สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จาตุรนต์ - กรณีปราสาทพระวิหาร

โดย จาตุรนต์ ฉายแสง
ที่มา http://chaturon.posterous.com/
19 สิงหาคม 2553

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยเขียนบทความแสดงความเห็นต่อกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ผ่านบล็อก http://chaturon.posterous.com/ โดยมีสาระสำคัญว่า

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร (1)

เมื่อ ไม่กี่ปีก่อนรัฐบาลไทยเคยมีนโยบายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยความ คิดทางยุทธศาสตร์ว่า การช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเป็นการช่วยเหลือประเทศไทยเองด้วย

ภาย ใต้นโยบายนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และต่อมามีเวียดนามด้วย มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้นและมีความร่วมมือ คบค้าสมาคมกันมากขึ้น

มีคนเคยคิดกันว่าวันหนึ่ง ถ้ามีการพัฒนาปราสาทพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทั้งกัมพูชาและไทยจะได้ประโยชน์ และความจริงแล้วไทยจะได้ประโยชน์มากกว่ากัมพูชามาก เพราะทางขึ้นไปชมปราสาทที่สะดวกอยู่ทางฝั่งไทย

แต่จากกรณีการขึ้น ทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และความขัดแย้งแตกต่างระหว่างไทยกับกัมพูชาในเรื่องนี้ ทำไปทำมากลับกลายเป็นว่าทั้ง 2 ประเทศต่างฝ่ายต่างกำลังชี้แจงข้อมูลต่อสหประชาชาติ ในขณะที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังเตรียมพร้อมในการใช้กำลังทหารมากขึ้น พร้อมๆกับข่าวที่หลายประเทศกำลังพลอยวิตกไปด้วยว่าเรื่องนี้อาจพัฒนาไปสู่ การสู้รบกันระหว่าง 2 ประเทศ

คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาเห็นชอบให้ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่กรกฎาคม 2551 และกำลังจะพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เพียงแต่วันเวลาที่จะอนุมัตินั้นถูกเลื่อนจากปีนี้ไปเป็นปีหน้า

ไม่ ว่าจะไปเวทีไหน การที่ไทยหวังจะขอความเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน หรือการที่ไทยจะคัดค้านการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารนั้น คงต้องยอมรับว่าเลยขั้นตอนไปแล้ว เมื่อปราสาทพระวิหารได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วจะคัดค้านเรื่อยไป ไม่ให้มีแผนบริหารจัดการก็ย่อมเป็นไปไม่ได้อีก

ปัญหาที่อาจจะยังแตกต่างกันในรายละเอียดก็คือพื้นที่ที่จะบริหารจัดการจะครอบคลุมแค่ไหน

เท่า ที่ฟังการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ รัฐบาลไทยคงจะคัดค้านแผนบริหารจัดการนี้ โดยยืนยันว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทเป็นของไทย หากจะมีแผนบริหารจัดการ ก็ให้บริหารจัดการได้เพียงตัวปราสาท พื้นที่โดยรอบปราสาททั้งหมดไม่สามารถอยู่ในแผนบริหารจัดการได้

เฉพาะ เรื่องแผนบริหารจัดการนี้จะครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ถ้าดูตามคำพิจารณาของศาลโลกและการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่เคยเกิด ขึ้นมาแล้ว ก็จะเห็นว่าประเทศไทยเสียเปรียบ เพราะไทยเคยปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่ให้เอาเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและ กำลังทหารออกจากบริเวณปราสาทมาแล้ว การจะอ้างว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทเป็นของไทยเพื่อคัดค้านแผนบริหารจัดการนี้ ก็คงจะไม่สำเร็จ

แต่ปัญหาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารได้ลุกลามไปไกลกว่า ประเด็นเหล่านี้อีกมาก นั่นคือกำลังมีความเสี่ยงที่ 2 ประเทศจะรบกันหรือปะทะกันด้วยกำลังเพราะเรื่องนี้ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งคือ ข้อพิพาทในเรื่องนี้กำลังถูกหยิบยกขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรระหว่างประเทศ อย่างอาเซียนและสหประชาชาติ

