สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

มารค ตามไท: ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: บุญ หรือ กรรม ของสังคม


มารค ตามไทปาฐกถาในการประชุมเวทีสังคมวิทยาภาคเหนือ ที่ ม.เชียงใหม่ แนะวงการสังคมวิทยาศึกษามนุษย์ระดับสปีชีส์ เกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงและความหลากหลายทางคุณค่า ชี้ความหลากหลายทางคุณค่าถือเป็น บุญของสังคม ทำให้มนุษย์ได้ทบทวนคุณค่าหลังจากเจอคุณค่าที่ต่างจากเรา

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมหม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดการประชุม เวทีสังคมวิทยาภาคเหนือ "แผ่นดินเดียวกันแต่อยู่คนละโลก?" โดย 7 สถาบันอุดมศึกษาได้แก่ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงใหม่ และ สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

โดยในช่วงเช้า รศ.ดร. มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ กล่าวปาฐกถานำเรื่อง "ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: บุญ หรือ กรรม ของสังคม"

000

รศ.ดร.มารค เริ่มต้นอภิปรายว่า ตอนที่เลือกหัวข้อนี้ ตั้งใจหมายถึงวัฒนธรรมในความหมายกว้าง เพราะฉะนั้นคนเราสามารถเป็นคนต่างวัฒนธรรมได้ ถึงแม้อย่างอื่นดูเหมือนกันหมด ถ้าไม่คุยกันก็ดูไม่ออกด้วยว่ามีความต่างทางวัฒนธรรม ภาษาที่พูด วิธีแต่งกาย ไปเข้าโบสถ์หรือวัด หรือมัสยิดเหมือนกัน ก็อาจจะต่างวัฒนธรรมได้ ถ้าเรามีความคิดว่าวิธีที่คนอยู่ร่วมกันบนฐานอะไรต่างกัน ก็เรียกว่าต่างวัฒนธรรม ทีนี้เพื่อให้ชัด ผมจะใช้ คุณค่าดีกว่า

ทีนี้ บุญหรือ กรรมของสังคมมาจากที่ผมกล่าวว่า คืออะไรกันแน่ เป็นของดีที่ต้องทำให้เกิดถึงแม้มันไม่มีอยู่ หรือเป็นของที่เราเผชิญเป็นกรรมของบางสังคม มีความหลากหลายจึงต้องจัดการแล้วให้ระเบียบในการจัดการคืออย่าละเมิดอย่าง นี้อย่างนั้น คือเคารพกัน แต่พอมองภาพกว้างว่าเป็น คุณค่าผมว่าไม่ใช่ทางเลือกแล้ว มันไม่ใช่ หรือดังนั้นนี่คือหัวข้อที่ผมจะพูดวันนี้คือ ความหลากหลายทางคุณค่า กรรม และ บุญ ของสังคม

อันนี้หมายความว่า ในสังคมหนึ่ง สมาชิกของสังคมมีคุณค่าต่างกันเกี่ยวกับวิธีที่จะอยู่ร่วมกัน แล้วมันเป็นอย่างนั้น ช่วยไม่ได้ก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้สังคมต่างๆ อาจจะมีมากหรือน้อยก็แล้วแต่ ปัญหาเกิดแน่เวลาที่ความคิดเรื่องวิธีอยู่ร่วมกันต่างกัน เราก็เห็นอยู่ ที่เมืองไทยก็เห็นเพิ่งผ่านมาไม่นาน เข้าใจต่างกันว่าควรอยู่อย่างไร อำนาจควรจะแบ่งอย่างไร คุณค่าอำนาจอยู่ที่ไหนในสังคม วิธี ระเบียบต่างๆ ที่จะใช้ ก็ทำให้ ยาก พอ ยากผมก็ใช้ว่า กรรมก็โอเค แต่ก็เป็น บุญเหมือนกัน และสิ่งที่เป็นคำถามที่เป็นโจทย์สองข้อที่ผมจะมาคุยวันนี้ก็คือ ถ้าเป็นกรรมจะทำอย่างไร จัดการอย่างไร และเป็น บุญอย่างไรกันแน่

