สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

องค์กรตุลาการกับประชาธิปไตย

องค์กรตุลาการกับประชาธิปไตย*

(ขอขอบคุณ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล)

รัฐ ใดที่ประกาศตนเป็นนิติรัฐ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะยอมรับบทบาทขององค์กรตุลาการ ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย บริหารไม่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ การควบคุมฝ่ายบริหาร ก็ได้แก่ การควบคุมการความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง ในขณะที่การควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้แก่ การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา

องค์กรตุลาการ ในนิติรัฐสมัยใหม่จึงมีบทบาทสำคัญ ไม่เพียงแต่บทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจ โดยมิชอบของรัฐ และการปกปักรักษาประชาธิปไตยอีกด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ด้วยบทบาทอันกว้างขวางขององค์กรตุลาการเช่นนี้ นำมาซึ่งความขัดแย้งกันเองกับคำว่าประชาธิปไตย กล่าวคือ ด้านหนึ่ง นิติรัฐ-ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ก็เรียกร้องให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน และควบคุมไม่ให้เกิดการปกครองที่เสียงข้างมากใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้น เมื่อองค์กรตุลาการเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจรัฐเข้า ก็เกิดการเผชิญหน้ากันกับองค์กรที่มีฐานความชอบธรรมทางการเมืองอย่างรัฐสภา และรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่องค์กรตุลาการปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองเช่นว่า

ความขัดแย้งดังกล่าว จะมีวิธีการประสานกันอย่างไร?

แน่ นอนที่สุด หากเราตัดอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตุลาการออกไป นิติรัฐนั้นก็กลายเป็นนิติรัฐที่ไม่สมประกอบ เพราะปราศจากซึ่งองค์กรที่เป็นกลางและอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่นกัน หากแก้ไขให้องค์กรตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ก็คงไม่เหมาะสมเป็นแน่ เพราะ จะทำให้องค์กรตุลาการสูญสิ้นความอิสระไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของ องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมตลอดเวลา วิธีเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

วิธี ที่จะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้ คือ การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรตุลาการและการดำรงตนขององค์กรตุลาการให้ สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ในรายละเอียด ผู้เขียนขอแบ่งเป็น ๖ ประการ ดังนี้

ประการแรก ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ

โดย ทั่วไป รัฐธรรมนูญในรัฐเสรีประชาธิปไตยต่างรับรองความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการเอา ไว้ เช่น การจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา การจัดตั้งศาลเฉพาะเพื่อคดีใดคดีหนึ่งไม่อาจกระทำได้ การโยกย้ายผู้พิพาษาต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษานั้นด้วย การแต่งตั้งและโยกย้ายตลอดจนการดำเนินการทางวินัยเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ตุลาการ การบริหารงบประมาณของศาลเป็นไปอย่างอิสระ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

อาจ สงสัยกันว่าความเป็นอิสระของผู้พิพากษานี้ปราศจากความรับผิดชอบใดๆเลยหรือ? แน่นอน ในระบอบประชาธิปไตยย่อมไม่มีองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐใดที่ใช้อำนาจโดยปราศจาก ความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบขององค์กรตุลาการนั้นแตกต่างจากองค์กรนิติบัญญัติและบริหาร ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองโดยแท้ กล่าวคือ องค์กรตุลาการไม่อาจถูกฝ่ายการเมืองแต่งตั้งโยกย้ายหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ และตำแหน่งผู้พิพากษาไม่ได้มาโดยการเลือกตั้งของประชาชน ตรงกันข้าม องค์กรตุลาการ รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยผ่านเหตุผลประกอบคำพิพากษานั่นเอง ด้วยการให้สังคมได้มีโอกาสวิจารณ์คำพิพากษาอย่างเต็มที่

บาง ครั้งอาจมีกรณีตอบโต้การใช้อำนาจระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับองค์กรตุลาการ หรือองค์กรบริหารกับองค์กรตุลาการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติอาจตรากฎหมายที่มีผลเป็นการ ลบหลักการที่คำพิพากษาของศาลได้วางบรรทัดฐานเอาไว้ หรือในฝรั่งเศส สมัยวิกฤติแอลจีเรีย ประธานาธิบดีเดอโกลล์และรัฐบาลเร่งผลักดันรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลทหารพิเศษใน ดินแดนแอลจีเรียเป็นการเฉพาะ ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารพิเศษเพียง ไม่นาน (โปรดดูบทความของผู้เขียน, ฝ่ายการเมืองปะทะฝ่ายตุลาการ : ประสบการณ์จากฝรั่งเศส, เผยแพร่ครั้งแรกในประชาชาติธุรกิจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙ หรือดูได้ใน (http://www.onopen.com/2006/01/822)

ใน เรื่องความประพฤติส่วนตัวหรือการทุจริต ก็มีคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้ดูแลและมีจริยธรรมวิชาชีพกำกับไว้ หรืออาจมีกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่สอง ความเป็นกลางขององค์กรตุลาการและความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา

องค์กรตุลาการ ต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ในกระบวนพิจารณาคดี ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ผู้พิพากษามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดีที่ตนจะพิจารณา ผู้พิพากษานั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณาคดี ดังสุภาษิตในภาษาละตินที่ว่า ไม่มีใครสามารถตัดสินคดีความที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (Nemo judex in re sua) ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นกันว่าผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ควรเข้าไป เล่นการเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาใหม่ เพราะในวันข้างหน้าเป็นไปได้ว่า อาจมีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง

ความ เป็นกลางของผู้พิพากษาจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา เหตุผลประกอบคำพิพากษาเกิดจากการพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย มิใช่นำรสนิยมทางการเมืองส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา ความนิยมชมชอบส่วนตัวเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบการตัดสิน คำพิพากษาต้องไม่เกิดจากการตั้งธงคำตอบไว้ล่วงหน้า จากนั้นจึงค่อยหาเหตุผลเพื่อนำไปสู่ธงคำตอบนั้น ความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษาย่อมทำให้บุคคลซึ่งแม้ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา เหตุผลของคำพิพากษา หรือผลของคำพิพากษา แต่บุคคลนั้นก็ยังคงยอมรับนับถือคำพิพากษาอยู่ดี

คำพิพากษาต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างลึกซึ้งของผู้พิพากษา โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายประกอบ คำพิพากษาต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมายและความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายไปพร้อมๆกัน ที่ ว่าต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลทางกฎหมายและการเคารพกฎหมายตามแนวทางกฎหมายเป็น ใหญ่ของหลักนิติรัฐ ส่วนที่ว่าต้องสนับสนุนความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความเชื่อไว้วางใจต่อระบบกฎหมาย ความสม่ำเสมอต่อเนื่องของกฎเกณฑ์ และบุคคลสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของตนและผู้อื่นจะชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

