คอลัมน์ : เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง : ภาษาซาอุ
โดย : กาหลิบ
ความ ขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นกรณีประวัติ ศาสตร์ที่มีความแปลกประหลาดมากที่สุดกรณีหนึ่ง เพราะเกิดขึ้นจากคดีขโมยเพชร การดำเนินคดีที่ยอกย้อน ยักยอก และยืดเยื้อยาวนาน การสังหารนักการทูตอย่างโหดร้ายทารุณ มาตรการโต้ตอบทางการเมืองและเศรษฐกิจที่รุนแรง ฯลฯ ที่ไม่อาจแก้ไขได้จนบัดนี้
ล่าสุดนี้ รัฐบาลปัจจุบันของไทยยังเพิ่มความขัดแย้งขึ้นอีก เมื่อเออออกับมติแต่งตั้ง พลตำรวจโทสมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภาค ๕ ผู้ต้องหาร่วมกับพวกทั้งห้าในการคดีการหายตัวของ นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ให้เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนใหม่
คดีที่กำลังระเบิดใส่หน้า ท่านว่าที่คนนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าหลักฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรวบรวมมานั้นเพียง พอและมีคำสั่งฟ้องแล้ว
แม้แต่ศาลก็นัดสืบพยานกันในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ นี้แล้วด้วย
แต่ มาบัดนี้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตำรวจ ก็ออกมาพูดอย่างชัดเจนเป็นสาธารณะว่าคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยฯ พบว่าพลตำรวจโทสมคิดฯ ไม่มีความผิดและจะเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นคือให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ
ทั้งที่มาตรา ๙๕ ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ บอกไว้ชัดเจนเป็นภาษาไทยว่าหลักปฏิบัติต่อตำรวจผู้เป็นจำเลยในคดีอาญาหรือ คดีที่มีความผิดร้ายแรงนั้นจะต้องทำอย่างไร
ไม่ได้บอกให้ช่วยกันล้างความผิดและรีบเลื่อนตำแหน่งเป็นบำเหน็จรางวัลให้แน่
สถาน เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียจึงออกแถลงการณ์ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า “...รู้สึกแปลกใจต่อความขัดแย้งระหว่างความหมายที่ชัดเจนใน พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ กับการปฏิบัติของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ...” และ “...ความทุ่มเทของทั้งสองประเทศในการสะสางคดีที่คงค้างในปัจจุบันเพื่อ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศโดยตรงเกรงว่าจะประสบความล้ม เหลว...”
หลังจากออกฉบับแรกไปเมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ อีกสามวันต่อมาในวันที่ ๖ ก็ออกอีกหนึ่งฉบับด้วยน้ำเสียงและเนื้อหาที่ “แรง” กว่าเดิม
สถาน เอกอัครราชทูตฯ รู้สึก “...กังขาว่าการแต่งตั้ง พลตำรวจโทสมคิด บุญถนอม ไม่เพียงแต่ละเมิดกฎหมายไทย แต่ยังขัดขวางโอกาสที่จะนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรม ด้วย...”
และ “...ซาอุดีอาระเบียคาดหวังจะได้เห็นความโปร่งใส ยุติธรรม และการไม่แทรกแซงคดีนี้...”
ตาม ภาษาและท่าทีทางการทูต แถลงการณ์ฉบับแรกและฉบับที่สองซึ่งห่างกันเพียงสามวัน และเนื้อความในฉบับหลังที่ชี้ถึงพฤติกรรม “ขัดขวาง” กระบวนการยุติธรรมของทางการไทย และดักคอว่าอาจจะมีการ “แทรกแซงคดี” นั้น คือการแสดงออกที่ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความว่าซาอุดีอาระเบียเข้าใจซาบซึ้งที เดียวว่าเกิดอะไรขึ้นในห้วงเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งบัดนี้
และหนักใจขนาดไหนที่จะคบค้าสมาคมกับไทยต่อไป
คิด แบบใจเขาใจเราดูบ้าง ถ้าคนของเราถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือคนเลวของประเทศอื่น แล้วพบว่ารัฐบาลของประเทศนั้นๆ ปกป้องคนเลวและแต่งตั้งคนเลวคนนั้นให้ดำรงตำแหน่งที่ก้าวหน้าขึ้น ทั้งที่เราประท้วงต่อต้านอย่างชัดแจ้งมาโดยตลอด เราจะรู้สึกอย่างไร จะอยากคบกับประเทศนั้นต่อไปหรือไม่
นี่ล่ะครับคือความเห็นแก่ตัว ใจดำ และโลกแคบของผู้มีอำนาจในเมืองไทยปัจจุบัน ไม่สนใจใครอีกแล้วในโลกนี้ นอกจากตัวเองและผลประโยชน์โดยตรงของตน ขนาดคนชั่วที่ตัวเองใช้ไปฆ่าฟันและทำลายล้างศัตรูทางการเมืองอย่างผิดกฎหมาย ก็ส่งเสริมได้อย่างหน้าด้านๆ
ไม่ต้องเอา กอ.รมน. มาเตรียมการปิดประเทศอย่างพม่าหรอกครับ เดี๋ยวนี้แค่หาคนที่เขาอยากคบไทยก็ยากแล้ว.
-----------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย Nangfa
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น