เอกสาร หลักฐานหัวข้อที่กำหนดเพื่อการฟ้องร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศที่ขัดกับ สัญญาเจนีวาและธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
การ ให้พี่น้องในโลกไซเบอร์ร่วมกับองค์กรต่างๆช่วยกันสร้างประชาธิปไตยและความ ปรองดองอย่างสันติวิธีด้วยการให้ ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสอบสวนและสร้างความสมานฉันท์
แนวทางในขั้นต้นคือการนำหัวข้อต่างๆที่จะได้กล่าวต่อไป ไปสร้างเป็นรายละเอียดในห้องกระทู้เพื่อรวบรวมหลักฐานต่างๆ อย่างเป็นระบบ เวบไซท์ไหนที่มีผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษอยู่ก็อาจทำการแปลโดยยึดศัพท์ของสห ประชาชาติและธรรมนูญกรุงโรม อย่างไรก็ตามหากได้รวบรวมข้อมูลตามลำดับที่ได้กล่าวต่อไปนี้แล้ว ก็จะทำให้ทุกอย่างอยู่ในรูปแบบเดียวกันและง่ายในการฟ้องร้องต่อไป
การจะเกิดการฟ้องร้องโดย ICC (ศาลอาญาระหว่างประเทศ : International Criminal Court) มีเงื่อนไขดังนี้
มีพื้นฐานทางกฎหมายคือเขตอำนาจศาลและผิดกฎหมาย ดังนั้น ต้องให้สหประชาชาติมีมติมอบหมายให้ศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินการและมีหลัก ฐานว่าผิดกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดจน หรือ รัฐสภาไทยให้สัตยาบันก่อน ถ้ายังต้องเสนอผ่านสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้ดำเนินการเสนอเป็นมติสห ประชาชาติ
ต้องเป็นไปเพื่อความยุติธรรม หมายความว่าต้องหาหลักฐานพิสูจน์ว่ามีระบบสองมาตรฐานในไทยจริงและไม่มีฝ่าย ใดอำนวยความยุติธรรมได้จริง ดังนั้นหลักฐานทางเอกสารและภาพถ่ายที่เป็นกลางจึงจำเป็นมาก
หมายเหตุ : ความผิดหนึ่งอาจเกิดขึ้นหลายหัวข้อดังนั้นอาจใส่รูปและหลักฐานต่างๆได้หลาย แห่งด้วยกัน แต่การใส่ข้อมูลตามลำดับอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบ กับความผิดง่ายและรวดเร็ว
*****************
หัวข้อที่กำหนดเพื่อการฟ้องร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ศาลโลกต่อบุคคล)
1 กำหนดเป้าหมายศัตรูต่อประชาธิปไตยเป็นรายบุคคลและหน่วยงานอย่างชัดเจนเพื่อ ไม่ให้การกระทำของฝ่ายประชาธิปไตยกลายเป็นการละเมิดต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ (ทั้งทหาร พลเรือน และพันธมิตรที่ยุยงให้เกิดความรุนแรง รวมถึงการใส่ร้ายป้ายสีในรูปแบบต่างๆ และการลงโทษ ทรมานหรือเหยียดหยามต้องมีหลักฐานชัดเจนเพื่อกำหนดเป็นศัตรูต่อประชาธิปไตย)
2 การผิดต่ออนุสัญญาเจนีวาของฝ่ายทหาร
2.1 หลักฐานการสังหารประชาชนโดยเจตนา (การยิงวิถีราบ การเห็นภาพถูกยิงและมีภาพผู้ยิง)
2.2 หลักฐานการสังหารเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่รับรองโดยกาชาด
2.3 หลักฐานการสังหารพระ นักเทศน์ ทำลายโรงเรียน วัด โบสถ์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์
2.4 หลักฐานการปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์แล้วยิงใส่ประชาชน
2.5 หลักฐานการปลอมตัวเป็นพลเรือนแต่ติดอาวุธทางทหาร
2.6 หลักฐานการลบเครื่องหมายทหารจากรถและอุปกรณ์เพื่อให้เข้าใจผิดว่าไม่ใช่ทหารประจำการ
2.7 หลักฐานการกระทำโดยเจตนาให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทำอันตรายต่อสุขภาพและร่างกาย
2.8 หลักฐานการสั่งโจมตีต่อพลเรือนโดยไม่เลือกเป้าหมายที่เป็นคู่ปรปักษ์โดยตรง