ความหลากหลายทางคุณค่า กรรมของสังคม ทีนี้ กรรมของสังคมผมว่าคงไม่ยากที่คนเห็นว่าท้าทาย ทุกคนในสังคมที่จะแก้ไขปัญหานี้ หลายหัวข้อการวิจัยที่ผมเห็นตอนบ่าย ก็พยายามพูดถึงหัวข้อนี้ว่าจะจัดการอย่างไร

วิธีแรกที่คนพยายามจัดการคือใช้สามัญสำนึก คือลดความหลากหลายทางคุณค่าดีที่สุดคือทำให้เป็น คุณค่าเดียวกัน คุณค่าร่วมกัน และอาจไม่ติดปัญหาแบบที่เราเจออยู่ และหลายประเทศเจออยู่ พอเจอหลายคุณค่าแล้วตกลงกันไม่ได้อาจออกมาปะทะกันบนท้องถนนบ้าง ที่อื่นบ้าง ความคิดนี้เป็นความคิดสามัญสำนึกที่ปรากฏในสังคม ปรากฏในข้อเขียนต่างๆ ผมว่าคล้ายๆ ความคิดนี้อยู่ในเพลงชาติไทย ในส่วนที่บอกว่าด้วยไทยล้วนหมายผมว่า ด้วยไทยล้วนหมายสำหรับผมมันหมายถึงทำให้เหมือนกัน ทำให้มีคุณค่าร่วม หรือมีระบบคุณค่าไม่ให้ต่างกันเท่าไหร่ ถ้าร่วมหมาย ก็คือคุณค่าเดียวกัน ทุกอย่างอาจจะราบรื่น ทีนี้บังเอิญความคิดนี้มันพูดง่าย ทำยาก มันมีปัญหาสองอย่าง หนึ่ง หาคุณค่าร่วม ใครจะหา และ สอง พอหาสิ่งที่คิดว่าใช่ ทำให้ปลูกฝังในคน ในสังคม

ทีนี้มีบางประเทศเคยประสบความสำเร็จระดับหนึ่งของการทำสิ่งนี้ ผมกำลังคิดถึงประเทศหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาตอนก่อตั้งประเทศ ตอนปลายศตวรรษที่ 17 ถึง 18 พยายามก่อตัวให้สังคมมีปัญหาประเภทนี้น้อยหน่อย เพราะที่คนมาจากประเทศอื่นเพราะปัญหานี้ มาจากที่ซึ่งไม่รับคุณค่าที่ต่างกัน คุณค่าของประเทศตัวเองไม่รับ ส่วนมากมาจากยุโรปก็มาที่แผ่นดินใหม่ ซึ่งแผ่นดินนั้นที่จริงก็มีคนอยู่แล้วหลายพันปี เวลาคนที่หนีการถูกแกล้งจากการที่คุณค่าของเราต่างจากคนส่วนใหญ่ มาอยู่ร่วมกันก็น่าจะปวดหัวใหญ่ เพราะคราวนี้มากันเยอะแยะ และไม่ได้มาเพราะคุณค่าเหมือนกัน แต่มาเพราะหนีคุณค่าที่ต่างจากตัวเองหลายที่ คราวนี้ก็มาอยู่ที่เดียวกัน

คนที่คล้ายๆ เป็นผู้นำทางการเมือง ที่พยายามเขียนรัฐธรรมนูญฉบับแรกคนเหล่านี้ก็เข้าใจว่าคือสิ่งท้าทายสังคม คือความหลากหลายทางคุณค่า ถ้าแก้ความหลากหลายทางคุณค่าไม่ได้เพราะคนมาจากหลายที่ก็ไปไม่รอด ก็มีแนวคิดที่ผมบอกเมื่อกี้ คือแนวคิดสามัญสำนึก ก็หาคุณค่าร่วมซึ่งเหนือกว่าคุณค่าทั้งหลายที่หลากหลาย แล้วเขาก็ได้คุณค่าร่วมมาอันหนึ่งก็คือ เสรีภาพคือประเทศนั้นเลือกคุณค่านั้น ทีนี้ทำอย่างไรให้คุณค่านี้สามารถอยู่เหนือคุณค่าที่หลากหลายทั้งหลาย ทั้งด้านศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม เขาก็ยกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คล้ายๆ สร้างศาสนาอีกอัน เรียกว่า ศาสนาเสรีภาพถ้าเป็นคำของทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (หมายเหตุ: ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา ผู้ประพันธ์ คำประกาศอิสรภาพ”) ก็คือ “Holy cause of freedom” เมื่อดูประวัติศาสตร์หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็พอไปได้ แต่พอถึงยุคนี้พังอีกกำลังพังแล้ว คุณค่าร่วมที่อยู่ได้หลายร้อยปีพอสมควร ก็เข้าใกล้ศาสนา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นเดี๋ยวนี้ก็อยู่ไมได้

