สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วาระ 34 ปี 6 ตุลา: "ศิโรตม์" แนะอย่าเลือกจดจำความรุนแรง

Thu, 2010-10-07 14:51

เสวนา 34 ปี 6 ตุลา ที่ มธ. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์แนะอย่าเลือกจดจำความรุนแรง ชี้ประเด็นของความรุนแรงไม่ใช่อยู่แค่ว่าใครก่อความรุนแรง แต่เรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือสังคมมองการใช้ความรุนแรงอย่างไร


(6 ต.ค.53) ในโอกาสครบรอบ 34 ปีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในช่วงเช้า โดยมีพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ต่อด้วยการแสดงนาฏลีลาจำลองเหตุการณ์ปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกราด ยิงนักศึกษา รวมถึงมีการวางพวงมาลา โดยมีนายสุรพล นิติไกรพจน์ ในฐานะอธิการบดี มธ. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงนักเรียนนักศึกษาและประชาชนร่วมรำลึก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยประมาณ 10 นาย ขณะที่ช่วงสายมีการจัดกิจกรรมรำลึก โดยนักศึกษากลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน และกลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ ณ บริเวณสนามฟุตบอล ฝั่งตึกโดม (คลิปวิดีโอ)

วันเดียวกัน เวลา 10.00น. ที่ห้องจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติศาสตร์ มธ. นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ความรุนแรงและอำนาจรัฐ" โดยเริ่มจากนิยามของความรุนแรงว่า ไม่ได้หมายถึงความรุนแรงเชิงกายภาพอย่างการทำร้ายร่างกายและชีวิตผู้อื่น เท่านั้น แต่รวมถึงการทำให้หมดโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์ บุคคลหมดโอกาสในการบรรลุความ เป็นคนอย่างสมบูรณ์ ผ่านความรุนแรงแบบต่างๆ เช่น ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางการทหาร ทางภาษา ทางกฎหมาย ทางวาทกรรม โดยยกตัวอย่างความรุนแรงทางกฎหมาย เช่น การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่หลายคนเข้าใจว่าเหมือนกฎหมายปกติ แต่จริงๆ แล้วมีลักษณะพิเศษคือทำให้การกระทำที่ปกติแล้วไม่ผิดกลายเป็นการกระทำที่ผิด และถูกลงโทษได้ อาทิ กรณีแม่ค้าขนข้าวกล่องจากตลาดไทมาให้ผู้ชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ปัจจุบัน ยังติดคุกอยู่ กรณีนี้โดยตัวการกระทำไม่ผิด แต่เมื่อกฎหมายบอกว่าผิด จึงผิด หรือการที่คนจำนวนมากถูกยิงบาดเจ็บล้มตายในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ทั้งที่โดยการกระทำคือการใช้สิทธิชุมนุมนั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่ถูกลงโทษว่าผิด เนื่องจากอยู่ผิดที่ผิดเวลา ทำให้คนจำนวนมากติดคุก ตาย บาดเจ็บ โดยไม่มีคนรับผิดชอบเลย

เขาเล่าถึงงานวิจัยของนักวิชาการชาวออสเตรเลียที่พูดถึงความรุนแรงของไทย ผ่านการศึกษา ปรากฏการณ์ในไทย 3 ช่วง คือ ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ เหตุการณ์ 6 ตุลา และการปราบปรามการค้ายาเสพติดสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ โดยระบุว่า ความรุนแรงทั้งสามช่วงคล้ายกันตรงที่คนจำนวนมากถูกกักขังโดยพลการก่อนที่จะ มีการตัดสินความผิด โดยในยุคสฤษดิ์ มีการรัฐประหารที่นำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ ประกาศกฎอัยการศึกเกือบ 17 ปี คนจำนวนมากถูกจับกุมว่าเป็นผู้ก่อการร้าย-คอมมิวนิสต์ ให้จับกุมผู้ต้องสงสัย และควบคุมตัวได้โดยไม่มีกำหนดเวลา คล้ายกับที่คนเสื้อแดงเจอ แต่กรณีของคนเสื้อแดงซับซ้อนกว่าเพราะเป็นการจับกุมผ่านการพิจารณาของศาล ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อ 14 ตุลา โดยมีการให้เหตุผลในคำสั่งยกเลิกกฎหมายนี้ว่า คำสั่งนี้ขัดกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า แม้รู้ว่าที่ผ่านมากฎหมายผิดแล้ว แต่คนที่ถูกจับฟรีเป็นร้อยๆ คนก็ไม่มีใครชดเชยความยุติธรรมหรือความเสียหายให้

