Wed, 2010-09-01 16:45
ชัยพงษ์ สำเนียง
1
“...สิ่ง ที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดคือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่า วันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่า ชีวิตของฉันและพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงาม ที่สุดแล้วในโลกนี้ นั้นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์...”
คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ
จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน
นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ. 1933
เทิด ประชาธรรม(ทวีป วรดิลก) แปล พ.ศ. 2518 [1]
2
ความ เปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างสำคัญที่ถือว่าเป็น จุดเปลี่ยนที่ไม่อาจหวนคืนได้อีกแล้ว และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ที่แลกมาด้วยชีวิต เลือดเนื้อ หยาดน้ำตา รวมถึงมูลค่าที่คิดเป็นตัวเลข(เงิน)ได้ และเป็นตัวเงินไม่ได้อย่างมหาศาล คือ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองของ “คนชายขอบ” ที่เรียกตัวเองว่า “ไพร่”(จะมีแดงหรือไม่ก็ตาม) และไม่อาจสยบยอมต่อ “อำนาจ” ที่มากดขี่ข่มแหง เบียดขับ ดูถูกเหยียดหยามได้อีกต่อไป อันนำมาสู่เหตุการณ์ในเดือนเมษายน พ.ศ.2552 และเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อาจกล่าวได้ว่า “ชีวิต เลือดเนื้อ และจิตวิญญาณที่เสรี” ได้ถูกทำลาย และด้อยค่า อย่างไม่มีอะไรเทียบเทียมได้ ดั่งอาจกล่าวว่า “ชีวิต หนึ่งที่เกิดมาช่างด้อยค่ายิ่งกว่าสัตว์(เดรัจฉาน)เสียอีก”
อาจกล่าว ได้ว่า “มนุษย์” หนึ่งที่เกิดมาช่างด้อยค่าไร้ราคาอย่างไม่อาจเปรียบได้กับ “อะไร”? “การทำร้าย ทำลาย เข่นฆ่า ประณาม หยามเหยียด เบียดขับ” อย่างไม่เห็นค่าความเป็นมนุษย์ “แมลงสาบสังคม”ที่เข่นฆ่าได้อย่างอำเภอใจ ไม่อาจอธิบายอะไรในสังคมไทยได้
เราจะอธิบายคำพูดเหล่านี้ได้อย่างไร เช่น “ความ ทุกข์ยากที่เกิดขึ้นเพราะไปเชื่อคำพูดของพ.ต.ท.
กล่าว ได้ว่าคนในสังคมไทยที่มีความคิดความเชื่อที่เห็นคนอื่นเป็น “สัตว์” ไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย ได้ขยายกว้างออกอย่างน่าตกใจ ดังกรณี มาร์ค V 11 ที่ “หลัง ถูกกระแสกดดันจากการโพสต์ข้อความแสดงความเห็นทางการเมืองในเฟสบุ๊ก ด้วยการใช้ถ้อยคำรุนแรงตำหนิการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของนาย
3
นำมาสู่คำถามว่าเกิดอะไรขึ้น ในสังคมไทย เราขาดความอนาทรร้อนใจ “นิ่งเฉย” “เฉยเมย”“ละเลย” ต่อความเป็นตายของเพื่อนมนุษย์ เราไม่ “ละอาย” ที่ออกมาร้องกู่ก้องให้ “ฆ่าๆๆๆๆๆๆๆๆและฆ่า” กระนั้นหรือ ผมพยายามหาคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคม และคำตอบที่ผมครุ่นคิด กับพบว่าเราไม่อาจหาคำอธิบายอะไรที่แน่น้อยชนได้ ที่พอตอบได้ ผมว่ามี 3-4 ประการ คือ
