สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

<<< สามพี่น้องตระกูล ซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่ >>>

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

<<< สามพี่น้องตระกูล ซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่ >>>

วันนี้จะขอเล่า เรื่องย่อของหนังเรื่อง
สามพี่น้องตระกูล ซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่ (The SOONG SISTERS)
บทสรุปของเรื่องนี้คือ
"คนหนึ่งหลงใหลเงินตรา
คนหนึ่งรักชาติ
คนหนึ่งหลงใหลอำนาจ"


เหตุเกิดที่ประเทศจีนแผ่น ดินใหญ่
ชาร์ลี ซ่ง พ่อของสามสาว
เป็นนายทุนหนุน ดร.ซุน ยัด เซ็น ปฏิวัติ
และยังเป็นเพื่อนรักกัน ด้วย
เขาได้ส่งลูกสาวทั้งสามไป เรียนต่อที่อเมริกา
และ ต่อมา ดร. ซุน ยัด เซ็น ปฏิวัติสำเร็จ
ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน

ซ่ง อ้าย หลิง ( ลูกสาวคนโต )
แต่งงานกับ ขงเสียงซี มหาเศรษฐีนายธนาคาร

ซ่ง ชิง หลิง ( ลูกสาวคนกลาง )
รักกับ ดร.ซุน ยัด เซ็น แต่ถูกพ่อกีดกัน
สุดท้ายเลยหอบเสื้อผ้าหนีไป อยู่กับ ดร.ซุน ยัด เซ็น ที่ญี่ปุ่น
ซึ่งก่อนหน้านั้นเธอเคยมาช่วย ดร.ซุน ยัด เซ็น
ในงานแต่งงานเล็กๆ ที่ญี่ปุ่น
พ่อเธอตามมาด้วยความโกรธ จัด
และได้ตัดความสัมพันธ์กับ ดร.ซุน ยัด เซ็น

ซ่ง เหม่ย หลิง ( ลูกสาวคนสุดท้อง )
เจียง ไค เช็ก นายทหารหนุ่มผู้มีอนาคตใกล้
เป็นลูกน้อง ดร.ซุน ยัด เซ็น
เห็น เหม่ย หลิง ครั้งแรกเกิดหลงรัก
และ เจียง ไค เช็ก ได้ไปช่วย ดร. ซุน ยัด เซ็น
ซึ่งถูกฝ่ายตรงข้ามล้อม
ทำให้ เหม่ย หลิง พัดพรากจาก ดร.ซุน หลายสิบวัน
สุดท้ายสามารถหนีมาขึ้นเรือ รบได้สำเร็จ
แต่ลูกชายในครรภ์ตาย และไม่สามารถมีลูกได้อีก
หลังจากวันโดนล้อมปราบ
ดร.ซุน ได้ตั้งกองทัพขึ้นใหม่เพื่อรองรับการทำสงคราม
และได้ตั้งโรงเรียนทหารโดย ส่งเสริมให้ เจียง ไค เช็ก
ได้เป็นผู้อำนวยการของโรงเรียนทหาร
โดยสามีของ ซ่ง อ้าย หลิง ช่วยสนับสนุนเรื่องเงินทุน

ดร.ซุน ไม่ต้องการกีดกันพรรคคอมมิวนิสต์
เพื่อให้จีนเป็นปึกแผ่น
ขณะโรคมะเร็งกำเริบหนัก
จนต้องหามลงจากรถไฟขณะเดิน ทาง
ได้ยินเสียงประชาชนที่มา ต้อนรับ
ตะโกนว่า ดร.ซุน จงเจริญ
ดร.ซุน ถึงกับหัวเสียบอกว่า
"จงเจริญ จงเจริญอะไรกัน
เมื่อไหร่คนจีนจะเข้าใจน่ะ
สมัยฮ่องเต้มันหมดไปแล้ว"
ก่อน ดร.ซุน จะตาย ได้มีการประกาศพินัยกรรม
โดย ชิง หลิง เป็นคนจับมือ ดร.ซุน
เซ็นต์พินัยกรรมก่อนตาย มีข้อความดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้า อุทิศตนเพื่อการปฏิวัติมา 40 ปี
เพื่อแสวงหาสันติภาพแก่จีน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ต้องปลุกจิตสำนึกของประชาชน
รวมกับนานาประเทศ
ที่ให้ความเสมอภาคแก่เรา
ตอนนี้ การปฏิวัติยังไม่สำเร็จ
เพื่อนร่วมชาติ จงต่อสู้ต่อไป อย่าท้อถอย"
และในเวลาต่อมา
เขาได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งชาติจีน

หลัง ดร.ซุน ยัด เซ็น ตาย เจียง ไค เช็ก ก็เริ่มมีอำนาจมากขึ้น
ในที่สุดก็ได้เป็น ประธานาธิบดีจีนอีกคน
หลัง เจียง ไค เช็ก ครองอำนาจ
ได้ปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาด
ในขณะที่ ซ่ง ชิง หลิง หนุนหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์
ได้ออกมาแถลงการณ์ คัดค้านการปราบปรามคอมมิวนิสต์
และถอนตัวออกจาก พรรค ก๊ก มิน ตั๋ง
สุดท้าย เหม่ย หลิง ได้แต่งงานกับ เจียง ไค เช็ก
โดยเจียงได้หย่ากับภรรยาคนปัจจุบันของเขา
ซึ่ง ชิง หลิง พยายามคัดค้านแต่ไม่เป็นผล
ทำให้ความสัมพันธ์ของสามพี่น้องได้ขาดสะบั้นลง
สุดท้าย ซ่ง ชิง หลิง หนีไปอยู่รัสเซียสักพัก
พร้อมกับข่าวปล่อยทำลายเกียรติยศสตรีหมายเลขหนึ่งของเธอ
ว่าเธอไปแต่งงานใหม่กับชาว รัสเซีย
ซ่ง ชิง หลิงกลับมาช่วงแม่ของเธอกำลังจะตาย
และสามพี่น้องได้ร่วมกันบรรเลงเพลงให้แม่ของเธอฟังก่อน ตาย

