สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Robertamsterdam : บทสัมภาษณ์นาย David Streckfuss เรื่องกม.หมิ่น

เมื่อ ไม่นานมานี้นักวิชาการจากขอนแก่นนายเดวิด สตรัคฟัสส์ (David Streckfuss) ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีชื่อว่า “Truth on Trial in Thailand: Defamation, treason, and lese-majeste” ซึ่งจักพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge และนี้คือบทสัมภาษณ์ของนายเดวิด สตรัคฟัสส์ ต่อนายประวิทย์ โรจนพฤกษ์ เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเรื่องอื่นๆ

1. หลายคนที่สนับสนุนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกล่าวว่าสถาบันกษัตริย์เป็น สิ่งที่พิเศษดังนั้นกฎหมายนี้จึงมีความจำเป็น คุณคิดอย่างไร

คำถามที่ชัดเจนคือ หากสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นที่รักของคนหมู่มาก เหตุใดกฎหมายที่เข้มงวดอย่างมากในประวัติศาสตร์โลกปัจจุบันอย่างกฎหมายหมิ่น จึงมีความจำเป็น?” อาจจะใช่ที่สถาบันเป็นสิ่งพิเศษ ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายมาปกป้อง แต่ในหลายกรณี กฎหมายนี้เป็นอุปสรรคโดยตรงต่อความปรารถนาในระบอบประชาธิปไตยของคนไทยส่วน ใหญ่ การเชื่อว่าอะไรคือสิ่งพิเศษนั้นก่อให้เกิดความรู้ที่เรียกว่า exceptionalism อันนำไปสู่การไม่ยอมรับรู้ความเป็นไปและประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นในโลกโดย ง่าย

2. คนไทยบางคนอ้างว่าชาวต่างชาติไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้าใจสังคมไทยได้ จริงหรือไม่ที่หนังสือของคุณคืออีกตัวอย่างที่แสดงมุมมองของคนนอกที่ไร้ เดียงสา”?

ทุกวันนี้ ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีใครเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติ วาทกรรเกี่ยวกับประเทศไทยและความเป็นไทยได้ก้าวไปสู่ดินแดนปริศนา ( terra incognita) ดังนั้นบางทีอาจจะไม่มีใครมีมุมมองที่ดีกว่าใครอีกต่อไป ผมคิดว่าหนังสือของผมได้ชื่นชมและอธิบายถึงลักษณะเฉพาะของรากเหง้าทาง ประวัติศาสตร์การรับรู้ความจริงของคน ไทยโดยสรุปหนังสือได้วิเคราะห์และอธิบายระบบความเป็น ไทยที่กำลังเผชิญหน้ากับระบบกฎหมายสากลและวาทกรรมเรื่องสิทธิมนุษยชนในยุคสมัย ใหม่ ผมจะไม่ขอกล่าวว่ามุมมองในหนังสือเป็น มุมมองที่ถูกต้องเพราะเป็นเพียงมุมมองเดียว แต่ผมหวังว่ามุมมองนี้จะสร้างเสียงสะท้อนในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือต่างชาติ และผู้ที่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยและประชาชนไทยอย่างแท้จริง
3. หลายสิบปีก่อน สื่อกระแสหลักเคยรายงานและเขียนวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ แต่ในปัจจุบัน สื่อเหล่านี้กลับหลีกเลี่ยงที่จะเขียนหรือรายงาน หรือแม้แต่ข้อความวิพากษ์วิจารณ์เล็กน้อยโดยปราศจากการตั้งคำถาม คุณจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร

