ประวัติศาสตร์-ประวัติ ศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ การปลูกสร้างประวัติศาสตร์เพื่อปลูกความทรงจำให้กับพลเมืองในเรื่องที่อยาก ให้จดจำ แม้กระทั่งการสร้างขึ้นมาใหม่บนความว่างเปล่า กระทั่งเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้พลเมืองเชื่อตามที่รัฐต้องการ ขณะเดียวกันหลายเรื่องรัฐก็ลบทิ้งออกจากความทรงจำของพลเมือง กรณีครูเตียงและวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย และบทบาทในการสามัคคีสู้รบกับมิตรประเทศอินโดจีน เป็นตัวอย่างที่ดีในประการหลังนี้
เรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา หนังสือตำนานเสรีไทย โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร
15 สิงหาคม 2553
หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ 65 ปีที่แล้วนาย
กับทั้งเป็นการเตือนสติบรรดาขบวนการล้าหลังคลั่งชาติที่กระหายเลือดกระหายสงคราม เป็นปฏิปักษ์ต่อสันติภาพอยู่ในเวลานี้
สหายศึก-เตียง ศิริขันธ์ กับทหารอังกฤษ พันตรีเดวิด สไมเลย์(ซ้าย)และสิบเอก"กันเนอร์"คอลลินส์ พนักงานวิทยุของผู้พันสไมเลย์
ไทย มีอิสรภาพและมีเอกราชสืบมาถึงวันนี้ น้ำใจเสียสละอาจหาญอุทิศตัวไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวตายของเตียงกับคณะพลพรรคเสรีไทยอีสาน มีส่วนสำคัญที่ชาวไทยในรุ่นเราพึงน้อมสำนึกในบุญคุณ
ภารกิจ ของกองบัญชาการเสรีไทยภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง"พลพรรคเสรีไทย"สามารถ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ก็ด้วยความร่วมมืออย่างเอาชีวิตเข้าแลกของ บรรดาผู้แทนราษฎรที่มีความรักชาติและมีความศรัทธาในตัวนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
โดยรับคำสั่งและนโยบายไปปฏิบัติ อย่างเอาจริงเอาจังและมีประสิทธิภาพ ผู้แทนราษฎรที่เข้าร่วมในขบวนการเสรีไทยส่วนใหญ่เป็นส.ส.จากภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ภารกิจของขบวนการเสรีไทยมีความหลากหลาย มีความเป็นปึกแผ่นของพลพรรค มีการจัดสร้างสนามบินลับเพื่อรับส่งบุคคลากร ตลอดจนอาวุธยุมโธปกรณ์จากฝ่ายสัมพันธมิตร
นายเตียง ผู้แทนราษฎรังหวัดสกลนครเป็นเสรีไทยที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดผู้หนึ่ง จนกระทั่งได้รับสมญาว่า"ขุนพลภูพาน"
นาย เตียงเป็นคนหนึ่งที่ได้ไปพบนายปรีดีที่บ้านถนนสีลมในตอนค่ำของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 หลังจากญี่ปุ่นบุกเข้ายึดประเทศไทยในรุ่งสางวันนั้น และรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามได้มีมติยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไป โจมตีมลายูและพม่า อาณานิคมของอังกฤษ
การประชุมในวันนั้นทุกคนได้ตกลงร่วมมือกันจัดตั้ง"องค์การต่อต้านญี่ปุ่น"ขึ้น และมอบให้นายปรีดี ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้า
ผู้ ที่มาพบนายปรีดีเพื่อร่วมกันก่อตั้งหน่วยใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นค่ำวันนั้น ประกอบไปด้วย หลวงบรรณกรโกวิท(เปา จักกะพาก) หลวงเดชาติวงศ์วราวัตน์(ม.ล.กรี เดชาติวงศ์) นาย
ทั้งหมดมอบหมายคณะกู้ชาติให้อยู่ใต้บังคับ บัญชาของนายปรีดีโดยเด็ดขาด และกระทำสัตย์สาบานว่า จะอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งอุทิศตัว หรือแม้กระทั่งชีวิตสำหรับการทำงานเพื่อชาติ
องค์การใต้ดินนี้ ซึ่งต่อมาคือเสรีไทย มีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติอยู่ 3 ด้านคือ
1.ต่อสู้ ญี่ปุ่นผู้รุกรานโดยพลังของคนไทยผู้รักชาติและร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร และ2.ปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์อันแท้จริงของคนไทย นั้นไม่ได้เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร และ3.การปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยจะไม่ตกเป็นฝ่าย แพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบาเมื่อสงครามยุติ