บางกรณีทั้งสอง เรื่องนี้ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจนทำให้การหาจุดสมดุลของสองเรื่องนี้ เป็นไปโดยยากและอาจต้องเอียงไปในทางใดทางหนึ่งมากกว่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่ต้องใช้เหตุผลมาอธิบายให้ได้ว่าเหตุใดจึง ตัดสินใจรักษาความชอบด้วยกฎหมายมากกว่า และมีวิธีการเยียวยาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายอย่างไร หรือเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายมากกว่า และมีวิธีเยียวยาความชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว คำพิพากษาที่ให้ใช้กฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่บุคคลโดยไม่ได้มีการ อธิบายเหตุผลทางกฎหมายเพียงพอ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไร้มาตรฐานและไม่สมเหตุสมผล

ประการที่สาม ความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อองค์กรตุลาการ

ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาต่อศาล ทั้งในแง่ตัวองค์กรและตัวบุคคล หาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการ หมิ่นศาลหรือละเมิดอำนาจศาล หรือการอ้างว่าผู้พิพากษาตัดสิน ในพระปรมาภิไธยไม่ ตรงกันข้าม เกิดจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นภาววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษา

คำ พิพากษาจะมีคุณค่า นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว ยังต้องอาศัยความเชื่อถือของประชาชนประกอบด้วย จริงอยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนทุกคนเห็นด้วยกับเนื้อหาของคำพิพากษาทั้งหมด แต่อย่างน้อยวิญญูชนพิจารณาดูแล้ว ก็ต้องยอมรับในเหตุผลที่ประกอบคำพิพากษานั้น และเห็นว่าคำพิพากษานั้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน

การ สร้างความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อผู้พิพากษา ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องทำตนเป็นที่นิยมของประชาชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องยอมกระทำการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและ สามัญสำนึกของตนเพียงเพื่อความพอใจของสาธารณชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องตัดสินโดยฟังกระแสสังคม นี่เรียกว่า ความนิยม (Popularité) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความเชื่อถือไว้วางใจ (Confiance) ความเชื่อถือไว้วางใจนั้น เป็นความเชื่อถือที่มีต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ความเป็นกลางของผู้พิพากษา ความยุติธรรมของผู้พิพากษา และความเคารพในจริยธรรมวิชาชีพของผู้พิพากษา

นอก จากนี้ ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวผู้พิพากษา ยังอาจเกิดจากวัตรปฏิบัติของผู้พิพากษาเอง เช่น การรู้ถึงขอบเขตอำนาจและข้อจำกัด การยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หยิ่งทระนงว่าตนยิ่งใหญ่ ไม่อหังการ-มมังการ เพราะ หัวโขนผู้พิพากษา หรือเพราะคำอ้างที่ว่าตนกระทำการในนามกษัตริย์

ประการที่สี่ การตระหนักถึงขอบเขตอำนาจของตนเอง

นิติ รัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกอำนาจให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจ รัฐในแขนงต่างๆ องค์กรตุลาการเองก็เช่นกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีอำนาจ เชิงรับศาลไม่อาจควบคุมองค์กรฝ่ายบริหารได้ในทุกกรณี ตรงกันข้าม เรื่องจะขึ้นไปสู่ศาลได้ก็ต่อเมื่อมีการริเริ่มคดีโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เสียก่อน และศาลไม่อาจลงมาหยิบยกเรื่องใดขึ้นพิจารณาได้ด้วยตนเอง
การ พิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างพร่ำเพรื่อหรือปราศจากกฎเกณฑ์ กว่าที่องค์กรตุลาการจะผลิตคำพิพากษาได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่เงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีหรือไม่ การฟ้องทำตามรูปแบบหรือไม่ ฟ้องภายในอายุความหรือไม่ ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาหรือไม่ จากนั้นยังต้องผ่านกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมอีก ในท้ายที่สุดเมื่อศาลตัดสิน ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลเป็นการทั่วไปหรือมีผลผูกพัน เฉพาะคู่ความ มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต

เรา ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าองค์กรตุลาการเป็นผู้เล่นหลักคนหนึ่งในชีวิตทางการเมือง ของรัฐ (Acteur politique) อย่างไรเสียองค์กรตุลาการก็ต้องมีบทบาทางการเมือง แต่บทบาททางการเมืองเช่นว่านั้น ต้องกระทำผ่านคำพิพากษาและภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผลตามกฎหมายเท่านั้น อนึ่ง แม้องค์กรตุลาการอาจเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านคำพิพากษาของตน แต่องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลยภาพระหว่าง อำนาจไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องบางเรื่องเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับแนวนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องทางการเมืองโดยแท้ องค์กรตุลาการก็จำต้องสงวนท่าทีและควบคุมการใช้อำนาจของตนเองลง เช่น การยุบสภา การประกาศสงคราม การเลือกนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี

ใน บางกรณี รัฐบาลอาจดำเนินนโยบายตามที่รณรงค์หาเสียงกับประชาชนไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับอาณัติจาก ประชาชนในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเด็นปัญหานี้ องค์กรตุลาการอาจเข้าไปควบคุมได้แต่เพียงเฉพาะ ความชอบด้วยกฎหมายของมาตรการตามนโยบายเท่านั้น องค์กรตุลาการไม่อาจเข้าไปก้าวล่วงถึงความเหมาะสมของนโยบาย อีกนัยหนึ่ง คือ องค์กรตุลาการต้องใช้ กฎหมายเป็นมาตรวัดนั่นเอง

แม้ องค์กรตุลาการจะมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีอำนาจในการพิพากษาคดีความให้มีผลเป็นที่สุด (res judicata) แต่องค์กรตุลาการก็ไม่ได้มีอำนาจอย่างปราศจากขอบเขต ด้วยธรรมชาติและลักษณะพิเศษขององค์กรตุลาการที่ต้องการความเป็นอิสระทำให้ ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนและสังคม แต่องค์กรตุลาการกลับมีอำนาจควบคุมการใช้อำนาจรัฐ กฎหมายจึงต้องออกแบบระบบไม่ให้องค์กรตุลาการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตด้วยการ วางกลไกวิธีพิจารณาคดี ในขณะเดียวกันองค์กรตุลาการก็ต้องจำกัดการใช้อำนาจของตนเอง ไม่เข้าไปรุกล้ำในเรื่องที่เป็นนโยบายหรือการเมืองโดยแท้

นี่เป็นหลักการพื้นฐานขององค์กรตุลาการในรัฐเสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่กระบวนการ ตุลาการภิวัตน์ซึ่งแอบอ้างเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการเข้าไป เพ่นพ่านในสนามการเมือง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญ การดำรงตำแหน่งในองค์กรเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามศัตรู การดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งสำคัญ

ประการที่ห้า คำพิพากษา สาธารณะ

จริง อยู่ ในทางกฎหมาย คำพิพากษาอาจมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความหรืออาจมีผลผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ ทั้งปวง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำพิพากษามีผลกระทบออกไปในวงกว้าง ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้และตีความกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมให้เกิดผล เป็นรูปธรรม