มี 2-3ปัจจัยที่อาจจะอธิบายถึงปรากฏการณ์นี้ อย่างแรกคือการเพิ่มโทษกฎหมายหมิ่น หลังจากการฆ่าหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม กลุ่มเผด็จการทหารได้เพิ่มโทษจำคุกเป็น 3-15ปี ต่อความผิดหนึ่งกระทง โทษจำคุกที่เพิ่มเป็นสองเท่านี้เทียบเท่ากับโทษจำคุกข้อหาหมิ่นเมื่อครั้ง ที่ประเทศไทยยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ อาจจะเป็นไปได้ว่า การเคลื่อนไหวไปสู่ประชาธิปไตยในช่วงต้นยุค 60 ถอยหลังและมีการสร้างสถาบันให้เป็นสิ่งสูงสุด สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้การอภิปรายเรื่องปัญหาการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นเรื่องยากและยังส่งผลให้ประเทศสูญเสียบรรยากาศของศิลปะและ สติปัญญาอย่างที่ควรจะเป็น และปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายหมิ่นส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชน แต่สื่อกระแสหลักล้มเหลวที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพของการแสดงออก
ในช่วงปี 1890 สื่อในเยอรมันได้พยายามรายงานเรื่องคดีหมิ่นสถาบันที่มีกว่า 500คดีในแต่ละปี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายคนถูกลงโทษจำคุกปีหรือสองปี แต่หลังจากที่พวกเขาถูกปล่อยตัว พวกเขายังคงท้าทางกฎหมายโดยการนำเสนอเรื่องเดิม แม้ว่าหลังจากนั้นพวกเขาจะถูกลงโทษจำคุกอีกก็ตาม ในบางครั้งแม้จะมีคนกล่าวว่าการคุกคามทางด้านสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะประเทศไทยเริ่มจะมีระบอบประชาธิปไตยเพียงแค่ 80ปีเท่านั้น แต่ในปี 1890 ระบอบประชาธิปไตยในประเทศเยอรมันนั้นมีอายุน้อยกว่าในประเทศไทยขณะนี้ แต่สื่อเยอรมันกลับแสดงพลังและจุดยืนของตนเอง
ประเทศไทยไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยในขณะที่มีการจับกุมคน กว่าร้อยคนเพราะพวกเขาเหล่านั้นแสดงความคิดเห็นของตนเอง อาจจะชัดเจนกว่าที่จะกล่าวว่าประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศพม่า เพราะเพิกเฉยต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่างสิ้นเชิง และข้ออ้างที่ว่าประเทศไทยใช้ ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆเป็นเพียงข้ออ้างของกองทัพที่จะกระทำการใดๆโดยไม่ต้องรับผิด ปัญหาหลักคือการไม่มีเสรีภาพในการแสดงออกและการนิรโทษกรรมคือการพยายามลบ ล้างความผิดในอดีตออกไป

4. เหตุใดสังคมจึงไม่สามารถสร้างความเห็นร่วมกันในกรณีของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ?

ในยุค 70 ฝ่ายขวาได้สร้างความแตกแยกในสังคมไทยด้วยการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันการกระทำอันถือว่าเป็นกบฏคือกาัรรัับเอาความคิดแบบสาธารณรัฐหรือ แม้แต่การไม่เิทิดทูนสถาบันกษัตริย์อย่างสูงสุด และทุกวันนี้ฝ่ายขวาในประเทศไทยยังพยายามนับรวมบุคคลที่ต้องการปฏิรูปสถาบัน กษัตริย์ หรือแม้แต่บุคคลที่ตั้งข้อสงสัยในกฎหมายหมิ่นว่าเป็นกบฏด้วยเช่นกัน และภายใต้เงื่อนไขนี้ ความเห็นร่วมกันคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ในสังคมไทยจึงนำไปสู่การใส่ร้ายป้ายสี ประเทศไทยถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มคนที่รักชาติและกลุ่มกบฏ

5. คนที่นิยมเจ้าบางคนเชื่อว่าหากไม่มีกฎหมายหมิ่น สถาบันกษัตริย์จะสั่นคลอน คุณคิดว่าความกังวลนี้จริงเท็จแค่ไหน