ที่ผ่านมาไทยกับกัมพูชา เช่นเดียวกับประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันอีกจำนวนมาก เคยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนมาเป็นเวลานาน เกิดการปะทะและสู้รบกันมาแล้วก็มี แต่ในที่สุดไทยกับกัมพูชาก็ตกลงที่จะแก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้น มาปักปันเขตแดน เพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติ ด้วยการเจรจาหารือ เพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน โดยประเทศทั้ง 2 เอง

วันนี้กลับมาพูดเรื่องอาจจะต้องรบกัน กับการหาทางออกโดยอาศัยสหประชาชาติเข้ามาช่วย

เราก้าวมาสู่จุดนี้กันได้อย่างไร

ปัญหา ทั้งหมดเกิดจากการปลุกกระแสชาตินิยม-คลั่งชาติ ที่หวังประโยชน์ทางการเมืองของพันธมิตรฯ ที่มีการผสมโรงอย่างแข็งขันโดยพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยคุณอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคเอง

การปลุกกระแสชาตินิยม คลั่งชาติของพันธมิตรนี้เริ่มแรกก็เพื่อใช้เป็นประเด็นในการปลุกระดมคนมาต่อ ต้านรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช แต่มาถึงตอนนี้จุดมุ่งหมายหลักดูเหมือนจะเป็นการรักษาและฟื้นการเคลื่อนไหว ของพันธมิตรฯ กับการสร้างกระแสความนิยมให้เกิดขึ้นแก่พรรคการเมืองที่ชื่อว่า “พรรคการเมืองใหม่”

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเคลื่อนไหวเรื่อง นี้เพื่อล้มรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช และในปัจจุบันก็พยายามยืนยันความคิดท่าทีเดิมแบบคลุมๆเครือๆ เพื่อดึงความสนับสนุนจากผู้ที่มีความคิดในทางเดียวกันไว้ แต่ก็กำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะไม่สามารถทำอย่างที่พูดได้แล้ว เนื่องจากรู้ดีอยู่ว่าไม่สามารถทำอะไรสุดโต่งอย่างที่พวกพันธมิตรกำลังเสนอ ได้

รัฐบาลนี้ไม่ได้อธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้วิธีทำเป็นขึงขังขู่ว่าไทยอาจลาออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลก หรืออาจถึงขั้นลาออกจากภาคียูเนสโก ซึ่งมีแต่จะแสดงถึงความขาดวุฒิภาวะให้เป็นที่อับอายไปทั่ว

สิ่งที่นายกอภิสิทธิ์ทำได้มากที่สุดขณะนี้คือการยืดเวลาออกไป กับการโยนความผิดทั้งหมดไปให้รัฐบาลคุณสมัคร โดยเฉพาะที่คุณนพดล ปัทมะ

ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สิ่งที่คุณนพดล ปัทมะ พยายามทำไปนั้นคือ การกันเรื่องพื้นที่พิพาทออกจากการจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพื่อป้องกันมิให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนี้ไปอย่างเป็นทางการเสียเปล่าๆ

แต่ รัฐบาลกลับสรุปง่ายๆว่าหากจะมีความผิดพลาดอะไร ก็อยู่ที่แถลงการณ์ร่วมระหว่างกัมพูชากับไทยที่คุณนพดลไปลงนามไว้ ทั้งๆที่แถลงการณ์ร่วมฉบับนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารก็ดี หรือการจัดทำแผนบริหารจัดการก็ดี ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ฉบับนั้นเลย

พันธมิตรและผู้สนับสนุน มีความเห็นโดยสรุปคือ การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นให้ใช้เส้นสันปันน้ำตลอดแนว ซึ่งหมายความว่าตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบปราสาท รวมทั้งพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นล้วนเป็นของไทย