นาย ปรีดีได้ขอให้ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการรักษาความลับและปฎิบัติตามวินัยอย่าง เคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูทำลายขบวนการได้ และให้ถือว่าเขตปฏิบัติการของขบวนการภายในประเทศคือ ดินแดนของประเทศไทยที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น และรัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของญี่ปุ่น ทั้งนี้จนกว่าจะยึดพื้นที่นอกกรุงเทพฯได้ แล้วจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น การต่อสู้จึงจะกระทำการอย่างเปิดเผย
หลังจากพยายามจัดตั้งรัฐบาลพลัด ถิ่นขึ้นในหลายที่ใกล้เคียงกับไทย รวมทั้งพม่าไม่บรรลุผล ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2486 นายปรีดีตัดสินใจส่งนายจำกัด พลางกูร นักเรียนนอกอังกฤษ บัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นผู้แทนขององค์การเล็ดลอดออก จากประเทศไทยไปนครจุงกิงของจีน เพื่อประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือจีน อังกฤษ สหรัฐฯ เพื่อขอการสนับสนุนจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในอินเดียขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น
หัว หน้าขบวนการเสรีไทยได้มอบหมายให้เตียงเป็นผู้นำทางจำกัดไปยังจังหวัดนครพนม เพื่อลงเรือข้ามฟากแม่น้ำโขงไปยังเมืองท่าแขกของลาว และเล็ดลอดเข้าประเทศจีน
เตียงกับจำกัดเป็นสหายร่วมอุดมการณ์ ประชาธิปไตย และเป็นคนต้นคิดตั้งขบวนการองค์การต่อต้านญี่ปุ่นด้วยกัน ก่อนจะไปขอให้ปรีดีเป็นหัวหน้าขบวนการ
เตียงกับภรรยา นาง
เตียง ได้ถอดแหวนนามสกุลของเขาที่สวมอยู่ให้จำกัดเอาไว้ขายยามที่ต้องการใช้เงิน นอกจากนั้นได้ขอยืมกำไลและสร้อยล็อกเก็ตฝังเพชรของนาง
คุณ
"...ตอน นั้นคุณเตียงให้คุณนิวาศน์ ถอดเครื่องประดับทั้งหมด มีสายสร้อย ล็อกเกต แหวน รวมทั้งแหวนของตัวเองด้วย มอบให้จำกัดเผื่อว่าจะไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะการเดินทางนั้นมืดมนเต็มที ญี่ปุ่นอยู่เต็มไปหมด ดิฉันเชื่อว่าถ้าคุณเตียงรู้ตัวก่อนนั้น คงจะรวบรวมเงินทองให้จำกัดอีกเป็นแน่ และของเหล่านี้ (จำกัดเขียนไว้ในสมุดบันทึก) ว่าได้ช่วยเขาอย่างมากจริงๆ..." (จาก คำเกริ่นนำโดย ฉลบชลัยย์ พลางกูร ในหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน โดย ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล หน้า 17)
นั่น เป็นหนสุดท้ายที่สหายร่วมอุดมการณ์ได้พบกัน เพราะหลังจากไปปฏิบัติภารกิจกู้ชาติในจีนอย่างยากลำบาก จำกัดได้เสียชีวิตลงในจีนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2486 นั่นเอง
แต่ด้วย ผลงานของจำกัดที่ไปติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรจนสำเร็จ ในกลางปี2487 กองบัญชาการเสรีไทยในกรุงเทพฯสามารถติดต่อกองบัญชาการสูงสุดของพันธมิตรได้ ทางฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มจัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาให้เสรีไทย โดยทิ้งร่มลงมาทางเครื่องบิน
นาย เตียงได้รับมอบหมายจากปรีดีให้เป็นหัวหน้าเสรีไทยอีสาน ทำงานร่วมกับทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี จำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม ถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด โดยเตียงใช้รหัสลับว่า"พลูโต"เป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการทั้งหมด
เตียง ได้จัดตั้งค่ายพลพรรคเสรีไทยหน่วยแรกขึ้นที่บ้านโนนหอม อยู่ห่างจากจังหวัดสกลนครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ
การจัดตั้งพลพรรคเสรีไทยอีสานนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากส.ส.อีสานที่รักชาติ ผู้นำชาวบ้าน ผู้นำครู รวมทั้งครูครอง จันดาวงศ์ (ซึ่ง ต่อมาถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ สั่งยิงเป้าข้อหาคอมมิวนิสต์) และสงวน ตุลารักษ์ ซึ่งเดินทางกลับจากจีนได้มาร่วมมือกับเตียงในการตั้งสถานีรับส่งวิทยุที่ เทือกเขาภูพาน
นายทหารเสรีไทยสายอังกฤษ และสหรัฐฯที่เดินทางเล็ดลอดเข้ามาร่วมภารกิจกู้ชาติกับนายเตียง เช่น ร.อ.