ปัญหานั้นผมคิดว่าคืออย่างนี้ เวลาจะแก้ปัญหาความหลากหลายของคุณค่าในสังคม คือหาสิ่งหนึ่งมาเป็นคุณค่าร่วม ปัญหาของการปลูกฝังนี้วันหนึ่งจะกลับมาเล่นงานเรา คือเล่นงานสังคม เพราะวิธีปลูกฝังมีวิธีเดียวคือต้องหลอก หลอกในที่นี้ผมไม่ได้ใช้ในภาษาที่เป็นลบอย่างเดียว แต่ต้องเข้าไปอยู่ในความเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น ทำตอนอายุ 5 ขวบ 10 ขวบ ถ้างานของนักจิตวิทยาถูกนะ คนเราอายุ 5-10 มันเป็นช่วงก่อคุณค่าในตัวคน เขาเอาไปใส่ในโรงเรียนในช่วงนั้น ทำช่วงประถมมันจะติดไปเอง พอโตไปไม่รู้ตัวกลายเป็นนี่ก็คือคุณค่าของคนนั้น แต่ในเมื่อมันปลูกฝังด้วยวิธีนี้ พอโตหลายครั้งมันออกจากอันนี้ได้ มันออกได้เวลาเผชิญประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ที่เจอ และก็หลุดออกจากคุณค่าร่วมที่นึกว่าสร้างได้ พอหลุดออกจากคุณค่าร่วมผมว่าเรากำลังเห็นสิ่งนี้กำลังเกิดในเมืองไทยระดับ หนึ่งและเห็นในหลายประเทศ พอหลุดออกจากคุณค่าร่วมทีนี้ก็ไม่รู้ไปที่ไหน นี่คือโจทย์ของการจัดการความหลากหลายทางคุณค่า ที่เรียกว่าจะทำอย่างไร มันเป็นกรรมของสังคม แต่เราจะทำอย่างไรกับสิ่งนี้

ที่นี้ ผมก็คิดมานานเหมือนกันอันนี้ว่าจะทำอย่างไร ตอนหลังก็เลยรู้สึกว่า มีอีกแนวหนึ่ง ซึ่งผมพยายามทดสอบทางความคิดอยู่กับตัวเองก็คือ จะแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางคุณค่าที่พบในสังคม ด้วยสิ่งที่เรียกว่าคุณค่าในระดับ Meta-level” ก่อนหน้านี้สมมติว่าเจอความหลากหลายทางคุณค่า ก็แปลว่า คนนี้บอกอยู่อย่างนี้อย่างนั้น ทุกอย่างหลากหลายในสังคม ใครไปหาอันหนึ่งไป Dominate อันอื่นก็ใช้ได้ก็ได้แป๊บเดียว อยู่ได้ไม่นาน ก็กลับมาอยู่แบบนี้

แต่ประเภทที่เป็น “Meta-level value” เป็นคุณค่าที่เกี่ยวกับคุณค่า ไม่ใช่ เสรีภาพ” “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์แต่เป็นคุณค่าเกี่ยวกับคุณค่า เกี่ยวกับการจัดการกับคุณค่าต่างๆ อย่างไร ก็อยู่ “Meta-level” ทีนี้คนเราอาจจะสามารถยึดถือคุณค่าการอยู่ร่วมกันต่างกันได้ และไม่เป็นปัญหา ถ้าสิ่งหนึ่งที่รับร่วมกันคือ วิธีมองคุณค่าต่างกัน

