สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

221ปีปฏิวัติ ฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย

'เกิดขบถขึ้นรึ?'พระเจ้าหลุยส์ที่16ทรงถาม...'หามิได้พระเจ้าค่ะ มันคือการปฏิวัติ'มหาดเล็กตอบ



โดย Pegasus

สรุป แล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย ..ที่สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบัน



*หมาย เหตุผู้เขียน:ที่มาของเนื้อหาได้มาจากหลายแหล่ง ขออภัยที่ไม่สามารถระบุได้ครบถ้วนในคราวนี้ เป็นเพียงต้องการลำดับเรื่องเพื่อความเข้าใจในภาพสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่อาจมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศไทยคล้ายคลึงกัน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆได้พัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เพียงแต่ตัวละครจะเปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์ เป็นระบอบอำมาตย์เท่านั้น จะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรอยู่ที่ท่านผู้อ่านแต่ละท่านจะนำไปคิดไตร่ตรอง ต่อไป ประการสำคัญคือเมื่อประชาชนเหลืออด การนำด้วยกลุ่มหัวรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ฝ่ายเป็นกลางก็จะถูกขจัดไปในที่สุด การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้คงอยู่ที่ฝ่ายอำมาตย์เท่านั้นที่หากมีโอกาสอ่าน เอกสารนี้ขอให้คิดใหม่ และยุติปัญหาต่างๆเสียเมื่อยังทำได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีผลต่อยุโรปโดยรวมอย่างมาก เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปในขณะนั้น (การปฏิวัติฝรั่งเศสแสดงให้เห็นว่ามนุษย์พร้อมที่จะกำหนดชะตาชีวิตและแสวงหา ความสุขของตนเองได้ด้วยการได้มาซึ่งเสรีภาพ และด้วยเสรีภาพนี้เองมนุษย์จะสร้างชุมชนที่อยู่ด้วยกันได้โดยสงบสุข สันติและเจริญรุ่งเรืองโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจพิเศษจากสวรรค์หรือตัวแทนจาก สวรรค์ใดๆ...Pegasus)




พระ เจ้าหลุยส์ที่16

สาเหตุของการปฏิวัติ

1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครามหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ก็แพ้สงคราม 7 ปีกับอังกฤษในอเมริกา และต่อมาสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ส่งกองทัพไปแก้แค้นอังกฤษด้วยการส่งกองทัพไปช่วยชาวอเมริกันประกาศอิสรภาพ แต่ก็ทำให้เป็นหนี้จำนวนมหาศาล

ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วย ชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ ทำให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสมีแต่ความยากจนและหิวโหยไปทั่ว ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่รู้สึกพระองค์ว่าพร้อมในการปกครองแม้ว่าจะได้รับการศึกษามาอย่างดีเนื่อง จากมีพระชนม์เพียง 20 ชันษา

(ดูการกู้เงิน การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจ และ ความไร้เดียงสาของผู้บริหารประเทศแล้วคล้ายคลึงกัน...Pegasus)


พระ นางมารีอังตัวเน็ตต์

2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ในปีหนึ่งเกิดการเสียหายในผลผลิต ทางการเกษตรทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมปังที่เป็นอาหาร หลักของชาวฝรั่งเศส ในขณะที่ในพระราชวังยังคงมีความหรูหราฟุ่มเฟือยกันอยู่

จน มีผู้เสนอฎีกากล่าวหาว่า ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักเป็นสาเหตุของความยากจนของประชาชนโดยมีการกล่าวว่า อาหารในวังเพียงหนึ่งวันก็สามารถเลี้ยงประชาชนได้เป็นพันคน

โรแบสปิแอร์

ผู้อยู่เบื้องหลังฎีกาฉบับนี้คือ แมกซิมิ ลเลียน โรแบสปิแอร์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศสต่อไป

ส่วน พระเจ้าหลุยส์ฯได้รับคำแนะนำที่ผิดให้สร้างฐานะความเข้มแข็งของฝรั่งเศสด้วย การขึ้นภาษีกับฐานันดรที่ 3 ได้แก่ประชาชนโดยที่ ฐานันดรอื่นไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย

นอกจากความโกรธแค้นนี้แล้ว ธรรมชาติก็ได้ลงโทษชาวฝรั่งเศสเหมือนจะเร่งให้เกิดการปฏิวัติเร็วขึ้นด้วย การทำให้เกิดฤดูหนาวยาวนานผิดปกติตามมาเป็นเหมือนเหตุร้ายต่อประเทศฝรั่งเศส

ต่อมาฤดูร้อน ค.ศ.1788 เกิดความแห้งแล้งขาดแคลนอาหารมากขึ้นอีก ขนมปังจึงมีราคาสูงขึ้นทำให้เกิดการกักตุนอาหาร คนต้องใช้รายได้ทั้งเดือนมาหาซื้อขนมปังในวันเดียว ทำให้เกิดจลาจลขึ้นทั่วไปเพื่อปล้นขนมปัง

ด้วยความจำเป็นฝรั่งเศส จึงได้จ้างรัฐมนตรีการคลังที่มีความสามารถมาบริหารกระทรวงการคลังชื่อว่าจ้า ค เนกเกอร์

ตลอดปี 1789 เนกเกอร์กล่าวว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาขนมปังและข้าวสาลีมาให้ ประชาชนให้เพียงพอ ดังนั้นจึงได้เสนอให้มีการเรียกประชุมสภาฐานันดรเป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์

เนกเกอร์เสนอ ให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1(พระ) และฐานันดรที่ 2 (ขุนนางทั่วไป) ต่อต้าน ฐานันดรที่ 3 (ประชาชนทั่วไปร้อยละ97 แต่มีจำนวนสมาชิกเพียงหนึ่งในสาม) จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่า กับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน

ในครั้งนั้นโรแบสปิแอร์ได้นำ เหล่าฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้พระและขุนนางจ่ายภาษี พระเจ้าหลุยส์ฯรู้สึกว่าถูกคุกคามจากฐานันดรที่ 3หัวรุนแรง

สภา ฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน แต่พอไปถึงพบประตูปิด เลยออกไปประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ

ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิส (ที่จริงเป็นสนามแฮนด์บอลล์) ของพระราชวังแวร์ซายส์ และเรียกร้องว่าจะไม่หยุดประชุมกันจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศตัวเองว่าเป็นตัวแทนของประชาชนฝรั่งเศสที่แท้จริงและเริ่มเห็น โอกาสที่จะท้าทายกษัตริย์ฝรั่งเศสได้แล้วในขณะนั้น แม้ว่าความเป็นจริงจะไม่ง่ายอย่างนั้น

เพราะในที่สุดตัวแทนเหล่านี้ ก็ถูกทหารปราบปรามและกำจัดในที่สุด

(ปัญหาความอดอยาก การตกงาน ความแตกต่างทางชนชั้น หรือการครองชีพได้ปรากฏชัดขึ้นทุกขณะในสังคมไทย ฝ่ายที่มีเส้นครอบครองเศรษฐกิจสำคัญๆและผูกขาดไว้จำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนยากจน เจ็บป่วยและพอใจให้ไร้การศึกษาเพื่อให้ยอมอยู่ใต้การปกครองตลอด ไป...Pegasus

ดัน ตอง

3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความผิดปกติทางสรีระบางประการทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับพระนางมารี อังตัวเนตได้ ก่อให้เกิดข่าวลือและการเหยียดหยามตลอดจนการว่าร้าย ความฟอนเฟะในราชสำนักอย่างแพร่หลาย แม้ว่าในภายหลังพระเจ้าหลุยส์ฯจะทรงได้รับการรักษาและทรงมีรัชทายาทได้แต่ ความเสียหายได้กระจายไปจนทั่วแล้ว

(ระบอบอำมาตย์ของไทย และบริวารทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมืองก็มีเรื่องให้เป็นข่าวลือมาก มายสุดที่จะบรรยาย...Pegasus)



4. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคแห่งความรอบรู้และเหตุผล ซึ่งกระแสความคิดเช่น นี้เองท้าทายความเชื่อเดิมเรื่องอำนาจของศาสนจักรและกษัตริย์

จิตใจ ของประชาชนเอนเอียงออกจากฐานันดรของฝ่ายปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบคิดทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตัวเองและไม่ เชื่อในสิ่งที่ผู้อื่นบอกเล่าเสมอไป

ประเพณีเดิมที่ส่งเสริมให้ เชื่อศาสนจักรและกษัตริย์จึงเริ่มถูกท้าทายขึ้นเรื่อยๆในความคิดของคนทั่วไป สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่เริ่มต้นจากความคิดนั่นเอง

การ ที่ทุกคนมีเหตุผลได้ การเรียกร้องความเท่าเทียมกัน การไม่เชื่อ ไม่นับถือสถานะพิเศษใดๆ จึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติขึ้นจริงๆ และกลายเป็นอันตรายต่ออภิสิทธิชนในที่สุด

เพราะประชาชนเชื่อเสียแล้ว ว่ามนุษย์เกิดมาไม่แตกต่างกัน แนวความคิดของวอลแตร์ มองเตสกิเออร์ และสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกันซึ่งอยู่ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา กระตุ้นให้ชาวยุโรปตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำ ความนิยมในระบอบประชาธิปไตยจากการประกาศอิสรภาพอเมริกันมาเผยแพร่


มอง เตสกิเออร์

{ มองเตสกิเออร์(1689-1755) เจ้า ของแนวคิด การแบ่งและคานอำนาจระหว่าง นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อมิให้ฝ่ายใดมีอำนาจกดขี่ได้ อำนาจทั้งสามไม่ควรอยู่ในมือคนๆเดียวหรือคณะเดียวแต่เป็นการถ่วงดุลระหว่าง กษัตริย์ ขุนนางและประชาชนโดย มองเตสกิเออร์เห็นว่าขุนนางควรมีอำนาจออกและยับยั้งกฎหมายร่วมกับสภาจาก ประชาชน รวมถึงการกำหนดงบประมาณแต่ไม่ควรเข้ามาทำงานด้านอำนาจบริหาร ส่วนกษัตริย์ไม่มีอำนาจออกกฎหมายมีแต่อำนาจยับยั้ง แต่สภาก็ยังตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจบริหารเป็นอย่างไร กล่าวหาและเอาผิดที่ปรึกษาของกษัตริย์และเสนาบดีในฐานะฝ่ายบริหารแทน กษัตริย์ได้

(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาได้นำไปใช้มากเรียก ว่าระบบถ่วงดุลอำนาจ...Pegasus)



ในส่วนของเสรีภาพนั้น เห็นว่าเสรีภาพคือการที่จะทำในสิ่งที่ต้องการและไม่บังคับให้กระทำในสิ่งที่ ไม่ต้องการ จะต้องมีกฎหมายมาเป็นคนกลางกำหนดว่า ประชาชนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร เพื่อมิให้เสรีภาพของคนหนึ่งไปรบกวนเสรีภาพของคนอื่น และระบบกฎหมายนี้จะไม่เกิดกับระบอบทรราชที่ใช้กำลังอำนาจทำให้ประชาชนหวาด กลัว

(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในยุโรปถือว่า มนุษย์มีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น รัฐจะเข้ามายุ่งกับประชาชนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น...Pegasus)




วอลแตร์

วอลแตร์ (1694-1778) เป็นนักเหตุผลนิยม และใช้วิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ประวัติศาสตร์ ชักชวนให้ประชาชนใช้หลักเหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆดังตัวอย่าง จดหมายจากอังกฤษ ดังนี้ จดหมายจากอังกฤษ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จดหมายปรัชญา) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อให้วอลแตร์นั้น เขียนในรูปจดหมายสมมุติ ๒๕ ฉบับ เนื้อหาเล่าถึงสังคมอังกฤษผ่านสายตาของผู้เขียน โดยที่วอลแตร์ใช้สังคมดังกล่าว เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดเปรียบเทียบกับสังคมฝรั่งเศส จึงเป็นธรรมดาที่ดินแดนอังกฤษ ตามบทพรรณนาในจดหมาย จะเลอเลิศไปด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ความสมดุลของอำนาจทางการเมือง สภาพปลอดอภิสิทธิในที่ดิน ความเสมอภาคในการเสียภาษี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงกันข้ามกับสภาวะที่เป็นอยู่ในฝรั่งเศส (และแน่นอนว่า ผู้เขียนจดหมายย่อมมองข้ามข้อบกพร่องทั้งหลาย ของสังคมอังกฤษ เพื่อขับเน้นแต่ด้านที่เป็นอุดมคติ) วอลแตร์ได้สอดแทรกการโจมตีการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ในระบอบศักดินาเอาไว้ไม่น้อย เราลองมาฟังตัวอย่างคารมของเขาดังต่อไปนี้

"สามัญชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ (...) ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป" }

(สังคมไทยปัจจุบัน ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมากมาย แสวงหาข้อมูลและเหตุผลต่างๆอย่างเอาเป็นเอาตาย เกิดโรคตาสว่างระบาดโดยทั่วไป มีการค้นคว้าหาคำตอบจากอินเตอร์เนท การสื่อสารทางเลือก ดาวเทียม วิทยุชุมชนและจากการพบปะพูดคุยอย่างกว้างขวางและทุกหนทุกแห่ง ประชาชนไม่ยอมเชื่อฟังผู้ที่อ้างว่าตนเองมีคุณธรรมหรือมีบุญแบบพระและ กษัตริย์ในยุโรปอีกต่อไป...Pegasus)



มองเตสกิเออร์และวอลแตร์ เป็นสองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จากแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเรียกร้องสิทธิของพลเมืองและการปฏิวัติตาม มา

(แนวความคิดของ จอห์น ล๊อค ว่าด้วยเรื่อง ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินและ จัง จาค รุสโซ ว่าด้วยสัญญาประชาคมก็มีความสำคัญไม่น้อย...Pegasus)



การปะทะกันเริ่มในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1789 หลังจากตัวแทนฐานันดรที่ 3 ได้เริ่มการปฏิวัติในที่ประชุมสภาฐานันดรแล้ว พระเจ้าหลุยส์ฯได้ส่งทหารจำนวน 3 หมื่นนายมาล้อมกรุงปารีสและไล่รัฐมนตรี จ้าค เนกเกอร์ออก

(ของไทยกองกำลังทหารในแต่ละกองทัพ คำนวณจากแถลงการณ์ว่ามีขั้นต้น 33 กองร้อย รวมแล้วจึงควรมีกำลัง 100 กองร้อยๆละ ไม่เกิน 150 คนรวมเป็นกำลังติดอาวุธ 15,000 คน แต่อาวุธทันสมัยกว่าสมัยฝรั่งเศสมาก แต่ประชาชนที่จะแปรสภาพเป็นมวลชนของไทยมีมหาศาลกว่ามาก...Pegasus)



ข่าวลือเรื่องกษัตริย์จะใช้กำลังทหารสลายการประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ทำให้ เกิดความโกลาหล เฉพาะในหมู่ชาวปารีสหัวรุนแรง ที่เรียกว่าพวกซองกู ลอต (sans-culottes) ได้มีการปล้นปืนมาได้จำนวน 28,000 กระบอก แต่ขาดดินปืน


ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จึงยกขบวนประมาณ 800 คนไปที่คุกบาสตีย์ (Bastille) ซึ่งใช้เป็นที่ขังนักโทษการเมือง เหตุการณ์การทลายคุกบาสตีย์ (Fall of the Bastille) นี้ซึ่งต่อมาถือเป็นวันเริ่มต้นเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นวันชาติ ฝรั่งเศสในปัจจุบัน พร้อมกับธงไตรรงค์คือสีแดง น้ำเงิน และขาว เข้าฆ่าทหารในคุกด้วยมีดและหอก และนำหัวของผู้คุมคุกมาเสียบประจานบนหอก

ความ รุนแรงนี้สมาชิกสภาฐานันดรที่ 3ที่เรียกว่าสมัชชาแห่งชาติไม่ได้ห้ามปราม แต่ได้ให้การสนับสนุนและการเพิกเฉยนี้จะทำให้เกิดผลตามมาอีกมากมายในภายหลัง

ในวันเดียวกันนั้นพระเจ้าหลุยส์ฯเสด็จกลับมาจากการล่าสัตว์ มหาดเล็กได้ไปกราบทูลว่าเกิดเหตุที่คุกบาสตีย์

พระองค์ถามว่ามี กบฏใช่ไหม แต่มหาดเล็กทูลตอบว่าไม่ใช่ มันคือการปฏิวัติ



การ บุกคุกบาสตีย์ ทำให้การปฏิวัติไม่มีการหันหลังกลับ แต่เป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากอดีตและเป็นการโค่นล้มทรราช ประชาชนทำการพังคุกนี้ด้วยมือเปล่า ขนหินแต่ละก้อนออกมาเพื่อทำลายสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ทั้งมวล

(ความ สยดสยองเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในไทย หากฝ่ายอำมาตย์ยอมรามือ...Pegasus)


หลังจากนั้นไม่กี่วัน ได้มีกฎหมายชื่อว่า คำประกาศแห่งสิทธิของ มวลมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity)

เพื่อยกเลิก การมีชนชั้นลง ประกาศนี้ระบุว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งชาติ และไม่มีการกล่าวถึงระบอบกษัตริย์อีก เท่ากับว่าสมัชชาแห่งชาติได้ยึดอำนาจไว้กับกลุ่มของตนได้ ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนี่ยวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ชาวฝรั่งเศสต้องการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการปกครองที่มีเหตุผล และมนุษย์มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ถูกปิดปากมาโดยตลอด

(เป็น ความหวังของประชาชนไทยเมื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้เกิดขึ้น...Pegasus)