2.9 หลักฐานการสั่งให้โจมตีเป้าหมายอาคารทางพลเรือนที่ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร
2.10 หลักฐานการสั่งให้โจมตียานพาหนะที่ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม(รถพยาบาล รถบรรเทาทุกข์)
2.11 หลักฐานเป็นเสียงว่าให้โจมตีต่อพลเรือน[/u]หรือวัตถุดังกล่าวข้างต้นและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
2.12 หลักฐานการสังหารหรือยิงพลเรือนที่เคยมีอาวุธแล้ววางอาวุธแล้ว
2.13 หลักฐานเป็นเสียงการประกาศว่าจะไม่มีการไว้ชีวิต (เขตใช้กระสุนจริง)
2.14 หลักฐานให้ศาลยุติธรรมไม่รับทำคดีที่ประชาชนมีสิทธิและไม่ได้รับความยุติธรรม
2.15 หลักฐานการใช้อาวุธวิถีโค้ง เช่นปืนใหญ่ ปืนครก จรวด ซึ่งทำให้เกิดการล้มตายจำนวนมาก
2.16 หลักฐานการพูด เย้ยหยัน ให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เช่นคำว่าไพร่ พวกรกโลก ฯลฯ
2.17 หลักฐานการข่มขืน กระทำชำเรา
3 การกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามมาตรา 7 ของธรรมนูญกรุงโรม
3.1 หลักฐานการสั่งการให้กระทำอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ เช่นมีคำสั่ง มีแผน และระดมทหารเป็นหมวดหมู่และกระทบต่อพลเรือนจำนวนมาก ซึ่งพลเรือนนี้หมายถึงทุกคนไม่จำกัดที่กลุ่มผู้ชุมนุม (บ่อนไก่ ดินแดง)
3.2 หลักฐานการที่ทหารรู้ว่าการกระทำนั้นมีผลทำให้เกิดการเสียชีวิต
3.3 หลักฐานการจำคุกพลเมืองโดยการลิดรอนเสรีภาพ การทรมานเช่นการล่ามโซ่นักโทษการเมือง
3.4 หลักฐานว่ามีการรังควาญเป็นการเฉพาะต่อกลุ่มการเมือง ศาสนา ชาติพันธุ์ เช่นคำว่าไพร่ การมีเป้าต่อเสื้อแดงโดยเฉพาะและยกเว้นฝ่ายของตนเอง โดยขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องมนุษยธรรม
3.5 หลักฐานการทำให้บุคคลสาบสูญ
3.6 หลักฐานการกระทำให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ ต่อร่างกายและจิตใจอื่นๆอย่างสาหัส
3.7 หลักฐานการไล่ล่าสังหารหลังการชุมนุมไปจนถึงปัจจุบัน
3.8 หลักฐานการสั่งการของรัฐ องค์กรและผู้อยู่เบื้องหลังทั้งที่เป็นองค์กรและไม่เป็นองค์กร
4 การลบล้างข้อแก้ตัวของฝ่ายทหาร
4.1 ต้องหาหลักฐานมายืนยันให้ได้ว่าทหารรู้ว่าเป็นความผิดซึ่งหมายถึงเป็นการกระทำเป็นระบบหรือเป็นหน่วยทหารและกว้างขวางคือครอบคลุมพลเรือนจำนวนมากและกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือองค์กรเช่นกองทัพ
4.2 ต้องหาหลักฐานยืนยันว่า การชุมนุมหรือการต่อสู้ของกลุ่มพลเรือนนั้น ไม่ได้เป็นอันตรายที่ใกล้ถึงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยแสดงว่าอาวุธของทหารนั้นเหนือกว่าและยิงจากระยะไกล รวมถึงผู้เสียชีวิตฝ่ายพลเรือนที่นอนอยู่ไม่มีอาวุธ
4.3 ต้องหาหลักฐานยืนยันว่า ทหารยิงไม่เลือกหน้า (คำพูดของผู้สื่อข่าวฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และเยอรมัน พูดชัดเจน)
4.4 ต้องหาภาพแสดงว่า ทหารมีการเคลื่อนที่เข้ามาในลักษณะเป็นหน่วยทหาร ไม่ใช่ต่างคนต่างมาเพื่อ ลบล้างข้อแก้ตัวที่ว่าใกล้ต่ออันตราย เพราะการเคลื่อนที่มาเป็นหน่วยจำนวนมากนั้นย่อมมีอำนาจการยิงสูงกว่าพลเรือน อย่างแก้ตัวไม่ได้
4.5 หาหลักฐานว่าทหารสมัครใจในการยิงต่อพลเมืองหรือไม่ เช่นคำว่า “มีคนหรือยิงเลยๆ” “ไอ้พวกรกโลก” ถ้าไม่ได้เสียง ก็ให้มีการรวมกลุ่มพยานให้สัมภาษณ์ไว้เป็นคลิปหลักฐาน
5 หลักฐานการออกคำสั่งปฏิบัติการอย่างเป็นแบบแผนของฝ่ายทหารและฝ่ายการเมือง
