สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นักปรัชญาชายขอบ : จิตสำนึกในความเป็น “ประชาชน”

Thu, 2010-08-12 14:07


นักปรัชญาชายขอบ


วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองตลอด 4-5 ปี มานี้ เราอาจกล่าวได้ว่า เป็นความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นปกครองกลุ่มอำนาจตามจารีตที่พยายามรักษา และหรือกระชับอำนาจของตัวเอง กับ ชนชั้นผู้ถูกปกครองที่พยายามเรียกร้องอำนาจในการปกครองตนเอง

อำนาจที่ฝ่ายแรกพยายามกระชับ คือ อำนาจในการชี้นำกำกับรัฐบาล (ทักษิณถูกชี้นำกำกับไม่ได้จึงถูกข้อกล่าวหา “ไม่จงรักภักดี ล้มล้างสถาบัน”) กำกับกองทัพ (วาทกรรม “ทหารของพระราชา”) กำกับศาล (วาทกรรม “ตุลาการภิวัตน์”) กำกับระบบราชการ (วาทกรรม “ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”) กำกับพสกนิกร ด้วยการสร้างกระแสนิยมกษัตริย์ และการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” “ขบวนการล้มเจ้า” ฯลฯ

ส่วนฝ่ายหลังพยายามทวงอำนาจของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยการต่อต้านรัฐประหาร เรียกร้องสิทธิเท่าเทียมทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง

ซึ่งเราอาจกล่าวอย่างรวมๆ ได้ว่า สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน เอ็นจีโอ และประชาชนที่สนับสนุนฝ่ายแรก (ซึ่งหมายถึงสนับสนุนความชอบธรรมของรัฐประหารโดยปริยายด้วย) อาจเรียกได้ว่า เป็นฝ่ายที่มีจิตสำนึกในความเป็น พสกนิกรสูงกว่าจิตสำนึกในความเป็นประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย

ส่วนสื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน เอ็นจีโอ และประชาชนที่สนับสนุนฝ่ายหลัง (ซึ่งหมายถึงปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐประหารโดยปริยายาด้วย) อาจเรียกได้ว่าเป็นฝ่ายที่มีจิตสำนึกในความเป็นประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยสูงกว่าจิตสำนึกในความเป็น พสกนิกร

พสกนิกรหมายถึง ผู้อยู่ภายใต้อำนาจ หรือผู้ถูกปกครอง ประชาชนหมายถึงเสรีชนที่มีอำนาจปกครองตนเอง ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) พรรคการเมืองคือสถาบันที่สะท้อนถึงจิตสำนึกในความเป็นประชาชน หรือเจตจำนงทั่วไปของประชาชนผู้มีอำนาจปกครองตนเอง

แต่ทว่าในสภาพการณ์ดังกล่าวนั้น เราแทบไม่ได้เห็นบทบาทที่ทำให้สังคมมั่นใจได้ของ พรรคการเมืองของประชาชนหรือพรรคการเมืองที่ยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างประชาชนในการเรียกร้องอำนาจ ปกครองตนเองอย่างตรงไปตรงมา และอย่างเข้มแข็ง

พรรคเพื่อไทยนั้นอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ แทบไม่อาจเป็นที่พึ่งในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อความเป็น ประชาธิปไตยมากขึ้นได้ ต่อให้การเลือกตั้งครั้งต่อไป (ถ้ามี) พรรคเพื่อไทยชนะ ก็คงเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนขั้วของฝ่ายที่มายึดกุมอำนาจรัฐเท่านั้น เพราะจนบัดนี้ไม่ว่าคุณทักษิณ หรือพรรคเพื่อไทยล้วนแต่ไม่มีแนวคิดหรือนโยบายที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เชิงระบบให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นตามข้อเรียกร้องของประชาชนฝ่าย ที่ออกมา พลีชีพเพื่อปกป้องประชาธิปไตยแต่อย่างใด

ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ต้องพูดถึง เพราะสำหรับพรรคเหล่านั้น สังคมนี้จะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ คนจะตาย ระบอบประชาธิปไตยจะถูกทำให้พิกลพิการอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับการที่พวกเขาจะ ได้ยึดครองอำนาจรัฐและได้กอบโกยผลประโยชน์หรือไม่