ภารกิจ เสรีไทยนั้นเป็นเรื่องเสี่ยงอันตราย เพราะกองทหารญี่ปุ่นกระจายไปยึดครองทั่วประเทศ ไม่ใช่การใช้ประเทศไทยเป็นทางเดินทัพผ่านอย่างที่พูดกัน
นายสุจิต โรจนชีวะ อดีตครูโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เขียนบันทึกไว้ว่า ในเดือนมกราคม 2488 นายเตียงเป็นหัวหน้าใหญ่มาอบรมให้พวกเราเป็นกองโจรกู้ชาติ ต้องทนต่อความลำบากหลายอย่าง ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2488 ขณะหัวหน้าใหญ่(เตียง)กำลังฝึกอบรมอยู่ก็มีรายนงานว่าทหารญี่ปุ่น 12 นายเดินทางมาใกล้ค่ายของเรา หัวหน้าใหญ่ได้รวมพลและสั่งให้พวกเรารักษาค่าย และออกสกัดจับทหารญี่ปุ่นทั้ง 12 นายให้ได้ โดยเราติดตามทหารญี่ปุ่นไปจนเวลาตีหนึ่งกว่าจึงทราบพิกัด และวางแผนจับในเช้าวันรุ่งขึ้น หากพบญี่ปุ่นคนใดขัดขืนก็คงต้องยิงกัน และจับไม่ให้เหลือรอดแม้แต่คนเดียว แต่ราว16.00น.ก็มีรายงานว่าญี่ปุ่นเล็ดรอดดงหลวงเข้าไปตัวเมืองสกลนครเสีย แล้ว เราจึงถอนตัวกลับเข้าค่าย
ในวันที่ 28 กรกฎาคมเมื่อหัวหน้าใหญ่(เตียง)ได้กลับจากสนามบินลับนาคู พวกเราก็รายงานเรื่องนี้ให้ทราบ หัวหน้าใหญ่กล่าวว่า ที่พวกเรามิได้ทำอันตรายใดๆให้แก่ญี่ปุ่นเป็นการดีแล้ว เพราะถ้าญี่ปุ่นได้รับอันตรายกจะเป็นชนวนให้เกิดเรื่องใหญ่ระดับชาติ "รูธ"(ปรีดี)หัวหน้าใหญ่เสรีไทยได้สั่งการมาว่าอย่าเพิ่งทำอันตรายแก่ญี่ปุ่นเป็นอันขาด
รุ่ง ขึ้นพวกเราต้องอพยพย้ายค่ายไปยังถ้ำผาด่าง,ถ้ำผานาง เพราะญี่ปุ่นสงสัยว่ามีกองโจรต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ที่ค่ายนี้ ส่วนรัฐบาลไทยอ้างว่าเป็นที่หลบภัยของรัฐบาลไทย เมื่อพวกเราอพยพไปแล้วก็ได้ดัดแปลงให้เป็นที่หลบภัยของฝ่ายรัฐบาลไทยตามที่ อ้างไว้กับญี่ปุ่น การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะต้องขนยุทโธปกรณ์ไปด้วย การอยู่ในถ้ำก็ลำบากมาก เพราะอยู่ในชะเง้อหินใต้เขายาวไปตามไหล่เขา อีกข้างเป็นเหวลึก เมื่อโผล่ออกจากถ้ำจะเห็นพื้นดินชันลง45องศา กลางวันแทบไม่เห็นพระอาทิตย์
ต่อมาทหารญี่ปุ่น200นายขอเข้าค้นค่าย กองโจรของเรา เราก็เตรียมปะทะเต็มที่ แต่พอถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2488 ได้รับทราบจากวิทยุสนามของอังกฤษว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้วหลังจากถูก สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดปรมาณู วันที่15สิงหาคมข้าพเจ้าพร้อมกับหัวหน้าใหญ่ได้ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองที่ ญี่ปุ่นยอมยุสงครามในโรงเรีบนประจำอำเภอพรรณานิคม
