สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

′เหมืองแร่′ ความเป็น ความตาย และ ความจริง*

โดย ปิยมิตร ปัญญา piyamit...@gmail.com

1 เหมืองถ่านหิน งานที่หนัก สกปรก และอันตรายที่สุดในโลก

2 เหมืองแห่งหนึ่งในเมืองไต้หยวน หลินเฟิน มณฑลส่านซี

ตอนที่หลุยส์ อูร์ซัว โฟร์แมนเหมืองซานโฮเซ่ เมืองโคเพียโป ประเทศชิลี
ก้าวออกจากแคปซูลกู้ชีพเป็นคนที่ 33
คนเหมืองคนสุดท้ายที่หลุดพ้นจากการถูกกักอยู่ใต้ดินลึก 700 เมตร
ยาวนานเป็นสถิติโลกถึง 70 วันเต็ม ท่ามกลางเสียงบรรเลงเพลงชาติชิลี
บรรยากาศโดยรอบเหมือนปาร์ตี้ฉลองขนาดใหญ่ไปแล้ว

แต่ห่างออกไปไม่กี่มากน้อยที่ประเทศโคลอมเบีย ก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน
เหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งถล่ม เจ้าหน้าที่กู้ภัยใช้เวลานาน 4
วันขุดค้นอย่างต่อเนื่อง เพียงเพื่อพบแค่ศพของ 2 คนเหมืองเท่านั้น

หลายวันให้หลัง คนเหมืองอีก 4 รายถูกกักอยู่ใต้เหมืองในเอกวาดอร์ หลังสุด เมื่อ
16 ตุลาคม เหมืองถ่านหินอีกแห่งในจีนระเบิด คนงานอีก 16 คนถูกกักติดอยู่ใต้ดิน

2 คนที่โคลอมเบีย 4 คนที่เอกวาดอร์ และอีก 16 คนที่จีน
ไม่มีอะไรผิดแผกแตกต่างจากคนเหมือง 33 ชีวิตใต้ดินลึกในซานโฮเซ่
พวกเขาอาจขุดค้นหาแร่ที่แตกต่างกันออกไป ทองและทองแดงที่ซานโฮเซ่ ถ่านหินที่จีน
เพชรและพลอยที่แอฟริกาใต้ แต่ทุกชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้ายเช่นเดียวกัน

อาชีพ "คนเหมือง" เป็นหนึ่งในสัมมาชีพที่อันตรายที่สุดในโลก
มีเพียงเส้นแบ่งบางเฉียบขวางพวกเขาอยู่ระหว่างห้วงของความเป็นและความตาย

ปาฏิหาริย์น้อยครั้งจะเกิด
แต่อุบัติเหตุที่บางครั้งมีสาเหตุจากการละเลยเพียงน้อยนิดเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่าและบ่อยครั้งกว่ามาก

นอร์มา ลากูเอส มารดาของหนึ่งในคนงานเหมืองซานโฮเซ่ บอกว่า
ลูกชายของเธอและคนเหมืองทุกคนรู้ดีว่าการทำงานในเหมืองแร่ใต้ดินนั้นอันตรายอย่างยิ่ง
แต่ไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น
ทุกคนเดินทางไปทำงานทุกวันโดยมีความหวั่นกลัวแฝงติดอยู่ในใจตลอดเวลา

ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เฉพาะในสหรัฐอเมริกา
มีรายงานของรัฐบาลบันทึกไว้เป็นสถิติว่ามีผู้เสียชีวิตจากการทำงานในเหมืองแร่
34 ราย ครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตในเหมืองถ่านหิน
ถ้าขยายขอบเขตออกมาเป็นระดับสากล จำนวนผู้เสียชีวิตทะยานขึ้นสูงเป็นติดจรวด

ตัวเลขของสมาพันธ์สหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์, พลังงาน, เหมือง ระหว่างประเทศ
ประเมินเอาไว้ว่า มีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติงานในเหมืองแร่สูงกว่า 12,000
คนในแต่ละปี
ทั้งที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการและที่ไม่มีการรายงานให้บันทึกไว้อย่างเป็นทางการ