ในสภาพที่พรรคการเมืองทุกพรรคล้วนอ่อนแอเช่นนี้ พรรคการเมืองที่น่าจะเป็น เสาหลักของประชาธิปไตยได้มากกว่า ควรจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด มีความเป็นสถาบันทางการเมืองสูงที่สุด แต่พรรคการเมืองเช่นนี้กลับจับมือกับอำมาตย์ กองทัพที่ยึดวาทกรรมทหารของพระราชารับใช้อำนาจตามจารีต เพื่อกระชับอำนาจตามจารีตให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยไม่คำนึงถึงชีวิตของประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย

จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับสังคมไทยที่เรามีพรรคการเมืองเก่าแก่แต่ยืน อยู่ตรงข้ามกับประชาชนฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย ในอดีตพรรคนี้เคยใช้ข้ออ้างปกป้องสถาบันเพื่อทำลายผู้นำประชาธิปไตย คือปรีดี พนมยงค์ปัจจุบันพรรคนี้ทำลายความชอบธรรมของการเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน ด้วยข้อกล่าวหาเรื่อง ขบวนการล้มเจ้า

เมื่อพรรคการเมืองเก่าแก่จับมือกับ ทหารของพระราชาเพื่อยึดกุมอำนาจรัฐภายใต้การสนับสนุนของ พันธมิตร มวลชนเสื้อเหลือง สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน เอ็นจีโอ ที่มีจิตสำนึกในความเป็น พสกนิกรเหนือกว่าจิตสำนึกในความเป็น ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย การกระชับอำนาจของชนชั้นปกครองตามจารีตเดิมจึงนำมาสู่เหตุการณ์ประวัติ ศาสตร์ เมษา-พฤษภาอำมหิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!

แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่งจิตสำนึกในความเป็น ประชาชนที่ต้องการอำนาจในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยได้เกิดขึ้นอย่างลึก ซึ้งกว้างขวางแล้ว หากฝ่ายชนชั้นปกครองยังเดินหน้ากระชับอำนาจอย่างหน้ามืดตามัวต่อไป ด้วยการใช้สรรพกำลังภายใต้การปลุกกระแสจิตสำนึกความเป็น พสกนิกรความรุนแรงที่ยิ่งกว่า เมษา-พฤษภาอำมหิตคงไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น

คำถามคือ ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเช่นนี้ พรรคการเมืองของประชาชนไม่มีเลยหรือ?

พรรคเพื่อไทยสามารถที่จะพัฒนาเป็นพรรคการเมืองของประชาชนที่มีศักยภาพพอ ที่จะเปลี่ยนกองทัพให้เป็นกองทัพของประชาชน เปลี่ยนศาลให้เป็นศาลของประชาชน (เป็นอิสระจากการแทรกแซงของอำนาจฝ่ายรัฐบาลและอำนาจนอกระบบ) เปลี่ยนระบบราชการให้เป็นระบบราชการของประชาชนจริงๆ (ที่ไม่ใช่ระบบเจ้านายของประชาชน) เป็นต้น ได้หรือไม่?

แน่นอนว่า พรรคเพื่อไทยถูกทำลายจนอ่อนแอ แต่คุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยก็พยายามใช้ประโยชน์จากมวลชนเสื้อแดงที่ต้องการ ประชาธิปไตยอยู่ตลอดมา ฉะนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ที่คุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยจะต้องพัฒนาพรรคการเมืองของตน ให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชน ที่แสดงให้เห็นแนวคิดและนโยบายในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจให้ประเทศ นี้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

หรือเป็นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนทางแนวคิดที่สามารถเป็นที่หวังของ ประชาชนได้ในการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตย มากกว่าเป็นพรรคการเมืองที่รอจังหวะเข้ามาฉกชิงอำนาจรัฐเท่านั้น

หากทำไม่ได้เช่นนี้ พรรคเพื่อไทยก็เป็นได้เพียงพรรคการเมืองที่หวังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางการ เมือง จากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของมวลชนเสื้อแดง และ/หรือเป็นแนวร่วมด้านกลับให้พรรคการเมืองเก่าแก่จับมือกับทหารของพระราชากระชับอำนาจตามจารีตเดิม เพื่อเดินหน้าสู่ความรุนแรงครั้งต่อไป!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น