ทีนี้จะมีอะไรบ้างที่เรียกว่า “Meta-level value” เป็นคุณค่าร่วมกันว่า ในการดำเนินชีวิตตามคุณค่าของเราเอง และการชักเย่อกันภายในสังคมเกี่ยวกับคุณค่าของแต่ละคน ซึ่งเป็นของธรรมชาติก็ต้องเกิดเวลาเราสัมผัสคนที่เห็นต่าง เรายึดหลักว่าไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันในการแข่งเรื่องคุณค่าระดับ first order” นี่เป็น Meta-level ก็ไปยึดหลักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามคุณค่าที่ต่างกัน

ทีนี้ ต้องตอบสองคำถาม ทุกครั้งที่ใครคิดว่าเจอะคุณค่าระดับ “Meta-level” ว่าใช่หรือเปล่า แก้ปัญหาความหลากหลายทางคุณค่าในสังคมได้ไหม ตอบปัญหาเรื่องกรรมของสังคมได้ ก็ต้องเช็คให้แน่ก่อนว่าคุณค่าระดับนี้มันปลอดโครงสร้างของวัฒนธรรมอยู่ วัฒนธรรมในความหมายของความหลากหลาย คือมันต้องอยู่ในกรอบของคุณค่าแบบหนึ่งเองโดยไม่รู้ตัว ถ้าแบบนั้นก็ไม่แก้ปัญหาแรก ก็ยังเป็นเรื่องการหาคุณค่าร่วมอยู่ ดังนั้นต้องตอบคำถามนี้ก่อนว่าอันนี้มันปลอดจากความคิดอันใดอันหนึ่งก่อน ซึงมักไม่รู้ตัว อันที่สอง ซึ่งยากกว่า สำหรับผมก็ยังตอบไม่ได้ ก็คือว่าทำไมจะเอาอันนี้ ไม่เอาอันอื่น ก็ต้องหา “Meta-level” มีหลายอันที่เป็นไปได้ก็ต้องทดลองหา

ผมจะพูดเป็นตัวอย่างใน “Meta-level” ที่ผมเลือกคือคุณค่าระดับสองที่แบบว่า ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันเมื่อเผชิญหน้ากับคุณค่าอื่น อันแรกคือ ปลอดโครงสร้างทางวัฒนธรรมหรือเปล่า ก็คือ Concept หลักคือ ความรุนแรงที่กำลังพูดถึง ถ้าเราอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายทางคุณค่า เราคงโดยไม่รู้ตัว เรานึกว่าเราไม่เจอ แต่ถ้าทำงานด้านนี้จะเจอเป็นรูปธรรม จริงๆ Concept เรื่องความรุนแรงเป็นผลมาจากระบบคุณค่าด้วย เพราะฉะนั้นคนไม่ได้เข้าใจเรื่องความรุนแรงเหมือนกัน

นี่คือปัญหาที่เราเจอในสังคมไทย 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่บอกว่าไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันแต่ไม่มีคนเข้าใจเหมือนกันสักอย่าง ทุกคนนึกว่าคนอื่นเข้าใจเรื่องความรุนแรงเหมือนกับตัวเอง ก็บอกผมไม่ได้ใช้ ทำไมคุณใช้

ภายใน “Meta-level Value” เองมีติดอยู่ในกรอบความคิดเราต้องเอาออก ความรุนแรงนี้ สิ่งที่ชัดที่สุดที่ทำให้ผมเห็นว่ามันเป็น Concept ทางวัฒนธรรม และต้องถอดออกมาให้ได้ อย่างเช่น ตอนผมเป็นเด็ก คุณแม่ผมเป็นคนอเมริกัน ผมเป็นลูกครึ่ง ผมโตที่เมืองไทย ที่กรุงเทพฯ พอผมเดินกลับมาจากโรงเรียน ก็เดินผ่านชุมชนหนึ่ง เด็กในชุมชนก็จะวิ่งตามผมล้อผม ฝรั่งขี้นกอะไรแบบนี้ ล้ออะไรแบบที่เขาล้อกัน ผมอยู่ชั้นประถมแถวนั้น ผมกลับไปบอกคุณแม่บอกว่า ไม่อยากเดินไปทางนี้แล้ว เดินไปทางอื่นได้หรือเปล่า หาเส้นทางอื่นเดินกลับบ้านได้ไหม ไม่อยากผ่าน เด็กล้ออยู่ตลอด

