สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

“สภาการศึกษาทางเลือก”: ไฟต์บังคับของภาคประชาชน

20 กันยายน, 2010 - 12:39 | โดย prasart

ประสาท มีแต้ม

คำว่า ไฟต์บังคับ เป็นภาษาในวงการมวย หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้

การเกิดขึ้นของ สภาการศึกษาทางเลือก ก็ทำนองคล้าย ๆ กัน คือถูกสถานการณ์บังคับว่า สภาฯนี้จะต้องทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ หนุนช่วย รวมทั้งผลักดันนโยบายในระดับรัฐ ตลอดจนทำความเข้าใจกับสังคมว่า ผู้ที่ไม่พอใจกับระบบการศึกษาที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ หรือผู้ที่ลูกของตนไม่ยอมไปโรงเรียนนั้น พวกเหล่านี้มีทางออก และสามารถจัดการศึกษาตามความต้องการของตนเองได้


คำว่าการศึกษาทางเลือกเป็นคำที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกกฎหมายมารองรับแต่อย่างใด


สภาการศึกษาทางเลือกจึงเกิดขี้นชนิดที่เป็นไฟต์บังคับดังที่กล่าวแล้ว

เมื่อ 31 สิงหาคม 53 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม สภาการศึกษาทางเลือก ครั้งที่ 1” ซึ่งจัดโดยเครือข่ายคนทำงานด้านการศึกษาทางเลือกทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่าหนึ่งร้อยคน ผมเองไม่ได้มีตำแหน่งใดสภาการศึกษาทางเลือก แต่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรเล็ก ๆ ในเครือข่ายที่ชื่อว่าศูนย์พลเมืองเด็กสงขลาจึงขอถือโอกาสนี้นำเรื่องราวมาเล่าให้ท่านผู้อ่านประชาชาติธุรกิจดังนี้


ท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยว่า การศึกษาทางเลือก คืออะไร ผมขอเรียนว่า นอกจากจะเป็นคำถามที่ตอบยากในเนื้อที่อันจำกัดแล้ว ในที่ประชุมเองก็กำลังครุ่นคิด ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในเรื่องนิยามนี่แหละครับ


ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่สังคมไทยรู้จักกันดี เช่น คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (วัยกว่า 80 ปี) แห่งโรงเรียนดรุณสิขาลัย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แห่งโรงเรียนสัตยาไสย รศ. ประภาภัทร นิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ คุณครูรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กเมื่อ 30 ปีมาแล้ว เป็นต้น


ดร.อาจอง กล่าวว่าระบบการศึกษาไทยล้มเหลวมาตลอด เพราะเน้นการสร้างคนเก่ง เน้นการแข่งขันเพื่อเอาชนะ มีการกวดวิชากันมาก แต่คนเก่งก็สร้างปัญหาเพื่อเอาชนะคนอื่นให้ได้ ปัญหาของประเทศนี้มาจากคนเก่ง ความจริงเด็กทุกคนมีศักยภาพ ถ้าเราพัฒนาเขาถูกต้อง แต่ถ้าเราให้เขาศึกษาตามที่เราชอบ เขาก็จะไม่รู้จักตนเอง


รศ.ประภาภัทร กล่าวว่าเพราะกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างนี้ จึงได้ผลักให้พวกเราต้องมาอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ เราต้องมาจัดการศึกษาทางเลือกของพวกเราเอง


หากพิจารณาในภาพรวม จากรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2551/2552 ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า

การจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ ผ่านมายังไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากพอที่จะไปแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศใเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้


ข้อมูลเหล่านี้คงมีเหตุผลพอที่จะทำให้คนจำนวนหนึ่งต้องลุกขึ้นมาจัดการศึกษากันเอง และบางส่วนได้ทำมาอย่างยาวนานแล้วด้วย


ข้อมูลล่าสุดที่ผมได้รับ พบว่า คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของเด็ก ม.6 ทั่วประเทศ เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 18% ทำนองเดียวกัน ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่ได้จัดทดสอบความรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นให้กับนักศึกษา ชั้นปีที่หนึ่ง(ที่สอบเข้ามาได้แล้ว) ก็สอบเป็นการวัดความรู้เบื้องต้นจริง ๆ แค่บวก ลบเศษส่วน การกระจายวงเล็บและแทนค่าฟังก์ชัน ผลการทดสอบพบว่า มีนักศึกษาผ่านระดับ 50% เพียงแค่ร้อยละ 19 จากทั้งหมดประมาณ 600 คน


เท่าที่ผมทราบจำนวนครอบครัวที่ไม่ยอมส่งลูกไปโรงเรียนและเปิดสอนด้วยตนเอง ที่บ้าน (homeschooling) นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีจำนวนถึงกว่า 2 ล้านคนหรือกว่า 2.7% ของเด็กทั้งหมด