ในปลายเดือน กันยายน2488เมื่อสงครามสงบลง มีการสวนสนามของพลพรรคเสรีไทยทั่วประเทศ จังหวัดสกลนครได้ร่วมขบวนสวนสนามจำนวน 4 กองร้อย เดินสวนสนามจากสนามหลวงมาตามถนนราชดำเนินใน ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถึงพระบรมรูปทรงม้า เป็นการสิ้นสุดสวนสนาม นับเป็นอันสิ้นสุดภารกิจเสรีไทย
ต่อ จากนั้นข้าพเจ้าก็กลับไปรับราชการครู โดยมิได้รับอะไรเป็นเครื่องตอบแทนในการทำงานเสรีไทยแต่ประการใด มีแต่ความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เมื่อมีความจำเป็นก็ต้องพร้อมสละกระทั่งชีวิต โดยมิได้หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น นอกจากเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ
ส่วน ผู้ปฏิบัติงานเสรีไทยที่สนามบินลับนาคูเล่าว่า ในภารกิจกู้ชาติร่วมกับเตียงและส.ส.ถิล ส.ส.จำลองนั้นเกิดการปะทะกับทหารญี่ปุ่น2ครั้ง ครั้งแรกพลพรรคเสรีไทยที่เป็นครูประชาบาลเสียสละชีพ 1 นาย ส่วนทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตหมด หนที่สองปะทะกันที่บ้านหนองห้างห่างจากสนามบินลับ
ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทย รับรองคุณูปการของเสรีไทยและรับรองฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทย
หลัง ญี่ปุ่นประกาศยอมยุติสงคราม นายปรีดีได้ประกาศสันติภาพในวันที่ 18 สิงหาคม 2488 วีรกรรมของเสรีไทยทำให้ประเทศไทยพ้นจากสภาพประเทศแพ้สงคราม ไม่ต้องถูกมหาอำนาจผู้ชนะต้องยึดครอง หรือแบ่งแยกประเทศไทยออกเป็นเสี่ยงๆเหมือนที่กระทำกับประเทศผู้แพ้สงครามโดย ทั่วไป
ไทยมีอิสรภาพและมีเอกราชสืบมาถึงวันนี้ น้ำใจเสียสละอาจหาญอุทิศตัวไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวตายของเตียงกับคณะพลพรรคเสรีไทยอีสาน มีส่วนสำคัญที่ชาวไทยในรุ่นเราพึงน้อมสำนึกในบุญคุณ
-5 ธันวาคม 2452 เตียง ศิริขันธ์ เกิดที่จังหวัดสกลนคร หากมีชีวิตถึงวันนี้จะอายุครบ 100 ปี
-พ.ศ.2473 จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
-พ.ศ.2477 ถูกจับกุมข้อหาคอมมิวนิสต์ ขณะเป็นครูที่อุดรธานี
-7พ.ย.2480เป็นส.ส.สมัยแรก และเป็นต่อมาอีก5สมัย
-8ธ.ค.2484วันญี่ปุ่นบุกยึดไทย นายเตียงเข้าพบปรีดี พนมยงค์ขอให้ตั้งขบวนการเสรีไทย
-ปฏิบัติงานเสรีไทยใช้รหัสชื่อ"พลูโต"เป็นหัวหน้าเสรีไทยภาคอีสานจนถึงวันประกาศสันติภาพ16ส.ค.2488
-31ส.ค.2488 เป็นรัฐมนตรีครั้งแรก
-9 มิ.ย. 2489 เกิดกรณีร.8สวรรคต นาย
-8 พ.ย.2490 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจ กลุ่มนายปรีดีถูกขจัดออกจากอำนาจ
-26ก.พ.2492 นายปรีดีพยายามยึดอำนาจคืนแต่พ่ายแพ้กลายเป็นกบฎวังหลวง
-4 มี.ค.2492 อดีต4รัฐมนตรีสายปรีดีถูกสังหารโหดที่บางเขนคือดร.