ประการ ที่หนึ่ง เราท่านมีความเข้าใจต่อ “ประชาธิปไตย”ที่ “สัมพัทธ์”(เป็นธรรมดาที่ประชาธิปไตยมีความหลากหลายในแง่ที่บริบทของการเกิด ใช้ต่างบริบทกัน แต่สิ่งที่ไม่อาจลดทอนได้ หลักการสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ที่เป็นหัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย) คือ เราท่านตีความประชาธิปไตย ในมุมมองของตนเองอย่างอคติ โดยไม่ให้ที่ว่าง ต่อความเห็นต่าง ถ้าใครมีความเห็นต่างจากเราท่านต้องออกมาประหัตประหาร ฆ่าผลาญชีวิต และจิตวิญญาณ รวมถึงความคิด “เขา” ที่ต่างจาก “เรา” เหมือนไม่ใช่ “คน” และเขาผู้นั้นไม่อาจร่วมโลกเราได้อีกแล้ว
เรา ท่าน “ไม่สงสัย” เลยว่าทำไม? “เขา” จึงแตกต่างจาก “เรา” หรือว่าประชาธิปไตยที่เราท่านยึดถือนี้ “ไม่ต้องสงสัย” “ไม่ต้องตั้งคำถาม” “ไม่ต้องงง” หรือในท้ายที่สุด “ไม่ต้องคิด” อะไรที่แตกต่าง ไม่ว่าเกิดอะไร ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า การไม่ตั้งคำถาม ต่ออำนาจ หรืออะไรก็ตาม เป็น “ประชาธิปไตย” ใช่หรือไม่ หรือแค่เห็นต่างไม่อาจร่วมโลก ฉะนั้น “ประชาธิปไตย” ที่เราท่านยึดถือก็คือ “การสยบยอม” “การยอมจำนน” “ผู้นำที่เป็นโอรสสวรรค์” มาช่วยนำพา แค่นั้นนะหรือ
ประการที่สอง จากข้อความใน (2) เราจะเห็นว่าประเทศไทยเราช่างมี “ผีใหญ่” ที่น่ากลัวเสียเหลือเกิน ทั้ง “ผีแดง” “ผีเหลือง” เราท่านต่างมีผีต้นสังกัดที่ไม่อาจให้ใครแตะต้องได้ “ผี” เหล่านี้ช่างมีฤทธานุภาพชักนำ ชี้นำให้ผู้คนไปตายแทนตนได้อย่างที่เราท่านไม่ต้องคิด ซึ่งก็น่าแปลกว่า “ผี” เหล่านั้นมีจริงหรือไม่
แต่ที่น่าแปลกแต่จริง คือ “ผีเหลือง” และเหล่าบริวาร กลับมีความ ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ อิทธิเดช อย่างไพศาลเสียจนไม่อาจให้ผู้ใดอาจเอื้อมแตะต้องได้ ภายใต้ผ้าคลุมของ “คนดี” ที่ดีจริงหรือไม่ดีจริง หรือจริงแบบเทาดำก็ไม่อาจทราบได้ เพราะ “คนดี” ไม่ต้องตรวจสอบ ไม่อาจตั้งคำถามได้
ใน ทางตรงกันข้าม “ผีแดง” ช่าง “เลว” “ทราม” “ต่ำช้า” แม้อาจจะชื่นชม หรือกล่าวถึง “คนผู้นั้น” ก็อาจกลายเป็นสมัครพรรคพวกของ “ผีแดง” หรือ “เลวทรามต่ำช้า” ไม่ต่างจาก “ผีแดง” แม้ผู้นั้นจะติชมด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ตามที ดังคำกล่าวที่ว่า “... คนเหนือคือพี่น้องที่ไอ้ทักษิณพูด คนอีสานคือขี้ข้าไอ้ทักษิณพูด สงสารคนอีสานจังโง่ เห็นแก่เงินเป็นคำพูดของคนส่วนมาก แม่ไรอันทำไมไม่ให้ศิณีนาถและพวกเผาบ้านยายหอม บ้านไรอัน ไปเผาของคนอื่นทำไม เลว โง่ ชาติชั่ว ชาติหมาทั้งตระกูล...