คุณแม่ก็ถามว่า เขาล้อว่าอะไรผมบอกเขาล้อว่า ฝรั่งขี้นกอะไรทั้งหลายที่เกี่ยวกับฝรั่ง หน้าเหมือนฝรั่ง แม่ผมบอกว่าไม่ต้องตกใจ แม่บอกคำที่เรียนมาตอนเป็นเด็กว่า “Sticks and stones may break your bones, but words will never hurt you” พวกก้อนหินพวกไม้ทำให้เจ็บได้ แต่คำไม่ทำให้เจ็บ แม่ถามว่าเขาเอาอะไรขว้างหรือเปล่า ผมบอกไม่มี ขว้างไม่มี แม่ถาม เอาอะไรมาตีหรือเปล่า ผมบอก ไม่ตี วิ่ง พูด เฉยๆ ก็ช่างเป็นไร แม่ก็บอกผมแบบนี้เรื่อย แต่ผมเดินไปทุกวัน ไม่เห็นรู้สึกดีขึ้นเลย ผมเดิน พอเขาตะโกน ก็พยายามท่องที่แม่บอก ผมถึงรู้จริงๆ ว่าไม่ใช่ ความรุนแรงมันไม่ได้เหมือนกัน คนเข้าใจต่างกัน แม่ผมเพราะโตในสังคมตะวันตก ผมไม่อยากสรุปว่าสังคมในตะวันตกทั้งหมด อย่างน้อยสังคมที่คุณแม่โตมาเข้าใจว่าความรุนแรงคือความรุนแรงทางกาย ถ้าเอาอะไรขว้าง ตี เอามีดแทง ใช่ แต่ด่ายังไงก็ไม่ใช่ แต่ผมแม้เป็นเด็ก ก็อยู่เมืองไทยนานพอสมควรที่รู้สึกว่าสิ่งที่เกิดในโรงเรียน เวลาคนโกรธเพราะใช้ความรุนแรง มันไม่ใช่พวกนี้ มันเป็นอย่างอื่น เช่น ล้อชื่อพ่อ ก็ต่อยกัน ผมบอกเพื่อนในต่างประเทศว่าถ้าล้อชื่อพ่อก็ต่อยกัน เพื่อนผมเมืองนอกหัวเราะ คิดว่าเป็นโจ๊ก เป็นความเข้าใจเรื่องความรุนแรงที่ต่างกันมาก

และเวลาไปล้อคนที่เคารพนับถือยิ่งเรื่องใหญ่ คนบางสังคมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเจ็บใจได้อย่างไร ผมว่าสังคมไทยเดี๋ยวนี้ก็เป็นแบบนั้น เราไม่เข้าใจว่าเรากำลังเฮิร์ทใครอย่างไร เราก็ชุมนุมทำอะไรต่างๆ บางทีไม่ได้ตีกัน บางทีพูดกัน ฉะนั้นตรงนี้คือปัญหาการใช้สันติวิธีในสังคมต่างๆ พอไปใช้ตำรา อย่างสันติวิธี 198 อย่างของยีน ชาร์ป (Gene Sharp) หลายอย่างเอาเข้ามาในเมืองไทยผมว่าตายเลย บางคนจะบอกว่านี่รุนแรงยิ่งกว่าเอาไม้มาฟาดหัวอีก นี่คือตัวอย่างถ้าเลือก “Meta-level value” ว่า ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันต้อง “Unpack” ความหมายทางวัฒนธรรมออกจากความรุนแรงให้ตรงกันก่อน อย่างนั้นเล่นบทบาทนี้ไม่ได้

