โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
ไม่ มีความอัปยศอดสูใดใดในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงชีวิตของผมที่ได้เห็นการตั้ง ข้อหากับเยาวชนและเด็กที่แสดงออกทางการเมืองที่มีรัฐธรรมนูญรองรับ
ด้วย ข้อหาฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯกับนาย
ใน ชั้นแรก ศอฉ. แถลงว่าการจับน.ร.-น.ศ.ทั้ง 5 คนเนื่องจากมีความผิดพ.ร.บ.การจราจรฯ แต่ความจริงแล้วตามบันทึกแจ้งข้อหาของ สภ.เมืองเชียงราย ระบุไว้ชัดเจนว่าถูกจับเนื่องจากฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามมาตรา 9 (1) และ (2) คือ ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือกระทำการใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และ ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือการทำให้แพร่หลาย ซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจน กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
ทั้งที่ข้อความที่นักเรียนและนักศึกษาทั้ง 5 คนถือไม่ได้มีข้อความใดเลยที่เข้าข่ายลักษณะดังกล่าวเลย
ข้อความที่ว่า คือ
“ผม เห็นคนตายที่ราชประสงค์” “นายกครับอย่าเลิก พรก.ฉุกเฉินนะครับ ไม่งั้นรัฐบาลจะพัง” และ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องคงไว้เพื่อไม่ให้ความจริงปรากฏ”
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ถึงแม้ไม่ได้เรียนกฎบัตรกฎหมายมาเลยก็ย่อมที่จะรู้ว่าหามีความผิดตามกฎหมายใดใด
ไม่ แม้แต่ พรก.ฉุกเฉินฉบับนี้ที่ให้อำนาจล้นฟ้าแก่เจ้าหน้าที่เองก็ตาม มิหนำซ้ำเจ้าหน้าที่ยังส่งตัวนักเรียนชายผู้นั้นไปยังสถานพินิจฯเสียอีกแต่ สถานพินิจฯให้เด็กชายผู้นั้นไปพบพนักงานคุมประพฤติเซ็นต์ชื่อแล้วแจ้งว่าใน วันที่ 30 ก.ค.53 ให้เด็กชายผู้นั้นกลับไปยังสถานพินิจอีกครั้งหนึ่ง
นอก จากการใช้อำนาจที่เกินเลยในการตั้งข้อหาแก่เด็กและเยาวชนดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีการคุกคาม ผู้ถูกกล่าวหาด้วยการเข้าไปถ่ายภาพและยึดโน้ตบุ๊กของเด็กชายผู้นั้นไปอีก
และ จากรายงานข่าวของข่าวสดออนไลน์ประจำวันที่ 25 ก.ค.53 รายงานข่าวจากคณะทำงานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความพยายามจากนายทหารยศพันตรี สังกัดจังหวัดทหารบกเชียงราย ไปติดต่อเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์แห่งหนึ่งในเชียงรายให้ไปกล่อมนักเรียนและ นักศึกษาทั้ง 5 คนให้สารภาพว่า เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดถูกว่าจ้างจากนายธนิต แกนนำกลุ่มพลังมวลชนเชียงราย แล้วจะช่วยให้ทั้ง 5 คนพ้นข้อกล่าวหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
แต่น.ร.-น.ศ.กลุ่มนี้บอกปฏิเสธไป เนื่องจากไม่เป็นความจริง
การ ดำเนินคดีกับเด็กนักเรียนและนักศึกษากลุ่มนี้เป็นการบ้าจี้หรือเป็นการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ ที่พยายามที่จะยัดเยียดความผิดให้กับเด็กเพื่อที่จะสร้างผลงานโดยไม่คำนึง ถึงหลักมนุษยธรรม โดยใช้วิธีข่มขู่ให้เด็กและผู้ปกครองกลัวในสารพัดวิธีแทนที่จะปฏิบัติต่อ เด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยเมตตาธรรม
จากประสบการณ์ในชีวิตของผมที่ ล่วงพ้นวัยกึ่งศตวรรษมาหลายปียังไม่เคยพบเห็นการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนเช่นในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่อยู่ในภาวะของการปฏิวัติรัฐประหารก็ตาม ก็ยังไม่เคยมีการตั้งข้อหาแก่เด็กนักเรียนที่ถือป้ายแสดงความคิดเห็นทางการ เมืองในผืนแผ่นดินที่ผู้ปกครองของรัฐได้แต่พร่ำบอกว่าปกครองบ้านเมืองด้วย นิติรัฐเช่นนี้
คำว่านิติรัฐนั้นความหมายโดยย่นย่อคือการปกครองด้วย กฎหมาย แต่ในความหมายที่แท้จริงคือการปกครองด้วยหลักกฎหมาย เพราะถ้าไม่ยึดถือหลักกฎหมายแล้วคณะปฏิวัติรัฐประหารที่เป็นเผด็จการทั้ง หลายก็ออกกฎหมายมาบังคับใช้เอากับราษฎรเช่นกัน
หลักกฎหมายที่ใช้กับ หลักนิติรัฐที่ว่าว่านี้ก็คือการกระทำใดใดของฝ่ายบริหารต้องชอบด้วยกฎหมาย ที่อออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติและทั้งการกระทำใดใดของฝ่ายบริหารและการออกกฎหมาย ของฝ่ายนิติบัญญัติต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือการจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไม่ให้ใช้เกินกว่าขอบเขตความ จำเป็นนั่นเอง
การใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินฯของรัฐบาลชุดนี้ไม่ว่าจะเป็นการปิดสื่อ อายัดธุรกรรมทางการเงิน จับบุคคลไปคุมขังหรือเรียกบุคคลที่แสดงออกทางการเมืองไปชี้แจงนั้นขัดรัฐ ธรรมนูญอย่างชัดแจ้งเพราะจำกัดสิทธิและเสรีภาพเกินกว่าเหตุตามมาตรา 29 และยังขัดต่อมาตรา 27 ที่คณะรัฐมนตรีต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักอยู่ เสมอ
ป่วยการที่แกนนำของรัฐบาล ตลอดจนรองเลขา ครม.ที่พร่ำบอกอยู่เสมอว่าการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินฯนี้สุจริตชนไม่เดือดร้อน ตัวอย่างนี้ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่สุจริตชนได้รับความเดือดร้อน เพราะเหตุไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด และเสรีภาพนั้นจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์จะยอมสูญเสียก่อนชีวิตของตนเองจะ สูญเสียไป
อันที่จริงแล้วการเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้หรือการ ประกาศสถานการณ์ตาม พรก.ฉุกเฉินฯนั้นยังไม่เพียงพอต่อความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพเสรีภาพของ บุคคลด้วยซ้ำไป ในระยะยาวแล้วตัว พรก.ฉุกเฉินฯเองก็มีปัญหาตั้งแต่เริ่มร่างกฎหมายตั้งแต่แรกแล้ว ดังจะเห็นได้จากการต่อต้านจากหลายๆองค์กร จนมหาวิทยาลัยเที่ยงถึงกับทำการเผาร่างกฎหมายฉบับนี้จนเป็นข่าวเกรียวกราวมา แล้ว
หลายคนกังวลว่าหากเลิก พรก.ฉุกเฉินฯไปแล้ว จะเอากฎหมายอะไรมาใช้ ผมเห็นว่าปกติกฎหมายธรรมดาก็เพียงพออยู่แล้ว หากเห็นว่ากฎหมายธรรมดาไม่เพียงพอก็ยังกฎหมายอีกสองฉบับที่มีอานุภาพไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่า พรก.ฉุกเฉินฯมากนักก็คือ พรบ.กฏอัยการศึกฯและ พรบ.ความมั่นคงฯนั่นเอง เพียงแต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายทหารและกอ.รมน.เท่านั้นเอง(ซึ่ง เป็นเหตุผลหนึ่งที่นายกฯฝ่ายพลเรือนและตำรวจไม่ถูกใจนัก)
หาก ยังขืนคง พรก.ฉุกเฉินฯต่อไปอีก ผมว่าหมอฟันคงต้องตกงานหรือปิดคลินิกกันเป็นระนาวแน่ เพราะแค่นี้ประชาชนคนไทยก็อ้าปากกันไม่ค่อยได้อยู่แล้วครับ
----------------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 27 ก.ค.53
Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 7/29/2010 02:08:00 ก่อนเที่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น