เตียงได้เขียนบันทึกถึงกรณีนี้ไว้ว่า...
"...การตายของพวกนาย ทำให้เราเศร้าใจและว้าเหว่มาก แต่เมื่อนึกถึงการตายในสภาพเดียวกันของนักการเมืองและบุคคลสำคัญทางประวัติ ศาสตร์อีกหลายคนก็พอจะทำให้เราคลายความขมขื่นลงไปบ้าง ส่วนด้านประชาชนแล้วรู้สึกว่าจะเป็นเรื่องทำลายขวัญกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประชาชนชาวอีสานการตายของพวกนายมิใช่เป็นการหลู่เกียรติกันอย่าง เดียว แต่เป็นการท้าทายประชาชนชาวอีสานทั้งมวล...ถึงแม้พวกนายจากไปแล้วก็ตาม เรายังคงยึดมั่นในอุดมการณ์สละชีพอยู่อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ชีวิตและความเป็นอยู่ของเราขณะนี้ ทั้งในด้านส่วนตัวและการเมือง ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติงานใดๆ ได้ดังปรารถนา ถ้าหากว่าเรามีอิทธิพลทางการเมืองขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นเราจะดำเนินงานตามอุดมคติของเราทันที" (จากข้อความปกหลังหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทย โดย สวัสดิ์ ตราชู)
-12 ธ.ค.2495 ครูเตียงถูกพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์เชิญไปพบและหายสาบสูญ หลายปีต่อมาถูกเปิดเผยว่าโดนฆ่ารัดคอและเผาที่กาญจนบุรี เมื่อ14 ธ.ค.2495 เสียชีวิตในวัยเพียง 43 ปี
-5 ธันวาคม 2552 ครบ100ปีชาตกาลครูเตียงยังไม่สามารถเปิดอนุสาวรีย์ได้เนื่องจากมีข้ออุปสรรคหลายประการ
วีรบุรุษ"พลูโต"100ปีที่ยังไร้อนุสาวรีย์
*บริเวณวนอุทยานที่จะสร้างอนุสาวรีย์ขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์(พลูโต)แต่ปีนี้ครบรอบ100ปีชาตกาล ก็ยังไม่ได้ลงมือสร้าง
"สำนึก ในบุญคุณของนายเตียงที่มีต่อชาวจังหวัดสกลนคร ชาวภาคอีสาน และต่อประเทศไทยนั้นมากล้น เพราะท่านเคยเสียสละอุทิศตัวให้กับงานกอบกู้ชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ซึ่งไทยถูกญี่ปุ่นยึดครอง จนสามารถทำให้ไทยมีอิสรภาพต่อมาได้ทุกวันนี้ แต่มาถึงทุกวันนี้คนรุ่นหลังๆก็คงจำนายเตียงไม่ได้แล้ว เลยอยากสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้รำลึกนึกถึง"คุณวิเชียร วงศ์กาฬสินธ์ นายกสมาคมข้าราชการบำนาญ จังหวัดสกลนครกล่าว
อย่างไรก็ดีหลังจาก เริ่มตั้ง"กองทุนก่อสร้างอนุสาวรีย์ขุนพลเตียง ศิริขันธ์(พลูโต)"ผ่านไป 3 ปีมาถึงปีนี้ ซึ่งครบรอบ 100 ปีชาตกาลของขุนพลภูพาน ผู้มีฉายาชื่อรหัสกู้ชาติ"พลูโต"ยังไม่ประสบความสำเร็จดังหวัง
ประการ แรก การประสานงานกับหัวหน้าส่วนราชการสะดุดหยุดลงเรื่อย ตามการเปลี่ยนตัวผู้ว่าราชการจังหวัดที่ย้ายกันถี่ 6เดือนไม่ถึงปีย้ายแล้ว ทำให้การประสานงานสะดุดลง
ประการต่อมา กรมศิลปากรไม่อนุมัติแบบที่คณะกรรมการกองทุนฯเสนอไป โดยล่าสุดตีกลับมาเป็นรูปนั่งบนขอนไม้แทนแบบยืนที่ออกแบบไว้เดิม