ขอให้คนชั่วตระกูลนางศิณีนาถจงตายโหงตายห่าขี้ข้า ทักษิณ ทำไมไม่ไปขอมันมันหนีไปเสวยสุขเมืองนอก มันไม่ผิดมันจะหนีทำไม หลักฐานความชั่วมันเยอะแยะพวกโง่อีสาน ไม่ลืมหูลืมตาบ้าง สนับสนุนคนชั่วมันบาปทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน เมื่อสมัยก่อนคนเหนือใจง่าย ปัจจุบันคนอีสานทั้งใจง่าย โง่ ขายตัวให้เขาหลอกเห็นแก่เงิน ขายชาติ ช่วยเหลือคนผิดสมองไม่มี พวกมึงจะส่งลูกหลานเรียนสูงก็แค่สมองหมา มักติดมาจากบรรพบุรุษไม่สั่งสอนแยกแยะถูกผิดเลวทั้งตระกูล ขี้ข้าทักษิณขอให้พวกมึงจงลงนรกกันไวๆ พวกหนักแผ่นดิน เลียตูดดูดไอ้ทักษิณ เหยียบแผ่นดินอยู่ได้ไง เสียดายเกิดมาครบ 32 ยกเว้นสมองไม่มี...”[5] (การเน้นคำเป็นความตั้งใจของผู้เขียนเอง)
ประการ ที่สาม เรา(คนชั้นกลางเมือง)มองว่าคนในชนบท ไม่ว่าเหนือ อีสาน กลาง หรือใต้ ช่าง “โง่” “จน” “เจ็บ” อย่างไม่น่าให้อภัย ถูกหลอกใช้ได้เหมือน(ควาย) ช่างน่าสงสาร โดยไม่เข้าใจว่าการที่เขาต้องร่อนเร่ พเนจร จากเหย้าจากเรือนมาแสวงหา “ความยุติธรรม ความเสมอภาค และเสรีภาพ” ที่มันยิ่งใหญ่กว่าชีวิตของเขาเหล่านั้น มาเพรียกหา “ความเท่าเทียม”ในสังคม ที่เขาเหล่านั้นถูกเบียดขับ กีดกัน มาอย่างยาวนาน ภายใต้ความลำเอียงของรัฐไทยที่สนใจ “เมือง” มากกว่าชนบท
และ ก็ไม่ใช่คนเมืองนั้นเองหรือที่ดูดซับส่วนเกินจากชนบทอย่างน่าละอาย เสวยสุขบนความทุกข์ยากของคนชนบท และวันใดที่คนชนบทออกมาเรียกร้องหาความ “เท่าเทียม” คุณ(คนในเมือง) ก็ตราหน้าเขาเหล่านั้นว่าถูกหลอกบ้าง โง่บ้าง รับข้อมูลข่าวสารด้านเดียวบ้าง ท้ายสุดเขาเหล่านั้นก็ไม่สมควรเป็น “คน” ถูกฆ่าได้ ทำร้ายได้ ขังคุกได้ โดยผู้ที่กระทำต่อเขาเป็น “อภิ(สิทธิ์)วีรบุรุษ” ท่ามกลางซากศพของ “คน” ที่ต่างจากตน
คน ในเมือง(คนชั้นกลาง)เหล่านี้ไม่อาจให้อภัยได้หรอกครับ เพราะเขาเหล่านี้เป็นผู้ “ออกใบอนุญาตให้ฆ่า” แก่ผู้กุมอำนาจรัฐ มีคนตายมากมาย คนกลุ่มนี้กับยินดีปรีดา สุขใจท่ามกลางศพของพี่น้องร่วมชาติที่เขาไม่ถือว่าเป็นคน
เขาเหล่านั้นดูเบาคน ชนบท ที่ “สำนึกทางการเมือง” ของเขาเหล่านั้นได้แปรเปลี่ยน ผันแปร คนชนบทไม่ได้ “โง่” “จน” “เจ็บ” จนนักการเมืองจากไหนมาหลอกใช้ได้อีกแล้ว เขาเหล่านั้นที่ออกมาต่อสู้ก็เพื่อลูกหลาน คนในรุ่นถัดไป หรือรุ่นเขาเองก็ตาม จะได้สลัดแอกความเป็น “ชายขอบ” ของการพัฒนาที่ลำเอียงของรัฐไทยเสียที
จะ ว่าตามจริงคนชนบทมีปะสาทางการเมืองมากกว่า “คนเมือง/คนชั้นกลาง” ด้วยซ้ำ เขาเหล่านั้นรู้จักเลือก และใช้นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของเขาได้อย่างชาญฉลาดภายใต้เงื่อนไขของการ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือต่อรองผ่านหัวคะแนนเองก็ตามที ต่างจากคนเมืองที่เลือกผู้แทน “ตามกระแส” ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถใช้นักการเมืองได้ แล้วนี่คนในเมือง หรือคนชนบทโง่ก็น่าฉงนอยู่