ในจีนเพียงประเทศเดียว เมื่อปีที่ผ่านมา
มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเหมืองมากถึง 2,631 คน
ซึ่งนับว่าลดลงมากจากที่เคยทำสถิติไว้สูงสุดเมื่อปี 2002 ถึง 7,000 คน

เอลิซาเบธ โรเซนธาล ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์ก ไทมส์
ลองคำนวณเอาไว้ในบล็อกของเธอว่า
ปีนี้มีผู้ถูกช่วยเหลือรอดชีวิตจากอุบัติเหตุเหมืองเพียง 33 คน
แต่คาดว่าจะมีคนตายจากเหมืองมากกว่า 12,000 คน
3 ตึกสูงในใจกลางเมืองจี้ซิ่ว มณฑลส่านซี

4 บรรยากาศที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่ไต้หยวน หลินเฟิน

5 บาร์ในเมืองไต้หยวน หลินเฟิน บาร์เป็นแหล่งซ่องสุมของคนเหมือง คนที่พูดน้อย
ไม่บ่น ไม่ต่อว่า เพียงอาศัยสุราราดรดทุกข์

สัดส่วนของความเป็นกับความตายของคนเหมืองยังสูงมาก สูงถึง 1 ต่อ 400
เป็นอย่างน้อย

นั่นคือความเป็นจริงของความเป็นและความตายครับ

ที่มณฑลส่านซี ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตู้รถไฟลำเลียงถ่านหินทะยานคดเคี้ยวไปข้างหน้าผ่านพื้นภูมิทัศน์เวิ้งว้างว่างเปล่าตู้แล้วตู้เล่า
มุ่งหน้าไปยัง ฉินหวงเดา เมืองท่าชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศ

บนไฮเวย์ลาดยางไร้ยวดยานอื่นใด นอกจากรถบรรทุกขนาดใหญ่เรียงรายคันแล้วคันเล่า
ใต้ผ้าใบกันน้ำหลังรถคือถ่านหินจำนวนมหาศาลที่ถูกลำเลียงแข่งกับเวลาสำหรับตอบสนองความต้องการพลังงานของคนนับพันล้านในประเทศ
คนขับรู้ดีว่ากำลังเสี่ยงเพราะบ่อยครั้งที่รถหนักเกินพิกัดบรรทุกแหกโค้งทิ้งตัวพังพาบกับข้างถนน

ส่านซี เป็นเขตเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของจีน
ที่นี่เป็นเมืองแห่งเหมืองโดยแท้จริง มีเหมืองถ่านหินอยู่ระหว่างปฏิบัติการราว
1,500 เหมือง
ฝุ่นในหลายเมืองคลุมม่านฟ้าจนกลายเป็นสีเทาและทำให้วันเวลาของเมืองเหมือนถูกปกคลุมด้วยสีเทาทะมื่นอยู่ตลอดเวลา

เหมือง 1,500 เหมือง กับคนงานที่ทำงานเป็นกะหลายพันคนต่อเนื่องไม่ว่างเว้น
กลายเป็นชีพจรที่ไม่มีวันหยุดของมณฑล ตราบจนกระทั่งไฟ หรือการระเบิด
ยับยั้งมันไว้ชั่วครั้งคราว ครั้งแล้วครั้งเล่า

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา คนเหมือง 12
คนเสียชีวิตอย่างอนาถในเหมืองแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองจี้ซิ่ว
ทางการจี้ซิ่วไม่เคยปริปากเรื่องนี้ แต่อาเหลียง ผู้รอดชีวิตวัย 57 ปี เล่าว่า
อุโมงค์เหมืองก็เต็มไปด้วยละอองถ่านหินคละคลุ้ง
ไม่นานหลังจากนั้นมันก็กลายเป็นเชื้อปะทุเป็นอย่างดีสำหรับการระเบิดที่เกิดขึ้นถัดมา

