คอลัมน์ : เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง : รัฐสามัญชน-ธนบุรี
โดย : กาหลิบ
เมื่อ สองร้อยสี่สิบปีที่แล้ว ณ ศุภดิถีที่ ๔ ตุลาคม ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๑๓ สามัญชนผู้รักชาติผู้หนึ่งได้ประกาศสร้างชาติด้วยความร่วมแรงร่วมใจของสามัญ ชนด้วยกันจนกู้ชาติได้สำเร็จ ท้ายที่สุดก็เกิดเอนกนิกรสโมสรสมมติขึ้นอีกครั้งในแผ่นดิน มวลชนยกให้นายสินผู้เป็นพระยาตากขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ ธนบุรี ด้วยความหมายที่บริสุทธิ์ที่สุด คือการนำชาติไปสู่ความไสวสว่าง และขนานพระนามอันเป็นทางการว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
รัฐสามัญชน ดำเนินต่อมาอีกหลายปี ตั้งอกตั้งใจจะวางรากฐานของชาติเสียใหม่ โดยไม่ต้องอ้างความเห็นของผู้ดีเก่ายุคกรุงศรีอยุธยา แต่เพราะตั้งใจแน่วแน่เกินไป และไม่รักษาผลประโยชน์ของฝูงเหลือบประจำแผ่นดิน คือขุนนางอำมาตย์ สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับการรัฐประหารโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๒๕ เปลี่ยนขบวนปฏิวัติสามัญชนคืนสู่ครรลองเก่าที่ขุนนางยุคเดิมเป็นเจ้า ชีวิต-เจ้าแผ่นดินประดุจเดิม และเกิดราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแทนนับแต่บัดนั้น
ใน ขณะที่กรุงธนบุรีมิได้อาศัยความโอ่อ่าอลังการใดๆ ของอยุธยาเลย กรุงเทพมหานครกลับยึดเอามหานครที่ถูกโค่นล้มนั้นเป็นหลัก เพื่อฟื้นลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์มากลบเกลื่อนลัทธิสามัญชน
สืบนิสัยกันมาจนกระทั่งบัดนี้
กรุง ธนบุรีก็มิใช่ว่าจะสมบูรณ์ไปเสียทุกอย่าง การมุ่งสังคายนาพระไตรปิฎกอันโอฬารลึกซึ้งอาจจะเร่งรัดแข่งกับเวลาเกินไป บ้าง ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในทางพระศาสนาและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือการเมืองถึง ขนาดกล่าวหากษัตริย์สามัญชนว่าเสียพระจริต จนถูกพิพากษาประหารพระชนม์ชีพ แต่ในความเคร่งครัดรัดเร่งนั้นเอง เราได้เห็นว่าสามัญชนผู้ครองแผ่นดินมีความประสงค์จะพัฒนาบ้านเมืองให้จำเริญ ก้าวหน้าเพียงใด และถูกทำลายอย่างเป็นระบบด้วยเครือข่ายปิศาจชาติขุนนางอย่างไร
เงา มืดของการรัฐประหารเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ ทาบทับลงบนแผ่นดินไทยหลายต่อหลายครั้งรวมทั้งครั้งที่สั่งยึดอำนาจจากรัฐบาล สามัญชนคนธรรมดา เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ นั้นด้วย
มี งานศึกษาค้นคว้าหลายเล่มที่จะช่วยให้ผู้ใฝ่ใจเกิดความใสสว่างอย่างดียิ่งใน เรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” ฝีมือร้อยประวัติศาสตร์ของ ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้งจนกระทั่งบัดนี้
ในงานชิ้น นี้ อาจารย์นิธิฯ เล่าเรื่องเชิงวิเคราะห์ว่า รัฐสามัญชนที่มีชื่อว่าธนบุรี ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๓ อย่างไร โดยเฉพาะส่วนที่พรรณนาถึงระบบที่ล่มสลายของอยุธยาอันเกิดจากเจ้านายที่เลว ร้าย โยงมาถึงการจัดตั้งใหม่ของพระเจ้าตากจนเกิดประสิทธิภาพและกู้ชาติได้สำเร็จ นั้น ไม่ผิดอะไรกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ร่วมสมัยของไทยเลย
อ่านเสีย จะได้รู้ว่าระบบใดๆ ที่ฉ้อฉลตรงใจกลางนั้น ต่อให้ภาพภายนอกแข็งแกร่งขนาดไหนในที่สุดก็จะพังทลายลงมาอย่างไม่เป็นท่า เหมือนปลายอยุธยานั้นเอง
ส่วนเรื่องที่ประชาชนคนธรรมดาไปช่วยกันเก็บ ซากปรักหักพังมาก่อรูปขึ้นใหม่จนเป็นบ้านเมืองขึ้นมาได้นั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับยุคสมัยที่สูงกลับกลายเป็นต่ำ และที่ว่าต่ำกลับกลายเป็นสูงนั่นแล
กำเนิดของกรุงธนบุรีที่เวียนมาบรรจบ ในวันนี้ จึงเป็นคติที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันสมัย ถึงใครจะบิดเบือนประวัติศาสตร์หวังให้ผู้คนลืมเลือนประวัติศาสตร์สิบห้าปี นี้อย่างไรก็คงจะไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะมวลชนผ่านยุคมืดมานานพอสมควร และได้รับเทียนที่จุดขึ้นอย่างวับแวมมาถือไว้ในมือ กำลังจุดต่อๆ กันไปอย่างแน่วแน่มั่นคง
อะไรที่เคยมืดจะสว่าง
อะไรที่สว่างอยู่แต่เดิมก็จะสว่างโพลงขึ้น จนปิศาจร้ายที่สิงสู่อยู่ในรูปทองต้องกระโดดหนีเพราะแพ้ภัยมวลชน
ไม่มีอะไรที่คนโกหกจะกลัวเท่ากับความจริง
ไม่มีอะไรที่คนใจบาปจะเกรงเท่ากับคราบนักบุญ
มาฉลองกรุงธนบุรีกันเถิดครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น