ทีนี้ก็เหลือคำถามที่สองคือ และทำไมเอาสิ่งนี้ เรื่องนี้ดีอย่างไร ผมว่าอันนี้คล้ายคำตอบส่วนที่สองว่ามันเป็น บุญอย่างไรของสังคม ก็คือต้องคำนึกว่า ซึ่งเราลืมไปผมว่าหลายคนในสังคมศาสตร์ลืม หรือคิดว่าเป็นอีกมิติ แต่ผมว่ามันแยกไม่ออกคือ เราคือ สัตว์ผมว่านี่สำคัญ เราเป็นสปีชีส์หนึ่ง คือ โฮโมซาเปียน (Homo sapiens) สปีชีส์ต่างๆ มีลักษณะต่างกันแต่ละสปีชีส์บางอันก้าวร้าว บางอันไม่ก้าวร้าว บางสปีชีส์ช่วยเหลือกัน บางสปีชีส์ไม่ช่วยเหลือกัน โดดเดี่ยว

แล้วสปีชีส์เราคืออะไรโดยธรรมชาติ ไม่ใช่คืออะไรโดยการพัฒนาเพราะอยู่ร่วมกันแล้วส่งต่อให้ลูกหลาน โดยลูกหลานไม่ได้ต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านั้น ลักษณะบางอย่างของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นบนด้วยฐานของความจำเป็นบางอย่างของ วิธีคิดว่าจะอยู่ร่วมกัน แต่พออยู่ต่อไปลืมไปว่าทำไมถึงใช้การปฏิบัติต่อกันแบบนี้ แล้วส่งต่อกันไปเฉยๆ เรียกว่า การส่งต่อคุณค่าแต่คนที่ได้รับคุณค่านี้อยู่ในบริบทใหม่ ไม่เคยเจอแบบที่บรรพบุรุษเจอเมื่อพันปีก่อน เลยไม่เข้ากับธรรมชาติเท่าไหร่เพราะรับไปเฉยๆ ถ้าคำนึงว่าอะไรคือธรรมชาติ ผมอาจจะผิดนะ แต่ไม่มีสปีชีส์ไหนไม่เคยลบล้างตัวเองจนหาย การสูญเสียของสปีชีส์ทุกสปีชีส์ คนอื่นจะทำ หรือธรรมชาติทำ เช่น หนาวไป ร้อนไป แต่ผมไม่ทราบว่ามีสปีชีส์อื่นที่ตั้งใจทำลายกันเองจนหายไปหมด เพราะมันขัดกับหลักการอยู่รอดของวิวัฒนาการ

เพราะฉะนั้นเรื่องความรุนแรง ก็เป็นเรื่องถกเถียงกันว่าเป็นธรรมชาติหรือไม่ของโฮโมซาเปียน ก็มีการศึกษาว่ามนุษย์มันก้าวร้าว แต่การศึกษานั้นศึกษาระดับที่ไม่ได้เข้าไประดับชีวะ ศึกษาแค่ระดับพฤติกรรม ถ้าเข้าไปศึกษาระดับชีวะ และดูว่ายังไงอยู่รอด อาจจะเจอแบบที่เจอในหลายสปีชีส์ว่าการร่วมมือ และไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันคือธรรมชาติมากกว่า นี่ถือเป็น Opened Question (คำถามปลายเปิด) นะ

อีกตัวอย่าง ที่ผมลืมพูดเรื่องความรุนแรง อย่างการ์ตูนเกี่ยวกับศาสดาโมฮัมหมัด นักข่าวเดนมาร์กอาจเข้าใจแบบแม่ผม แต่ชาวมุสลิมไม่ได้เข้าใจการ์ตูนศาสดาโมฮัมหมัดแบบนั้น คือสิ่งที่ทำให้เจ็บปวดไม่ใช่ก้อนหินหรือไม้

ทีนี้ บุญของสังคม ความวุ่นวายของความหลากหลายทางคุณค่า ทำให้ตกลงอะไรไม่ได้สักอย่าง ไปเผชิญหน้าบนท้องถนนบ้าง ยิงกันในป่าบ้างแล้วจะเป็น บุญของของสังคมได้หรือ ทีนี้คีย์ตรงนี้สำหรับผมว่าทำไมถึงสำคัญที่ความหลากหลายจะมีอยู่ แต่ต้องจัดการกับมันได้ไม่อย่างนั้นจะยุ่ง คีย์ของ บุญของความหลากหลาย ก็คือทำให้เกิดการทบทวนคุณค่าของตัวเอง ที่จริงคำว่า “Revaluation of Values” อาจเป็นชื่อหนังสือเล่มสุดท้ายของนิชเช่ (Friedrich Nietzsche) พอดี แต่ไม่ได้พิมพ์ นิชเช่ไปเสียก่อน