นอกจากนี้ ความรุนแรงยังทำให้คนหวาดกลัวว่าอาจถูกทำร้าย แม้ไม่ถูกทำร้ายทางร่างกาย แต่เป็นการคุกคามทางอุดมการณ์ ให้เปลี่ยนเป็น "พลเมืองดี" โดยงานวิจัย ระบุว่า จากการสอบถามผู้ที่ถูกจับหลังเหตุการณ์หกตุลาที่เชียงใหม่ พวกเขาบอกว่าไม่ได้ถูกซ้อมหรือทรมาน หรือหากมีก็ไม่เป็นปัญหาที่คุกคามพวกเขาเท่ากับการถูกอบรมด้วยเรื่องซ้ำๆ ซากๆ อย่างเอกลักษณ์แห่งชาติ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ความเป็นไทย โดยคนที่ถูกจับจำนวนหนึ่งเป็นเพียงครูสังคม ถูกจับเพราะมีหนังสือบางเล่มที่ผิดกฎหมาย ขณะที่ปัจจุบัน ใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็กรณีคล้ายกัน คือจับคนเข้ารับการอบรมเรื่องพลเมืองดี ศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง จนเมื่อทหารมองว่าพร้อมกลับไปเป็นพลเมืองดีของไทยแล้วจึงปล่อยตัว

ขณะที่ความรุนแรงจากอำนาจรัฐโดยตรงผ่านการกดขี่ปราบปรามนั้น ศิโรตม์ระบุว่าเป็นเรื่องใหญ่เพราะส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง ทำให้คนคิดมากขึ้นเมื่อจะเคลื่อนไหวทางการเมืองและอาจตัดสินใจเงียบในเรื่อง บางเรื่องเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับตัวเอง แม้จะรู้ว่าสิ่งที่รัฐกระทำนั้นผิด อย่างไรก็ตาม เขามองว่ายิ่งรัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชนมากเท่าไหร่ ประชาชนก็จะยิ่งพัฒนาวิธีตอบโต้รัฐแบบต่างๆ ออกมา โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์หลังหกตุลาว่า เมื่อเกิดการฆ่าซึ่งรัฐคิดว่าจะหยุดความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม ก็ปรากฏว่า พรรคคอมมิวนิสต์ขยายตัวขึ้น สงครามในเขตป่าเขามีมากขึ้น มวลชนของพรรคในเขตเมืองก็เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับหลังการปราบที่ราชประสงค์ ที่ต่อมา ประชาชนฝ่ายที่ถูกปราบก็พัฒนาการต่อต้านออกมาหลายรูปแบบ เช่นกรณีของ บก.ลายจุดที่ชวนคนออกมาใส่เสื้อแดงทุกวันอาทิตย์

ศิโรตม์แนะว่า ในสังคมที่เผชิญปัญหาแบบนี้ คนที่เห็นต่างจากรัฐจะต้องประเมินให้ได้ว่า รัฐแต่ละช่วงมีการควบคุมอย่างไร เพื่อกำหนดการต่อต้านให้อยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างความปลอดภัยของผู้ชุมนุม และไม่ก่อให้ผู้ชุมนุมเผชิญปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม แต่ก็ไม่ใช่หวาดกลัวรัฐจนไม่ออกมาทำอะไรเลย