การใช้กฎหมายหมิ่นเพื่อที่จะหยุดการวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น และการตรวจสอบจากสังคม หรือขัดขวางหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่าระบบได้สั่นคลอนแล้ว กฎหมายหมิ่นและการใช้กฎหมายหมิ่นเป็นการสร้างความไม่มั่นคงให้กับสถาบัน เพราะทำให้เกิดการปกปิดความจริงของสถานการณ์ ผมเชื่อว่าความจริงจะทำให้สังคมไทยที่แม้ว่าจะเกิดความแตกแยกแล้วก็ตามจะ สามารถรอดจากวิกฤตและอาจจะมีความเข้มแข็งขึ้นได้ บุคคลที่ต้องการจะปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการตรวจสอบสังคมทำให้สถาบันอ่อนแอ และเป็นอันตรายต่ออนาคตของสถาบัน

6. มีอะไรเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจับกุมผอ.ประชาไท หนังสือออนไลน์อย่างจีรานุช เปรมชัยพรภายใต้กฎหมายหมิ่นหรือไม่

การจับกุมจีรานุชสร้างความกังวลในการจับกุมบุคคลภายใต้กฎหมายหมิ่น ประการแรกคือ ตำรวจยอมรับว่าพวกเขามีหมายจับจีรานุชนานกว่าปีก่อนที่จะจับกุมเธอที่สนาม บิน ตำรวจอ้างว่าต้องใช้วิธีการดังกล่าวเพราะคดีดังกล่าวมีความร้ายแรง อันที่จริง หากคดีดังกล่าวร้ายแรงจริง ตำรวจมีเวลาอย่างเหลือเฟือที่จะจับกุมจีรานุชที่สำนักงานของเธอซึ่งเป็นสถาน ที่เดิมที่เธอเคยถูกจับกุมก่อนหน้านี้แทนที่จะจับกุมเธอตอนที่เธอเดิน ทางกลับจากต่างประเทศ จีรานุชอาจจะเป็นบุคคลที่สี่หรือห้าที่ถูกจับกุมอย่างอึกทึกครึกโครมทั้งที่ ไม่จำเป็น และประการที่สองคือ นี่คือตัวอย่างของการขยายการใช้กฎหมายหมิ่นโดยการใช้พรบ.คอมพิวเตอร์

7. เนื่องจากความชราภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความกังวลเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ รวมถึงปัญหาการเมืองในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่การดำเนินคดีหมิ่นเพิ่มขึ้นหรือไม่

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าว่า ในวิกฤติการเมืองนี้ กฎหมายหมิ่นได้กลายเป็นข้อหาหลักที่ใช้จับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยเฉพาะการจับกุมคนเสื้อแดงหรือคนที่ถูกมองว่าเห็นใจคนเสื้อแดง กฎหมายหมิ่นได้กลายเป็นมากกว่าการข่มขู่ที่ซ้อนเร้น กว่าห้าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2548 ถึง 2552 ศาลชั้นต้นประเทศไทยรับพิจารณาคดีหมิ่นกว่า 430คดี ซึ่งถูกตัดสินไปแล้ว 231คดี อีก 39คดีได้รับการพิจารณาในศาลอุทธรณ์ และ 9คดีโดยศาลฎีกา จำนวนคดีหมิ่นเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน และในปี 2552 มีคดีจำนวน 164คดีขึ้นสู่การพิจารณาในศาลชั้นต้น การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อการแสดงความคิดเห็นที่ปราศจากความ รุนแรงทำให้เป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะอ้างว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย เพราะการใช้กฎหมายหมิ่นขัดแย้งกับความพยายามในการสร้างความสมานฉันท์ อันที่จริงแล้วกฎหมายหมิ่นและการบังคับใช้เป็นสิ่งสำคัญที่ขัดขวางกระบวนการ สมานฉันท์

8. ในหนังสือของคุณได้กล่าวว่ากลุ่มอำมาตย์พยายามที่จะ แช่แข็งวัฒนธรรมไทยให้เป็นเรื่องตำนานทำไมพวกเขาถึงพยายามทำเช่นนั้น?

