สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักปรัชญาชายขอบ:ทหารรุ่นใหม่กับความคิดที่ดูเหมือนก้าวหน้า

Wed, 2010-10-27 00:34

นักปรัชญาชายขอบ

ผมรู้สึกยินดีที่ คุณประวิตร โรจนพฤกษ์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองการเมือง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ประชาไท,26 ต.ค.53) เพราะน้อยครั้งมากที่เราจะได้เห็นสื่อนำเสนอความคิดความอ่านของทหารต่อบทบาท ของกองทัพ และสถานการณ์บ้านเมืองอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือค่อนข้างเป็นวิชาการ

ส่วนใหญ่เราจะเห็นแต่สื่อเอาไมค์ไปจ่อปากผู้นำเหล่าทัพ แล้วก็ถามความเห็นเกี่ยวกับการเมือง และสื่อเองนั่นแหละที่มักตั้งคำถามว่า เมื่อไรทหารจะเลิกยุ่งกับการเมืองเสียที พร้อมกับการตั้งคำถามนั้นสื่อเองก็เสนอข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ตั้งแต่ระดับ ผบ.ทบ.ลงไปจนถึงระดับ ผบ.พัน แล้วก็เกิดแฟชั่นเสนอข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ ตามมา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สื่อรายงานการแต่งตั้งโยกย้ายตั้งแต่ปลัดกระทรวงลงไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เลยทีเดียว แถมยังรายงานการเลื่อนสมศักดิ์ของพระราชาคณะชั้นต่างๆ อีกด้วย

ผมมีบางประเด็นที่อยากขอแลกเปลี่ยนกับบทสัมภาษณ์ของ พ.อ.ธีรนันท์ แต่ขอแวะสนทนากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ก่อน คือเขาบอกว่า ศอ ฉ.ได้ลงมติว่าห้าม (คนเสื้อแดง) ไม่ให้มีการชุมนุมโดยเด็ดขาด หากมีปัญหาขัดข้องใจในเรื่องใดให้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือหรือเอกสารให้กับ เลขาฯยูเอ็นได้ เรื่องนี้ขอร้องว่ามันเป็นหน้าตาของประเทศไทย จะทำอะไรก็ตามต้องทำแบบผู้ที่เจริญแล้ว ไม่ใช่ว่ามาชุมนุมเป็นกลุ่มใหญ่แล้วก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ให้คนต่างชาติเขาเห็น มันน่าอับอาย ก็ขอเตือนไว้ว่าอย่าทำเลยดีกว่า เพราะไม่เกิดประโยชน์” (มติชนออนไลน์, 25 ต.ค.53)

ผมขอถามเขากลับว่า ทหารทำรัฐประหาร และสลายการชุมนุมของประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยจนทำให้คนตาย 91 ศพ บาดเจ็บร่วม 2,000 คน มันทำให้ประเทศไทยได้หน้าได้ตาใช่ไหม? เป็นการกระทำแบบผู้ที่เจริญแล้วใช่ไหม? มันไม่น่าอับอายแม้แต่นิดเดียวใช่ไหม? และมันเกิดประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติใช่ไหม?

มันน่าจะลง หนังสือแปลกนะครับ ที่การชุมนุมประท้วงเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ให้ปล่อยนักโทษการเมือง ซึ่งประเทศเจริญแล้วเขาทำกันเป็นปกติ แต่ ผบ.ทบ.เห็นว่า มันน่าอับอาย

วกมาที่เรื่องที่ผมอยากแลกเปลี่ยนกันดีกว่า คุณประวิตรถามว่า ทำไมคุณจึงคิดว่าอาจมีรัฐประหารอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ พ.อ.ธีรนันท์ ตอบ (ตัดมาเฉพาะประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยน) ว่า “...ใน การทำรัฐประหารครั้งที่แล้ว กองทัพได้เข้ามาใกล้กับการเมืองในระยะใกล้เกินไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมือง แทนที่จะเป็นกลไกของรัฐในการทำงานเรื่องความมั่นคง...ตรงนี้ผมมี คำถามว่า รัฐประหารครั้งที่แล้ว (19 กันยา 49) กองทัพเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมืองอย่างไรครับ? เพราะรัฐประหารไม่ได้ถูกริเริ่มโดยนักการเมือง แต่ริเริ่มโดยใคร? หรือกลุ่มใด? แน่นอนอาจมีพรรคการเมืองบางพรรคนำประชาชนมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรซึ่งเรียก ร้องรัฐประหาร แต่พรรคการเมืองนั้นไม่น่าจะเป็นฝ่ายริเริ่ม หรือบงการให้ทำรัฐประหาร (ใครๆ ก็ได้ทราบจากคำให้สัมภาษณ์ของ สุริยะใส กตะศิลา ว่า มีผู้นั่งบัญชาการอยู่บ้านสี่เสาฯ)