ขณะนั้นนายแพทย์ที่ผิดหวังกับสังคม มีชื่อว่า ฌัง ปอล มารา ซึ่ง ต่อมาได้ทำหนังสือพิมพ์และเป็นนักปลุกระดมอารมณ์ร้าย 5 ตุลาคม 1789 ทำให้ผู้หญิงแม่ค้าขายปลาที่แข็งแรงมากม าชุมนุมด้วยความโกรธแค้นว่า ขาดแคลนขนมปัง ขณะที่ในวังมีการจัดงานเลี้ยงจึงได้มาที่วังพร้อมปืนและหอก เพื่อถวายข้อเรียกร้องต่อพระราชา โดยมีคนมาล้อม 2 หมื่นคนเรียกร้องให้กษัตริย์กลับไปกรุงปารีส และเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ผู้หญิงก็บุกเข้ามาเพื่อปลงพระชนม์พระนาง มารี อังตัวเนต เมื่อพบทหารก็ฆ่านำมาเสียบปลายหอก 6 ตุลาคม 1789 ฝูงชนหกหมื่นคนเข้ามาบังคับให้พระราชาและพระราชินีกลับมากรุงปารีสเพื่อแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมกับหัวของเหล่าทหารราชองครักษ์และข้าราชบริพาร ตามด้วยรถของพระราชา พระราชินี และกลายเป็นนักโทษในปารีสอย่างสิ้นเชิง และมีการปล้นเอาข้าวสาลีจำนวนมากออกจากพระราชวังแวร์ซายร์


เพื่อรักษาความสงบทั้งในเมืองและชนบทระหว่างที่ 5-11 สิงหาคม 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับรวมเรียกว่าพระ ราชกฤษฎีกาเดือนสิงหาคม” (August Decrees) ระบุถึงการยกเลิกระบบฟิวดัล ศาลต่างๆ มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาโดยใช้หลักมนุษยธรรมมากขึ้นด้วยการยกเลิกการทรมาน และตัดอวัยวะ


นับ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1792 รัฐเริ่มนำเครื่อง กิโยติน(guillotine) มาใช้เป็นเครื่องประหารเพื่อให้สิ้นชีวิตโดยเร็วและเจ็บปวดน้อยที่สุด สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติต้องการให้คริสตจักรฝรั่งเศสพ้นจากการควบ คุมดูและของสำนักสันตะปาปาที่ปรุงโรม และประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ในค.ศ. 1790 บังคับให้พระปฏิญาณว่าจะรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ

(ใน ยุโรปศาสนาจักรเกี่ยวข้องกับการเมือง ของไทยก็เห็นชัดเจนว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และจะเป็นสาเหตุสำคัญของการล่มสลายของศาสนาด้วยในที่สุด...Pegasus)



พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในศาสนา จึงไม่สบายพระทัยที่ต้องยอมรับพระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ ทรงวางแผนเสด็จหนีในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 ด้วยการปลอมตัวเป็นคนใช้และหนีห่างจากปารีสไป 100 ไมล์เกือบจะถึงออสเตรียในอีกไม่กี่ไมล์ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับได้เมื่อถึงเมืองวาแรน (Varennes) ก็ทรงถูกจับ และถูกส่งกลับกรุงปารีส เพราะไม่มีใครคอยช่วยอีกต่อไป และอำนาจของพระมหากษัตริย์ก็หมดไป โรแบสปิแอร์ได้เข้ามามีอำนาจแทน

(จะ เห็นได้ว่าในการปฏิวัติทุกแห่งฝ่ายหัวรุนแรงจะได้รับการยอมรับ และมักจะนำมาซึ่งความพินาศเสมอ ของไทยก็เริ่มปรากฏร่องรอยแล้ว...Pegasus)



ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระ ราชินีมารี อังตัวเนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, ค.ศ. 1792 – 1799)

ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto) เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่า ถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที

10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ฝูงชนจำนวนหนึ่งด้วยการถูกกระตุ้นดังกล่าว และกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี เกิดการปะทะกับทหารรับจ้างชาวสวิส มีผู้เสียชีวิต 800 คน ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ 1,000 คน และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภาสมัชชาแห่งชาติ

แต่ระบอบกษัตริย์ได้จบสิ้น แล้วโดยพระเจ้าหลุยส์ฯได้ถูกถอดออกจากฐานันดรกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ทหารรักษาพระองค์ที่เหลืออยู่ได้ถูกประหารด้วย กีโยตีนทั้งหมด พระราชวงศ์ถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Temple)

สภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง

ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1792 มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี พระเจ้าหลุยส์สที่ 16 จึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793

(พวก จิโรแดงสายกลางไม่ต้องการให้ประหารชีวิตแพ้เสียงพวก จาโคแบงโดย โรแบส ปิแอร์ ฝ่ายหัวรุนแรง) และพระนางแมรี อังตัวเนทถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 16 ตุลาคม 1793 ด้วยข้อหาเป็น ชู้กับพระโอรสซึ่งไม่มีใครเชื่อว่าเป็นความจริง)

สมัยแห่ง ความหวาดกลัว

สภากงวองซิยง (มี 12 ผู้ปกครอง) อ้างว่า สภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วน และหวาดระแวงกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794 มีประชาชนถูกประหารด้วย กีโยตีนนับพันคน

ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น(นักโทษ นักโทษการเมือง พระ ชนชั้นสูง)

ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏิวัติตัดสินประหารมีจำนวน 1,600 คนสตรีถูกข่มขืนอย่างทารุณ การกระทำนี้ถูกประณามไปทั่วยุโรป


ความ ตายของมารา

ต่อมาเมื่อ ฝ่ายจิโรแดงซึ่งมีตัวแทนพื้นเพมาจากรากหญ้าชนบทเห็นว่าการปฏิวัติจะนำไปสู่ ความรุนแรงมากเกินไป นายแพทย์นักหนังสือพิมพ์หัวรุนแรงคือ ฌัง ปอล มารา ได้โจมตีฝ่ายจิโรแดงอย่างรุนแรง เนื่องจากอิทธิพลในการใช้สื่อนำให้มีการประหารด้วยกีโยตีนมาไม่น้อยกว่าสอง รัอยศพ แล้วยังต้องการให้มีการประหารต่อไปด้วยข้อหาภัยต่อการปฏิวัติ ชาล อตต์ กอเดย์ หญิงสาวชาวชนบทได้รับทราบข่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ชี้นำให้ฆ่าคนไม่เลิก เธอได้มาที่ปารีสพร้อมรายชื่อที่อ้างว่าผู้ทรยศ มาราหลงเชื่อจึงถูก ชาลอตต์ฯ แทงเสียชีวิตในอ่างอาบน้ำ และกล่าวโทษว่าหนังสือพิมพ์นี้เป็นต้นเหตุของการฆ่าคนบริสุทธิ์