ช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นบุกจีน ตอนแรก เจียง ไค เช็ก
ยังเน้นต้านพวก คอมมิวนิสต์ ก่อนต้านญี่ปุ่น
หลังจากมีการปะทะคารมกัน ระหว่าง เจียง ไค เช็ก และ ซ่ง ชิง หลิง
เรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เจียงมองว่าเป็นภัยของจีน
ต่อมา ซ่ง ชิง หลิง ได้ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อโจมตี พรรค ก๊ก มิน ตั๋ง
ถึงกลับทำให้ เจียง ไค เช็ก โกรธจัด
และลูกน้องเขาเกือบขับรถชน ซ่ง ชิง หลิง แต่ยังไม่กล้าลงมือ
รวมทั้งข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเธอ
แต่ไม่มีใครกล้าทำอะไรเพราะ ยังเห็นแก่หน้าสองพี่น้องตระกูลซ่ง

ญี่ปุ่นเริ่มบุกหนัก ประชาชนเรียกร้องให้จีนเลิกสู้กัน
และมีคนเผาตัวประท้วงด้วย
เพื่อเรียกร้องให้ร่วมกัน ต่อสู้กับญี่ปุ่น
ซึ่ง ซ่ง เหม่ย หลิง ก็สนับสนุนแนวนี้
แต่เจียงไค เช็ก ก็ยังยืนกรานสู้กับพวก เหมา เจ๋อ ตุง ก่อนสู้กับญี่ปุ่น
ขณะ เจียง ไค เช็ก ไปเยือน ซีอาน ก็ถูกแม่ทัพที่นั่นจับตัวไว้
ที่ประชุมทหารตกลงเตรียม เครื่องบินไปถล่มซีอาน
แต่ ซ่ง เหม่ย หลิง ยับยั้ง
และตัดสินใจที่จะไปซีอานเพื่อไปเจรจาช่วย เจียง ไค เช็ก ผู้เป็นสามีก่อน
สุด ท้ายการเจรจาประสบผลสำเร็จ เจียง ไค เช็ก ถูกปล่อยตัว
โดยยอมร่วมมือกับพรรค คอมมิวนิสต์ สู้กับญี่ปุ่น
ซ่ง เหม่ย หลิง ออกแถลงการณ์ให้คนจีนต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น
สามพี่น้องตระกูลซ่ง ได้ไปเยี่ยมทหารในแนวหน้า
ซึ่งเหมือนเป็นสัญลักษณ์ แห่งความร่วมมือ
ของ เหมา เจ๋อ ตุง และ เจียง ไค เช็ก
หลังกลับจากแนวหน้า
ซ่ง อ้าย หลิง ติดตามสามีไปทำธุรกิจที่ ฮ่องกง

หลังไล่ญี่ปุ่นออกจากจีน เสร็จ
ก็เกิดสงครามกลางเมืองจีน ขึ้น
ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ก็ ยึดเมืองจีนได้สำเร็จ
ส่วน พรรค ก๊ก มิน ตั๋ง และ เจียง ไค เช็ก พร้อม ซ่ง เหม่ย หลิง
ได้อพยพไปอยู่ไต้หวัน
ส่วน ซ่ง ชิง หลิง ยังอยู่ในจีน
และได้เป็นสมาชิกคนสำคัญ ของพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย

โดย มาหาอะไร

---------------------------------------------------------

สามใบเถาตระกูลซ่งที่ทรงอำนาจที่สุด
สำหรับ คอลัมน์ มองบุคคลโลก
หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2549
โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ
www.vikrom.net, e-mail:vikrom@vikrom.net

ช่วงวัยรุ่นผมไปเรียนหนังสือที่ประเทศ ไต้หวัน และได้พบกับคนในตระกูลซ่งหนึ่งในสามใบเถาที่ทรงอำนาจมากที่สุดของประเทศจีน ในยุคหนึ่ง คือมาดามเจียง ซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องของสามใบเถา เธอ เป็นภรรยาของประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ภาพที่ผมเห็นในขณะคือ มาดามเจียงเป็นคนที่มีบุคคลิกภาพดีมาก แค่มองดูก็รู้ว่าผู้หญิงคนนี้เป็นคนที่มีความสามารถสูง การ วางตัวของเธอทำให้บ่งบอกถึงความมีชาติตระกูล และเมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเป็นเรื่องราวของครอบครัวตระ กูลซ่ง หลังจากได้อ่านแล้วจึงทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมมาดามเจียงจึงมีความสามารถและมี บุคลิที่ดี ซึ่งในขณะนั้นผมยังนึกไม่ถึงเพราะเคยเห็นมาดามเจียงตามข่าวในหน้าหนังสือ พิมพ์และโทรทัศน์เท่านั้น เมื่อผมอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ทำให้ผมได้พบแง่คิด ประการหนึ่งว่าช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผมยังไม่เคยเห็นครอบครัวใดในโลกที่มีลูกสาวสามคนที่มีอิทธิพล อำนาจวาสนา และประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องเงินทอง หน้าที่การงานและมีผลงานโดดเด่นต่อสาธารณชนเท่ากับสามใบเถาครอบครัวนี้เลย และหากจะย้อนไปในอดีตเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ในขณะที่ประเทศจีนยังคงอ่อนแอและยากจนเกือบจะที่สุดในโลก นับเป็นเรื่องน่าคิดว่าหากสามพี่น้องตระกูลซ่งมี บทบาทในยุคปัจจุบันที่จีนนั้นมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ในอันดับต้น ๆ ของโลกแล้ว บทบาทชีวิตและอิทธิพลของสามพี่น้องคงจะยิ่งใหญ่กว่านี้อีกหลายเท่าเลยที เดียว

