Sun, 2010-10-24 16:31
ทวน จันทรุพันธุ์
ผมเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตุการณ์กับคณะกรรมการส่งเสริมความ สมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข ไป 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553และวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ที่กระทรวงสาธารณสุข ด้วยความตั้งใจที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดัน พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ กับเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ ที่ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องกฏหมายนี้มาอย่างยาวนานด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
การประชุมครั้งแรก ผมจับประเด็นเนื้อหาอะไรได้ไม่มากนัก แต่ก็ได้พบเห็นแพทย์คนหนึ่งนำชาวบ้านเกือบ 10คน เข้ามาป่วนที่ประชุม ตัวแทนชาวบ้านคนหนึ่งได้กล่าวพาดพิงกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเชิง ตำหนิติเตียน ทั้งในแง่เนื้อหาและกลไกดำเนินงาน (คณะกรรมการ สป.สช.) และแพทย์ท่านดังกล่าว ยังได้กล่าวกับสื่ออีกว่าการคัดค้าน พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้ เป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ที่เขากำลังผลักดันอยู่คือการยกเลิกกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ
ในการประชุมครั้งที่สอง ผมรับรู้และเข้าใจเนื้อหาการพูดคุยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการทำการบ้านก่อนเข้าประชุม ซึ่งการพูดคุยกันคราวที่สองนี้ มีเรื่องราวและเนื้อหาไม่น้อยที่ทั้งแสลงหูและขุ่นเคืองใจ ที่มากที่สุดก็คือ การพูดจากล่าวโทษให้ร้ายกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างสาดเสียเทเสีย แพทย์คนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “กฏหมายที่เป็นกฏหมายที่แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย”
ตัวผมเอง แม้มิใช่ชาวบ้านระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ก็มีบัตรทองเช่นเดียวกันแม้ว่าจะยังไม่เคยใช้บริการ
วิถีชีวิตของผมสัมผัสและใกล้ชิดชาวบ้านระดับล่างมายาวนาน พบเห็นความยากลำบากของประชาชนในชนบทโดยเฉพาะเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยมามากมาย
แน่นอนว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและญาติมิตร แต่มันก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และยิ่งในภาวะที่สังคมเปลี่ยนผ่าน วิถีการผลิตและบริโภคที่เปลี่ยนไป สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ว่ากันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้ผู้คนเกิดการเจ็บป่วยมากขึ้นรวมทั้ง รุนแรงมากขึ้นด้วย ในขณะที่ทางเลือกในการบำบัดรักษาก็ถูกขีดเส้นให้แคบลงมาเหลือเพียงบริการ สาธารณสุขสมัยใหม่ ความรู้ภูมิปัญญาในการบำบัดรักษาแบบพื้นบ้านที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่ายเมื่อ ในอดีตก็ค่อยถูกกีดกันออกไป กระทั่งเลือนหายไปจนเกือบหมดสิ้น
ทางเลือกในการบำบัดอาการเจ็บป่วยของชาวบ้าน หากเป็นไม่มากก็มักจะปล่อยให้หายไปเองด้วยการนอนพักผ่อนอยู่กับบ้าน หนักขึ้นมาหน่อยก็หาซื้อหยูกยาจากร้านค้าในหมู่บ้านมากิน บางหมู่บ้านอาจหาซื้อได้จาก อสม. ที่นำยามาจากสถานีอนามัยมาจำหน่าย ฯลฯ ปฏิบัติตนไปแบบนี้แล้วหากอาการไม่ดีขึ้นก็มักจะไปพบเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย หรือกระทั่งอาการหนักมากขึ้นก็จะถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาล จังหวัดตามแต่กรณี
ในอดีตนั้นการออกไปรักษาการเจ็บป่วยของชาวบ้านในโรงพยาบาลนั้นถือเป็น เรื่องใหญ่โต เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอยู่ค่ากิน ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งหากไม่หนักหนาจริง ๆ ก็มักจะเลี่ยงไม่ไปโรงพยาบาล หลายคนปล่อยไว้จนอาการหนักแล้วค่อยไปโรงพยาบาลทำให้การบำบัดรักษาทวีความ ยุ่งยากมากขึ้น และแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็เพิ่มตามขึ้นมา เข้าข่าย “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
ดังที่กล่าวไว้ว่าการเจ็บป่วยในปัจจุบันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก คนยากคนจนจำนวนมากที่เจ็บป่วยแล้วต้องหมดสิ้นประดาตัว ผมเองมีญาติสนิทอย่างน้อยสองราย ที่ต้องขายวัว-ควาย และนำที่นาไปจำนองเพื่อนำเงินมาเป็นค่ารักษาพยาบาล คนหนึ่งตายจากไปทิ้งภาระหนี้สินให้ลูกเมีย อีกคนหนึ่งต้องกลับมาทำงานเพื่อหาเงินมาไถ่ที่นา ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่สามารถไถ่ถอนกลับคืนมาได้ นี่เป็นความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่สุดของคนระดับล่าง
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยที่สามารถรักษาและชะลอ การตายได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง แต่เป็นเพราะความยากจนทำให้เขาไม่สามารถเข้ารับการฟอกเลือด และล้างไตทางช่องท้องได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิบลิ่ว ผู้รู้คนหนึ่งบอกผมว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยเหตุนี้จำนวนมากมายทีเดียว
ภายหลังการเกิดนโยบาย “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นไปตามกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะคนยากคนจนเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึงมากขึ้น เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฏหมายที่กำหนดไว้
แน่นอนว่าการเกิดนโยบายเช่นนี้ทำให้ประชาชนตัดสินใจไปรักษาพยาบาลแต่ เนิ่น ๆ มากขึ้น ลดภาวะ “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในอดีตได้จำนวนไม่น้อย อีกทั้งยังทำให้การเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เดิมใช้วิธีการรักษาตนเองก็กลับกลายมาพึ่งการรักษา เป็นภาระให้โรงพยาบาลทำงานหนักมากขึ้น และประการนี้นี่เองที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แพทย์จำนวนมากออกมาวิพากษ์ วิจารณ์กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผมเห็นใจเป็นอย่างยิ่งกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดของแพทย์และพยาบาล แต่ว่ามันจะใช้เป็นข้ออ้างได้กระนั้นหรือ ?
การใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้างเท่ากับว่าเห็นด้วยกับการให้คนเจ็บป่วยนอน รอคอยอยู่ที่บ้าน รอให้อาการเพียบเสียก่อนจึงค่อยมาหาหมอ เป็นการกีดกันการบำบัดรักษาเจ็บป่วยของชาวบ้านยากจนที่เข้าไม่ถึงบริการมา ก่อน กระทั่งยินดีกับการให้ชาวบ้านเหล่านั้นรับภาระค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเอง
ผมคิดว่าเราอาจต้องเข้าใจกันก่อนว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวบ้านมิได้ เพิ่มขึ้นหลังจากการประกาศใช้กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพียงแต่กฏหมายนี้ทำให้คนยากคนจนที่นอนป่วยอยู่กับบ้านตัดสินใจเข้ามารับการ รักษาจากโรงพยาบาลมากขึ้น ทั้งนี้หลายรายเป็นการรักษาตัวแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะลุกลามใหญ่โต
แต่อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของผม ไม่มีใครอยากมาโรงพยาบาลหรอกครับ แม้ว่าจะเสียเงินค่ารักษาเพียง 30 บาท แต่ก็มิใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก ทั้ง ค่ารถรา ค่ากินค่าอยู่ในระหว่างมาโรงพยาบาลซึ่งต้องใช้เงินอีกไม่น้อย ต้องเสียเวลาทำมาหากิน อีกทั้งสภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลก็ไม่น่าดึงดูดอย่างยิ่งให้ก้าวเข้ามา นี่ยังไม่รวมถึงอากัปกิริยาของแพทย์พยาบาลผู้ให้บริการบางคนที่ไม่มีความ เป็นมิตร ดังที่ผมเองประสบมากับตัวเอง
นอกจากนั้นผู้ป่วยยากจนหรือผู้ป่วยอนาถา แต่ก่อนนั้นต้องนอนรอความตาย อย่างเช่นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยเอดส์ ฯลฯ การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ก็สามารถยืดอายุเขาออกไปได้อีกมากมาย ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ดีงามมิใช่หรือ ?
แน่นอนว่าการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ๆ ย่อมทำให้เกิดความแออัด และกระทบต่อคุณภาพการให้บริการ แต่คนยากคนจนเหล่านี้เขาก็ไม่ได้คาดหวังมากไปกว่าการได้รับการรักษาจากโรง พยาบาล การเข้าถึงการรักษาโดยที่ไม่เป็นภาระในการใช้จ่ายมากนัก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหวังของพวกเขาอยู่แล้ว
กล่าวโดยรวมแล้วชาวบ้านระดับล่างที่มีฐานะยากจนเหล่านี้สามารถเข้าถึง บริการสาธารณสุข มีหลักประกันสุขภาพ และที่สำคัญทำให้ครัวเรือนทั่วประเทศสามารถลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล รวมทั้งการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
ทั้งนี้โดยการยืนยันผลจากงานวิจัย “การใช้ข้อมูลการสำรวจมาวัดผลกระทบ ของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและการลดความยากจน และการสร้างดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ” โดย ดร.
ในเรื่องผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพของประชาชนและการลดความยากจน พบว่า ในปี 2545 หลังจากมีโครงการฯ ครัวเรือนทั่วประเทศ สามารถลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลได้ ประมาณ 7425– 10,247 ล้านบาท และในปี 2547 ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 12,842 – 14,111 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงปี 2529-2531กับช่วงปี 2545-2547พบว่า ครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากการมีหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า ประมาณ21,223 – 44,482 ล้านบาทในปี2545และเพิ่มขึ้นประมาณ 29,150 – 53,004 ล้านบาท ในปี 2547
ผมได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า มีแพทย์ท่านหนึ่งพยายามจะเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการยกเลิกกฏหมายหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ และหากเดาไม่ผิดก็จะมีกลุ่มทุนที่สูญเสียและได้รับผลกระทบจากกฏหมายนี้ รวมไปถึงกลุ่ม องค์กรและสถาบันทางการแพทย์-สาธารณสุข ออกมาสนับสนุนทั้งในทางลับและทางแจ้ง และก็อาจจะมีนักการเมืองที่อาจจะบ้าจี้ไปกับการเคลื่อนไหวของแพทย์กลุ่มนี้
จึงขอเสนอข้อมูลจากการวิจัยของ ดร.
รัฐบาลได้ใช้งบประมาณ 6 หมื่นล้าน สำหรับเป็นสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งครอบคลุมคนแค่ 4 ล้านคน ในขณะที่โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค ใช้งบประมาณแสนกว่าล้านบาท แต่ครอบคลุมคนถึง 47ล้านคน และจากการสำรวจความพึงพอใจพบว่า คนร้อยละ80 มีความพอใจ
ผมจึงขอถามว่าจะมีพรรคการเมืองไหนบ้าจี้ไปกับแพทย์กลุ่มนี้บ้าง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น