บท บัญญัติแห่งกฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพหรือวางเงื่อนไขการใช้อำนาจรัฐ มักเขียนด้วยถ้อยคำกว้างๆ เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี การใช้และตีความกฎหมายเหล่านี้โดยศาลผ่านทางคำพิพากษาในแต่ละคดีต่างหากที่แปล-ขยายความเหล่านั้นให้มีผลชัดเจนและจับต้องได้ เมื่อศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันซ้ำเข้ามากๆในคดี ก่อนๆ ก็กลายเป็นบรรทัดฐานที่ศาลต้องเดินตามในคดีหลัง นอกเสียจากศาลจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอและรับฟังได้ หรือบริบทแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ศาลก็อาจเปลี่ยนแนวจากคำพิพากษาบรรทัดฐานนั้น ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักคิดกฎหมายสัจนิยม โดยเฉพาะเซอร์ โอลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ ถึงกับประกาศว่า กฎหมายในความเห็นของข้าพเจ้า คือการพยากรณ์ต่อการกระทำของศาลในความเป็นจริง ไม่มีอะไรอื่นเลยนอกจากนี้

ด้วย อานุภาพของการใช้และตีความกฎหมายของศาลดังกล่าว ทำให้คำพิพากษาไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อคดีนั้นเท่านั้น คำพิพากษาจึงไม่ควรมีขึ้นเพียงเพื่อให้ผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี อ่าน ตรงกันข้ามคำพิพากษาต้องพยายามสร้างการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม

ผู้ พิพากษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยต้องตระหนักเสมอว่าการเขียนคำ พิพากษานั้น ไม่ได้เขียนอธิบายความและเหตุผลให้แก่คู่ความเท่านั้น แต่เป็นการให้เหตุผลแก่บุคคลทั่วไปด้วย คำพิพากษาที่ดีจึงต้องสามารถให้การศึกษาแก่สังคม นำมาซึ่งการศึกษาค้นคว้า วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในหมู่นักกฎหมายและบุคคลทั่วไป ในกรณีที่เป็นข้อบกพร่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เนื้อหาของคำพิพากษาต้องกระตุ้นเตือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย

คำพิพากษา สาธารณะจึงต้องประกอบไปด้วย ๒ ปัจจัยสำคัญ ปัจจัยแรก การเข้าถึงคำพิพากษาต้องเป็นไปโดยง่าย ภายหลังอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว คำพิพากษาต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสวิจารณ์ ปัจจัยที่สอง ผู้พิพากษาต้องคิดอยู่เสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้นเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม ไม่ใช่เขียนเพียงเพื่อตัดสินคดีให้แล้วเสร็จไป

ประการที่หก การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์

โดย ธรรมชาติขององค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กร ปิดและมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยกว่าองค์กรของรัฐอื่นทั้งนี้เพื่อประกัน ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ ลักษณะดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตุลาการกลายเป็นแดนสนธยาได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องสร้างระบบการวิจารณ์การทำงานของศาล นั่นก็คือ การวิจารณ์คำพิพากษานั่นเอง

การ ลำพองตนของผู้พิพากษาว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ตนมีพระราชดำรัสของกษัตริย์ที่สนับสนุนและให้กำลังใจ เป็นอุปสรรคและไม่ส่งเสริมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา และอาจทำให้ผู้พิพากษา หลงอำนาจจนละเลยสังคมและไม่ใส่ใจความเห็นขององคาพยพอื่นๆในสังคม เช่นกัน การสงวน คำพิพากษาไว้ให้เฉพาะผู้พิพากษา ทนายความ หรือคู่ความก็ดี การพยายามสร้างความเชื่อที่ว่า คำพิพากษาเป็นเรื่องกฎหมาย มีแต่นักกฎหมายด้วยกันเท่านั้นที่เข้าใจก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างทัศนคติที่คับแคบในหมู่นักกฎหมายว่าในโลกนี้มีแต่ นักกฎหมายที่เป็นใหญ่ และผูกขาด ความจริงในนามของกฎหมาย

ในทางกลับกัน การ เปิดโอกาสให้บุคคลในวงการกฎหมาย สื่อมวลชน บุคคลทั่วไปได้วิพากษ์วิจารณ์และถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ต่อคำพิพากษานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาและศาลได้การยอมรับนับถือ และสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้กับคำพิพากษาและผู้พิพากษานั้นด้วย การวิจารณ์คำพิพากษาโดยสาธารณชนยังช่วยสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เข้ม แข็งและลึกซึ้งขึ้นตามแนวทาง ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันและขยายต่อจาก ประชาธิปไตยทางตรง” “ประชาธิปไตยทางผู้แทนและ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ด้วย เหตุนี้ การ ใช้หรือการ ข่มขู่ว่าจะใช้กฎหมายที่มีบทลงโทษเกี่ยวกับข้อหา หมิ่นศาลหรือ ละเมิดอำนาจศาลต่อคนที่วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา จึงล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อความเป็นประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ

..........................

ใน รัฐเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ องค์กรตุลาการมีพันธกิจ ๔ เรื่องหลักๆ ได้แก่ การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย การสร้างกฎเกณฑ์ทางกฎหมายผ่านทางการใช้และตีความกฎหมายในคำพิพากษา และการเป็นผู้เล่นคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุพันธกิจทั้งสี่นี้ ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยอันเป็นคุณค่าพื้น ฐานที่รัฐเสรีประชาธิปไตยยึดถือ

แนว ทางทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นการสนับสนุนองค์กรตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและ หลักประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธบทบาทขององค์กรตุลาการในการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้า แต่ การตัดสินอย่างก้าวหน้าควรประกอบด้วยเหตุผลที่มีความเป็นภาววิสัย มีหลักกฎหมายรองรับ และอธิบายให้สังคมยอมรับนับถือได้ เป็นความกล้าปฏิเสธอำนาจนอกระบบและรัฐประหาร เป็นความกล้าตัดสินเพื่อแก้วิกฤติด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบจากจิตสำนึกของผู้พิพากษาและยึดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการตัดสินที่ คิดว่าก้าวหน้าเพื่อแก้ วิกฤตเพราะมีใครคนใดคนหนึ่งออกมากระตุ้นให้องค์กรตุลาการต้องตัดสิน หรือ เพราะต้องการปราบปรามศัตรูทางอุดมการณ์ทางการเมือง

จริง อยู่ ในนิติรัฐ หลักการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ และหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ เป็นหลักการสำคัญอันขาดเสียมิได้ แต่หลักการดังกล่าวไม่ได้มีคุณค่าหรือสถานะสูงสุดเหนือกว่าหลักการอื่น จนทำให้องค์กรตุลาการมีอำนาจล้นฟ้าและปราศจาการตรวจสอบถ่วงดุล ตรงกันข้าม หลักการเหล่านี้เป็นหลักการในทางกลไกเพื่อพิทักษ์รักษาหลักการที่มีคุณค่า สูงสุด คือ หลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย กล่าวให้ถึงที่สุด อำนาจ และความอิสระที่นิติรัฐหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่

ต้อง ไม่ลืมว่า องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และการสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในประชาธิปไตยและมีหน้าที่พิทักษ์ ประชาธิปไตย เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้องค์กรตุลาการสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมสมัยใหม่ และสร้างความชอบธรรมให้องค์กรตุลาการในการเข้าไปตรวจสอบอำนาจรัฐ

ใน ทางกลับกัน หากองค์กรตุลาการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอคติ ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือยอมพลีตนรับใช้อุดมการณ์บางอย่างด้วยการเป็นกลไกปราบปรามศัตรูแล้ว ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการย่อมลดน้อยถอยลง จนในท้ายที่สุด อาจไม่เหลือซึ่งการยอมรับคำพิพากษาของศาล