แม้เมื่อมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ สังคมก็ตั้งคำถามว่า รัฐบาลคุมกองทัพหรือกองทัพคุมรัฐบาลกันแน่? การสลายการชุมนุมที่ผ่านมาเป็นความประสงค์ของกองทัพหรือรัฐบาลกันแน่ หรือว่าสมประโยชน์กัน แล้วที่สมประโยชน์กันนั้นใครคือผู้มีอำนาจสั่งการที่แท้จริง!

ประเด็นจากคำตอบข้างบนคือ แม้ พ.อ.ธีรนันท์ จะไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ดูเหมือนโทษว่ารัฐประหารเป็นความผิดของฝ่ายการเมือง คือกองทัพเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมืองจะต่างอะไรกับทหารฝ่ายที่ทำ หรือสนับสนุนรัฐประหาร ซึ่งอ้างว่า เพราะนักการเมืองโกง และ/หรือจาบจ้วง ล้มล้างสถาบัน

มันกลายเป็นว่า สำหรับมุมมองของทหารแล้ว ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับรัฐประหารหรือไม่ แต่สาเหตุของรัฐประหารก็มาจากนักการเมืองอยู่ดี เป็นความผิดของฝ่ายการเมืองอยู่วันยันค่ำ! ดังคำตอบต่อมาของผู้ให้สัมภาษณ์ที่ว่า “...ต้อง ยอมรับว่าช่วงพฤษภาทมิฬ กองทัพได้ห่างจากวงจรอุบาทว์ไปพักหนึ่ง ออกไปยืนในจุดที่ดี แต่อาจเพราะกลุ่มการเมืองดึงเข้ามาหรือผู้นำทหารในยุคหนึ่ง ดึงเข้ามา ทำให้วันนี้กองทัพจะถอยตัวออกไป ก็ไม่ง่าย…”

เป็นคำตอบที่คลุมเครือครับ กลุ่มการเมืองที่ดึงเข้ามาคือกลุ่มไหน? ใช่ นักการเมืองตามที่พูดตอนแรกไหม? แต่ข้อความ ผู้นำทหารในยุคหนึ่ง ดึงเข้ามาไม่ควรเอามาไว้หลังคำว่า หรือนะครับ ถ้าจะเอาไว้หลังคำว่า หรือต้องระบุให้ชัดว่ากลุ่มการเมือง หน้าคำว่า หรือคือ กลุ่มอำนาจนอกระบบการเลือกตั้ง!

คือคำตอบที่ว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ดูเหมือนจะแสดงถึงความเป็นทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า แต่พอพูดถึงสาเหตุและรายละเอียดของรัฐประหาร กลับออกมาในท่วงทำนองโบ้ยความผิดไปให้นักการเมือง หรือพูดอย่างคลุมเครือ

ลองเทียบคำตอบข้างต้นกับคำตอบของคำถามที่ว่า คุณคิดว่าทหารต้องมีส่วนรับผิดชอบกับกรณีที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ หรือไม่ อย่างไร? เขาตอบว่าวันนี้เราเป็นจำเลยของสังคม ผมเคยพูดในหลายที่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่สั่งใช้ทหาร เราจะเป็นจำเลยของสังคมทันทีไม่ว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม เพราะต้องไม่ลืมว่าทหารถูกฝึกมาเพื่อบริหารจัดการความรุนแรงโดยใช้ความ รุนแรง พูดง่ายๆ ก็คือว่าเราเป็นคนที่ใช้กำลังในการจัดการอริราชศัตรู เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการสั่งให้ทหารเข้าปฏิบัติการ ก็อาจมีโอกาสเกิดความสูญเสียขึ้นได้ ผมไม่ได้ป้องกันหรือแก้ตัวให้ใครแต่ผมมองว่าทั้งหลายทั้งมวล คือความรับผิดชอบของผู้สั่งการ เพราะทหารทำตามที่ได้รับคำสั่ง อยากให้เห็นใจผู้ปฏิบัติงาน

