ตั้งแต่ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่อำนาจในปี 2551 อภิสิทธิ์ได้แสดงเจตจำนงครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเลือก ตั้ง กว่าร้อยชีวิตต้องถูกสังเวยในเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนเมษายนและ พฤษภาคมเพื่อที่จะยืดเวลาให้กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ทั้งนี้อภิสิทธิ์ไม่มีทางที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยปราศจากความช่วย เหลือจากกองทัพ กระบวนการศาล และกลุ่มพันธมิตร
ในขณะนี้องค์กรเอกชนและสื่ออิสระได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์แสดงพันธะใน การสร้าง “ความสมานฉันท์” โดยจัดให้มีการเลือกตั้ง เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้อำนาจตัดสินเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิด ขึ้นไม่นานมานี้ แต่นายอภิสิทธิ์ได้บัญญัติข้ออ้างใหม่ลงในพจนานุกรมของตนเอง โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวย้ำในวันนี้ว่า “รัฐบาลจะำไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปจนกว่าประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบ ร้อย”
ตามมาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยทั่วไป เมื่อปรากฏว่ามีประชาชนเป็นจำนวนสมเหตุสมผลเกลียดชังรัฐบาล ข้ออ้างที่จะไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปและปัดความรับผิดชอบไม่ใช้ข้ออ้างที่ ดี ความสงบไม่ใช่เงื่อนไขล่วงหน้าที่ก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ในทางกลับกัน ประชาธิปไตยคือเงื่อนไขล่วงหน้าของการทำให้เกิดความสงบ คำกล่าวของรัฐบาลนั้นไร้สาระขึ้นทุกวัน หากเราพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่า สาเหตุที่ประเทศไทยไม่มี “ความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อย” นั้นเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ยังคงปกครองประเทศด้วยตำแหน่งที่ได้มาด้วยความไม่ ชอบธรรมต่างหาก และยังมีการดำเนินนโยบายที่กดขี่คุกคามประชาชนอย่างที่รัฐบาลพลเรือนไม่เคย กระทำมาก่อน และยิ่งกว่านั้นคือรัฐบาลนายอภิสิทธิ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วาง ระเบิดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคม และหากเราตีความหมายคำพูดของอภิสิทธิ์ที่อ้างถึงของประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยใช้แนวคิดสนับสนุนที่ว่าไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งในประเทศไทยได้ นอกจากประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อยเท่านั้น เป็นลักษณะ“เฉพาะ” ของประเทศไทย
อภิสิทธิ์อาจจะไม่ได้ศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ในโรงเรียนอีตันหรือมหาวิทยา ลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะย้ำเตือนนายอภิสิทธิ์ว่าประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต่อสู้กับกลุ่มกบฏบวรเดช ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และในสมัยนั้นการเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้มีขึ้นเพียงแค่วันเดียว เพราะระบบการเลือกตั้งสมัยนั้นเป็นระบบการเลือกตั้งโดยอ้อม โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลเหล่านี้จะเป็นตัวแทนไปเลือกผู้แทนจังหวัด จากนั้นผู้แทนเหล่านั้นจะไปเลือกผู้แทนสภาราษฎรอีกที ดังนั้นการเลือกตั้งจึงกินเวลานานกว่าสองเดือน ซึ่งในระหว่างนั้นเองได้มีการก่อการกบฏโดยกลุ่มกบฏบวรเดชขึ้น ซึ่งกลุ่มกบฎดังกล่าวนำโดยคณะบุคคลระดับสูงในรัฐบาลเก่า
แม้การก่อการของกบฏบวรเดชจะล้มเหลวอย่างราบคราบ แต่การก่อการดังกล่าวเกือบจะล้มรัฐบาล และ ณ จุดหนึ่ง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม กลุ่มกบฏเหล่านี้ได้ยึดสนามบินดอนเมืองซึ่งถือว่าเป็นภัยต่อกรุงเทพมหานคร โดยตรง แต่หลวงพิบูลสงครามหนึ่งในคณะผู้นำรัฐบาลได้ต่อสู้กับกลุ่มกบฏโดยใช้ปืนใหญ่ ทำให้กลุ่มกบฏถ่อยร่นไปยังฐานที่มั่นในจังหวัดนครราชสีมา หลังจากการต่อสู้หลายอาทิตย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงหลบหนีไปยังจังหวัดสงขลา
แม้กระทั่งพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นยังรู้สึกหวาดกลัวต่อกลุ่มกบฏบวรเดช แต่ก็ไม่ได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการเลื่อนการจัดการเลือกตั้งทั่วไป แม้ว่าจะมีประชาชนมาเลือกตั้งไม่มาก แต่การเลือกตั้งก็เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จะจัดในช่วงเวลาที่อาจจะ เกิดสงครามการเมืองก็ตาม และ80ปีหลังจากนั้น ประเทศไทยมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลาที่มีปัญหาและมีการแตกแยกในสังคม บ่อยครั้ง และในทุกครั้งประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมักจะแสดงถึงความมีวุฒิภาวะและ ความรับผิดชอบมากกว่ากลุ่มผู้นำ
อย่างน้อยที่สุด นายอภิสิทธิ์ได้สร้างความอับอายให้กับตนเองด้วยข้ออ้างที่ล้าสมัยไร้สาระนี้ นายอภิิสิทธิ์อาจจะได้รับประโยชน์จากบทเรียนประวัติศาสตร์ไทยแบบเร่งรัดนี้ บ้าง และในระหว่างนี้ อภิสิทธิ์อาจจะค้นพบว่าความเข้มแข็งของฝ่ายตรงข้ามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการ เลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญประเทศไทยปี 2550 ได้บัญญัติไว้ว่ารัฐบาลสามารถดำรงหลังจากการเลือกตั้งได้เป็นเวลา 4ปี หรือนายอภิสิทธิ์จะระงับการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ของประชาชนในอีก 15เดือน หากเหตุการณ์มีทีท่าว่าจะไม่สงบสุขกระนั้นหรือ? หรือนี่คือไพ่ใบสุดท้ายของกลุ่มอำมาตย์ ที่พยายามสร้างความไร้เสถียรภาพของสังคม เพื่อเป็นข้ออ้างว่าการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้”?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น