หาก เป็นเช่นนั้น นอกจากองค์กรตุลาการจะไม่บรรลุพันธกิจปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยแล้ว กลับกลายเป็นว่าองค์กรตุลาการนั่นแหละที่เป็นผู้ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย เสียเอง


---------------------------------------------------------------

*ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ประชาไท และฟ้าเดียวกันออนไลน์ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๑

http://www.go6tv.com/2010/10/blog-post_3957.html

อ่างขาง : เหตุมาจาก “แปรงสีฟันไม่อาจร่วมใช้” คุณนาย“แตงโม”กินยาตาย

อดีตกาลนานมาแล้ว แต่จะนานแค่ไหนไม่อาจจะรู้ได้ อาจจะเมื่อไม่กี่เดือนไม่กี่วันมานี้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

เสียงเล่าลือออกมาจากหมู่คณาจารย์และนิสิต ภายในรั้วจามจุรี อาจารย์แตงโมกินยาตายแต่สามารถนำส่งโรงพยาบาลล้างท้องได้ทัน
เสียงกระซิบ ที่ย้ำนักย้ำหนา อย่าบอกใครนะกล่าวต่อไปอีกว่า เหตุเพราะ สามีรูปงามของเธอไปมีอะไรกับหม้ายแก่รุ่นราวคราวเดียวกับแม่ เธอจึงทนไม่ได้ ประชดด้วยการกินยาตายซะเลย
เรื่องนี้เท็จจริงเป็นประการไดมิอาจรู้ได้
แต่ที่แน่ๆ เสียงเล่าลืออันนี้ไม่ได้มาจากฝ่ายมุมแดงก็แล้วกัน มันกลายเป็นว่า เสียงเล่าลืออันนี้เริ่มต้นมาจากฝ่ายมุมเหลืองแทน

เด็กดื้อคำนี้เคยฮิตติดปากมานานแล้ว สมัยก่อนที่ม็อบเสื้อแดงจะออกมาชุมนุม
คุณ นัฐวุฒิเอาคำนี้ออกมาใช้บ่อยมาก ในหลายๆครั้งที่ต้องเดินสายอกไปหลายๆที่ เมื่อ ต้องการสื่อไปถึงนายกฯรัฐมนตรีของไทยที่ชื่ออภิสิทธิ์
แต่..จะมีใครซักกี่คนรู้บ้างว่า คำคำนี้ต้นกำเนิดมาจากไหน มีนัยอะไรแอบแฝงอยู่ในคำคำนี้บ้าง

นาง ปอง ณ.ปากปลาร้านางเอกแห่ง รักระหว่างรบเป็นผู้ที่เอาคำคำนี้มาใช้ก่อนใครเพื่อน ในสถานีวิทยุแห่งหนึ่งที่เธอจัดรายการอยู่ และยังเอามาใช้ติดต่อกันอีกหลายครั้งในสถานีทีวีเถื่อน เอเอสทีวี
เธอ กล่าวอย่างมีนัยว่า ครอบครับของนายอภิสิทธิ์ขอร้อง ร้องของให้นายอภิสิทธิ์เลิกเล่นการเมืองซะเถอะ แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ยอมฟังเหตุเพราะนายกฯเป็นคนที่หัวดื้อเอาแต่ใจตนเองมาก

นาง ปอง สาธยายต่อด้วยความมันปาก ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็กล่าวถึงเรื่องนี้กับคนใกล้ชิดบ่อยๆเหมือนกัน คล้ายกับน้อยใจเมื่อสั่งอะไรแล้วนายกฯชอบเถียงไม่ทำตามแต่ด้วยวัยต่างกันมาก ประกอบกับผู้ใหญ่ท่านนั้นอาศัยอยู่ต่างประเทศมานาน แทนที่จะใช้คำพูดที่ว่านายกฯหัวดื้อกับกลายเป็นพูดว่า เด็กดื้อแทน
คำ คำนี้ จึงกลายเป็นคำที่ฮิตมาก มีคนเอามาพูดกันในวงในของเหล่าคนใกล้ชิด เมื่อเห็นนายกฯมาเข้าพบ เช่น มาแระเหรอเด็กดื้อหรือว่าจะเป็นแบบนี้ท่านรอนานแล้วนะคะ เด็กดื้อก็เป็นที่สนุกสนานกันไปอีกแบบ เหย้าแหย่กันไป ระหว่างนายกฯของประเทศไทยกับเหล่าผู้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ท่านนั้น

นาง ปอง เองเมื่อรู้เรื่องนี้มา ด้วยปากที่ไม่ธรรมดาอยู่แล้ว อยากจะอวดเก่งบ้างว่า ตนเองวงในก็ไม่ธรรมดาเหมือนกันจึงเอาเรื่องนี้มาขยายความต่อ เรียกนายกฯว่า เด็กดื้อบ้าง

คำคำนี้นำเอามาใช้อีกทีก็เมื่อครั้ง มีการแต่งตั้ง ผบ.ตร.
เมื่อ ผู้ใหญ่ท่านนั้น ต้องการให้คนหนึ่งได้เป็นผบ.ตร. แต่ ครอบครัวของท่านนายกฯไม่เห็นด้วยยืนยันที่จะเอา อีกคนหนึ่งเป็นให้ได้ สุดท้ายนายกฯก็เอาใจครอบครับมากกว่า คำนี้จึงนำเอามาเป็นกระแสกันมากในช่วงนั้น

เมื่อไม่กี่วันมานี้ นายกฯพูดอะไรที่แปลกๆออกมาหลายครั้ง ในต่างกรรมต่างวาระ คล้ายกับว่า จะมีการยุบสภาฯในเร็วๆนี้ จะเขี่ยพรรคภูมิใจไทยออกไปในคำพูดที่ออกมาว่าถ้าอึดอัดมากก็ไม่ต้องอยู่ด้วยกัน
และคำพูดที่ ไม่คิดว่านายกฯจะพูดก็ได้ยินออกมา ผมยอมแพ้ดีกว่า ถ้าจะชนะแล้วต้องมีความวุ่นวายนองเลือดกันอีก คนในชาติต้องแตกแยกกัน

ถ้า..คำ พูดเหล่านี้ไม่ได้ออกมาจากปาก อภิสิทธิ์คำพูดแบบนี้คงฮือฮากันมาก เพราะอยู่ดีๆนายกฯพูดออกมาได้อย่างไร แสดงถึงจริยธรรมของผู้ที่พูด แสดงถึงความเป็นนายกฯที่รับผิดชอบสูง แสดงถึงแนวความคิดของนายกฯที่ไม่ยึดติด แต่บังเอิญคำพูดนี้ดันออกมาจากปากนายกฯที่ชื่ออภิสิทธิ์มันจึงไม่มีความหมาย
สื่อไม่เอามาเล่นเป็นกระแส แล้วคำพูดเหล่านี้ก็เลือนหายไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลยหลังจากที่พูดตำนั้นออกมาแล้ว
วาทกรรมที่สร้างก็เลยเป็นวาทเวรไป ในความหมายเอาอีกแล้วไอ้เวรพูดเก่งอีกแล้ว พูดอย่างทำอย่างทุกที