ผมกล่าวว่าวัฒนธรรมที่มีการละเว้นโทษให้แก่ผู้ที่กระทำความผิดส่งผลอย่าง มากต่อการรับรู้ความเป็นจริงในสังคมไทย การมีรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า การนิรโทษกรรมแก่ฆาตกร และการลดคุณค่าของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะหลังปลายยุค 50 ที่สังคมไทยและระบบการเมืองถูกย่ำยี ความจริงอย่างง่ายๆกลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ และโดยส่วนใหญ่แล้วการกระทำนี้ถูกสนับสนุนโดยสิ่งที่ผมตีความว่าเป็นการที่ รัฐใช้ศาสนาพุทธในทางที่ไม่ถูกต้องในการพยายามโน้มน้าวเหยื่อที่ถูกกระทำให้ อภัยแก่คนที่ทำผิดและดำเนินชีวิตต่อไป ความพยายามอย่างยาวนานนั้นส่งผลทำให้เกิดการปฏิเสธความจริงทางประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดการฆ่าหมู่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติศาสตร์ไทยถูกแช่เข็งโดยการผลิตเรื่องราวประโลมโลกของวีรบุรุษและ ศัตรูที่ชั่วร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า จนทำให้กฎหมายหมิ่นประมาทรวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลายเป็นสิ่ง สำคัญสูงสุด และขัดแย้งกับการพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน รัฐธรรมนูญในปี 2540 ได้ทำให้ประวัติศาสตร์ก้าวไปข้างหน้า กลุ่มอำนาจเก่าพยายามที่จะหยุดการเคลื่อนไหวนี้โดยการสนับสนุนการทำรัฐ ประหารในปี 2549 แต่จากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่ามีหลายคนที่ไม่สนับสนุนหรือ สามารถลืมเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549ได้
อันที่จริงแล้ว จำเป็นจะต้องมีการชำระประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ การให้อภัยจะเกิดขึ้นได้เมื่อความจริงถูกเปิดเผย มีการระบุตัวฆาตรกร และประชาชนไทยมีโอกาสที่จะทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกบฎดุซงญอ (กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้), เหตุการณ์ฆ่าหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม, พฤษภาฑมิฬ, ตากใบ และในปัจจุบันคือเหตุการณ์เมษายนและพฤษภาคม 2553 การนิรโทษกรรมไม่ทำให้การยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยการทำรัฐประหารและการฆ่า ประชาชนที่ปราศจากอาวุธเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย ในประเทศอื่น พลเรือนได้พยายามที่จะผลักดันให้มีการเปิดเผยเหตุการณ์ในอดีตในกรณีของการ ละเว้นโทษให้แก่ผู้ที่กระทำผิด กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายหมิ่นประมาทอื่นๆ ทำให้การพูดถึงเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่จะกระตุ้นสังคมให้เริ่มกระบวนการชำระประวัติ ศาสตร์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

9. คุณคิดว่ากฎหมายหมิ่นเกี่ยวข้องกับการสร้างความเห็นร่วมของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับความเป็นไทยหรือไม่ อย่างไร

ในช่วงเริ่มแรกประมาณกว่าศตวรรษที่แล้ว ได้มีความพยายามที่จะปกปิดเรื่องการแตกต่างในเชื้อชาติและศาสนา หลังจากนั้นยังได้มีความพยายามที่จะปกปิดเรื่องความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ และการศึกษาเพื่อที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของชาติอย่างต่อเนื่อง ความพยายามนี้เป็นความพยายามอย่างหนักซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งใน ช่วงร้อยปีที่ผ่านมา โครงสร้างทางประวัติศาสตร์นั้นส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกร่วมในเรื่องของความเป็นไทยตั้งแต่ช่วงยุค 60 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ฟื้นแนวคิดเรื่องสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ และโดยเฉพาะในปี 2519 เป็นช่วงที่สถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสิ่งสูงสุดจนกระทั่งจึงทุกวันนี้ อย่างน้อยที่สุด ความรักต่อสถาบันกษัตริย์ได้กลายมาเป็นจุดศูนย์กลางของความเป็นไทย สิ่งที่น่าเสียดายคือกระบวนการนี้ทำให้ความเป็นไทยนั้นคือสิ่งสูงสุด และมีการทำทุกอย่างเพื่อที่สร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้นเมื่อรูปแบบของความเป็นไทยเริ่มที่จะเสื่อมและแตกสลายอย่างช้าๆ และดูเหมือนกับว่าสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่น่ากลัวเพราะมีไม่กี่อย่างที่สามารถยึดคนไทยเข้าด้วยกัน การทำรัฐประหารคือการฉีกรัฐธรรมนูญและทำลายระบบนิติรัฐในทุกวิถีทาง ไม่เคยมีการสร้างประเพณีที่จะจัดการกับความแตกต่าง สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ระบบกฎหมายไม่ใช่ที่พึ่งพิงสุดท้าย แต่ในกระบวนการที่เกิดความตระหนักรู้ในประวัติศาสตร์และความจริงได้เริ่ม เปิดเผยออกมา จึงเป็นไปได้ที่จะเกิดอัตลักษณ์และแนวทางในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวแบบ ใหม่

