามสิ่งใดได้ ไม่ว่าคำถามนั้นจะขึ้นต้นด้วยคำถามใด What Where When Why How? เพราะพวกเขาไม่ได้สอนให้เราตั้งคำถามใดๆ ดังมีประโยคที่ข้าพเจ้าคุ้นหูเป็นยิ่งนัก คือคำว่าว่า “โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง” และนี่คือคำตอบสุดท้ายของข้าพเจ้าแด่ประเทศตอแหลแลนด์แห่งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น