พันธมิตร และผู้สนับสนุนเห็นว่าคำพิพากษาศาลโลกมีผลต่อตัวปราสาทเท่านั้น ไม่มีผลต่อพื้นที่โดยรอบปราสาท ซึ่งพวกเขาเห็นว่ายังเป็นของไทย ในส่วนคำพิพากษาของศาลโลก พวกเขาก็ยืนยันว่าประเทศไทยยังคงสงวนสิทธิที่จะคัดค้านคำพิพากษานี้อยู่ โดยความหมายแล้วก็คือ พวกเขาถ้าไม่ใช่ทั้งหมดก็คงเป็นหลายส่วน ยังเห็นว่าแม้ตัวปราสาทเองก็ยังเป็นของไทยอยู่

พันธมิตรและผู้สนับ สนุนประกาศจุดยืนชัดเจนคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการจัดทำแผนบริหาร จัดการ พวกเขายังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกบันทึกข้อตกลงหรือ MOU ปี2543 เสีย พร้อมๆกับเสนอให้รับบาลไทยใช้กำลังทหารขับไล่ชาวกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ใน พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรออกไป พร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายออกไปจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย

โดยสรุปก็คือ ให้ยกเลิกการแก้ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนโดยการเจรจาหารือ แล้วให้หันมาใช้กำลังทหารเข้าจัดการนั่นเอง

สำหรับ นายกฯอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์นั้น เห็นว่าศาลโลกพิพากษาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ประเทศไทยยังสงวนสิทธิ์ที่จะคัดค้านอยู่ ยังไม่เคยยอมรับคำพิพากษาของศาลโลก

คุณอภิสิทธิ์เคยอภิปรายในสภาขณะ เป็นผู้นำฝ่ายค้านว่า เราใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนยกเว้น ตัวปราสาทซึ่งก็ได้มี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์บางคน ได้ช่วยขยายความเพิ่มเติมว่า พวกเขาเห็นว่าเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่เป็นของกัมพูชา นอกจากนั้นอย่าว่าแต่พื้นที่รอบๆปราสาทเลย แม้แต่พื้นที่ใต้ปราสาทก็เป็นของไทยทั้งสิ้น

เมื่อคุณอภิสิทธิ์มา เป็นนายกฯแล้วได้ยืนยันความเห็นนี้ในโอกาสต่างๆรวมทั้งในการอภิปราย หรือชี้แจงร่วมกับพันธมิตรเมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์ก็ยังย้ำอย่างหนักแน่นว่า สิ่งที่เขาพูดไว้ในขณะเป็นผู้นำฝ่ายค้านนั้น ถึงวันนี้ก็ยังยืนยันเหมือนเดิม

ไม่มีใครไปถามย้ำว่าหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ยังคงเห็นว่า พื้นที่ใต้ปราสาทเป็นของไทยใช่หรือไม่

แต่ ถึงแม้คุณอภิสิทธิ์จะไม่พูดเรื่องนี้ออกมาให้ชัดเจน ใครที่ติดตามการใช้ตรรกะ เหตุผลของคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ก็คงไม่อาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์เองยังคงยืนยันว่าพื้นที่ใต้ปราสาทพระวิหารเป็น ของไทยด้วย

โดยรวมๆแล้ว นายกฯอภิสิทธิ์กับพันธมิตรมีความเห็นต่อกรณีปราสาทพระวิหารใกล้เคียงกันมาก จุดต่างที่สำคัญตอนนี้ก็คือ ในขณะที่พันธมิตรเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 2543 แต่นายกฯอภิสิทธิ์กลับเห็นว่า MOU ปี 2543 นี้เป็นประโยชน์และควรคงไว้ต่อไป