ประการ ที่สี่ ความอัดอั้น กดดัน ต่อโครงสร้างอันไม่เป็นธรรมต่อสังคมไทย ดูได้จากการถือครองทรัพย์สินของคนในประเทศนี้ที่ทรัพย์สิน(เงินฝาก เงินลงทุน ที่ดิน)เป็นของคนไม่กี่หยิบมือเดียว แม้แต่ที่เรียกว่า “หัวขบวนไพร่”เองก็ตามมีเงินเป็นแสนล้าน การกระจายตัวของทรัพยากรกระจุกตัวอยู่ในเมือง อยู่ในมือของ “อภิสิทธิ์ชน” คนเล็กคนน้อย “จนทั้งเงิน จนทั้งอำนาจ” ดังมีคำกล่าวที่เป็นเสมือนตลกร้ายว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ก็จริงอย่างน่าสมเพดในบ้านนี้เมืองนี้
เรา ต้องยอมรับความจริงในบ้านนี้เมืองนี้ว่าเรามีปัญหาการแย่งชิง เบียดขับทรัพยากร(ดิน น้ำ ป่า ภาษี(เงินงบประมาณ) ความเป็นธรรม เสรีภาพ สิทธิฯลฯอะไรอีกมากมาย) อย่างไพศาล คนที่มีโอกาส(โดยมากก็คือชนชั้นนำ หรือแม้แต่ลูกตาสีตาสาที่กลืนกลายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำก็ทรยศต่อชน ชั้นตัวเองกลายเป็นผู้ขูดรีดอย่างน่าอัศจรรย์) ได้ฉกฉวย ช่องใช้ทรัพยากรอย่างมโหฬาร คนชั้นล่างถูกกดทับเบียดขับอย่างน่าอเนจอนาถ การ “ลุก”ขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมถูกมอง(ใส่ป้าย)ว่าป่าเถื่อน ไร้อารยะ ซึ่งก็น่าคิดว่าการปิดสนามบิน การยึดทำเนียบรัฐบาลของม็อบพันธมิตรมันอารยะตรงไหน ผมพยายามใช้เท้าก่ายหน้าผากคิดก็คิดไม่ออก
กรณี ม็อบพันธมิตร กับม็อบ นปช. เป็นประจักษ์พยาน หรือใบเสร็จอย่างดีของความไม่เป็นธรรม ความไม่เท่าเทียมของสังคมไทยได้อย่างชัดแจ้ง ไม่ต้องอธิบาย ชี้แจงอะไรให้มากความ
รวมถึงคำเยาะเย้ย ถากถาง(ดู 2) ที่คนชั้นล่างได้รับจาก ผู้ที่ให้คำนิยามตนเองว่าเป็นผู้มีการศึกษา เป็นผู้มีความรู้ เป็นชนชั้นกลาง/นำ/อภิสิทธิ์ชน ถ้อยคำหยามหมิ่นนี้แหละที่เป็นพลัง/แรงขับ/แรงกดทับ/ของชนชั้นล่างในการ ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม
การ แย่งชิง การสร้างความหมาย ต่อปฏิบัติการทางการเมืองของคนกลุ่มต่างๆ สุดท้ายนำมาสู่การ “ออกใบอนุญาตให้ฆ่า” ฝ่ายตรงกันข้ามได้ไม่ว่าฝั่งพันธมิตร หรือ นปช.(ดูคำสัมภาษณ์ของจตุพร พรหมพันธุ์ ช่วงพันธมิตรชุมนุมในเหตุการณ์ 7 เมษายน 2550) ซึ่งก็น่าตั้งคำถามว่าเราท่านยอมให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร
ประการ สุดท้าย ชนบทไทยได้เปลี่ยนไปแล้วรวมถึงสังคมไทยเองด้วย เราไม่อาจหวนกลับไปสู่สังคมแห่งชนชั้นที่ไม่เท่าเทียมได้อีกแล้ว นโยบายของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร หรือแม้แต่นโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเอง ก็ได้เปลี่ยนชนบทไทย ให้เป็นชนบทที่ต่างจากเดิม เช่น นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน หรือ SME (ทักษิณ ชินวัตร) เรียนฟรี 15 ปี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินเดือน อ.