สิ่งที่ผมประทับใจมากและนำมาเล่าในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ระหว่างพักการประชุม ผู้จัดได้นำวิดีโอซึ่งเป็นหนังสารคดีสั้น ๆ ออกมาฉาย คือเรื่อง Children Full of Life ซึ่งผมขอแปลว่า โรงเรียนชีวิตของเด็กญี่ปุ่น ท่านผู้อ่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตได้ที่ (http://www.arsomsilp.ac.th/?p=3298) ซึ่งเป็นความกรุณาของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ พร้อมด้วยคำบรรยายสั้น ๆ พอเข้าใจด้วยอักษรไทย


ผมตัดสินใจนำเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะต้องการขยายผลครับ สิ่งดี ๆ เราต้องช่วยกันขยายครับ


เหตุเกิดกับชั้นเรียนชั้น ป 4/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ถ่ายทำเมื่อปี 2546 ผู้ถ่ายได้นำกล้องไปติดไว้ในชั้นเรียนตลอดทั้งปี ดังนั้นท่าทางการแสดงออกของเด็ก 10 ขวบจึงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมาก ไม่ใช่การแสดง แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง สารคดีชิ้นนี้ผลิตโดย NHK และได้รับรางวัล Global Television Grand Prize


ครูประจำชั้นได้ตั้งเป้าหมายพื้นฐานไว้ว่า ในชั้นเรียนผู้เรียนต้องมีความสุขและเราจะร่วมกันดูแลคนอื่นได้อย่างไร

วิธีการของครูประจำชั้น (ครูโตชิโร คานาโมริ) ก็คือ ให้เด็กทุกคนเขียนบันทึกทุกวัน แล้วนำมาอ่านดัง ๆ หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง กติกาก็คือต้องเขียนเรื่องจริงที่เป็นความรู้สึกจริง ๆ มาจากภายในของตนเอง


ด้วยกระบวนการเช่นนี้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเพื่อทำให้เห็นจริงถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ผู้อื่น ครูคานาโมริบอกว่า ความรู้สึกที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก


ผมจดคำพูดนี้มาได้ตั้งแต่การชมครั้งแรก ผมพูดในเวทีการศึกษาทางเลือกว่า ประโยคที่ว่านี้ไม่สามารถสอนกันได้ด้วยตำราเล่มใดในโลก นอกจากการเผชิญกับประสบการณ์จริง


เด็กคนหนึ่งพูดถึงความตายของย่าของตน ส่งผลให้เด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งต้องสูญเสียพ่อของเธอ แต่เธอไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เธอเก็บความทุกข์มาครึ่งชีวิตเพราะเกรงว่าเพื่อนจะรู้ว่าตนไม่มีพ่อเหมือน เพื่อน ๆ คนอื่น แต่หลังจากนั้นเธอก็กล้าพูดถึงพ่อของเธออย่างภูมิใจและมีความสุข กระบวนการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ


มีอยู่ตอนหนึ่ง เด็ก ๆ ตื่นเต้นมากที่จะได้ล่องแพที่พวกเขาร่วมกันทำมันขึ้นมาเอง หลายคนสมัครใจมาโรงเรียนเช้ากว่าปกติเพื่อมาทำกิจกรรมทำแพ


แต่มีเรื่องที่คิดไม่ถึงเกิดขึ้น เมื่อเด็กคนหนึ่งถูกครูทำโทษไม่ให้ล่องแพเพราะชอบคุยในชั้นเรียน ครูเตือนแล้วก็ไม่ฟัง ปรากฎว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของครู


มันเป็นเรื่องอันตรายมากที่ จะลุกขึ้นมาท้าทายกับอำนาจ
แต่เพื่อน ๆ ก็มีความกล้าที่จะแสดงเหตุผลกับครู

รุนแรงเกินไป ก็แค่คุยในห้องเรียนเท่านั้น” “มันไม่ใช่แพของครู” “การคุยในชั้นเรียนกับการทำแพมันเป็นคนละเรื่องคนละเหตุการณ์และอื่น ๆ อีกเยอะที่เป็นเหตุผลของเด็ก ๆ พวกเขาจะไม่ยอมล่องแพ หากว่าเพื่อนคนนี้ต้องยืนรอริมฝั่ง ในที่สุดครูประจำชั้นก็เห็นด้วยกับเหตุผลของเด็ก และอนุญาตให้เพื่อนคนนั้นล่องแพได้


สารคดีชุดนี้มี 5 ตอน แต่ละตอนยาวไม่ถึง 10 นาที แม้บางตอนผมได้ชมมา 3 ครั้งแล้ว แต่ก็ยังอยากดูอีก เพราะยังเก็บรายละเอียดที่สำคัญได้ไม่หมด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจับมาได้ก็คือ ในชั้นเรียนเด็ก ๆ นั่งกันตามสบาย บางคนวางเท้าบนเก้าอี้ ครูก็ไม่ว่าอะไร


อย่าลืมนะครับ ติดตามชมสารคดีรางวัลระดับโลกกันแล้วจะเกิดแง่คิดทางปัญญาที่ลึกซึ้งของ ชีวิตสำหรับคนทุกคนทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะกับเด็กเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น