การใช้เวลาทางทีวี 3 ชั่วโมงของรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรเพื่ออภิปราย หรือควรจะใช้คำว่าร่วมกันชี้แจงกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ทำให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความคิดเห็น จุดยืนที่ใกล้เคียงกัน ประเด็นที่ยังแตกต่างกันมากก็คือ การยกเลิก MOU ปี 2543

เมื่อรัฐบาล ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก MOU ปี 2543 เช่นนี้แล้วพันธมิตรจะชุมนุมกดดันรัฐบาลอีกหรือไม่ หรือจะดำเนินการอย่างไรต่อไปก็ไม่มีใครทราบ เข้าใจว่าอย่างน้อยในระหว่างที่ยังมีการหาเสียงเลือกตั้งสก. สข.กันอยู่ พันธมิตรคงไม่หยุดการเคลื่อนไหวไปง่ายๆ เพราะการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ดูจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งพันธมิตรเองและต่อการหา เสียงของพรรคการเมืองใหม่อยู่ไม่น้อยทีเดียว

แต่ความต่างระหว่าง รัฐบาลกับพันธมิตรยังไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับความเหมือนกัน หรือสิ่งที่พวกเขาเห็นตรงกัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นสาเหตุทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเลวร้าย ลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เป็นประโยชน์กับใคร โดยเฉพาะไม่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยแต่อย่างใดเลย

ถ้าจะทำความเข้า ใจว่าเราจะเอาอย่างไรกันดีกับกรณีปราสาทพระวิหารและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องศึกษาประวัติความเป็นมาและรายละเอียดข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เราอาจต้องตั้งคำถามใหญ่ๆ มากๆ เสียก่อนว่า ประเทศไทยเราจะอยู่ในโลกนี้อย่างไร เราจะอยู่อย่างไรในเอเชีย จะเอาอย่างไรกับอาเซียน ประเทศเพื่อนบ้าน และกัมพูชา

ในยุคปัจจุบัน การเป็นมิตรกับประเทศต่างๆ อยู่ร่วมในกระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การคบหาสมาคมกับมิตรประเทศ สร้างสรรค์พัฒนาร่วมกันในเวทีโลก เป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างยิ่ง

ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของโลก เอเชียกำลังเป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะกำลังมีศักยภาพในการฟื้นตัว กระทั่งเป็นกำลังสำคัญในการฉุดให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเร็วขึ้นด้วย ประเทศไทยเคยมีบทบาทริเริ่มหลายๆอย่างในเอเชีย จนเป็นที่ยอมรับและทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในเอเชียมาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะลดบทบาท หรือทำลายศักยภาพของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียที่กำลังมีบทบาทสำคัญ มากขึ้นทุกที

ที่ผ่านมาประเทศต่างๆในอาเซียนพยายามผลักดันให้มีการ กระชับความสัมพันธ์ภายในอาเซียนให้แน่นแฟ้นขึ้น และไทยก็เคยถูกมองว่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันและการพัฒนาอาเซียนให้ก้าวหน้าไป อาจต้องใช้เวลาอีกนานมากกว่าอาเซียนจะพัฒนาไปถึงจุดที่คล้ายหรือใกล้เคียง กับยุโรป แต่ความคิดที่ต้องการขับเคลื่อนอาเซียนไปในทิศทางนั้นก็นับว่าเป็นความคิด ที่ก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้

ในส่วนของ ประเทศเพื่อนบ้าน คงต้องเริ่มจากความคิดพื้นฐานง่ายๆว่า การเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้การอยู่ใกล้กันหรือติดกัน เมื่อประเทศหนึ่งมีปัญหา ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศข้างเคียง การช่วยเหลือซึ่งกันและกันยิ่งมีความจำเป็น

การช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน จริงๆแล้วก็คือการช่วยเหลือตัวเราด้วยนั่นเอง

สิ่ง ที่ควรทำก็คือจับมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่น เพิ่มบทบาทการสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน มีบทบาทในเอเชียร่วมกับประเทศอื่นๆ เพื่อยืนอยู่ในเวทีโลกอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ร่วมในกระบวนการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ประเทศต่างๆ โดยหลีกเลี่ยงและพยายามลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการโลกาภิวัตน์