ประการสำคัญที่ทำให้สามสาวประสบความสำเร็จใน ชีวิตนั้นเป็นผลโดยตรงมาจากครอบครัวของเธอทั้งสาม แน่นอนว่าผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดก็คือบิดาของพวกเธอที่ส่งสามพี่น้องไปเรียน ต่อยังสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากบิดาก็จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน ประวัติชีวิตบิดาของสามสาวก็น่าสนใจไม่แพ้กันเลยเพราะเขา โดยแอบหลบขึ้นเรือไปตั้งแต่อายุ 13 ปีเท่านั้น และได้เรียนหนังสือจนจบระดับมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับด้านศาสนาโดยตรง ภายหลังจากที่เรียนจบเขาได้นำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เรียนจากสหรัฐอเมริกานั้นมาประกอบธุกิจโดยมุ่งมั่นที่จะสร้างฐานะของ ครอบครัวจนกลายมาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สุดภายในระยะ เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น จนเขากลายเป็นเศรษฐีแถวหน้าของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่ทำให้เขามีความคิดและสามารถที่จะส่งให้ลูกสาวทั้งสามคน ไปเรียนต่อยังสหรัฐอเมริกา จะว่าไปแล้วลูกสาวทั้งสามคนนั้นถือเป็นผู้หญิง จีนกลุ่มแรกที่มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นดีของสหรัฐอเมริกา โดยการเดินทางไปจากประเทศจีนโดยตรง ต้องนึกสภาพประเทศจีนยุคนั้นนะครับว่าโอกาสสำหรับ สตรีนั้นน้อยเหลือเกิน ผู้หญิงเป็นเพียงแม่บ้าน แทบไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือแค่ในบ้านเมืองจีนก็นับว่าน้อยอยู่แล้ว นี่ได้ไปเรียนถึงเมืองนอกนับว่าเป็นเรื่องนำสมัยทีเดียว อีก ทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงมากด้วยจึงถือว่าการที่ผู้หญิงจะไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา นั้น ถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เพราะแม้กระทั่งผู้ชายเองยังถือเป็นเรื่องใหญ่เช่นเดียวกัน

ฉะนั้น การที่ลูกสาวทั้งสามของเขาได้เติบโตใน สังคมอเมริกันตั้งแต่เด็กทำให้พวกเธอมีเอกลักษณ์และมีความเป็นตัวตนทั้งทาง ด้านความคิดและการเป็นอยู่ แน่นอนว่าพวกเธอมีความคิดแบบฝรั่งตะวันตกขนานแท้นอกจากพวกเธอจะเป็นผู้หญิง จีนกลุ่มแรกที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมอเมริกันอย่างถ่องแท้พร้อม กันนั้นพวกเธอยังมีความสามารถในการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงจีน ที่ทันสมัย การศึกษา การอบรมบ่มเพาะและสภาพแวดล้อมที่พวกเธอเติบโตมา เมื่อพวกเธอกลับมาบ้านเกิดทำให้พวกเธอมีความโดดเด่นและมีผลงานมากกว่าสาว สังคมจีนทั่วไปในสมัยนั้น

ความนำสมัย บุคคลิกภาพดี สวยงามมาจากชาติตระกูลที่ดีทำให้พวกเธอได้มีโอกาสพบปะกับบุคคลสำคัญระดับสูง มากมายตามวงสังคม และแน่นอนว่าโอกาสที่พวกเธอจะได้รู้จักกับหนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่ที่มีฐานะการเงินมั่นคง ร่ำรวยหรือฐานะหน้าที่การงานที่ดีนั้นย่อมเป็นเรื่องธรรมดา จนพวกเธอทั้งสามคนได้แต่งงานกับบุคคลระดับผู้นำของประเทศจีนที่ถือได้ว่ามี อำนาจสูงที่สุดของประเทศอย่างที่ไม่เคยมีครอบครัวใดสามารถทำได้มาก่อน ความน่าสนใจด้วยประการทั้งปวงนี้ทำให้ผมอยากนำเอา เรื่องราวของสามใบเถานี้มานำเสนอเพื่อให้ทราบว่าการที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งในเรื่องของครอบครัวและการงานนั้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่พวกเธอได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้มาอย่างดี ในทางกลับกันหากบิดาของพวกเธอไม่ส่งลูก ๆ ไปเรียนในสถานศึกษาดี ๆ คงเป็นการยากที่พวกเธอจะประสบความสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์จีนใน ยุคหนึ่งจนเรื่องราวของพวกเธอได้กลายมาเป็น ตำนานให้พวกเราคนรุ่นหลังได้ศึกษากันอย่างเช่นทุกวันนี้

สำหรับคนที่สนใจ ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครองของชนชาติจีนในยุคศตวรรษที่ผ่านมานั้นคงต้องรู้จักผู้นำคนสำคัญสอง คนคือดร.ซุนยัดเซ็นและเจียงไคเช็คและก็คงจะต้องคุ้นเคยกับชื่อเสียงเรียงนาม ของสามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง ที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์จีนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าดร.ซุนยัดเซ็นและ เจียงไคเช็คเลย เพราะในเวลานั้นตระกูลซ่งมีอิทธิพล อำนาจ วาสนา และความร่ำรวยมาก จนตระกูลนี้ได้รับสมญานามแบบเปรียบเทียบเปรียบเปรยว่าเป็นราชวงศ์ซ่ง