ประการ สุดท้าย คนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเป็นข้าราชการบำนาญที่เคยมีสำนึกร่วมกันในบุญคุณของ ครูเตียงต่อประเทศเป็นหลัก ส่วนคนชั้นหลังอาจลืมเลือนวีรกรรมของวีรบุรุษผู้นี้ หรือถูกทำให้ลืม เพราะคณะกรรมการกองทุนฯได้ติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนทุนไปทั้งส.ส. ส.ว. สมาคมชาวสกลนครในกรุงเทพฯ โรงเรียนเก่าที่อุดรธานีที่ครูเตียงเคยสอน ตอนนี้ได้เงินทุนมาประเดิมเพียง6แสนบาท จากที่ต้องใช้ทุนทั้งสิ้น 3 ล้านบาท
"ใน เมื่อ100ปีชาตกาลของท่านทำไม่ทัน ก็ต้องพยายามกันต่อไป ไหนๆก็รอมานานแล้ว ก็รอแบบกรมศิลป์อนุมัติมาคงได้ฤกษ์สร้างเสียที"คุณวิเชียรกล่าว
ประชาชนคนไทยที่รักชาติรักประชาธิปไตย สำนึกในวีรกรรมของครูเตียง อยากร่วมสร้างอนุสารีย์ของ"พลูโต"เชิญบริจาคได้ที่
กองทุนก่อสร้างอนุสาวรีย์ขุนพลเตียง ศิริขันธ์(พลูโต)
ธนาคารกรุงไทย สาขาเจริญเมือง สกลนคร
เลขที่บัญชี 442-0-01485-7
สอบถามเพิ่มเติมที่คุณ
**********
16 สิงหาคม-วันสันติภาพไทย-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ
รำลึก ถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศ สงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้
ด้วย คำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น
***
กิจกรรมโครงการงาน 110 ปีชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และ 65 ปีสันติภาพไทย ในเดือนสิงหาคม 2553
วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
๑. งานครบรอบ ๖๕ ปี วันสันติภาพไทย เริ่มเวลา ๐๗.๑๕ น. - ๑๒.๐๐ น.
ณ ลานอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย ถ.เสรีไทย ซอย ๕๓ เขตบึงกุ่ม กทม.
๒. ฝ่ายเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" พร้อมกันทั่ว ประเทศ ( ๗๖ จังหวัด) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน
ส่วนกลางจัดฉาย ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรมเเห่งกรุงเทพมหานคร เวลา ๑๘.๐๐ น. หลังเคารพธงชาติ (ชมฟรี)
คลิกอ่านบทความของโดม สุขวงศ์ เกี่ยวกับThe King of the White Elephant ที่ http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=18&d_id=14
๓. การแสดงละครเวทีเรื่อง "คือผู้อภิวัฒน์"
วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๙.๓๐ น.
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม มล.ตุ้ย ชั้นที่ ๘ อาคาร HB 7 คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
บัตร ๒๐๐ บาท นศ. ๑๐๐ บาท
สอบถามรายละเอียด โทร. ๐๘๖ ๗๒๘ ๖๘๒๘ / ๐๘๑ ๕๖๒ ๔๖๓๖
วันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. และ ๑๘.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิัทักษ์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
Posted by editor01 at 8/15/2010 12:08:00 ก่อนเที่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น