ส.ม. (ท) น้ำไฟรถฟรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้ทำให้เขาเหล่านั้นได้รับทรัพยากรจากรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้เขาได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เขาเหล่านั้นได้สร้างสำนึกทางการเมืองใหม่(ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองใหม่)ที่ วางอยู่บนฐานของ “ความเท่าเทียม”ไม่อาจทนต่อความลำเอียงของรัฐไทย ไม่อาจยินยอมต่อ “คนชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาล” ได้อีกต่อไป
แต่ ในทางตรงกันข้ามคนในเมือง กับเคยชิน คุ้นเคยกับการเมือง และสำนึกทางการเมืองแบบเก่า ที่คนชนบทไม่มีสิทธิ์มีเสียง โดยใส่ป้ายให้ว่า “โง่” และไอ้โง่นี้แหละกลับมาเย้ วๆๆใน “พื้นที่” กู ทำให้รถติด ห้างไม่เปิด ทำให้วิถีชีวิตกู(คน กทม.)เป็นอัมพาต มาเรียกร้องให้กูกับมึง(เรากับเขา) อยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งที่มึง หูนาตาเถื่อนเสียไม่มี จึงเป็นที่มาของการ “ออกใบอนุญาตให้ฆ่า” อย่างไม่อนาทรร้อนใจของคนในเมือง อย่างไม่ใช่ “คน” อย่างด้านชา เสียไม่มี
4
“คน” คนหนึ่งได้ทอดร่าง สิ้นใจตายท่ามกลางห่ากระสุนที่สาดใส่เขาเหล่านั้น “อย่างกับเป็นแมลงสาบสังคม” ที่ไร้ค่าไร้ราคา ท่ามกลางการอนุญาตให้ฆ่าได้ของคนบางกลุ่ม ชีวิตเหล่านั้นได้ทำให้สังคมไทยที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่อาจหวนคืนได้อีกแล้ว คนชนบท หรือคนชั้นกลางในชนบท (คำของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์) ได้สร้างสำนึกทางการเมืองของตน เห็นค่าของ “เสรีภาพ เสมอภาค เท่าเทียม ยุติธรรมฯลฯ” อย่างที่คนชั้นกลาง/นำ/อภิสิทธิ์ชน ไม่คุ้นชินได้อีกแล้ว แม้จะ “ฆ่า” เขาเหล่านั้นสักกี่ศพก็ตาม จะมองเขาเป็นแมลงสาบสังคม หรืออะไรก็ดี เข็มนาฬิกามันได้หมุนไปข้างหน้าแล้วพี่น้อง
ท้าย สุดคนชั้นกลางเมืองต้องหันมาทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างจริง จัง และเข้าใจ “เขา” เหล่านั้นอย่างเข้าใจ หรือจำใจก็ดี ไม่เพียงแต่โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เองก็ตามทีต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้สอดรับ แม้จะใช้เวลานานเท่าไหร่ก็ตาม เราไม่อาจหยุดนิ่ง เพื่อรอความล่มสลายของสังคมไทยได้อีกต่อไป คนชั้นกลาง /นำ/อภิสิทธิ์ชนต้องยอมรับ ปรับตัว เปลี่ยนแปลงกับกระแสธารการปฏิวัติของ “คนชั้นล่าง” อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ต้องยอมลดทอนอภิสิทธิ์(ที่ไม่ได้หมายถึงเวชชาชีวะ) ที่เคยมีเคยได้ กระจายทรัพยากร หรือ “ความเป็นธรรม” ที่แก่คนกลุ่มอื่นอย่างเท่าเทียม ต้องปฏิวัติโครงสังคมที่ไม่เป็นธรรมของคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างจริงจัง