ประวัติ

สามสาวพี่น้องตระกูล ซ่ง คนแรกคือซ่งอ้ายหลิง พี่สาวคนโตที่แต่งงานกับข่งเสียงซี นายธนาคารนักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในยุคนั้นของจีน คนต่อมาคือซ่งชิงหลิง สตรีที่เป็นภรรยาของบิดาแห่งประเทศจีนคือดร.ซุนยัดเซ็น และซ่งเหมยหลิง น้องสาวคนสุดท้องที่แต่งงานกับจอมพลเจียงไคเช็ค จนชาวจีนเรียกสามพี่น้องนี้ว่า “คนหนึ่งรักเงิน คนหนึ่งรักชาติ คนหนึ่งรักอำนาจ” คน ที่รักเงินก็ คือซ่งอ้ายหลิง พี่สาวคนโตเพราะเธอเป็นคนที่มีกลเม็ดเด็ดพรายในการหาเงินเก่ง น้องคนที่สองซ่งชิงหลิงนั้นเป็นคนที่รักชาติและมีอุดมการณ์สูงส่ง เธอร่วมทุกข์ร่วมสุขกับดร.ซุนยัดเซ็นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวจีน และถึงแม้คนอื่นๆ จะกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตนเองมากเพียงไรแต่ซ่งชิงหลิงต่อสู้เพื่อประชาชนชาว จีนเสมอ การแต่งงานของซ่งชิงหลิงกับดร.ซุนยัดเซ็นได้รับการคัดค้านจากคนรอบข้างมาก เพราะวัยที่ต่างกันราวพ่อกับลูก ความรักมีพลังยิ่งใหญ่เสมอสำหรับคนสองคน สุดท้ายทั้งสองก็ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน น่าเสียดายที่ดร.ซุนยัดเซ็นใช้ชีวิตกับเธอได้ไม่นานนักเธอจึงเป็นม่าย ตั้งแต่อายุ 30 ปีเศษๆ และด้วยความที่เธอยึดมั่นในอุดมการณ์ต่อประเทศชาติส่วนรวมอย่างเหนียวแน่น แม้ว่าสามีจะจากไปเธอก็ยังสืบสานอุดมการณ์ของสามีต่อจนกระทั่งสิ้นลมหายใจ คนสุดท้ายคนที่รักอำนาจคือซ่งเหมยหลิง ว่ากันว่าเธอแต่งงานกับจอมพลเจียงไคเช็คโดยปราศจากความรัก เพราะเธอรู้ว่าเธอมีความต้องการเช่นไร ข้อสำคัญที่สุดคือเธอต้องการเป็นสตรีผู้มีอำนาจ ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลที่เธอเล็งเห็นแล้วว่าต่อไปเจียงไคเช็คจะก้าวเป็น ผู้นำประเทศต่อไป และตัวเจียงไคเช็คเองก็หวังพึ่งบารมีของตระกูลซ่งที่จะช่วยส่งเสริมเขาก้าว ขึ้นสู่อำนาจ เมื่อแต่งงานแล้วเธอก็กลายเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งที่เบื้องหลังเป็นผู้กุม อำนาจอย่างแท้จริง ไม่น่าแปลกใจเลยหากมีคำกล่าวที่เรามักได้ยินเสมอว่าการที่ประเทศไต้หวันเติบ โตขึ้นมาได้ก็เพราะฝีมือของเธอที่อยู่เบื้องหลังจอมพลเจียงไคเช็ค

เมื่อ เรารู้จักชีวิตของสามสาวแบบย่อ ๆ แล้วบุคคลที่เราต้องทำความรู้จักให้ดีอีกคนหนึ่งก็คือบิดาของสามพี่น้องผู้ มีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิตและให้โอกาสพวกเธอทั้งสาม บิดาของพวกเธอชื่อซ่งเย่าหยู หรือชาลี ซ่ง เป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ และยังเป็นนักธุรกิจผู้ร่ำรวย เขาคือนายทุนคนสำคัญที่ให้การสนับสนุน ดร.ซุนยัดเซ็นในการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงยุคพระนางซูสีไทเฮา แท้จริงแล้วเขาไม่ได้มีแซ่ซ่ง แต่เป็นแซ่หาน มีชื่อจริงคือหานเจี้ยวจุน เขาเป็นคนเกาะไหหลำ เติบโตมากับครอบครัวที่ยากจนมาก พ่อมีอาชีพเป็นคนรับจ้างขนมะพร้าว เมื่อเขามีอายุได้ 9 ปี ก็เดินทางไปทำงานที่เกาะชวากับพี่ชาย ต่อมาได้มีน้าชายแซ่ซ่งมาพาเขาไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อไปช่วยงานในร้าน ใบชาที่ตัวเองได้บุกเบิกไว้ และน้าชายคนนี้ได้รับหานเจี้ยวจุนเป็นบุตรบุญธรรมเพราะไม่มีลูก ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นซ่งเย่าหยูนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่ สหรัฐอเมริกาพ่อบุญธรรมของเขาได้จ้างบาทหลวงมาสอนภาษาอังกฤษ ด้วยความที่เป็นคนขยันเฉลียวฉลาดเขาจึงสามารถอ่านออกเขียนได้และพูดภาษา อังกฤษได้ในเวลาไม่ถึงครึ่งปี นอกจากสอนภาษาแล้วบาทหลวงผู้นี้ยังสอนประวัติศาสตร์ เล่าถึงการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาและปลดปล่อยคนผิวดำจากการเป็นทาสของ ประธานาธิบดีลินคอล์น ทำให้ซ่งเย่าหยูซึมซับเรื่องราวเหล่านี้ไว้ในจิตใจ และเกิดความต้องการที่จะให้ประเทศจีนมีประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกาบ้าง