5.1 มีหลักฐานเป็นเอกสารสั่งการหรือไม่และเอกสารนั้นได้ห้ามมิให้ทหารใช้อาวุธสังหารพลเรือนหรือไม่
5.2 มีหลักฐานว่าผู้บังคับบัญชาทหารได้ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามการสังหารพลเรือนหรือไม่
5.3 มีหลักฐานว่าระหว่างปฏิบัติการตั้งแต่ 10 เมษายน 2553 มีการสั่งห้ามทหารใช้อาวุธสงครามหรือไม่ ต้องหาหลักฐานว่าไม่มีการดำเนินการป้องการเหตุดังกล่าวมาแล้วเลยและมีการสนับสนุนให้ใช้อาวุธสงครามเช่น การกำหนดเขตใช้อาวุธจริง
5.4 มีหลักฐานรายชื่อบุคคลและหน่วยงานที่ทำงานให้กับ ศอฉ. และ ทหารที่เข้าปฏิบัติการเพื่อแยกแยะออกจากพลเรือนและทหารทั่วไป
6 หลักฐานระบบสองมาตรฐานในประเทศไทย
7 หลักฐานการแตกแยกไม่สามารถเชื่อถือฝ่ายใดได้ในประเทศไทย
8 ผู้เสียหาย
8.1 ผู้เสียหาย ช่องทางรวบรวมรายชื่อผู้เสียหายทั้ง 20 ล้านคนแยกเป็นกรณีต่างๆ ผู้เสียหายนี้รวมผู้ที่ถูกกระทบทางจิตใจหรือแม้แต่ต้องมาเป็นพยานในคดีนี้ด้วย
8.2 ผู้เสียหายภายนอก เช่นผู้ที่เป็นเจ้าของสถานที่ถูกทำลาย (เช่น เซ็นทรัลเวิร์ล ฯลฯ ที่ถูกเผาหลังจากทหารเข้าควบคุมพื้นที่แล้ว) โดยมีหลักฐานชัดเจน
9 การเรียกร้องค่าชดเชย
9.1 หลักฐานแสดงการถูกทำร้ายร่างกายให้รีบบันทึกไว้ก่อนที่จะหมดสภาพ
9.2 หลักฐานการเสียชีวิตและสูญหายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายสำหรับญาติและครอบครัว
9.3 หลักฐานแสดงความคับแค้นและทุกข์ใจของญาติผู้เสียชีวิตเป็นรายบุคคลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
9.4 หลักฐานความคับแค้นทางจิตใจของผู้ถูกทำร้ายบาดเจ็บทั้งสองพันคน
9.5 หลักฐานความคับแค้นทางจิตใจของผู้หลบหนีจากการทำร้ายไปได้ไม่บาดเจ็บ เพื่อขอรับค่าชดเชยทั้งสามแสนคน
9.6 หลักฐานความคับแค้นทางจิตใจของผู้ที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยแต่รอดจากการถูกทำร้ายเพื่อขดรับค่าชดเชยเฉพาะด้านจิตใจที่หวาดกลัวและเสียขวัญทั้งสามแสนคนแต่ไม่ซ้ำกับกรณีข้างต้น
9.7 หลักฐานความคับแค้นทางจิตใจของผู้ที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ได้ร่วมในวันสลายการชุมนุม แต่ก็มีความหวาดกลัวและกระทบทางจิตใจเพื่อขอรับค่าชดเชย ทั้งหลายล้านคนที่เหลือ
10 ช่องทางการฟ้องร้อง
10.1 เสนอผ่านสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อ ให้สหประชาชาติมีมติมอบหมายให้ ศาลอาญาระหว่าประเทศทำการสอบสวนเหตุการณ์ในประเทศไทย โดยต้องมีรายชื่อผู้เสียหายจำนวนเป็นล้านๆคน หรือ หลายๆแสนคนส่งไปยังทนายที่ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรได้ว่าจ้างไว้ เพื่อเสนอไปยัง 15 ชาติ 2010 สมาชิกถาวรได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีนและรัสเซีย สมาชิกตามวาระได้แก่ ออสเตรีย บอสเนีย บราซิล กาบอง ญี่ปุ่น เลบานอน เม็กซิโก ไนจีเรีย ตุรกี อูกันดา ทั้งนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงในปลายปี 2010 ที่ต้องหมดวาระได้แก่ ออสเตรีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก ตุรกี และอูกันดา ประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาทดแทนได้แก่ เยอรมนี คานาดา โปรตุเกส ไนจีเรีย อินเดีย ฟิจิ และ ฟิลิปปินส์ ในกรณีนี้ ประเทศที่ไม่ได้ให้สัตยาบันกับ ICC ได้แก่ สหรัฐ รัสเซ๊ย จีน ไนจีเรีย ญี่ปุ่น อินเดีย น่าจะงดออกเสียง อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นอาจเข้ามาร่วมสนับสนุนได้เพราะนักข่าวของตนเสียชีวิต ส่วนไนจีเรียมีปัญหาภายในประเทศอาจคัดค้านหรืองดออกเสียง ส่วนประเทศที่น่าจะให้การสนับสนุนการสอบสวนในไทยได้แก่ เยอรมนี คานาดา บอสเนีย บราซิล ฟิลิปปินส์ ซึ่งจะต้องหาสมาชิกให้การสนับสนุนอย่างน้อย 8 ประเทศ จาก 15 ประเทศ หรืออาจน้อยกว่าได้ถ้าส่วนใหญ่งดออกเสียง สำหรับ รัสเซียเคยมีกรณีเห็นด้วยกับการสอบสวนในประเทศซูดาน ดังนั้นในกรณีประเทศไทยอาจให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน แต่การส่งหลักฐานต้องส่งไปยังผู้แทนที่เป็นสมาชิกอยู่หรือกระทรวงการต่างประ เทศของแต่ละประเทศที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกตั้งแต่บัดนี้
ต่อไปนี้เป็นกรณีสภาความมั่นคงอ้างต่อสหประชาชาติสำหรับการเข้าไปแทรกแซงกรณีซูดานทั้งๆที่ซูดานยังไม่ได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม
“the need to promote healing and reconciliation and encourages in this respect the creation of institutions, involving all sectors of Sudanese society, such as truth and/or reconciliation commissions, in order to complement judicial processes and thereby reinforce the efforts to restore long-lasting peace, with African Union and international support as necessary;”
ของไทยให้เปลี่ยนจาก with African Union ไปเป็น in Thailand
(กรณีประเทศไทยได้ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ดังนั้นพรรคการเมืองในไทยควรจะหาทางออกให้ประเทศเพื่อให้เกิดการแสวงหาความ จริงและความปรองดองด้วยการให้ ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาดำเนินการด้วยวิธีง่ายๆคือ รัฐสภาที่จริงใจต่อประชาชนให้สัตยาบันต่อการลงนามในธรรมนูญกรุงโรมเท่านั้น หน่วยงานที่เป็นกลางก็จะเข้ามาสอบสวนหาข้อเท็จจริงและนำผู้ทำผิดกฎหมายมาลง โทษตามกระบวนการยุติธรรมที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบางพรรคการเมืองและนัก วิชาการฝ่ายสนับสนุนการมีคุณธรรมเรียกร้องอยู่ตลอดมา)
เมื่อสหประชาชาติมีมติแล้วหรือรัฐสภาไทยมีมติให้สัตยาบันแล้วให้ส่งข้อมูลข้างต้นไปยังอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศทันที
จากนั้นผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้องให้ร้องขอการคุ้มครองพยานจากศาลอาญาระหว่างประเทศโดยเร็วที่สุด
ร้องขอเข้าสู่โครงการเยียวยาและช่วยเหลือผู้เสียหายเพื่อให้ครอบครัวมีราย ได้และประคองชีวิตได้ไปพลางก่อนที่จะได้รับชดเชยค่าเสียหาย
ผู้เสียหายทุกรายต้องกรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่ ศาลอาญาระหว่างประเทศกำหนด ดังนั้นต้องรวบรวมรายชื่อ และที่อยู่ของผู้เสียหายตั้งแต่บัดนี้เพื่อมิให้เมื่อมีโอกาสชนะคดีแล้วมีคน ปลอมเข้ามารับผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ (ค่าเสียหายน่าจะมีมูลค่าสูงเพราะความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจตามมาตรฐาน ยุโรปนั้นสูงมาก)