ใน การพิจารณาคดี เธอไม่ยอมสำนึกผิด โดยอ้างว่าต้องการสันติภาพ แต่เธอกลับทำให้มารากลายเป็นนักบุญ และสันติภาพไม่เคยได้มาอีกเลย

ชน ชั้นกษัตริย์ยังถูกประหารต่อไป แม้สมาชิกในสมัชชาฯก็ถูกประหารชีวิตคนแล้วคนเล่าและเกิดกบฏต่อต้านการ ปฏิวัติและการโจมตีจากประเทศในยุโรป คณะปฏิวัติยกเลิกสิทธิของประชาชน มีตำรวจลับทั่วไปโดยใช้กฎหมายพิเศษเมื่อ 17 กันยายน 1793 ทำให้มีการประหารชีวิต การปิดปากสื่อ มีการปรักปรำ และศพเกลื่อนกลาด แม้แต่คำพูดที่ดูเป็นการวิจารณ์ใดๆก็ตาม

(กฎหมายความ มั่นคง และกฎหมายหมิ่นฯของไทยน่าจะคล้ายคลึงกัน...Pegasus)



ด้วย ศาลคณะปฏิวัติ โดยคณะกรรมาธิการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนจำนวน 12 คน (กงวองซิยง) ดังกล่าวมาแล้ว นำโดยโรแบสปิแอร์ ศาสนจักร รูปนักบุญถูกทำลายและแทนที่ด้วยรูปปั้นของมารา ปฏิทินยกเลิกปฏิทินของศาสนาคริสต์ และต่อต้านศาสนาคริสต์ มีการสังหารหมู่กบฏและพระนับร้อยคนด้วยวิธีการต่างๆ


นโปเลียน

ต่อมากองทัพฝรั่งเศสนำโดยนายทหารชื่อ นโปเลียน โบนาปาร์ต ขับไล่อังกฤษออกไปได้ ทำให้สงครามสงบลง 5 กุมภาพันธ์ 1794 โรเบสปิแอร์ได้กล่าวว่าความกลัวและความดีงามขาดกันและกันไม่ได้ ดังตอง เพื่อนของโรเบสปิแอร์ และคนสนิทผู้นำในการต่อสู้ป้องกันประเทศถูกจับกุมและถูกประหารเป็นพันคน

ดัง ตองก่อนตายกล่าวว่า เสียใจที่ไปก่อนโรเบสปิแอร์ หลังจากนั้น ในหน้าร้อนเมื่อ 11 มิถุนายน 1794 เริ่มการปราบปรามใหญ่มีการประหารเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึง เดือนละกว่า 800 ครั้งในปารีส

มิถุนายน 1794 ได้มีพิธีแห่งความดีเลิศด้วยการใช้เหตุผล ทำให้สมาชิกสมัชชาเริ่มคิดว่า โรเบสปิแอร์เสียสติ ในวันที่ 27 มิถุนายน โรเบสปีแอร์ ได้ปราศรัยถึงภัยคุกคามว่า มีรายชื่อศัตรูใหม่ของการปฏิวัติ โดยจะนำมาเปิดเผยในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นด้วยความกลัวว่าตัวเองจะมีชื่อ วันรุ่งขึ้น โรเบสปิแอร์จึงถูกจับ ในที่สุดแมกซิมิเลียน โรแบสปิแอร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย

หลังจาก พยายามฆ่าตัวตายจนบาดเจ็บสาหัส ต่อมาจึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

หลังจากนั้นอีก 5 ปีอำนาจได้ตกมาสู่นโปเลียน โบนาปาร์ต การปฏิวัติจึงสิ้นสุดลง

(หวัง ว่าประเทศไทยคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกัน ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยจะระมัดระวังด้วยเสียงของมวลชนจำนวนมหาศาลไม่ยอมให้ฝ่าย ซ้ายหรือฝ่ายหัวรุนแรงหรือขวาปฏิกิริยาเผด็จการทำลายล้างกระบวนการ ประชาธิปไตยได้ ไทยก็จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และน่าชื่นชม ไม่ต้องเสียเวลาทอดยาวออกไปอีก...Pegasus)




เนื้อหา ต่อไปปรับปรุงจากบทความของปิยบุตร แสงกนกกุล เรื่อง Ultra-royalisteกับการฟื้นฟูและล่มสลายของกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยนำมาเสนอเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเพื่อให้เห็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายขวาจัดนิยม เจ้ากับฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องมีต่อมาอีกยาวนาน


คณะ ราษฎร์ ปฏิวัติ พ.ศ.2475

Ultra-royaliste หรือที่ท่านปรีดี พนมยงค์ แปลว่า ผู้เกินกว่า ราชา คือ กลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดนิยมเจ้าอย่างสุดโต่งในฝรั่งเศสมุ่งหมายจะรื้อฟื้น สถาบันกษัตริย์กลับมาใหม่ ต้องการให้กษัตริย์มีอำนาจมาก ทั้งในทางความเป็นจริงและในทางสัญลักษณ์ มุ่งให้อภิสิทธิ์แก่พวกขุนนางรายล้อมกษัตริย์ มองประชาชนเป็นเพียง ข้า แผ่นดิน (Sujet) มากกว่าเป็น พลเมือง (Citoyen) หลายกรณี พวก Ultra-royaliste เรียกร้องอำนาจและอภิสิทธิ์ให้กษัตริย์มากกว่าที่กษัตริย์ต้องการเสียอีก

(เสื้อ เหลืองที่คุ้มคลั่งน่าจะจัดเป็นกลุ่มนี้ได้...Pegasus)



ภายหลังการล่มสลายของระบอบโบนาปาร์ต ฝรั่งเศสเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูกษัตริย์ หลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๘๑๕ ในยุคนี้ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจการบริหารประเทศอย่างแท้จริงโดยทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีเอง มี ๒ สภา คือ สภาขุนนางมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ดำรงตำแหน่งตลอดชีพและสืบทอดตำแหน่ง ทางสายเลือด ส่วนสภาล่างมาจากการเลือกตั้งที่กำหนดให้เฉพาะผู้เสียภาษีมากๆเท่านั้นจึงจะ มีสิทธิเลือกตั้ง ประเมินกันว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจำนวนเพียง ๑ ใน ๒๐๐ ของประชาชนทั้งประเทศ