เมื่อ มามองปัญหากรณีปราสาทพระวิหาร เราก็ควรเริ่มจากวิสัยทัศน์พื้นฐานอย่างนี้ อะไรที่เป็นการสวนทางกับวิสัยทัศน์อย่างนี้จึงไม่ควรทำ และต้องหาทางระงับยับยั้งเสีย

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร (2)

เมื่อ สัปดาห์ก่อน ตอนที่มีข่าวว่ารัฐบาลกัมพูชาอาจจะนำเรื่องพิพาทกรณีปราสาทพระวิหารเสนอไป ยังอาเซียนและสหประชาชาติ รัฐบาลไทยนำโดยนายกฯอภิสิทธิ์ได้แสดงความเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สหประชาชาติ แต่มาสัปดาห์นี้ท่าทีของนายกฯอภิสิทธิ์และรัฐบาลดูเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือบอกว่าไม่ต้องการให้เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาหารือที่มีประเทศที่ 3 หรือองค์กรระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ต้องการให้เป็นทางออกโดย 2 ประเทศคู่กรณี คือไทยและกัมพูชาเท่านั้น

มีเสียงประสานจากนายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ที่เคยทำงานเรื่องนี้มานาน บ่นเสียดายที่รัฐบาลมีมติบอกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับพื้นที่ในอ่าวไทย และยืนยันประโยชน์ของบันทึกข้อตกลงดังกล่าว รวมทั้งบันทึกข้อตกลงปี 2543 พร้อมกับการอธิบายว่ากว่า 2 ประเทศจะมาถึงจุดที่สามารถมีบันทึกข้อตกลงร่วมว่าจะหาทางออกด้วยการเจรจา หารือระหว่าง 2 ประเทศได้นั้นต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี และต้องผ่านการพิพาท ขัดแย้ง หรือแม้กระทั่งปะทะกันด้วยกำลังอาวุธมาแล้ว ท่านยังได้ย้ำว่าทางออกสำหรับกรณีปราสาทพระวิหารและกรณีขัดแย้งระหว่างไทย กับกัมพูชาก็คือการเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงที่มีอยู่แล้วนี้เอง

ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อ เสนอจากบางฝ่ายให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงปี 2543 บ้าง ให้ใช้มาตรการเชิงรุกบ้าง หรือกระทั่งให้ใช้กำลังผลักดันประชาชนและอาคารทรัพย์สินต่างๆของกัมพูชาออก ไปจากพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรเสีย

ที่เลยเถิดไปกว่านั้นคือ ถึงขั้นเสนอให้ทวงปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นของไทยเลยก็มี พร้อมกันนั้นก็มีข่าวการเตรียมพร้อมบ้าง เพิ่มกำลังหรือถอนกำลังของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือของทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นประจำ มีการพูดถึงความเสี่ยงที่ 2 ประเทศจะปะทะกันด้วยกำลังอาวุธบ่อยขึ้น ในขณะที่การปลุกกระแสชาตินิยมคลั่งชาติยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ล่า สุดคุณประสงค์ สุ่นศิริ ก็ได้เสนอให้ทหารไทยกระชับพื้นที่ ผลักดันคนกัมพูชาออกไปจากพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งของรัฐบาลไทย

ถ้าหากมีการปะทะกันด้วยกำลังทหารจะมีผลดีหรือไม่ดีกับไทยอย่างไร

ถ้ามีการนำเรื่องปราสาทพระวิหารเข้าสู่การพิจารณาของอาเซียนหรือสหประชาชาติจะมีผลดีหรือไม่มีกับไทยอย่างไร

สอง เรื่องนี้สัมพันธ์กันเสียด้วย คือถ้ามีการสู้รบกันเกิดขึ้น โอกาสที่เรื่องนี้จะไปสู่การพิจารณาของที่ประชุมใดที่ประชุมหนึ่งของสหประชา ชาติก็จะมีสูงขึ้นทันที

ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ลุกลามบานปลายไปถึงขั้นนั้น ผู้ที่จะเสียเปรียบอย่างมากก็คือ ประเทศไทย

ต้อง ย้ำว่าทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยคือการเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการเจรจา

การ ที่รัฐบาลไทยมีมติให้ยกเลิกข้อตกลงว่าด้วยการแบ่งพื้นที่ในอ่าวไทย หรือความคิดที่มีการเสนอให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงปี 2543 ล้วนเป็นความคิดที่มีแต่จะนำความเสียหายมาสู่ประเทศไทยทั้งสิ้น

หาก มีการนำเรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่พิพาท รวมทั้งเรื่องเขตแดน เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาเซียนหรือสหประชาชาติ ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่ไทยจะสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการ ทั้งบริเวณปราสาทและพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร

ดีไม่ดี ถ้ามีการยกเรื่องเขตแดนขึ้นมาพิจารณา ไทยเราอาจเสียดินแดนมากกว่านั้นอีกด้วยก็ได้

ทั้ง นายกฯอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตร พยายามจะทำให้คนเข้าใจเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่มีคำพิพากษาของศาลโลกให้ตก เป็นของกัมพูชา ซึ่งในข้อนี้นายกฯอภิสิทธิ์เคยอภิปรายในสภาฯไว้ว่า รัฐบาลไทยยังสงวนสิทธิ์ที่จะคัดค้านเรื่องนี้ ไม่เคยสละสิทธิ์นี้ไป

พวก เขายังไปไกลกว่านี้ถึงขั้นแสดงความเห็นให้คนเข้าใจว่าตัวปราสาทเท่านั้นที่ ตกเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่ใต้ปราสาทยังเป็นของไทย เหมือนปราสาทพระวิหารจู่ๆก็ลอยมาตกในเขตแดนของไทย

แต่ถ้าเราพิจารณา เรื่องนี้โดยไม่บิดเบือน หรือไม่แกล้งทำเป็นไม่รับรู้ข้อเท็จจริง เราก็จะพบว่าศาลโลกได้พิพากษาไปเมื่อปี พ.ศ. 2505 แล้วว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และยังมีมติด้วยว่าให้ฝ่ายไทยถอนกำลังและผู้ดูแลออกจากปราสาทพระวิหารหรือใน บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชาด้วย

ที่นายกฯอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร พยายามอธิบายว่าเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่เป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่รอบตัวปราสาทหรือแม้แต่พื้นที่ใต้ปราสาทเอง ล้วนเป็นของไทย จึงเป็นการจงใจแกล้งทำเป็นไม่รับรู้ข้อเท็จจริงเพื่อหวังที่จะปลุกความคิด ชาตินิยมแบบคลั่งชาติขึ้นมา โดยไม่คำนึงว่าจะเกิดผลเสียหายตามมามากน้อยเพียงใด

สำหรับปัญหา พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใคร และเส้นเขตแดนระหว่างประเทศอยู่ตรงไหนกันแน่นั้น หากพิจารณาคำพิพากษาของศาลโลกก็จะพบว่า แม้ว่าศาลโลกจะไม่ได้ชี้ว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใคร แต่ศาลโลกก็ได้มีคำพิจารณาชี้ขาดไว้ว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในเขตพิพาทในบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นเขตที่ลากไว้บนแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม ที่เรียกกันว่าภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา

ไม่ใช่เส้นสันปันน้ำที่ฝ่ายไทยยกขึ้นต่อสู้ในสมัยนั้น หรือที่พยายามยกมาอ้างกันในขณะนี้