คือไม่ว่าเราจะมองจากมุมไหน ทหารก็คือ ผู้ที่น่าเห็นใจการที่ทหารเข้ามาใกล้กับการเมืองมากเกินไป หรือมาทำรัฐประหารก็เป็นเพราะว่านักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองดึงเข้ามา (หรือเพราะนักการเมืองโกง ฯลฯ) ทหารฆ่าประชาชน (14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 เมษา-พฤษภา 35?) มันก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะธรรมชาติของทหาร (ไทย) เป็นอย่างนี้ (จัดการความรุนแรงโดยใช้ความรุนแรง...อย่าง ไม่ต้องแยกแยะหรือ?) ต้องเป็นความรับผิดชอบของ ผู้สั่งการและ พ.อ.ธีรนันท์ ก็บอกว่าผู้สั่งการในเหตุการณ์ที่สลายการชุมนุมที่ผ่านมา ก็คือ ฝ่ายการเมือง

ขณะที่สังคมกังขาว่า ฝ่ายการเมืองคือผู้มีอำนาจจริงหรือไม่? ถ้าสังคมเรามาถึงยุคที่ฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือทหารจริง ทำไม ผบ.ทบ.ที่รัฐบาลทักษิณตั้งมากับมือจึงทำรัฐประหารรัฐบาลนั้นได้ ทำไมรัฐบาลสมัคร สมชาย สั่งใช้กำลังทหารไม่ได้เลย ถ้าเป็นความจริงว่า ทหารทำตามที่ได้รับคำสั่ง

นอกจากจะไม่ทำตามคำสั่งแล้วยังมา ออกทีวีไล่รัฐบาลอีก แสดงให้เห็นว่าทหารก็มีอิสระที่จะปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบใช่ไหม? เช่น ถ้าฝ่ายการเมืองสั่งให้ทหารฆ่าประชาชน ทหารก็ปฏิเสธได้ใช่ไหม? โอเค ถ้า (สมมติ) ว่า รัฐบาลสมัคร สมชายสั่งทหารสลายการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง แล้วทหารตัดสินใจไม่ทำตามคำสั่ง เพราะรู้ดีว่าธรรมชาติของทหารคือการใช้กำลังรุนแรง (ปราบอริราชศัตรู) ถ้าใช้กำลังทหารกับประชาชนย่อมเกิดความสูญเสียอย่างไม่ต้องสงสัย ตรงนี้ผมเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็น แต่ ทำไมเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่คาดการณ์ถึงความ สูญเสียได้เช่นกัน แล้วทหารจึงต้องทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด หรือว่าชีวิตคนเสื้อเหลืองเสื้อแดงมีค่าไม่เท่ากัน?!!!

ทั้งหมดนี้ผมเอามาแลกเปลี่ยนเพียงบางส่วนของสองคำตอบจากสองคำถามเท่านั้น คือเอามาเฉพาะประเด็น ทหารกับรัฐประหารและทหารกับการใช้ความรุนแรงปราบประชาชนถ้าดูคำตอบสองเรื่องนี้เชื่อมโยงกับบริบทของเนื้อหาการสัมภาษณ์ทั้งหมด จะเห็นว่าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นนายทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้าในหลายๆ เรื่อง

แต่ถ้าวิเคราะห์เนื้อหาจริงๆ ของคำตอบเรื่องสาเหตุที่ทหารทำรัฐประหาร กับทหารใช้ความรุนแรงกับประชาชน คำตอบของนายทหารรุ่นใหม่คนนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับคำตอบที่เราได้รับจาก เสธ.ไก่อู หรือทหารสายอนุรักษ์นิยมอื่นๆ!

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

คุยกับ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง ว่าด้วยบทบาททหารกับการเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น