ต่อประเด็นเรื่องการทำความเข้าใจเรื่องความรุนแรงและอำนาจรัฐ ศิโรตม์ระบุว่า นอกจากคำถามว่าเราจะจดจำความรุนแรงกันอย่างไรแล้ว อีกปัญหาที่น่าสนใจคือวิธีการที่สังคมเลือกจดจำความรุนแรงที่โดยส่วนใหญ่ แล้ว เรามีแนวโน้มจะเลือกจดจำเฉพาะความรุนแรงที่สอดคล้องกับอคติทางการเมือง ผลประโยชน์ทางการเมือง หรือสอดคล้องกับความต้องการทางการเมือง เหตุผลทางการเมืองที่ต้องการพูดในปัจจุบัน การจดจำความรุนแรงไม่ค่อยเกิดขึ้นเพราะเราเห็นว่าความรุนแรงเป็นปัญหาโดยตัว มันเอง ซึ่งเขามองว่านี่เป็นเรื่องที่อันตราย

"โดยความทรงจำที่เรามีต่อหกตุลาในแง่หนึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ เราใช้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เพื่อวิจารณ์อะไรบางอย่างที่เราไม่เห็นด้วยในปัจจุบัน แต่ความทรงจำถึงคนเหล่านี้ในฐานะที่เป็นตัวเขาจริงๆ ถูกทำให้หายไป" ศิโรตม์กล่าวพร้อมฉายให้ผู้ฟังในห้องดูภาพของผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายใน เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ โดยระบุว่า แม้สังคมไทยจะเป็นสังคมที่มีความรุนแรงทางสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใช่ความรุนแรงทุกรูปแบบที่เราจดจำ อาทิ ภาพของมนัส เศียรสิงห์ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์หกตุลา เขาถูกพูดถึงในฐานะส่วนหนึ่งของความตายหกตุลา มากกว่าว่าเขาเป็นใคร ทำอะไร มีความสำคัญต่อพ่อแม่พี่น้องของเขาอย่างไร หรือหากเขายังอยู่จะประกอบอาชีพอะไร


อารมณ์ พงศ์พงัน

หรือภาพของอารมณ์ พงศ์พงัน ผู้นำกรรมกรซึ่งถูกจับพร้อมนักศึกษาในช่วงหกตุลา หรือพ่อหลวงอินถา สีบุญเรือง ผู้นำชาวนา แทบไม่มีใครจำชื่อพวกเขาได้แล้ว เพราะพวกเขาไม่ใช่คนที่ปัญญาชนรุ่นหลังมองแล้วจะยึดโยงกับเหตุการณ์ได้ว่า เป็นยุคที่ปัญญาชนเคยมีบทบาทอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลงสังคม หรือภาพของเตียง ศิริขันธ์ และทองอินทร์ ภูริพัฒน์ สองในสี่รัฐมนตรีที่ถูกฆ่าทิ้ง ที่ไม่มีใครพูดถึงอีกแล้ว เพราะคนรุ่นหลังไม่เห็นประโยชน์ในการพูดถึงเขาอีก คนอย่างอมเรศ ไชยสะอาด หรือนิสิต จิรโสภณ ก็เป็นเหยื่อของความรุนแรงทางการเมือง แต่ชื่อของเขาก็ไม่ถูกพูดถึงมากนักเวลาคนรุ่นหลังพูดถึงหกตุลา


เตียง ศิริขันธ์ - ทองอินทร์ ภูริพัฒน์

"เราจดจำความตายโดยเน้นเป็นพิเศษไปที่กรณีซึ่งเป็นประโยชน์กับการต่อสู้ ของคนในยุคปัจจุบัน" ศิโรตม์กล่าวและยกตัวอย่างภาพของความรุนแรงที่ตากใบ ว่าเพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่ปีมานี้และมีความรุนแรงไม่น้อยกว่าเหตุการณ์ที่ราช ประสงค์ ซึ่งที่ผ่านมา เขามองว่า ฝ่ายผู้ที่สะเทือนใจกับความรุนแรงที่ราชประสงค์ยังไม่มีการพูดถึงความรุนแรง ในกรณีตากใบเท่าใดนัก อาจเพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยที่ทักษิณเป็นนายกฯ และคนจำนวนมากที่สะเทือนใจกับความรุนแรงที่ราชประสงค์ยังไม่พร้อมจะพูดถึง กรณีนี้


ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ

"ประเด็นของความรุนแรงไม่ใช่อยู่แค่ว่าใครก่อความรุนแรง แต่เรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือสังคมมองการใช้ความรุนแรงอย่างไร" ศิโรตม์กล่าวและตั้งคำถามว่า เราจะมีความกล้าที่จะพูดถึงความรุนแรงที่ราชประสงค์ควบคู่ไปกับกรณีตากใบที่ มีคนตายไป 85 ศพได้หรือไม่ ถ้าเราพูดถึงความรุนแรงทั้งหมดจากจุดยืนว่าความรุนแรงทางการเมืองเป็นเรื่อง ผิดจริงๆ เราจะจัดการกับความรุนแรงแบบนี้อย่างไร ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าเรายอมรับความรุนแรงได้ในกรณีที่ผู้กระทำ ความรุนแรงเป็นพวกเดียวกับเรา

ศิโรตม์ระบุว่า ขณะที่เราพูดถึงความรุนแรงทางการเมืองจำนวนมาก เรื่องหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ คนจำนวนมากพูดถึงความรุนแรงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือพูดบางเรื่องที่เราพูดไม่ ได้ในปัจจุบัน และนี่เป็นปัญหาที่ท้าทายทางจริยธรรม และตั้งคำถามว่าทำอย่างไรที่เราจะเห็นว่า ความรุนแรงทุกรูปแบบเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ความรุนแรงที่ตากใบรวมถึงความรุนแรงในกรณีอื่นๆ ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดโดยรัฐบาลใดก็ตาม รวมถึงตั้งคำถามด้วยว่าที่สุดแล้ว เราสามารถพูดเรื่องความรุนแรงโดยหลุดจากกรอบทางการเมือง เหตุผลทางการเมือง หรืออคติรอบตัวได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้น เราอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ยอมรับความรุนแรงทางการเมืองไป เรื่อยๆ และจากโจทย์ว่า ความรุนแรงทางการเมืองผิดหรือถูก จะกลายเป็นว่า ความรุนแรงถูกใช้โดยใคร ถ้าโดยฝ่ายที่เราไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องผิด ฝ่ายที่เราเห็นด้วยเป็นเรื่องถูก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

นศ.จัดกิจกรรม 6 ตุลา 34 ปี ใครฆ่าพี่ "เราไม่ลืม" (คลิปวิดีโอ)

06.10.2010 - 6 Oct Remembrance at Thammasat

http://www.youtube.com/watch?v=u1sCFt0PpyQ&feature=player_embedded

สไลด์ภาพจาก Prainn9991

http://picasaweb.google.com/113899017616012579558/634653?feat=flashalbum#5524854168346208322



คลิปเพิ่มเติมจาก Arin

http://picasaweb.google.com/113899017616012579558/634653?feat=flashalbum#5524854168346208322

เปิดงาน 6 ตุลา 34 ปี.mp4
http://www.youtube.com/watch?v=0BlZ47pLqro&feature=player_embedded

สไลด์ภาพกิจกรรมรำลึก 6 ตุลาฯ ลานสามกษัตริย์-เชียงใหม่ ภาพโดย ประเสริฐ
http://picasaweb.google.com/102915061967790868772/6?feat=flashalbum#5524962155064700114

ใครสั่งฆ่านักศึกษาในวันที่ 6 ตุลา ?

http://www.youtube.com/watch?v=6jrWCvMpmBw&feature=player_embedded

6 10 53 สกู๊ป6ตุลาฯ19ถึง6ตุลา53

http://www.youtube.com/watch?v=k8MYMss4i-w&feature=player_embedded


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น