(สรุปคือชนชั้นนำ ชนชั้นสูงที่เป็นมิตรกับระบอบกษัตริย์ ของไทยก็คงเป็นกลุ่มข้าราชการเก่า หรือชนชั้นนำ ทุนผูกขาดต่างๆที่อิงแอบกับอำมาตย์ โดยสังเกตง่ายๆจากกลุ่มสนับสนุนเหลือง และต่อต้านการถวายฎีกา...Pegasus)



กลุ่ม Ultra-royaliste ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุค Restauration ผ่านทางสภานิติบัญญัติซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มการเมืองนิยมเจ้าทั้งสิ้น

(เปรียบ เทียบเหมือนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490-94 ที่ได้มีการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญใหม่หมดมาจน ปัจจุบัน...Pegasus)



กลุ่ม Ultra-royaliste ออกกฎหมายลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองและปราบปรามขั้วตรงข้ามทางการเมืองของตน

(ใช่ กฎหมายหมิ่นฯ กฎหมายขององค์กรอิสระหรือไม่...Pegasus)



โดยเฉพาะการออกมาตรการความน่าสะพรึงกลัวสีขาว หรือ “Terreur blanche” (สีขาวเป็นสีของกษัตริย์ฝรั่งเศส) เพื่อทำลายกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ กลุ่มนิยมระบอบโบนาปาร์ต และกลุ่มนิยมนิกายโปรเตสแตนท์

(ของ ไทยก็คงเป็นความน่าสะพรึงกลัวสีเหลืองที่ทำผิดร้ายแรงได้โดยไม่ต้องกลัว กฎหมาย...Pegasus)



มาตรการ Terreur blanche นำมาซึ่งการลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

(คา ร์บอมบ์...Pegasus)



การปิดสื่อ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและเรียกร้องให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นภาย ใต้การ อำนวยการของกลุ่ม Ultra-royaliste

(การเมือง ใหม่ทั้งระบบใช่เลยอย่าลืมว่าผู้นำเป็นนักประวัติศาสตร์...Pegasus)



๑ ปีผ่านไป หลุยส์ที่ ๑๘ จำเป็นต้องยุบสภาเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง ผลจากความล้มเหลวของมาตรการ Terreur blanche ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste เสียที่นั่งในสภาให้กับกลุ่ม Royaliste libérale

(เปรียบ เทียบได้กับไทยรักไทยเดิมหรือไม่...Pegasus)



เมื่อกลุ่ม Royaliste libérale เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็รีบยกเลิกมาตรการ Terreur blanche ทันที และเร่งรัดออกกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับ ต่อมา ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑๘๒๐ Duc de Berry หลานของหลุยส์ที่ ๑๘ ถูกลอบสังหารหน้าโรงละครโอเปร่า พวกนิยมเจ้าเชื่อว่าการลอบสังหารนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากนโยบายของกลุ่ม Royaliste libérale ที่เอียงไปทางเสรีนิยมมากเกินไป จนทำให้ผู้นิยมสาธารณรัฐมีโอกาสตีโต้กลับ

ผลพวงของการตายของ Duc de Berry ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาเป็นเสียงข้างมากในสภาอีกครั้ง และจัดการยกเลิกนโยบายเสรีนิยมทั้งหมด หันกลับไปออกกฎหมายเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์และกฎหมายจำกัดเสรีภาพของประชาชน กลุ่ม Ultra-royaliste ยังต้องการขจัดเสียงของกลุ่ม Royaliste libérale จึงออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียภาษีมากมีสิทธิเลือกตั้ง ๒ รอบ

(ของ ไทยคงใช้องค์กรอิสระดูจะได้ผลกว่า...Pegasus)



รอบแรกเลือกสมาชิกสภา ๒๕๘ คน จากนั้นผู้เสียภาษีมากที่สุดจำนวน ๑ ใน ๔ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกอีก ๑๗๒ คนในรอบที่สองที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้สนับสนุน กลุ่ม Ultra-royaliste นั่นเอง

(เทียบได้กับ สว.ลากตั้งใช่หรือไม่...Pegasus)



๑๖ กันยายน ๑๘๒๔ หลุยส์ที่ ๑๘ เสียชีวิต กลุ่ม Ultra-royaliste ได้ผลักดันน้องชายของหลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์แทนในนามชาร์ลส์ที่ ๑๐ กลุ่ม Ultra-royaliste และชาร์ลส์ที่ ๑๐ ร่วมมือกันสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าด้วยการรื้อฟื้นสัญลักษณ์ของ สถาบันกษัตริย์ก่อนปฏิวัติ ๑๗๘๙ กลับมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพิธีราชาภิเษก การก่อสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งโดนคณะปฏิวัติประหารด้วยเครื่องกีโยติน การออกกฎหมายชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าและขุนนางที่ได้รับผลกระทบจากการ ปฏิวัติฝรั่งเศส ๑๗๘๙ ซึ่งคำนวณกันว่าต้องใช้งบประมาณถึง ๖๓๐ ล้านฟรังค์ ตลอดจนการออกกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้หลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผู้ที่ขโมยหรือทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเข้มงวดการเซ็นเซอร์สื่อและการจำกัดเสรีภาพการพิมพ์ อีกด้วย

(ยุคแห่งความกลัวฝ่ายกษัตริย์กลับมาอีก ครั้ง...Peasus)


ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจบีบบังคับให้ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ต้องยุบสภา (ปกครองด้วยวิธีการเผด็จการและขวาจัดมักจัดการบริหารไม่ได้เนื่องจากไม่สอด คล้องกับระบบอุตสาหกรรมสมัยนั้น) ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สภาที่มีสมาชิกสายปฏิรูปมากขึ้น ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงจำใจต้องตั้ง Martignac นักการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูป เป็นหัวหน้ารัฐบาล การดำเนินนโยบายของรัฐบาลไม่เป็นที่สบอารมณ์ของชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ที่เห็นว่ารัฐบาลโน้มเอียงไปทางเสรีนิยม