ต่อ มาซ่งเย่าหยูได้ หนีออกจากบ้านตอนอายุได้ 13 ปี เพราะอยากที่จะเรียนต่อแต่พ่อบุญธรรมอยากให้ทำการค้ามากกว่า และได้เป็นกะลาสีเรือใช้แรงงานบนเรือกับกัปตันที่ชื่ออีริค กราเบรลสัน และกัปตันผู้นี้เอ็นดูซ่งเย่าหยูมากจึงนำเขามาพบกับบาทหลวงนิกายเมธอดิสต์ ที่ชื่อโรเจอร์ มัวร์ เพื่อสนับสนุนให้เรียนต่อ และซ่งเย่าหยูก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และได้เรียนหนังสือจนจบระดับมหาวิทยาลัยในวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับด้านศาสนา พอเรียนจบซ่งเย่าหยูเดินทางกลับประเทศจีนไปยังเมืองเซี่ยงไฮ้เพื่อเผยแผ่ ศาสนา แต่เขาก็ต้องประสบกับปัญหาที่เขาอ่านและเขียนภาษาจีนไม่ได้ ทำให้ต้องปรับตัวใหม่ และเขาก็ได้รู้จักกับหนีกุ้ยเจินโดยการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง หนีกุ้ยเจินเป็นผู้หญิงที่เติบโตมาในครอบครัวหัวสมัยใหม่ที่นับถือศาสนา คริสต์ และร่ำรวยและมีหน้ามีตาในสังคม ตอนนั้นเขามีชื่อเรียกว่าชาลี ซ่งแล้ว เขาแต่งงานกับหนีกุ้ยเจินเมื่อมีอายุได้ 22 ปี ส่วนหนีกุ้ยเจินอายุได้ 19 ปี ทั้งสองมีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่ซ่งอ้ายหลิง ซ่งชิงหลิง ซ่งจื่อเหวินหรือทีวีซ่ง ซ่งเหมยหลิง ซ่งจื่อเหลียง และซ่งจื่ออัน ซึ่งในเวลาต่อมาลูกชายทั้งสามคือซ่งจื่อเหวิน ซ่งจื่อเหลียง และซ่งจื่ออัน ต่างจบมาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยเฉพาะซ่งจื่อเหวินเป็นนายธนาคารและเป็นรัฐมนตรีคลังของจีน ซึ่งร่ำรวยมหาศาลระดับมหาเศรษฐีของโลก

หลังแต่งงานชีวิตของ ซ่งเย่าหยูก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะการแต่งงานกับหนีกุ้ยเจินทำให้ซ่งเย่าหยูกลายเป็นคนที่พอจะมีเงินและ หน้ามีตาในสังคม เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นบาทหลวงในเมืองเซี่ยงไฮ้ทำให้ไม่ต้องเร่ร่อนไปตาม ชนบท และเขาก็ได้มีโอกาสติดต่อทำธุรกิจรับพิมพ์พระคัมภีร์ให้กับสมาคมคริสต์ เป็นตัวแทนขายหนังสือเกี่ยวกับศาสนา พิมพ์หนังสือแปลต่างๆ และรับพิมพ์งานหนังสือประเภทอื่นๆ ไปด้วย อีกทั้งยังเป็นเอเย่นต์นำเข้าเครื่องจักรรายแรกของจีนเพราะเขาถือหุ้นในโรง งานแป้งหมี่แห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้ ต่อมาก็ได้ลาออกจากการเป็นบาทหลวง และหันมาทำธุรกิจอย่างจริงจัง ทำไปทำมาก็มีฐานะร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีโด่งดังของเมืองเซี่ยงไฮ้ และกว้างขวางในสังคม

แม้ว่าจะทำธุรกิจจน ร่ำรวยแต่เขาก็ยังคงมีความปรารถนาอยากเห็นประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรือง เช่นเดียวกับดินแดนสหรัฐอเมริกา เขาจึงมีความสนใจทางด้านการเมืองอย่างมากแต่ก็ไม่เปิดเผยตัวมากนักซ่งเย่าห ยูได้เข้าร่วมสมาคมถงหมึงฮุ่ยที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงของดร.ซุนยัดเซ็น เขาใช้กิจการโรงพิมพ์บังหน้าและตีพิมพ์และเผยแพร่เอกสารต่อต้านราชวงศ์ ชิงอย่างลับๆ เขาคบหากับดร.ซุนยัดเซ็นจนกลายเป็นเพื่อสนิทกัน เขาได้ให้ เงินสนับสนุนถงเหมิงฮุ่ยมากถึง 20,000 เหรียญสหรัฐฯ การที่ปัญญาชนในสมัยนั้นจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พอใจต่อทางราชสำนักที่ใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อ ไม่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ปล่อยให้อดอยากยากแค้น ส่วนในด้านต่างประเทศก็อ่อนแอจนต้องเฉือนดินแดนให้กับ ประเทศต่าง ๆ ยึดครองโดยที่คนจีนเจ้าของประเทศไม่มีสิทธิเข้าไป เป็นการสูญเสียอธิปไตยที่นำความอับอายขายหน้าให้กับชาวจีน ตระกูลซ่งที่มีฐานะการเงินและทางสังคมอย่างชาลี ซ่ง จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินให้กับ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ และใช้โรงพิมพ์ส่วนตัวที่ปรกติใช้พิมพ์พระคัมภีย์ไบเบิลฉบับภาษาจีนเป็นที่ พิมพ์ใบปลิวข่าวสารการปฏิวัติด้วย ด้วยเหตุนี้บ้านของเขาจึงเป็นแหล่งรวมของนักคิด นักปฎิวัติผู้อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายแน่นอนว่าสิ่งนี้ล้วนส่ง อิทธิพลต่อความรู้สึก นึกคิดมายังลูก ๆของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