เหลียง ทำงานในเหมืองแห่งนี้ที่ความลึก 800 เมตรมาตั้งแต่อายุ 22
อุโมงค์เหมืองไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
เพดานต่ำเตี้ยถึงขนาดที่คนงานทุกขนาดความสูงจำเป็นต้องค้อมตัวหรือคลาน
เพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เฉาะก้อนถ่านหินออกจากผืนแร่ขนาดใหญ่
ตักมันด้วยพลั่วขึ้นรถรางลำเลียง

บางครั้ง พวกเขาอาจกระทั่งทำมันด้วยมือเปล่าเปลือยทั้งสองข้างเท่านั้น

เมื่ออายุครบ 55 ปี วัยที่ถือว่าไม่เหมาะกับงานหนัก
เพราะร่างกายไม่สามารถยืดหยุ่น และรองรับกับภารกิจกินแรงได้
เจ้านายเปลี่ยนหน้าที่ของเหลียงเสียใหม่ ให้ทำหน้าที่ลากนั่งร้านเหล็กและคานไม้
ที่ใช้สำหรับค้ำยันเพดานอุโมงค์เหมือง
เขาไม่รู้เหมือนกันว่างานใหม่นี้เบาแรงกว่างานขุดและขนก่อนหน้านี้อย่างไร

รู้แต่ว่ามันยากเย็นกว่าเก่าด้วยซ้ำไป

อาเหลียง แลกหยาดเหงื่อแรงงานกับการต้องทนทุกข์ชนิดหลังแทบหัก
แลกกับเงินเดือนเพียงเดือนละ 169 เหรียญ หรือราว 5,000 บาทเท่านั้น

นี่คืออีกความจริงอันเจ็บปวดของคนเหมือง

อุบัติเหตุเกิดขึ้นจนแทบกลายเป็นเรื่องสามัญธรรมดาในเหมืองทั้งหลายในจีน
ตัวเลขอย่างเป็นทางการล่าสุดที่มีก็คือตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเหมืองเมื่อปี
2008 มันอยู่ที่ 3,215 คน ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของปี 2009
ที่ผ่านมาลดลงมาอยู่ที่ 2,631 คน แต่ยังห่างไกลอย่างมากจากมาตรฐานความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ของจีนเองยอมรับว่า ถ้าหากปรับใช้มาตรฐานความปลอดภัยกันอย่างเข้มงวด
90 เปอร์เซ็นต์ของเหมืองขนาดเล็กในจีน
จำเป็นต้องปิดเพื่อปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยเหล่านั้น

ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งมากเท่ากับความเลวร้าย
สยดสยองที่เกิดขึ้นภายในเหมือง เมื่อต้นเดือนเมษายนปีนี้
เจ้าหน้าที่กู้ภัยเหมืองชาวจีนประสบความสำเร็จที่หาได้ยากเย็นอย่างมากในประวัติศาสตร์เหมืองแร่ที่นี่
เมื่อสามารถดึงเอาคนเหมือง 115 คนที่เหมือง หวังเจียหลิง
ออกมาได้ในสภาพมีชีวิตหลังจากที่ติดอยู่ใต้เหมืองถล่มนานถึง 8 วัน

รายงานอย่างไม่เป็นทางการประเมินค่าเฉลี่ยเอาไว้ว่าคนเหมืองในจีนเสียชีวิตแต่ละปีประมาณ
5,000 คน นอกจากนั้น
ส่านซียังถือเป็นหนึ่งในสถานที่มีสภาวะแวดล้อมที่อันตรายมากที่สุดในโลก
กลุ่มเรียกร้องมาตรฐานความปลอดภัยนำเสนอตัวเลขเป็นเชิงอุปมาอุปไมยให้เห็นภาพเอาไว้ว่า
จีนผลิตถ่านหินได้ราว 35 เปอร์เซ็นต์ของถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลก
แต่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเหมืองของจีนมากคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80
เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตในเหมืองทั้งหมดทั่วโลกรวมกัน

ยอดผู้เสียชีวิตเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับปริมาณถ่านหิน 100 ตันในจีน
สูงกว่าอัตราส่วนเดียวกันในสหรัฐอเมริกาถึง 100 เท่าตัว
แต่ดูเหมือนทางการจีนไม่มีทางเลือกอย่างอื่น
ถ่านหินเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีมากมายในจีน ผลิตผลของมันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง
70 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมดที่จีนผลิตได้ด้วยตัวเอง