โดยผมไม่ได้หมายถึง หรืออาจจะใกล้เคียงกับนิชเช่หรือไม่ก็ได้ คือเวลาเรามีคุณค่าอะไรเราต้องทบทวนเพราะต้องตระหนักว่าคุณค่าที่เรามีเรา ไม่ได้เลือก มันติดตัวเรามาจากครอบครัว จากโรงเรียน จากสังคม และคนที่มีคุณค่าต่างกันก็โตมาลักษณะต่างกัน นี่กำลังใช้คำว่า วัฒนธรรมในความหมายกว้าง คือ วิธีการอยู่ร่วมกัน จัดการอย่างไร อะไรสำคัญ ใครดูแลใครในสังคม ดูแลกันเอง หรือมีบางคนเหมาะที่จะดูแลคนอื่นมากกว่า เหล่านี้คือคุณค่าทั้งหมด แต่คุณค่าที่เจอกันที่หลากหลายเดี๋ยวนี้ ส่วนมากไม่ได้เป็นของเราจริงๆ มันจะมีร่องรอยมาจากสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของเราแต่เด็ก บางอย่างปลูกฝังเข้าไปเราไม่รู้ตัว พอโตขึ้นบางอย่างเอาออกได้เพราะเจอประสบการณ์แต่มันก็ติดอยู่

ทีนี้ อะไรจะทำให้ทบทวนคุณค่าของตัวเราเองได้ คนมาพูดไม่ได้หรอกว่าเอ้า ต่อไปนี้ทุกคนทบทวนคุณค่าของตัวเองหมายความว่าอย่างไรก็ไม่รู้ ทำไมบอกให้ทำ ถ้าผมให้การบ้านแบบนี้ว่า เอ้า ทุกคน อาทิตย์นี้ไปทบทวนคุณค่าตัวเองผมว่าถ้าเป็นผมไม่รู้หมายความว่าอย่างไร ถ้าแจงคุณค่าตัวเองได้ ยากหน่อยแต่ผมว่าพอแจงได้ แต่ถ้าบอกว่า ทำอีกอย่าง จัดลำดับความสำคัญ นี่ผมว่ายากขึ้นอีกหน่อย อันไหนสำคัญกว่าอันไหน แต่ถ้าขยันหน่อยช่างคิดก็อาจจะพอทำได้บ้างแต่ยาก ผมก็พยายามแต่ทำไม่ค่อยได้ ครั้งหนึ่งเคยเสนอโครงการตอนอยู่จุฬาฯ ว่า ปีนี้ผมจะจัดลำดับคุณค่าของผม แต่โครงการนี้ไม่ผ่าน ผมก็ไปจัดเองไม่ใช้ของคณะ

แต่ทำไมเราจะต้องจัดลำดับความสำคัญ สำหรับผม สิ่งที่จะทำให้คนทบทวนตัวเองมากสุด คือ การไปเผชิญกับสิ่งต่าง คือทันทีที่ชนกับคุณค่าที่ต่าง โดยเฉพาะถ้าคุณค่าที่ต่างจากเราอยู่ในคนที่เราชอบ ทันทีเรามีปัญหา เราเคารพเขาหรือชอบกัน อยู่ดีๆ มาพบว่า เอ เราคิดต่างกันในบางเรื่องที่สำคัญ มันบังคับให้เราต้องอย่างน้อยถามตัวเองว่า สิ่งที่เราคิดนั้นใช่หรือเปล่า ไม่ได้แปลว่าเราจะเปลี่ยนนะ บางครั้งคิดแล้วก็ว่าเรายังใช่อยู่ เขาคงมีปัญหาอะไรของเขาก็ไม่รู้ แต่อย่างน้อยต้องคิด