นัก วิเคราะห์การเมืองต่างคนต่างวิเคราะห์เรื่องนี้ เห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้างก็ว่ากันไป แต่ที่ตรงกันแน่ๆทุกสำนัก ก็คือ นายกฯต้องยุบสภาฯในเร็วๆนี้แน่ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิเช่น
-เหตุเพราะคดียุบพรรค
-เหตุเพราะ ถูก นปช.ยื่นฟ้องศาลโลก ในคดีฆ่าประชาชน
-เหตุ เพราะถูกรัฐสภาอังกฤษฉีกหน้า รัฐบาลอังกฤษ ไม่ประสงค์จะมาเยือนไทย เนื่องจากยังมีข้อกังขาเรื่องใช้ทหารสลายการชุมนุม แล้วมีคนตายเกือบร้อยคน บาดเจ็บเกือบสองพันคน
-เหตุเพราะ เป็นนายกฯต่ออีกไม่ได้ ก็เนื่องมาจาก เนรวิน มันล้มกระดาน มันวางแผนคุมมหาดไทยคุมผลการเลือกตั้งไว้หมดแล้ว อภิสิทธิ์บ่ท่า รู้ว่าตนเองแพ้แน่ คะแนนเสียงไม่อาจตั้งรัฐบาลได้ เลยพูดเอาดีใส่ตัวไปตามวิสัยแค่นั้นเอง

แต่นักวิเคราะห์อีกพวกหนึ่งที่นั่งอยู่หน้าคอมพ์ เช่นตัวผู้เขียนเอง กลับมองไม่เหมือนใคร

มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นเพราะว่า
เหตุมาจาก แปรงสีฟันไม่อาจร่วมใช้ที่คุณนาย แตงโมยื่นคำขาดเอาไว้ ต่างหาก
ถือ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ถ้าขืนไม่เชื่อฟัง อาจจะได้เห็นเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่เกิดขึ้น ที่มีข่าวออกไปทั่วโลก รวมถึงถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์โลกต่อไปอีกด้วยด้วย
ภรรยานายกฯประเทศไทย ฆ่าตัวตาย เหตุเพราะความเครียดที่สามีแอบไม่มีกิ๊ก กับ ชนชั้นสูงรุ่นเดียวกับแม่

อภิสิทธิ์จึงได้ตัดสินใจในครั้งนี้ เลิกแน่
เลิก เป็นทั้งนายกฯ เลิกเป็นทั้งแปลงสีฟัน เลิกให้หมด ไม่เอาแล้วเข็ด อยู่กับบ้านทำอย่างอื่นดีกว่า อย่างน้อยก็ไม่เสียรางวัดมากไปกว่านี้อีก เป็นนายกฯประเทศนี้ก็ไม่เห็นมีอะไรดี เป็นได้ก็แค่นายบำเรอกับนายหูยานเป็นได้แค่นั้นเอง การบริหารประเทศตนเองก็ไม่มีโอกาสไดใช้สมองคิดมีคนคิดมีคนสั่งการมาให้เสร็จแค่นั้น

ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ผู้เขียนไม่ซีเรียสครับ
แต่..ผู้เขียนเชื่อเช่นนั้นจริงๆ ของสาเหตุวาทกรรมที่ออกมาจากปากของท่านนายกฯ

องค์กรตุลาการกับประชาธิปไตย

องค์กรตุลาการกับประชาธิปไตย*

(ขอขอบคุณ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล)

รัฐ ใดที่ประกาศตนเป็นนิติรัฐ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะยอมรับบทบาทขององค์กรตุลาการ ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย บริหารไม่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ การควบคุมฝ่ายบริหาร ก็ได้แก่ การควบคุมการความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง ในขณะที่การควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้แก่ การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา

องค์กรตุลาการ ในนิติรัฐสมัยใหม่จึงมีบทบาทสำคัญ ไม่เพียงแต่บทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจ โดยมิชอบของรัฐ และการปกปักรักษาประชาธิปไตยอีกด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ด้วยบทบาทอันกว้างขวางขององค์กรตุลาการเช่นนี้ นำมาซึ่งความขัดแย้งกันเองกับคำว่าประชาธิปไตย กล่าวคือ ด้านหนึ่ง นิติรัฐ-ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ก็เรียกร้องให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน และควบคุมไม่ให้เกิดการปกครองที่เสียงข้างมากใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้น เมื่อองค์กรตุลาการเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจรัฐเข้า ก็เกิดการเผชิญหน้ากันกับองค์กรที่มีฐานความชอบธรรมทางการเมืองอย่างรัฐสภา และรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่องค์กรตุลาการปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองเช่นว่า

ความขัดแย้งดังกล่าว จะมีวิธีการประสานกันอย่างไร?

แน่ นอนที่สุด หากเราตัดอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตุลาการออกไป นิติรัฐนั้นก็กลายเป็นนิติรัฐที่ไม่สมประกอบ เพราะปราศจากซึ่งองค์กรที่เป็นกลางและอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่นกัน หากแก้ไขให้องค์กรตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ก็คงไม่เหมาะสมเป็นแน่ เพราะ จะทำให้องค์กรตุลาการสูญสิ้นความอิสระไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของ องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมตลอดเวลา วิธีเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

วิธี ที่จะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้ คือ การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรตุลาการและการดำรงตนขององค์กรตุลาการให้ สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ในรายละเอียด ผู้เขียนขอแบ่งเป็น ๖ ประการ ดังนี้

ประการแรก ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ

โดย ทั่วไป รัฐธรรมนูญในรัฐเสรีประชาธิปไตยต่างรับรองความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการเอา ไว้ เช่น การจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา การจัดตั้งศาลเฉพาะเพื่อคดีใดคดีหนึ่งไม่อาจกระทำได้ การโยกย้ายผู้พิพาษาต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษานั้นด้วย การแต่งตั้งและโยกย้ายตลอดจนการดำเนินการทางวินัยเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ตุลาการ การบริหารงบประมาณของศาลเป็นไปอย่างอิสระ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

อาจ สงสัยกันว่าความเป็นอิสระของผู้พิพากษานี้ปราศจากความรับผิดชอบใดๆเลยหรือ? แน่นอน ในระบอบประชาธิปไตยย่อมไม่มีองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐใดที่ใช้อำนาจโดยปราศจาก ความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบขององค์กรตุลาการนั้นแตกต่างจากองค์กรนิติบัญญัติและบริหาร ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองโดยแท้ กล่าวคือ องค์กรตุลาการไม่อาจถูกฝ่ายการเมืองแต่งตั้งโยกย้ายหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ และตำแหน่งผู้พิพากษาไม่ได้มาโดยการเลือกตั้งของประชาชน ตรงกันข้าม องค์กรตุลาการ รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยผ่านเหตุผลประกอบคำพิพากษานั่นเอง ด้วยการให้สังคมได้มีโอกาสวิจารณ์คำพิพากษาอย่างเต็มที่