ส่วน ซ่งอ้ายหลิงเป็นลูกสาวคนโตของบ้าน และเป็นลูกที่พ่อรักมากที่สุดตอนเด็กๆ เธอมีนิสัยร่าเริง แก่นแก้ว และซุกซนเหมือนผู้ชาย มีความฉลาดรอบรู้คล่องแคล่วว่องไว ไม่เกรงกลัวใคร เพราะรู้ว่าพ่อจะปกป้องเธอเสมอ ไม่ว่าบิดาของเธอจะไปไหนมาไหนเขาก็มักจะพาซ่งอ้ายหลิงติดสอยห้อยตามไปด้วย เสมอ ทั้งไปโรงพิมพ์ โรงงานแป้งหมี่ โรงงานยาสูบ โรงงานทอผ้า ซึ่งทั้งหมดเป็นกิจการของเขาเอง ด้วยเหตุนี้อ้ายหลิงจึงซึมซับเอาความรอบรู้ด้านการทำธุรกิจจากบิดามาตั้งแต่ เด็กๆ อ้ายหลิงเป็นลูกที่ไม่ยอมหัดงานการบ้านการเรือนเลย เธอชอบร้องเพลงเหมือนกับผู้เป็นพ่อ ในขณะที่น้องสาวทั้งสองจะเรียนรู้การทำอาหารและงานเย็บปักถักร้อยจากแม่และ ครูที่ถูกจ้างมาสอน แต่อ้ายหลิงจะซุกซนและไม่ยอมเรียน ถึงแม้แม่จะพยายามว่าปรามแต่พ่อจะให้ท้ายเสมอว่าไม่จำเป็นต้องเรียน และตามใจให้ลูกสาวทำทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ซ่งอ้ายหลิงเติบโตขึ้นมาเป็นสาวแก่นแก้วไม่เกรงกลัวใคร

พอ มีอายุได้เพียง 5 ขวบอ้าย หลิงก็บอกกับพ่อแม่ว่าอยากจะเรียนหนังสือ พ่อของเธอจึงส่งลูกสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำสตรีเอกชนที่โด่งดังที่สุด ในเวลานั้นของบาทหลวงฝรั่ง ต่อมาชาลีซ่งเห็นว่าเมืองจีนไม่อาจตอบสนองความต้องการของลูกๆ ได้ จึงคิดส่งลูกๆ ไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อ้ายหลิงได้เดินทางไปเรียนที่อเมริกาในตอนที่มีอายุได้ 13 ปี เข้าเรียนที่วิทยาลัยสตรีเวสลีเยน (Wesleyan) เมือง เมคอน มลรัฐจอร์เจีย และรับเอาความเป็นอเมริกันมาทุกอย่าง ทั้งความคิดความอ่าน การแต่งกาย ถือได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงชาวจีนคนแรกที่ได้ไปศึกษาต่อในประเทศอเมริกา อย่างไรก็ตามเขาก็เตือนลูก ๆ อยู่เสมอว่าอย่าลืมความเป็นคนจีน ต้องกลับเมืองจีน และจะส่งหนังสือจีนมาให้ลูกอ่านเสมอ

เมื่อเรียนจบ อ้ายหลิงก็เดินทางกลับเมืองจีน และชาร์ลีซ่งตัดสินใจส่งเธอให้มาเป็นเลขาของดร.ซุนยัดเซ็นซึ่งในตอนนั้นเป็น ประธานาธิบดีของจีนแล้ว และด้วยความที่เธอเป็นคนรับผิดชอบ ปฏิภาณไหวพริบดี ฉลาด ความจำดี กล้าตัดสินใจ ดังนั้นเธอจึงสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างเรียบร้อยต่อมาเธอได้รู้จักกับข่งเสียงซีมหาเศรษฐีผู้ร่ำรวย ทายาทรุ่นที่ 75 ของขงจื่อ คุณสมบัติฃอันนี้ทำให้เธอตกลงปลงใจที่จะแต่งงานกับข่งเสียงซีอย่างรวดเร็ว และมีลูกทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 2 หญิง 2และ ในภายหลังก่อนที่เจียงไคเช็คจะพ่ายแพ้เหมาเจ๋อตุง เธอได้ยักย้ายถ่ายเทสมบัติที่มีไปยังต่างประเทศ เธอกระจายเงินก้อนโตฝากไว้ตามธนาคารของประเทศต่างๆ นอกจีน เธอยังได้ไปลงทุนในประเทศแถบอเมริกาใต้โดยเฉพาะบราซิลคือการซื้อหุ้นน้ำมัน เหมืองแร่ กลุ่มขนส่ง และท้ายที่สุดเธอและสามีก็ตัดสินใจไปอยู่ต่างประเทศ เธอเสียชีวิตเมื่อมีอายุได้ 83 ปีที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