ในขณะที่ กลุ่มเสรีนิยมก็มองว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูปแบบกระมิดกระเมี้ยน ในที่สุด Martignac จึงลาออกจากตำแหน่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ตัดสินใจตั้ง Prince de Polignac นักการเมืองกลุ่ม Ultra-royaliste ขึ้นเป็นหัวหน้ารัฐบาลแทน แต่ด้วยนโยบายแข็งกร้าว ทำให้อยู่ได้ไม่นานชาร์ลส์ที่ ๑๐ ก็ต้องยุบสภา

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าฝ่ายค้านได้สมาชิกสภาเพิ่มเป็น ๒๗๐ ที่นั่งจากเดิม ๒๒๑ ที่นั่ง ในขณะที่รัฐบาลเก่าได้เสียงลดลงเหลือ ๑๔๕ ที่นั่งจากเดิม ๑๘๑ ที่นั่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงตัดสินใจออกประกาศ ๔ ฉบับทันที ได้แก่ ประกาศยุบสภา (ห่างจากยุบสภาครั้งก่อนครั้งก่อนเพียง๗๐ วันและหลังเลือกตั้งไม่ถึงเดือน) ประกาศยกเลิกเสรีภาพการพิมพ์ ประกาศจำกัดผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เฉพาะคนที่เสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกันยายน

กล่าวกันว่า ประกาศทั้ง ๔ ฉบับเสมือนเป็นการรัฐประหารโดยชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนจำนวนมาก ในที่สุดนักหนังสือพิมพ์ กรรมกร ชนชั้นกฎุมพี จึงรวมตัวกันล้มล้างการปกครองของชาร์ลส์ที่ ๑๐ โดยใช้เวลาเพียง ๓ วัน ตั้งแต่ ๒๗ ๒๙ กรกฎาคม ๑๘๓๐

เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ ถูกเนรเทศ กลุ่มการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูปยืนยันให้มีกษัตริย์ต่อไป แต่ต้องการกษัตริย์ประนีประนอม ไม่เอนเอียงไปกับกลุ่ม Ultra-royaliste เพื่อปูทางปฏิรูปประชาธิปไตย จึงตัดสินใจเอาเจ้าสายราชวงศ์ออร์เลอองอย่างหลุยส์ ฟิลิปป์ขึ้นเป็นกษัตริย์พร้อมกับออก Charte ลงวันที่ ๑๘๓๐ ใช้เป็นธรรมนูญการปกครองแทน โดยลดอำนาจของกษัตริย์ไม่ให้มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย และให้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ

เราเรียกยุคนี้ว่า “ Monarchie de Juillet” เพราะเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมกันขับไล่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม (Juillet) นั่นเอง

(เป็นการ ตัดสินใจนำอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพลาดท่าเพราะมีการปฏิวัติที่หวาดกลัวสมัย แมกซิมิลเลียน โรแบสปิแอร์...Pegasus)



รัฐบาลเริ่มนโยบายก้าวหน้าขึ้น ตั้งแต่การยกเลิกระบบสืบทอดตำแหน่งสภาขุนนางทางสายเลือด

(ของ ไทยเปรียบเทียบเป็นระบบลากตั้ง หรือข้าราชการ หรือกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มจารีต ทุนผูกขาด...Pegasus)



การขยายสิทธิเลือกตั้งและสมัคร รับเลือกตั้งออกไป (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นผู้ชายอายุ ๒๕ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๒๐๐ ฟรังค์ จากเดิมที่ให้เฉพาะผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์ ส่วนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งก็เปลี่ยนเป็นผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๕๐๐ ฟรังค์ จากเดิมต้องเป็นผู้ชายอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๑๐๐๐ ฟรังค์)

การยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพ ในการพิมพ์ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกไม่เป็นศาสนาประจำชาติอีกต่อไป ตลอดจนการนำธงไตรรงค์ น้ำเงิน ขาว แดงจากเดิมที่มีแต่สีขาว มาใช้เป็นธงประจำชาติแม้หลุยส์ ฟิลิปป์จะได้การยอมรับจากประชาชนมากถึงขนาดที่ชาวฝรั่งเศสขนานนามว่าเป็น กษัตริย์ ของพลเมือง แต่การดำเนินนโยบายของรัฐบาล Guizot ก็ยังโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมอยู่มาก

ประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจใน ช่วงปี ๑๘๔๖ ถึง ๑๘๔๘ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยตลบอบอวล ยิ่งกระตุ้นให้กลุ่มนิยมสาธารณรัฐเริ่มรวมตัวจัดตั้งองค์กรปฏิวัติกษัตริย์ ด้วยการจัดงานเลี้ยงตามหัวเมืองใหญ่ๆเพื่อรณรงค์ทางการเมือง เช่น การเรียกร้องให้ขยายสิทธิเลือกตั้งออกไปให้ทั่วถึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะผู้เสีย ภาษีมาก

การชุมนุมทางการเมืองเริ่มขยายตัวกว้างขวางขึ้น รัฐบาล Guizot ไม่สนองตอบต่อข้อเรียกร้อง ตรงกันข้ามกลับปราบปรามการชุมนุม ยิ่งทำให้คะแนนนิยมตกต่ำลง

กว่าหลุยส์ ฟิลิปป์จะตัดสินใจเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลและสัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปให้เข้ม ขึ้นก็สายเกินไปเสียแล้ว ในที่สุด กลุ่มนิยมสาธารณรัฐได้โอกาสเข้ายึดอำนาจจากหลุยส์ ฟิลิปป์ และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๑๘๔๘

ฝรั่งเศสเข้าสู่สาธารณรัฐที่ ๒ ได้ไม่นาน หลุยส์ นโปเลียน หลานของนโปเลียน โบนาปาร์ตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการรวบอำนาจไว้กับตนเอง เปลี่ยนกลับไปปกครองแบบจักรวรรดิเหมือนโปเลียน

(สมัย ปัจจุบัน ระบอบนโปเลียนฯ อาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบของเผด็จการทหารได้...Pegasus)



พร้อม กับตั้งตนเป็นจักรพรรดิตลอดชีพในนาม นโปเลียนที่ ๓ จักรวรรดินี้ดำรงอยู่ได้ ๑๘ ปี จนกระทั่งเกิดสงครามกับปรัสเซีย นโปเลียนที่ ๓ และจักรววรดิที่ ๒ ก็ล่มสลายไป

