สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการตายและการรำลึก 34 ปี 6 ตุลา 2519


Wed, 2010-10-06 08:41

วิภา ดาวมณี

octnet72@yahoo.com

วันที่ 6 ตุลาคม ปีนี้ นอกจากเป็นวันครบรอบ 34 ปี ของเหตุการณ์นองเลือดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเกิดจากอาชญากรรมรัฐ เมื่อปี พ.ศ.2519 แล้ว ยังเป็นวันครบรอบ 10 ปี ของชิ้นงานประติมากรรม 6 ตุลาด้วย ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นมาด้วยน้ำพัก น้ำแรง น้ำใจ และการระดมทุนจากบรรดาผู้ผ่านเหตุการณ์ และมีประสบการณ์ร่วมกัน ภายใต้คำขวัญของการจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลา ว่าขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุลา..กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงามโดยมติเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย เมื่อปี 2539

ประติมากรรมกลางแจ้ง 6 ตุลา มีลักษณะเหมือนเขื่อนกั้นสายธารที่น้ำเคยใสให้กลับกลายเป็นสีแดงของเลือด มี โลหะฝังลงบนหินสีแดง ขนาดยาว 6 เมตร กว้าง 3 เมตร หมายถึงสายธารประชาธิปไตยถูกสะกัดกั้น ด้านหลังมีรายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ และบันทึกของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น หากเดินจากมุมด้านซ้ายประติมากรรม แล้วค้อมหัวลงอ่านที่พื้นหินอ่อนสีดำ เวียนไปทางซ้ายทวนเข็มนาฬิกาจนมาบรรจบที่เดิม ก็จะคารวะต่อวิญญาณวีรชน ณ ที่นั้นในเวลาเดียวกัน อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สรุปเรื่องราวไว้อย่างไร ด้วยข้อความสั้นๆแต่มีความหมายลึกล้ำ

ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฉบับเต็มนั้นชื่อว่าความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” มี ความยาวถึงสิบหน้ากระดาษซึ่งถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้งคำถามกับ เหตุการณ์นี้ มีการแจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธีการของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ออาชญากรรมรัฐ ดังนี้

“......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในเดือนตุลาคม 2516 เมื่อ มีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่า ถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่าสังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์และกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาปถึงแม้ในกันยายนตุลาคม 2519 เอง ก็ยังมีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก

ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการ เมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธีต่างๆ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ทางหนังสือพิมพ์ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือกัน ทางบัตรสนเท่ห์ ทางจดหมายซึ่งเป็นบัตรสนเท่ห์ขู่เข็ญต่างๆ และได้ก่อตั้งหน่วยต่างๆ เป็นเครื่องมือซึ่งจะได้กล่าวถึงในข้อ 20 และข้อต่อๆ ไป

วิธีการของบุคคลกลุ่มเหล่านี้ คือ ใช้การปลุกผีคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ถ้าไม่ชอบใครก็ป้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แม้ แต่นายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ หรือเสนีย์ หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไม่เว้นจากการถูกป้ายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอ้างถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องมือในการป้ายสี ถ้าใครเป็นปรปักษ์ก็แปลว่าไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ …. ( จากเว็บไซต์ www.2519.net )

ความขัดแย้งทางการเมืองในระหว่าง กลุ่มพลังก้าวหน้า ที่มุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างกับพลังอนุรักษ์นิยมทางการเมือง ลงเอยด้วยการก่ออาชญากรรมรัฐ ในวันที่ 6 ตุลา 2519 เพียง 3 ปี จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เมื่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ชุมนุมโดยสงบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันเรียกร้องให้ขับไล่อดีตจอมพล ถนอม กิตติขจรผู้หวนกลับเข้ามาในประเทศไทยออกไป จนเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา การสังหมู่ก็เริ่มต้น จากกลางสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยลามไปจนทั่ว บริเวณ จากริมฝั่งเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ การเข่นฆ่าแผ่เป็นวงกว้าง ผ่ารั้วมหาวิทยาลัยไปถึงต้นมะขามสนามหลวง ฝ่ายการเมืองอนุรักษ์นิยมสร้าง สถานการณ์ก่อนหน้าการรัฐประหาร เพื่อสลายกลุ่มองค์กรพลังก้าวหน้าและพรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม ผลักดันให้นักศึกษากว่า 3000 คน เดินทางสู่ป่าเขาเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

........ตัวอักษรคำว่า ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เป็นตัวเลขไทย และอักษรไทยแกะสลักบนหินแกรนิตสีแดง แสดงความหมายในตัวอย่างชัดเจน สีแดงหมายถึงเลือดที่ตกสะเก็ด ตัวอักษรหยาบๆ ความนูนไม่เท่ากันบ่งบอก ถึงความหยาบกระด้างของการถูกกระทำ ถูกเข่นฆ่า ถูกจับกุม ภาพวีรชนที่จำลองจากภาพถ่ายจริง จากเหตุการณ์จริงๆในวันนั้น มีวีรชน วิชิตชัย อมรกุล ถูกแขวนคอ เขาเป็นนักศึกษาปี 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เป็นนักกีฬาทีมรักบี้ที่เอาการเอางานและมาทำหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัยใน ที่ชุมนุม วีรชนจารุพงษ์ ทองสินธุ์ อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกลากคอไปตามสนามฟุตบอลโดยผ้าขาวม้าของตัวเองที่พาดบ่าอยู่เป็นประจำ ภาพนักศึกษาหญิง ชาย และอีกหลายภาพอันทารุณดูน่าสลด มีภาพปั้นนูนต่ำของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สะท้อนภาพความพยายามของชนชั้น ปกครองที่จะทำลายการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และกดกระแสการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามของคนหนุ่มสาวที่มีผลพวงมาจากยุค ประชาธิปไตยเบ่งบานลงไป

อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์เคยกล่าวไว้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น ดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว ประติมากรรมของสามัญชน วีรชนที่ถูกกระทำโดยอำนาจรัฐอย่าง 6 ตุลา อาจจะเป็นบทพิสูจน์ส่วนหนึ่ง

แต่ถึงอย่างไรความพยายามที่จะ สร้างความทรงจำ และสร้างพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ด้วยการถ่ายทอดด้านที่อัปลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ และเตือนสติดูจะไม่มีผลมากนัก สังคมไทยยังคงซึมซับกับประสบการณ์เดิมๆ เรื่องราวเดิมๆ การคุกคาม ปราบปราม เข่นฆ่า และอาชญากรรมของรัฐ ซึ่งดูรุนแรงยิ่งกว่า จากพฤษภา 2535 มาถึง เมษา-พฤษภาเลือดในปี 2553

เสรีภาพของประชาชน ถูกกระชับพื้นที่ จนแทบไม่มีที่จะยืน อดีตเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ผ่านเหตุการณ์มาด้วยกันหลายต่อหลายคน ก็กลับเป็นปฏิปักษ์กัน ความหมายของการรำลึก 34 ปี 6 ตุลา 2519 จะมีคำตอบหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำถามที่ล่องลอยไปกับสายลม...เสียงเพลงสดุดีวีรชนดังแว่วมา ....ป้าเล็ก แม่ของวีรชนมนู วิทยาภรณ์มาร่วมงาน 6 ตุลา ที่ธรรมศาสตร์ทุกๆปี คำถามคาใจที่ป้าเล็กถามคือลูกนูทำผิดอะไรถึงต้องตาย ใครฆ่าลูกนู...???”ดุจเดียวกับคำถามจากญาติๆของ อีก 91 ชีวิตที่ปลิดลงในปีนี้ ....พวกเขาทำผิดอะไร...ใครฆ่าเขา ???

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น