บุตร สาวคนต่อมาคือ ซ่งชิงหลิง ในตอนที่ยังเป็นเด็กนั้นเธอเรียบร้อยมาก ชอบเล่นเปียโนและอ่านหนังสือเหมือนแม่ ทำให้เธอกลายเป้นสาวที่ดูเคร่งขรึมลุ่มลึก ช่างคิดช่างฝัน สุภาพอ่อนโยน เฉลียวฉลาด และดูเรียบร้อยขี้อาย เธอเข้าเรียนโรงเรียนประจำตามพี่สาวเมื่อตอนที่มีอายุได้ 7 ขวบ และตามพี่สาวไปเรียนที่สถาบันเดียวกันในอเมริกาเมื่อตอนอายุ 14 ปี ที่โรงเรียนเธอเป็นเด็กขี้อายเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ค่อยสุงสิงกับใคร แต่ก็ตั้งใจเรียนหนังสือเป็นอย่างดี ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจโดยเฉพาะหนังสือด้านการเมือง

ซ่งชิง หลิงเรียนที่ คณะอักษรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเวสลีย์ในรัฐนิวเจอร์ซี่ย์ เมื่อเรียนจบก็กลับเมืองจีนและรับงานเป็นเลขาของดร.ซุนยัดเซ็นต่อจากพี่สาว ตอนนั้นทั้งดร.ซุนยัดเซ็นและครอบครัวซ่งต่างลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ในช่วงที่หยวนซือไข่รุ่งเรืองมีอำนาจ ความใกล้ชิดอันนี้ก่อให้เกิดความรักขึ้นมา ในตอนนั้นดร.ซุนยัดเซ็นมีอายุเกือบ 50 ปีแล้ว ในขณะที่ชิงหลิงเพิ่งจะ 20 ต้นๆ อายุทั้งสองห่างกันเกือบ 30 ปี อีกทั้งดร.ซุนยัดเซ็นก็มีภรรยาและลูกแล้ว ความรักในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องต้องห้ามและไม่มีใครเห็นด้วย เมื่อบิดาของเธอทราบเรื่องก็ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ถึงขั้นประกาศตัดพ่อตัดลูก และตัดขาดจากเพื่อนร่วมอุดมการณ์ แต่หลังจากนั้น ดร.ซุนยัดเซ็นก็หย่าขาดจากภรรยาเพื่อมาแต่งงานกับซ่งอ้ายหลิง แต่ซ่งชิงหลิงที่ถูกพ่อกักขังไว้ในบ้านเพื่อไม่ให้ไปพบกับดร.ซุนยัดเซ็น สร้างวีรกรรมความรักด้วยการปีนหนีออกมาจากห้องนอน และหลบหนีออกจากจีนไปแต่งงาน ณ ฐานที่มั่นในการปฏิวัติของดร.ซุนยัดเซ็นที่ญี่ปุ่นวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1915 ดร.ซุน ยัดเซ็นกับซ่งชิงหลิง เข้าพิธีแต่งงานกันที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ด้านชีวิตการแต่งงานกับดร.ซุนยัดเซ็นนั้นชิงหลิง ต้องประสบกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งการคัดค้านจากพ่อแม่ การต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากการตามล่าจากฝ่ายตรงข้าม จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด จนทำให้ชิงหลิงต้องแท้งลูกและไม่สามารถมีบุตรได้ แต่ชีวิตการแต่งงานของทั้งคู่ก็สิ้นสุดลงเมื่อดร.ซุนยัดเซ็นเสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งด้วยวัยเพียง 59 ปี ทิ้งให้ชิงหลิงเป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว แต่เธอก็ยังสืบต่ออุดมการณ์ของสามีต่อไป เมื่อ ดร.ซุนยัดเซ็นเสียชีวิตไปจอมพลเจียงไคเช็คสืบทอดอำนาจต่อ แต่เขามีอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันกับชิงหลิงทำให้ทั้งสองกลายเป็นฝ่ายตรงกัน ข้าม เพราะชิงหลิงเข้าร่วมฝ่ายคอมมิวนิสต์กับเหมาเจ๋อตุงซึ่งเป็นศัตรูของเจียงไค เช็ค ทำให้เธอต้องตัดขาดจาก ญาติพี่น้องที่อยู่ฝ่ายทุนนิยมกลายเป็นคนหัวเดียวกระเทียมลีบ เพราะทุกคนต่างตั้งข้อรังเกียจที่เธอกลายเป็นแกะดำของครอบครัวฝักใฝ่ใน คอมมิวนิสต์ แต่เธอก็ยังยืนหยัดในอุดมการณ์ที่ต่อสู้เพื่อประชาชนอย่างไม่ย่อท้อ ไม่ยอมหลบหนีออกนอกประเทศ และวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเจียงไคเช็คเรื่องการทุจริตอย่างไม่ไว้หน้าและต่อ ต้านที่เขาเป็นผู้นำเผด็จการ

พอฝ่ายคอมมิวนิสต์ เอาชนะฝ่ายเจียงไคเช็คได้ ชิงหลิงเป็นคนเดียวในตระกูลซ่งที่ยังอยู่เมืองจีนได้และยังได้รับการยกย่อง ในวันที่ประกาศสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยเหมาเจ๋อตุง ซ่งชิงหลิงก็ได้ถูกรับเชิญให้ไปร่วมงานที่ปักกิ่ง และได้รับเกียรติให้ยืนบนเวทีเคียงข้างกับประธานเหมา ซึ่งในเวลานั้นเธอมีอายุได้ 57 ปีแล้ว เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสามผู้นำจีนใหม่ และมีตำแหน่งเป็นรองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรองจากเหมาเจ๋อตุง

ใน ค.ศ. 1960 เธอป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และต่อสู้กับโรคร้ายนี้เป็นเวลา 20 ปีก่อนที่จะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 โดยขณะที่นอนป่วยใกล้สิ้นใจ ก็ได้ติดต่อไปยังน้องสาว ซ่งเหม่ยหลิงให้กลับมาเพื่อเห็นหน้ากันครั้งสุดท้าย แต่ก็ไม่มีโอกาส