10. อะไรคือสิ่งที่น่าประหลาดใจที่คุณค้นพบในระหว่างการค้นคว้าหาข้อมูลในการเขียนหนังสือเล่มนี้

สิ่งที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้คือความสัมพันธ์ของเนื้อหา ตอนที่ผมเขียนปริญญานิพนธ์ช่วงปี 90 เพื่อนร่วมชั้นเรียนล้อผมว่าผมเลือกหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกของผม อย่างหัวข้อเรื่องการหมิ่นประมาทและกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แม้่ตอนที่สำนักพิมพ์ Routledge ตกลงที่จะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ประเด็นเรื่องการหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพยังไม่ค่อยเป็นข่าวมากนัก ในเวลานั้นอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรได้มีใช้กฎหมายหมิ่นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ไทย และเมื่อปลายปี 2548 ที่คดีหมิ่นได้กลายเป็นหัวข้อข่าว และการเพิ่มขึ้นของการฟ้องร้องคดีนี้ในแต่ละปี ทำให้เป็นเรื่องยากที่เขียนหนังสือเล่มนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ ผมเลือกที่จะเลือกคดีของดารณีนุชที่ถูกตัดสินจำคุก 18ปีเป็นประเด็นปิดท้าย และสิ่งที่น่าประหลาดใจอีกเรื่องคือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดของการฟ้องร้องคดี หมิ่นเร็วตั้งแต่ปี 2549 และองค์สิทธิมนุษยชนไทยและต่างประเทศกลับนิ่งเฉยเกี่ยวกับเรื่องนี้
11. หนังสือของคุณจะถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทยหรือไม่?

ผมคิดว่าไม่นะ! ทำไมถึงต้องห้ามขาย? ผมไม่เชื่อว่าเนื้อหาในหนังสือละเมิดกฎหมายหมิ่น หรือกฎหมายหมิ่นประมาทใดของไทย และยังไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมอันดีของสังคมอีกด้วย ผมเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะให้มุมมองอีกมุมมองหนึ่งต่อกลุ่มผู้นิยม กษัตริย์หัวก้าวหน้าที่มองเห็นประโยชน์ในระยะยาวของสถาบัน ผมได้ค้นคว้าอย่าจริงจังเพื่อที่จะอธิบายถึงปัญหาความแตกแยกในประเทศไทยใน หนังสือเล่มนี้ และได้แนะนำวิธีการหลายวิธีที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยโดย มีสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และแน่นอนว่าหากหนังสือเล่มนี้ถูกสั่งห้ามจำหน่ายในประเทศไทยก็จะเป็นสิ่ง ที่พิสูจน์ว่าทฤษฎีศูนย์กลางที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจ และยังแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยไม่สามารถยอนรับแนวความคิดที่แตกต่างได้ แต่จะได้อะไรจากการสั่งแบนหนังสือเล่มนี้? คำตอบคือไม่ได้อะไรเลย และผมเชื่อว่าในอนาคตของประเทศไทย (หรือผมอยากจะเรียกว่าสยามมากกว่า) จะมีความเป็นประชาธิปไตย ที่คนไทยจะสามารถยอมรับความแตกต่างและวิธีการใหม่ในการทำความเข้าว่าความ เป็นพลเมืองที่ดีคืออะไร

http://robertamsterdam.com/thai/?cat=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น