เพื่อตอบสนองความต้องการที่ขยายตัวไม่หยุดหย่อน เพราะทุกๆ 1 สัปดาห์
จีนจะมีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้น 2 โรง
พลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าเหล่านี้คือ "ถ่านหิน"
ที่ทั้งสกปรกและอันตรายอย่างยิ่งยวดนี้

อุบัติเหตุไม่ได้เป็นสาเหตุแห่งความตายเพียงอย่างเดียว
กระทรวงสาธารณสุขของจีนยอมรับว่า มลภาวะเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในจีน
ที่นี่ไม่เพียงสร้างมลภาวะจากซัลเฟอร์ที่เกิดจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมากถึง
1 ใน 6 ของทั้งโลกเท่านั้น
สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนจีนในเวลานี้ยังเป็นการเสียชีวิตจากมะเร็ง
ที่เกิดขึ้นจากความเป็นพิษของภาวะแวดล้อม

บางคนเปรียบเปรยว่า จีนกำลังทำลายตัวเองด้วยความสำเร็จของตนเอง!

อุบัติเหตุ ความตาย ความอยาก และโลภโมโทสัน ไม่เลือกสัญชาติ ไม่เลือกสถานที่
ในรายงานล่าสุดเมื่อปี 2008 ของ "กรีนพีซ"
องค์กรเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับโลกชื่อ "ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน"
บอกเอาไว้ว่า ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ราคาถูกที่สุดในเวลานี้
แต่ถ้าคำนวณมูลค่าของทุกอย่างในกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งแต่ละตันของมันนั้น
ต้นทุนที่แท้ของถ่านหินมากมายมหาศาลกว่าที่ทุกคนคาดคิดเอาไว้มากนัก

ตัวอย่างเช่นเหมืองถ่านหินในมลรัฐเคนตักกี ในสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้เป็นเจ้าของเหมืองใช้วิธีการ "ระเบิด" ยอดเขาทั้งยอดทิ้ง
เพียงเพื่อให้สามารถ "เข้าถึง" ถ่านหินได้ง่ายดายมากขึ้น ในแอฟริกาใต้
น้ำจากหลุมแร่ทิ้งร้างที่เต็มไปด้วยกรดพิษลามไหลออกไปปนเปื้อนกับน้ำดื่มน้ำใช้ในบริเวณโดยรอบ
ที่โคลอมเบีย บริษัทเจ้าของเหมืองพรากพ่อจากแม่และลูกๆ
เพียงเพื่อให้สะดวกกับการขยายเหมือง เคอร์เรโฮ
เหมืองถ่านหินดำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นแหล่งที่มาสำคัญของถ่านหินคุณภาพสูงที่ใช้กันในหลายประเทศในยุโรป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี

จากการคำนวณของกรีนพีซ
ธุรกิจเหมืองสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 360,000
ล้านยูโรในแต่ละปี ซึ่งคิดเป็นเงินบาทได้มากมายมหาศาลถึง 15 ล้านล้านบาท
ถ่านหินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นอีก 60 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030

นั่นหมายความว่า แม้ 33 คนเหมืองในชิลี จะประสบโชคชะตาพลิกผัน
สามารถร่ำรวยได้จากหลายๆ ทาง ทั้งเงินของขวัญ รายได้จากการขายเรื่อง
การสัมภาษณ์ และเงินอีกก้อนโตไม่น้อยกว่ารายละ 1 ล้านดอลลาร์
เป็นค่าเสียหายที่เรียกร้องจากทางเจ้าของเหมืองซานโฮเซ่
จนสามารถเลิกราอาชีพเหมืองแร่ได้โดยเด็ดขาด

อีกหลายคน หลายครอบครัว หลายชีวิต
ยังคงต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายอยู่ในเหมืองอีกต่อไป

ตราบเท่าที่ตัณหา ความอยากได้ใคร่มี
และความต้องการความสะดวกสบายในปลายทางอีกด้านหนึ่งยังคงเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น