คำ พิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ได้มีผลไปแล้ว คือการที่รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยได้ถอนกำลังทหารออกจากปราสาทประวิหารและบริเวณใกล้เคียงมาแล้ว แม้ต่อมาจนถึงปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการ ไม่เป็นที่ยุติว่าคำพิพากษาของศาลโลก ได้รับรองแผนที่ที่กัมพูชาอ้างว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ และมีสถานะทางกฎหมายเพียงใดแน่ก็ตาม แต่ถ้าเรื่องนี้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมองค์การระหว่างประเทศ เมื่อไร ประเทศไทยย่อมเสียเปรียบกัมพูชาอย่างแน่นอน

การพิจารณา ขององค์การระหว่างประเทศใดๆก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นการย้อนไปดูคำพิพากษาของศาลโลกปี 2505 ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะสามารถแก้คำพิพากษาเสียใหม่ว่า ปราสาทพระวิหารไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของกัมพูชาแต่อยู่ในเขตไทย

ปัญหา ที่จะต้องมีการพิจารณาต่อไปก็คือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใครและเส้นเขตแดนที่ถูกอยู่ตรงไหน การจะตอบคำถามนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องถามต่อไปว่า การที่ศาลโลกพิจารณาว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา นั้น ศาลโลกใช้เส้นใดเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา คำตอบที่ปรากฏในคำพิพากษาก็คือ เส้นเขตแดนที่ปรากฏใน ภาคผนวก 1 ที่กัมพูชานำมาอ้าง

ในการพิจารณาของศาลโลกในครั้งนั้น เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ร้องให้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน แต่ร้องว่าปราสาทอยู่ในเขตแดนของใคร ศาลจึงไม่ได้ตัดสินเรื่องของเขตแดนโดยตรง แต่ในการจะต้องตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนของใคร ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน ซึ่งปรากฏในคำพิพากษาว่าศาลไม่ถือเอาเส้นสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน แต่ถือเอาเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาเสนอ

ถ้ามีการตัดสินอย่างเป็นทาง การว่า นั่นเป็นเส้นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศเมื่อใด ก็หมายความว่าไทยเราจะเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรอย่างเป็นทางการทันที

ผู้ ที่ได้โต้แย้งไม่ยอมรับเรื่องนี้ เช่น พวกพันธมิตรก็จะบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ต้องยอมรับความเห็นของที่ประชุมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของใคร รวมทั้งสหประชาชาติด้วย พร้อมกับอาจจะเสนอให้ฝ่ายไทยใช้กำลังทหารเข้าผลักดันประชาชนและทรัพย์สินของ ชาวกัมพูชาออกไปจากพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเสีย เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าว พวกนั้นบางคนก็ไปไกลถึงขั้นอาจเสนอให้ฝ่ายไทยยึดปราสาทพระวิหารมาเป็นของไทย เสียเลยด้วย

หากมีการใช้กำลังทหารเข้าจัดการแก้ปัญหา ก็จะยิ่งเป็นเหตุผลให้นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศยื่นมือเข้ามาเกี่ยว ข้องกับเรื่องนี้มากขึ้นไปอีก เรียกว่ามีแต่เสียกับเสียสำหรับฝ่ายไทย

ทางออก ที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ก็คือ หันกลับมาใช้การเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงที่เคยมีมาแล้วเป็นพื้นฐานเงื่อนไขในการเจรจา หลีกเลี่ยงการที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมหารือในที่ประชุมองค์กร ระหว่างประเทศใดๆ เพื่อจะให้การหาทางออกในเรื่องนี้เป็นไปได้ และยังเกิดผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศ

ทั้งรัฐบาลไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรจะต้องหยุดความพยายามที่จะปลุกกระแสชาตินิยมคลั่งชาติ หยุดการบิดเบือนข้อเท็จจริงและการเคลื่อนไหวใดๆที่หวังผลประโยชน์ทางการ เมืองของพวกตน โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศอย่างที่ทำมาตลอดเสียที

http://thaienews.blogspot.com/2010/08/blog-post_2975.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น