และผมได้รับตัวอย่างเยอะมากใน 3-4 เดือนที่ผ่านมา เพื่อให้สะดวกเราเรียกว่า แดง-เหลืองก็แล้วกัน ที่ต้องทบทวนความคิดของตัวเอง เพราะไปพบว่าคนที่ตัวเองคิดว่าเป็นคนดี เขาคิดต่าง พอเราคิดว่าเขาเป็นคนดี แต่ก่อนนี้ไม่เคยคุยเรื่องเหล่านี้ เช่น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมควรจะเป็นอย่างไรหรืออะไร แต่ทันทีที่ไปเจอว่า ไม่เหมือนกัน แต่รู้จักกันมาสิบกว่าปีและเป็นคนดีมาก ไม่ได้คิดวาตัวเองไม่ดีด้วยนะ ก็คือดีหมด แต่ทำไมคิดต่างได้ แปลว่ามีอะไรหรือเปล่า หรือถ้าไม่เปลี่ยน อย่างน้อยอารมณ์ต่อความคิดต่างมันเปลี่ยน ดังนั้นอันนี้ผมคิดว่าเป็น บุญความหลากหลายทางคุณค่าเป็น บุญของสังคม เพราะว่ามันบังคับให้เราทบทวนคุณค่าของเรา เพราะไปเจอะสิ่งที่ต่างจากเรา

จริงๆ สำหรับผมเอง ไม่คิดว่าเป็นประโยชน์ที่ไปกลบ (คุณค่าที่ต่าง) ไม่ให้ปรากฏหรอก อยากให้ปรากฏเยอะๆ แล้วปรากฏแล้วเราเจอสิ่งที่ต่างจากเราในคนที่เราคิดว่าเป็นคนดี ก็จะเกิดการ “Revalued” ทบทวน ทีนี้จะทำไปทำไม “Revaluation of Values” มันก็กลับไปที่เรื่องชีววิทยา มันคล้ายๆ อย่างนี้ หลายคนที่ต่างคุณค่า เข้าใจว่าต่างคุณค่า เพราะพอพูดกันเห็นต่างกัน แต่ตัวเองจริงๆ ไม่ค่อยแน่หรอกว่านี่คือคุณค่าของตัวเอง เพราะโตมาตั้งขนาดนี้ เพราะมันเหมือนกับเอามาใส่ในกล่องแล้วเขย่า ถ้าเขย่ามันอาจลงไปในที่ที่เป็นธรรมชาติหน่อย และความแตกต่างไม่ชัด เพราะที่ธรรมชาติก็คือเขย่าวัฒนธรรมออก ให้เหลือลักษณะของ Homo sapiens ซึ่งเป็น สปีชีส์ ลักษณะตามธรรมชาติ อย่างอื่นไม่ได้แปลว่าหายไป แต่เราก็พัฒนาอะไรหลายอย่างมาตลอดวิวัฒนาการเชิงสังคม แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญไม่ให้ความสำคัญมากเกินไป ไม่ใช่ว่าต้องฆ่ากันเพื่อรักษาสิ่งซึ่งมาทีหลังเราเป็นมนุษย์ มันเป็นของเสริมความเป็นมนุษย์เท่านั้นนะพวกนี้ มันไม่น่าจะสำคัญพอที่จะฆ่ากันสำหรับสิ่งนั้น สิ่งที่อยู่ร่วมกันต้องหาความเหมือนกัน แต่มันต้องมาเขย่าหน่อย และผมคิดว่ามันเป็น บุญตรงนี้

ตราบใดที่มีความหลากหลายทางคุณค่า ถึงแม้ดูอึดอัดและจะทำให้ปะทะกัน ถ้าปล่อยให้มันเป็นไป ด้วยการควบคุม “Meta-level Value” จากอันเดิม “Meta-level Value” ที่ว่า ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้เวลาเขย่า ให้มันตกตะกอน แต่ถ้าไม่ตกตะกอนแต่ฆ่ากันตายหมดก็จบ ฉะนั้นต้องมีคุณค่าอีกอย่างหนึ่งก่อน ทีนี้ผมก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ซึ่งยังตอบปัญหาพวกนี้ไม่ค่อยได้ แต่หลังจากนี้เราจะได้คุยกันต่อ ก็ขอจบเท่านี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น