สิทธิของผู้เสียหายนั้นจะได้ทั้ง ค่าเสียหาย ค่าชดเชย ค่าเยียวยา ทั้งสามประการ ดังนั้นขอให้มีผู้รักประชาธิปไตยเป็นตัวแทนดำเนินการเรื่องดังกล่าวนี้ใน ประเทศไทยและประสานงานกับทนายผู้เป็นตัวแทนผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด โดยติดต่อผ่านทางพรรคการเมืองให้น้อยที่สุดเพราะฝ่ายการเมืองมักจะมีความ โน้มเอียงทางการเมืองมากกว่าและเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการช่วยเหลือผู้รัก ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
จำเลยที่ถูกสอบสวนนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองในฐานะพิเศษใดๆทั้งสิ้น และจะถูกดำเนินคดีในฐานะบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง
การเสนอเข้าสู่ สภาความมั่นคงให้ใช้หัวข้อ SERIOUS VIOLATIONS OF INTERNATIONAL HUMANITARIAN LAW COMMITED IN THAILAND.
โดยอำนาจที่สหประชาชาติให้ไว้คือ Chapter VII of the United Nations Charter sets out the UN Security Council's powers to maintain peace. It allows the Council to "determine the existence of any threat to the peace, breach of the peace, or act of aggression" and to take military and nonmilitary action to "restore international peace and security". โดยให้สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถมีมติในกรณีที่มีภัยคุกคามต่อ สันติภาพในรูปแบบต่างๆและการกระทำที่เป็นการรุกราน ทั้งสามารถให้มีการแทรกแซงทางทหารและไม่ใช่ทางทหารในประเทศสมาชิกได้
สิ่งที่สังคมไทยจะทำได้อย่างสันติที่สุดคือการเรียกร้องให้รัฐสภาให้ สัตยาบันกับธรรมนูญกรุงโรมแล้วเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงและการสมานฉันท์ จะเกิดอย่างเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุด แต่ถ้าหากไม่สามารถทำได้ก็คงเป็นแนวทางการจลาจลอย่างรุนแรงและกว้างขวางโดย มีเครือข่ายองค์กรที่ไม่มีแกนนำชัดเจนหรือเป็นรูปองค์กรแบบราชการอีกต่อไป เพื่อให้สหประชาชาติเข้าแทรกแซงและไม่จำเป็นต้องยอมแพ้เร็วอีกต่อไปแล้ว
สรุป
เพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรงในสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นและเป็นการสร้างความ ยุติธรรมและปรองดองขึ้นในสังคมไทย การให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสอบสวนกรณีการสลายการชุมนุมจึงมีความจำ เป็นและจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการซ่อนรูปไปเป็นประชาธิปไตย อย่างเต็มรูปแบบได้โดยสันติวิธี จึงขอเสนอให้ทุกภาคส่วนสร้างเวบไซท์ที่มีหัวข้อต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และทำการส่งลิงค์ไปให้ นาย Alexander ที่ได้ออกตัวเป็นตัวแทนของผู้เสียหาย เพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้หลักฐานต่างๆต้องรีบรวบรวมเป็นการเร่งด่วน ทั้งต้องมีการมอบอำนาจจากประชาชนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำวนเป็นล้านคนเพื่อ ให้เกิดน้ำหนักต่อสหประชาชาติต่อไป และเมื่อสังคมไทยมองเห็นช่องทางแห่งความหวังนี้ การตื่นตัวและการรวมตัวเพื่อความยุติธรรมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
*****************
เมื่อได้ภาพรึมีหลักฐานดังกล่าวสามารถนำมาจัดเรียง ตามหมวดรึเพิ่มเติมในกระทู้ข้างล่างนี้
http://www.powerdmc2.org/board/forumdisplay.php?fid=19
http://www.powerdmc2.org/board/viewthread.php?tid=362
http://www.internetfreedom.us/showthread.php?tid=7707
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น