หลังนโปเลียนที่ ๓ พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ฝรั่งเศสเปลี่ยนมาปกครองแบบสาธารณรัฐ ฝ่ายนิยมเจ้าเรียกร้องให้เพิ่มคำว่า ชั่วคราวต่อท้ายคำว่า สาธารณรัฐในขณะที่ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐก็เกรงว่าหากให้พวก Ultra-royaliste ปกครองประเทศก็หนีไม่พ้นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนและเข้าข้างอภิสิทธิ์ชน ดังที่เคยเป็นมา

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มนิยมเจ้ากับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐดำเนินไป อย่างเข้มข้น

(การต่อสู้ของไทยระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับกลุ่มประชาธิปไตยก็เทียบเคียงได้โดยเปรียบเทียบได้ตั้งแต่ การยึดอำนาจครั้งแรกของฝ่ายนิยมเจ้าด้วยพรรคการเมืองและทหารในปี พ.ศ. 2490 และการยึดอำนาจทุกครั้งอำนาจของฝ่ายนิยมเจ้าจะเพิ่มมากขึ้นตาม ลำดับ...Pegasus)



อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะ เลือกปกครองในระบอบใดระหว่างสาธารณรัฐหรือประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ

(ประเทศไทยอยู่ที่ว่าจะเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแบบแอบแฝงเผด็จการหรือประชาธิปไตยเต็มใบ...Pegasus)



จนกระทั่งเกิดกรณี ธงขาวซึ่งเริ่มจาก Comte de Chambord ออกมาเรียกร้องให้ฝรั่งเศสนำธงสีขาวที่มีดอกไม้สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์บู ร์บ็อง (Fleur de lys) กลับมาใช้เป็นธงชาติแทนที่ธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ปลุกให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาร่วมมือกันรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง

(ยัง ไม่มีการเรียกร้องให้ใช้ธงเหลืองแทนธงไตรรงค์ในไทย นับว่าปราณีอยู่มาก อย่างไรก็ตามกรณีธงขาว อาจเทียบได้กับกรณี สงกรานต์เลือดที่ฝ่ายใช้เสื้อเหลือง เสื้อฟ้า สร้างสถานการณ์และทำร้ายประชาชนโดยมีทหารคอยป้องกันไม่ให้หนีก็น่าคิดเช่น กัน...Pegasus)



ความจริงแล้ว แนวโน้มที่ฝรั่งเศสจะปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขก็ยังพอมี อยู่บ้าง ประชาชนบางส่วนยังคงถวิลหาให้กษัตริย์เป็นประมุขเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศและแสดงถึงความเป็น มาทางประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีแม็คมานเองก็มีแนวโน้มจะช่วยฟื้นฟูให้กษัตริย์กลับมาเป็นประมุข ของรัฐอีกครั้ง แต่ด้วยความแข็งกร้าวของ Ultra-royaliste โดยเฉพาะกรณีธงขาวซึ่งแสดงให้ เห็นว่าแม้เพียงเรื่องเท่านี้ พวก Ultra-royaliste ยังไม่ยอมประนีประนอม

(ของไทยเปรียบเทียบได้กับการค้าน การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นอย่างหัวชนฝา...Pegasus)



หากปล่อยให้ Ultra-royaliste ครองอำนาจเห็นทีคงหนีไม่พ้นการปกครองแบบระบอบเก่าเป็นแน่ ดังนั้น Henri Wallon นักการเมืองนิยมสาธารณรัฐจึงชิงตัดหน้าด้วยการเสนอร่าง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกำหนดว่าประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาจากการเลือกโดยเสียงข้างมากเด็ดขาด

(เสียง เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกไม่ใช่องค์ประชุม...Pegasus)



ของ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ ๗ ปี และสามารถถูกเลือกได้อีกครั้ง

ผลการลงมติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๑๘๗๕ ปรากฏว่า ฝ่ายที่เห็นควรให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเฉือนชนะไปอย่างหวุดหวิดด้วยคะแนน เสียง๓๕๓ ต่อ ๓๕๒ จากนั้นความนิยมในสถาบันกษัตริย์ก็ลดน้อยถอยลงตามลำดับ จนกลุ่มนิยมกษัตริย์ไม่มีโอกาสกลับมามีบทบาททางการ เมืองอีกต่อไป

(ถือ ว่าเป็นโชคดีของชาวฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าการเฉลิมฉลองวันปฏิวัติของฝรั่งเศสนั้น ชาวฝรั่งเศสจะแสดงออกถึงการรังเกียจกลุ่มหัวรุนแรงนิยมเจ้าอย่างรุนแรงเพราะ ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสขมขื่นอย่างมาก...Pegasus)



เป็นอันว่าฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐโดยเด็ดขาด และกลุ่ม Ultra-royaliste ก็ปลาสนาการไปจากเวทีการเมืองพร้อมๆกับสถาบันกษัตริย์

(ประเทศ ไทยคงจะหวังให้ได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หวังว่าเหตุการณ์เสื้อเหลืองจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนประเทศ ฝรั่งเศสในที่สุด สำหรับผู้ที่กล่าวถึงระบอบประธานาธิบดีบ่อยๆในทำนองใส่ร้ายป้ายสีฝ่าย ประชาธิปไตย ควรระวังว่าจะทำให้สาธารณชนสนใจศึกษาระบอบนี้มากขึ้น และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบที่พูดถึงได้ในที่สุด การไม่พูดถึงเลยและพยายามรักษาสถาบันด้วยการกล่าวถึงแต่เพียงระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ์ทรงเป็นประมุขจะเหมาะสมกว่า...Pegasus)



การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการทำลายความอยุติธรรม และทดแทนด้วยความยุติธรรมที่ทุกคนคิดว่าดีกว่าและยังมีการแสวงหามาจน ปัจจุบัน การทดลองระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยไปทั่ว โลกเพื่อเรียกร้องหา เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพด้วยการปฏิวัติ

สรุปแล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย


ที่ สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบันจนเกือบเชื่อว่า ทุกอย่างจะลงเอยเช่นเดียวกัน สิ่งนี้ไม่เป็นที่พึงปรารถนาแต่ประการใด

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 7/14/2010 09:08:00 ก่อนเที่ยง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น