บาง ครั้งอาจมีกรณีตอบโต้การใช้อำนาจระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับองค์กรตุลาการ หรือองค์กรบริหารกับองค์กรตุลาการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติอาจตรากฎหมายที่มีผลเป็นการ ลบหลักการที่คำพิพากษาของศาลได้วางบรรทัดฐานเอาไว้ หรือในฝรั่งเศส สมัยวิกฤติแอลจีเรีย ประธานาธิบดีเดอโกลล์และรัฐบาลเร่งผลักดันรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลทหารพิเศษใน ดินแดนแอลจีเรียเป็นการเฉพาะ ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารพิเศษเพียง ไม่นาน (โปรดดูบทความของผู้เขียน, ฝ่ายการเมืองปะทะฝ่ายตุลาการ : ประสบการณ์จากฝรั่งเศส, เผยแพร่ครั้งแรกในประชาชาติธุรกิจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙ หรือดูได้ใน (http://www.onopen.com/2006/01/822)

ใน เรื่องความประพฤติส่วนตัวหรือการทุจริต ก็มีคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้ดูแลและมีจริยธรรมวิชาชีพกำกับไว้ หรืออาจมีกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่สอง ความเป็นกลางขององค์กรตุลาการและความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา

องค์กรตุลาการ ต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ในกระบวนพิจารณาคดี ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ผู้พิพากษามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดีที่ตนจะพิจารณา ผู้พิพากษานั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณาคดี ดังสุภาษิตในภาษาละตินที่ว่า ไม่มีใครสามารถตัดสินคดีความที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (Nemo judex in re sua) ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นกันว่าผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ควรเข้าไป เล่นการเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาใหม่ เพราะในวันข้างหน้าเป็นไปได้ว่า อาจมีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง

ความ เป็นกลางของผู้พิพากษาจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา เหตุผลประกอบคำพิพากษาเกิดจากการพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย มิใช่นำรสนิยมทางการเมืองส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา ความนิยมชมชอบส่วนตัวเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบการตัดสิน คำพิพากษาต้องไม่เกิดจากการตั้งธงคำตอบไว้ล่วงหน้า จากนั้นจึงค่อยหาเหตุผลเพื่อนำไปสู่ธงคำตอบนั้น ความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษาย่อมทำให้บุคคลซึ่งแม้ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา เหตุผลของคำพิพากษา หรือผลของคำพิพากษา แต่บุคคลนั้นก็ยังคงยอมรับนับถือคำพิพากษาอยู่ดี

คำพิพากษาต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างลึกซึ้งของผู้พิพากษา โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายประกอบ คำพิพากษาต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมายและความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายไปพร้อมๆกัน ที่ ว่าต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลทางกฎหมายและการเคารพกฎหมายตามแนวทางกฎหมายเป็น ใหญ่ของหลักนิติรัฐ ส่วนที่ว่าต้องสนับสนุนความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความเชื่อไว้วางใจต่อระบบกฎหมาย ความสม่ำเสมอต่อเนื่องของกฎเกณฑ์ และบุคคลสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของตนและผู้อื่นจะชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

บางกรณีทั้งสอง เรื่องนี้ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจนทำให้การหาจุดสมดุลของสองเรื่องนี้ เป็นไปโดยยากและอาจต้องเอียงไปในทางใดทางหนึ่งมากกว่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่ต้องใช้เหตุผลมาอธิบายให้ได้ว่าเหตุใดจึง ตัดสินใจรักษาความชอบด้วยกฎหมายมากกว่า และมีวิธีการเยียวยาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายอย่างไร หรือเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายมากกว่า และมีวิธีเยียวยาความชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว คำพิพากษาที่ให้ใช้กฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่บุคคลโดยไม่ได้มีการ อธิบายเหตุผลทางกฎหมายเพียงพอ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไร้มาตรฐานและไม่สมเหตุสมผล

ประการที่สาม ความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อองค์กรตุลาการ

ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาต่อศาล ทั้งในแง่ตัวองค์กรและตัวบุคคล หาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการ หมิ่นศาลหรือละเมิดอำนาจศาล หรือการอ้างว่าผู้พิพากษาตัดสิน ในพระปรมาภิไธยไม่ ตรงกันข้าม เกิดจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นภาววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษา

คำ พิพากษาจะมีคุณค่า นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว ยังต้องอาศัยความเชื่อถือของประชาชนประกอบด้วย จริงอยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนทุกคนเห็นด้วยกับเนื้อหาของคำพิพากษาทั้งหมด แต่อย่างน้อยวิญญูชนพิจารณาดูแล้ว ก็ต้องยอมรับในเหตุผลที่ประกอบคำพิพากษานั้น และเห็นว่าคำพิพากษานั้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน

การ สร้างความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อผู้พิพากษา ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องทำตนเป็นที่นิยมของประชาชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องยอมกระทำการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและ สามัญสำนึกของตนเพียงเพื่อความพอใจของสาธารณชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องตัดสินโดยฟังกระแสสังคม นี่เรียกว่า ความนิยม (Popularité) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความเชื่อถือไว้วางใจ (Confiance) ความเชื่อถือไว้วางใจนั้น เป็นความเชื่อถือที่มีต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ความเป็นกลางของผู้พิพากษา ความยุติธรรมของผู้พิพากษา และความเคารพในจริยธรรมวิชาชีพของผู้พิพากษา

นอก จากนี้ ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวผู้พิพากษา ยังอาจเกิดจากวัตรปฏิบัติของผู้พิพากษาเอง เช่น การรู้ถึงขอบเขตอำนาจและข้อจำกัด การยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หยิ่งทระนงว่าตนยิ่งใหญ่ ไม่อหังการ-มมังการ เพราะ หัวโขนผู้พิพากษา หรือเพราะคำอ้างที่ว่าตนกระทำการในนามกษัตริย์

ประการที่สี่ การตระหนักถึงขอบเขตอำนาจของตนเอง

นิติ รัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกอำนาจให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจ รัฐในแขนงต่างๆ องค์กรตุลาการเองก็เช่นกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีอำนาจ เชิงรับศาลไม่อาจควบคุมองค์กรฝ่ายบริหารได้ในทุกกรณี ตรงกันข้าม เรื่องจะขึ้นไปสู่ศาลได้ก็ต่อเมื่อมีการริเริ่มคดีโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เสียก่อน และศาลไม่อาจลงมาหยิบยกเรื่องใดขึ้นพิจารณาได้ด้วยตนเอง
การ พิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างพร่ำเพรื่อหรือปราศจากกฎเกณฑ์ กว่าที่องค์กรตุลาการจะผลิตคำพิพากษาได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่เงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีหรือไม่ การฟ้องทำตามรูปแบบหรือไม่ ฟ้องภายในอายุความหรือไม่ ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาหรือไม่ จากนั้นยังต้องผ่านกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมอีก ในท้ายที่สุดเมื่อศาลตัดสิน ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลเป็นการทั่วไปหรือมีผลผูกพัน เฉพาะคู่ความ มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต

เรา ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าองค์กรตุลาการเป็นผู้เล่นหลักคนหนึ่งในชีวิตทางการเมือง ของรัฐ (Acteur politique) อย่างไรเสียองค์กรตุลาการก็ต้องมีบทบาทางการเมือง แต่บทบาททางการเมืองเช่นว่านั้น ต้องกระทำผ่านคำพิพากษาและภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผลตามกฎหมายเท่านั้น อนึ่ง แม้องค์กรตุลาการอาจเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านคำพิพากษาของตน แต่องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลยภาพระหว่าง อำนาจไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องบางเรื่องเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับแนวนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องทางการเมืองโดยแท้ องค์กรตุลาการก็จำต้องสงวนท่าทีและควบคุมการใช้อำนาจของตนเองลง เช่น การยุบสภา การประกาศสงคราม การเลือกนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี

ใน บางกรณี รัฐบาลอาจดำเนินนโยบายตามที่รณรงค์หาเสียงกับประชาชนไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับอาณัติจาก ประชาชนในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเด็นปัญหานี้ องค์กรตุลาการอาจเข้าไปควบคุมได้แต่เพียงเฉพาะ ความชอบด้วยกฎหมายของมาตรการตามนโยบายเท่านั้น องค์กรตุลาการไม่อาจเข้าไปก้าวล่วงถึงความเหมาะสมของนโยบาย อีกนัยหนึ่ง คือ องค์กรตุลาการต้องใช้ กฎหมายเป็นมาตรวัดนั่นเอง

แม้ องค์กรตุลาการจะมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีอำนาจในการพิพากษาคดีความให้มีผลเป็นที่สุด (res judicata) แต่องค์กรตุลาการก็ไม่ได้มีอำนาจอย่างปราศจากขอบเขต ด้วยธรรมชาติและลักษณะพิเศษขององค์กรตุลาการที่ต้องการความเป็นอิสระทำให้ ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนและสังคม แต่องค์กรตุลาการกลับมีอำนาจควบคุมการใช้อำนาจรัฐ กฎหมายจึงต้องออกแบบระบบไม่ให้องค์กรตุลาการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตด้วยการ วางกลไกวิธีพิจารณาคดี ในขณะเดียวกันองค์กรตุลาการก็ต้องจำกัดการใช้อำนาจของตนเอง ไม่เข้าไปรุกล้ำในเรื่องที่เป็นนโยบายหรือการเมืองโดยแท้

นี่เป็นหลักการพื้นฐานขององค์กรตุลาการในรัฐเสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่กระบวนการ ตุลาการภิวัตน์ซึ่งแอบอ้างเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการเข้าไป เพ่นพ่านในสนามการเมือง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญ การดำรงตำแหน่งในองค์กรเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามศัตรู การดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งสำคัญ

ประการที่ห้า คำพิพากษา สาธารณะ

จริง อยู่ ในทางกฎหมาย คำพิพากษาอาจมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความหรืออาจมีผลผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ ทั้งปวง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำพิพากษามีผลกระทบออกไปในวงกว้าง ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้และตีความกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมให้เกิดผล เป็นรูปธรรม

บท บัญญัติแห่งกฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพหรือวางเงื่อนไขการใช้อำนาจรัฐ มักเขียนด้วยถ้อยคำกว้างๆ เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี การใช้และตีความกฎหมายเหล่านี้โดยศาลผ่านทางคำพิพากษาในแต่ละคดีต่างหากที่แปล-ขยายความเหล่านั้นให้มีผลชัดเจนและจับต้องได้ เมื่อศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันซ้ำเข้ามากๆในคดี ก่อนๆ ก็กลายเป็นบรรทัดฐานที่ศาลต้องเดินตามในคดีหลัง นอกเสียจากศาลจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอและรับฟังได้ หรือบริบทแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ศาลก็อาจเปลี่ยนแนวจากคำพิพากษาบรรทัดฐานนั้น ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักคิดกฎหมายสัจนิยม โดยเฉพาะเซอร์ โอลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ ถึงกับประกาศว่า กฎหมายในความเห็นของข้าพเจ้า คือการพยากรณ์ต่อการกระทำของศาลในความเป็นจริง ไม่มีอะไรอื่นเลยนอกจากนี้

ด้วย อานุภาพของการใช้และตีความกฎหมายของศาลดังกล่าว ทำให้คำพิพากษาไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อคดีนั้นเท่านั้น คำพิพากษาจึงไม่ควรมีขึ้นเพียงเพื่อให้ผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี อ่าน ตรงกันข้ามคำพิพากษาต้องพยายามสร้างการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม

ผู้ พิพากษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยต้องตระหนักเสมอว่าการเขียนคำ พิพากษานั้น ไม่ได้เขียนอธิบายความและเหตุผลให้แก่คู่ความเท่านั้น แต่เป็นการให้เหตุผลแก่บุคคลทั่วไปด้วย คำพิพากษาที่ดีจึงต้องสามารถให้การศึกษาแก่สังคม นำมาซึ่งการศึกษาค้นคว้า วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในหมู่นักกฎหมายและบุคคลทั่วไป ในกรณีที่เป็นข้อบกพร่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เนื้อหาของคำพิพากษาต้องกระตุ้นเตือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย

คำพิพากษา สาธารณะจึงต้องประกอบไปด้วย ๒ ปัจจัยสำคัญ ปัจจัยแรก การเข้าถึงคำพิพากษาต้องเป็นไปโดยง่าย ภายหลังอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว คำพิพากษาต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสวิจารณ์ ปัจจัยที่สอง ผู้พิพากษาต้องคิดอยู่เสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้นเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม ไม่ใช่เขียนเพียงเพื่อตัดสินคดีให้แล้วเสร็จไป

ประการที่หก การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์

โดย ธรรมชาติขององค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กร ปิดและมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยกว่าองค์กรของรัฐอื่นทั้งนี้เพื่อประกัน ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ ลักษณะดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตุลาการกลายเป็นแดนสนธยาได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องสร้างระบบการวิจารณ์การทำงานของศาล นั่นก็คือ การวิจารณ์คำพิพากษานั่นเอง

การ ลำพองตนของผู้พิพากษาว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ตนมีพระราชดำรัสของกษัตริย์ที่สนับสนุนและให้กำลังใจ เป็นอุปสรรคและไม่ส่งเสริมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา และอาจทำให้ผู้พิพากษา หลงอำนาจจนละเลยสังคมและไม่ใส่ใจความเห็นขององคาพยพอื่นๆในสังคม เช่นกัน การสงวน คำพิพากษาไว้ให้เฉพาะผู้พิพากษา ทนายความ หรือคู่ความก็ดี การพยายามสร้างความเชื่อที่ว่า คำพิพากษาเป็นเรื่องกฎหมาย มีแต่นักกฎหมายด้วยกันเท่านั้นที่เข้าใจก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างทัศนคติที่คับแคบในหมู่นักกฎหมายว่าในโลกนี้มีแต่ นักกฎหมายที่เป็นใหญ่ และผูกขาด ความจริงในนามของกฎหมาย

ในทางกลับกัน การ เปิดโอกาสให้บุคคลในวงการกฎหมาย สื่อมวลชน บุคคลทั่วไปได้วิพากษ์วิจารณ์และถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ต่อคำพิพากษานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาและศาลได้การยอมรับนับถือ และสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้กับคำพิพากษาและผู้พิพากษานั้นด้วย การวิจารณ์คำพิพากษาโดยสาธารณชนยังช่วยสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เข้ม แข็งและลึกซึ้งขึ้นตามแนวทาง ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันและขยายต่อจาก ประชาธิปไตยทางตรง” “ประชาธิปไตยทางผู้แทนและ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ด้วย เหตุนี้ การ ใช้หรือการ ข่มขู่ว่าจะใช้กฎหมายที่มีบทลงโทษเกี่ยวกับข้อหา หมิ่นศาลหรือ ละเมิดอำนาจศาลต่อคนที่วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา จึงล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อความเป็นประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ

..........................