คน สุดท้องคือ ซ่งเหม่ยเกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1897 ซ่ง เหมยหลิงตอนเด็กเป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา ขี้อ้อน ฉลาดหัวไว มีความเป็นผู้นำ ชอบการวาดรูปและเต้นรำเป็นชีวิตจิตใจ และค่อนข้างเอาแต่ใจตนเอง เธอเรียนเก่งจนได้เรียนร่วมกับรุ่นพี่และกลายเป็นหัวหน้าเพื่อนๆ ที่เป็นรุ่นพี่ จึงเข้าเรียนพร้อมๆ กับพี่สาวคนรองตอนที่มีอายุได้ 5 ขวบ แต่เธอมักสร้างความวุ่นวายในหอพักเพราะเธอจะเป็นคนขวัญอ่อน เครียดง่าย และเธอได้ออกเดินทางไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาพร้อม ๆ กับพี่สาวคนรอง

เมื่อ เรียนจบก็กลับ เมืองจีนและกลายเป็นสาวสังคมผู้เนื้อหอมของแวดวงคนชั้นสูงในเซี่ยงไฮ้ และต่อมาก็แต่งงานกับเจียงไคเช็คโดยการจัดการของอ้ายหลิงพี่สาวคนโต เพราะอ้ายหลิงเห็นว่าเจียงเป็นหนุ่มที่มีอนาคตไกลด้วยความที่เธอเป็นคนที่รักอำนาจเพราะเคยตั้งปณิธานว่า ถ้าไม่ใช่ฮีโร่ไม่ขอแต่งด้วยฉะนั้น เมื่อเจอเจียงไคเชคมาจีบซึ่งขณะนั้นเจียงไคเชคเป็นถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ทหารฮ๋วงผู่ หากซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคก็จะได้เป็นสตรีหมายเลยหนึ่งของประเทศ แต่บิดาของเขาก็คัดค้านจนต้องออกเงื่อนไขสามข้อว่า

1. จะต้องรักและไม่ทอดทิ้งซ่งเหม่ยหลิงตลอดจนชีวิตจะหาไม่
2. ต้องหย่าขาดกับภรรยาคนปัจจุบัน
3. จะต้องเปลี่ยนศาสนามาเป็นศาสนาคริสต์เหมือนครอบครัวซ่ง

ในที่สุดซ่งเหม่ยหลิง แต่งงานกับจอมพลเจียงแล้วดำรงตำแหน่งสตรีหมายเลข 1 ของ ผู้นำจีนทั้งสมัยที่อยู่แผ่นดิน ใหญ่และที่เกาะไต้หวันเธอก็อยู่เคียงข้างสามีอย่างมั่นคงทั้งในยามที่สามี รุ่งโรจน์และคับขัน เช่นในปี ค.ศ. 1936 ที่เจียงไคเช็คถูกจับด้วยกลุ่มปฏิวัติ เธอก็เป็นคนเดินทางไปเจรจาที่ซีอานจนคนเหล่านั้นปล่อยตัวสามีของเธอออกมา

เมื่อ ครั้งที่สงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซ่งเหม่ยหลิง ในฐานะสตรีหมายเลข 1 ของ รัฐบาลจีนสมัยนั้นได้ติดตามจอมพล เจี่ยงไปปรากฏตัวในดินแดนตะวันตกหลายประเทศ เธอใช้ศิลปะความสามารถในการพูดจาภาษาอังกฤษโน้มน้าวให้ ผู้นำตะวันตกยอมรับว่าประเทศจีนมีสิทธิสภาพเท่าเทียมกับอารยะประเทศทั้งหลาย โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจยุคนั้นอย่างสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สหภาพโซเวียต ผลทำให้ประเทศจีนซึ่งเกือบยับเยินจากการรุกรานของประเทศ ญี่ปุ่น กลับกลายเป็น 1 ใน 8 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับ 4 ประเทศ ดังกล่าวข้างต้นการที่ซ่ง เหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคถือว่าเป็นการประกาศตัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพี่ สาว-ซ่งชิ่งหลิง หลังจากที่เจียงไคเชคพ่ายแพ้แก่เหมาเจ๋อตง เจียงไคเชคก็หอบพาเอาครอบครัวและพลพรรคไปตั้งหลักบนเกาะไต้หวัน จวบจนเจียงไคเชตตาย ซ่งเหม่ยหลิงก็อพยพไปใช้ชีวิตบั้นปลายในอพาร์ทเมนต์หรูหราแห่งหนึ่งในกรุง นิวยอร์ค

หลังจากที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านมรสุมชีวิตและการเมืองมาอย่างโชกโชน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซ่งเหมยหลิง ได้เสียชีวิตลงที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอายุยืนยาวถึง 106 ปี

สามสาวตระกูลซ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในวงการ เมืองจีนยุคหลังราชวงศ์ ชิงมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพวกเธอเป็นผู้พลิกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของประเทศจีน และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสามี จนอาจเรียกได้ว่า พวกเธอเกิดมาเพื่อสร้างความรุ่งโรจน์ให้กับตระกูลจนอาจกล่าวได้ว่าพวกเธอ เป็นผู้ก่อตั้ง ราชวงศ์ซ่งให้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

http://www.tsu.ac.th/coop/files/ptsongfamily011006.doc

---------------------------------------------------------

ราย ละเอียดเพิ่มเติม

http://th.wikipedia.org/wiki/ซุน_ยัตเซ็น
http://th.wikipedia.org/wiki/เจียง_ไคเชก
http://th.wikipedia.org/wiki/รายนาม ประธานาธิบดีจีน
http://th.wikipedia.org /wiki/เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น