แต่ ในทางกลับกันคนชั้นล่างเองก็ต้องให้เวลา และทำความความเข้าใจ ทั้งสังคมวัฒนธรรม ทัศนคติ วิถีชีวิตของคนชั้นกลาง /นำ/อภิสิทธิ์ชน ด้วย รวมถึงดึงคนเหล่านั้นมาสร้างการปฏิวัติที่ “ไม่สังเวยชีวิตเลือดเนื้อ”(หรือภาษาฝ่ายซ้ายว่า สามัคคีชนชั้น : ผมพูดอย่างกระแดะทั้งที่ไม่รู้ทฤษฎี หรือแนวคิดฝ่ายซ้ายเลยแม้แต่กระพี้เดียว) ของใครก็ตาม เราไม่อาจยอมให้ใครทั้งล่าง กลาง สูง ตายได้อีกแล้ว ดังคำกล่าวของ อ.เกษียร เตชะพีระที่ว่า “ไม่มีหลักการนามธรรมอันใดในโลกมีค่าพอให้เราไปเอาชีวิตผู้อื่นมาสังเวย ไม่ว่าสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ หรือประชาธิปไตย”[6] ผมขอปิดท้ายด้วยโครงที่ชื่อว่า “โลก” โลกที่หลากหลายแตกต่าง และอยู่ร่วมพึงพาอาศัยกันได้ โลกที่ไม่ใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของแต่เพียงฝ่ายเดียว โลกที่หลากหลายจึงเป็นโลกที่น่าอยู่ครับ
โลก[7]
โลกนี้มิอยู่ด้วย มณีเดียว
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง เพราะน้ำแรงไหนฯ
ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเอย
กาก็เจ้าของครอง ชีพด้วย
เมาสมมุติจองหอง หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย หมดสิ้นสุขศานต์ฯ
หมายเหตุจากผู้เขียน
บทความนี้ได้รับแรงบันดารใจจาก อ.ไชยันต์ รัชชกูล ที่ให้ความกรุณา แลกเปลี่ยน ซักถาม โต้แย้งอย่างเท่าเทียม กับศิษย์คนนี้เสมอมา อ.สรัสวดี อ๋องสกุล ครูผู้เมตตา และกรุณาอย่างไม่ขาดแคลน ขอบคุณ อ.มนตรา พงษ์นิล อ.ชัยณรงค์ ศรีมันตระ อ.ชาญ พนารัตน์ แห่ง ม.นเรศวรพะเยา ที่เอื้อเฟื้อในหลายโอกาส อ.ทรงศักดิ์ ปัญญา คุณ
อ้างอิง
[1] อ้างใน, เกษียร เตชะพีระ. ทางแพร่งและพงหนามทางผ่านสู่ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551, หน้า 335.
[2] ข่าวสดรายวัน ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7175
[3] ไทยรัฐออนไลน์ วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2553
[4] ข่าวสดรายวัน ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7175
[5] ข่าวสดรายวัน ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7175
[6] เกษียร เตชะพีระ. ทางแพร่งและพงหนามทางผ่านสู่ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551, หน้า 207.
[7] อังคาร กัลยาณพงศ์, “โลก” ใน กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์,ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: กินรินทร์,2548, หน้า 31 อ้างใน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากหลอมรวมเป็นหนึ่ง สู่ผสมผสานพันทาง, ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2550, หน้า 162.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น