ใน รัฐเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ องค์กรตุลาการมีพันธกิจ ๔ เรื่องหลักๆ ได้แก่ การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย การสร้างกฎเกณฑ์ทางกฎหมายผ่านทางการใช้และตีความกฎหมายในคำพิพากษา และการเป็นผู้เล่นคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุพันธกิจทั้งสี่นี้ ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยอันเป็นคุณค่าพื้น ฐานที่รัฐเสรีประชาธิปไตยยึดถือ

แนว ทางทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นการสนับสนุนองค์กรตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและ หลักประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธบทบาทขององค์กรตุลาการในการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้า แต่ การตัดสินอย่างก้าวหน้าควรประกอบด้วยเหตุผลที่มีความเป็นภาววิสัย มีหลักกฎหมายรองรับ และอธิบายให้สังคมยอมรับนับถือได้ เป็นความกล้าปฏิเสธอำนาจนอกระบบและรัฐประหาร เป็นความกล้าตัดสินเพื่อแก้วิกฤติด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบจากจิตสำนึกของผู้พิพากษาและยึดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการตัดสินที่ คิดว่าก้าวหน้าเพื่อแก้ วิกฤตเพราะมีใครคนใดคนหนึ่งออกมากระตุ้นให้องค์กรตุลาการต้องตัดสิน หรือ เพราะต้องการปราบปรามศัตรูทางอุดมการณ์ทางการเมือง

จริง อยู่ ในนิติรัฐ หลักการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ และหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ เป็นหลักการสำคัญอันขาดเสียมิได้ แต่หลักการดังกล่าวไม่ได้มีคุณค่าหรือสถานะสูงสุดเหนือกว่าหลักการอื่น จนทำให้องค์กรตุลาการมีอำนาจล้นฟ้าและปราศจาการตรวจสอบถ่วงดุล ตรงกันข้าม หลักการเหล่านี้เป็นหลักการในทางกลไกเพื่อพิทักษ์รักษาหลักการที่มีคุณค่า สูงสุด คือ หลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย กล่าวให้ถึงที่สุด อำนาจ และความอิสระที่นิติรัฐหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่

ต้อง ไม่ลืมว่า องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และการสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในประชาธิปไตยและมีหน้าที่พิทักษ์ ประชาธิปไตย เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้องค์กรตุลาการสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมสมัยใหม่ และสร้างความชอบธรรมให้องค์กรตุลาการในการเข้าไปตรวจสอบอำนาจรัฐ

ใน ทางกลับกัน หากองค์กรตุลาการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอคติ ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือยอมพลีตนรับใช้อุดมการณ์บางอย่างด้วยการเป็นกลไกปราบปรามศัตรูแล้ว ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการย่อมลดน้อยถอยลง จนในท้ายที่สุด อาจไม่เหลือซึ่งการยอมรับคำพิพากษาของศาล

หาก เป็นเช่นนั้น นอกจากองค์กรตุลาการจะไม่บรรลุพันธกิจปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยแล้ว กลับกลายเป็นว่าองค์กรตุลาการนั่นแหละที่เป็นผู้ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย เสียเอง


---------------------------------------------------------------

*ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ประชาไท และฟ้าเดียวกันออนไลน์ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๑

http://www.go6tv.com/2010/10/blog-post_3957.html

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักปรัชญาชายขอบ:ทหารรุ่นใหม่กับความคิดที่ดูเหมือนก้าวหน้า

Wed, 2010-10-27 00:34

นักปรัชญาชายขอบ

ผมรู้สึกยินดีที่ คุณประวิตร โรจนพฤกษ์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองการเมือง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ประชาไท,26 ต.ค.53) เพราะน้อยครั้งมากที่เราจะได้เห็นสื่อนำเสนอความคิดความอ่านของทหารต่อบทบาท ของกองทัพ และสถานการณ์บ้านเมืองอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือค่อนข้างเป็นวิชาการ

ส่วนใหญ่เราจะเห็นแต่สื่อเอาไมค์ไปจ่อปากผู้นำเหล่าทัพ แล้วก็ถามความเห็นเกี่ยวกับการเมือง และสื่อเองนั่นแหละที่มักตั้งคำถามว่า เมื่อไรทหารจะเลิกยุ่งกับการเมืองเสียที พร้อมกับการตั้งคำถามนั้นสื่อเองก็เสนอข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ตั้งแต่ระดับ ผบ.ทบ.ลงไปจนถึงระดับ ผบ.พัน แล้วก็เกิดแฟชั่นเสนอข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ ตามมา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สื่อรายงานการแต่งตั้งโยกย้ายตั้งแต่ปลัดกระทรวงลงไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เลยทีเดียว แถมยังรายงานการเลื่อนสมศักดิ์ของพระราชาคณะชั้นต่างๆ อีกด้วย

ผมมีบางประเด็นที่อยากขอแลกเปลี่ยนกับบทสัมภาษณ์ของ พ.อ.ธีรนันท์ แต่ขอแวะสนทนากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ก่อน คือเขาบอกว่า ศอ ฉ.ได้ลงมติว่าห้าม (คนเสื้อแดง) ไม่ให้มีการชุมนุมโดยเด็ดขาด หากมีปัญหาขัดข้องใจในเรื่องใดให้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือหรือเอกสารให้กับ เลขาฯยูเอ็นได้ เรื่องนี้ขอร้องว่ามันเป็นหน้าตาของประเทศไทย จะทำอะไรก็ตามต้องทำแบบผู้ที่เจริญแล้ว ไม่ใช่ว่ามาชุมนุมเป็นกลุ่มใหญ่แล้วก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ให้คนต่างชาติเขาเห็น มันน่าอับอาย ก็ขอเตือนไว้ว่าอย่าทำเลยดีกว่า เพราะไม่เกิดประโยชน์” (มติชนออนไลน์, 25 ต.ค.53)

ผมขอถามเขากลับว่า ทหารทำรัฐประหาร และสลายการชุมนุมของประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยจนทำให้คนตาย 91 ศพ บาดเจ็บร่วม 2,000 คน มันทำให้ประเทศไทยได้หน้าได้ตาใช่ไหม? เป็นการกระทำแบบผู้ที่เจริญแล้วใช่ไหม? มันไม่น่าอับอายแม้แต่นิดเดียวใช่ไหม? และมันเกิดประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติใช่ไหม?

มันน่าจะลง หนังสือแปลกนะครับ ที่การชุมนุมประท้วงเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ให้ปล่อยนักโทษการเมือง ซึ่งประเทศเจริญแล้วเขาทำกันเป็นปกติ แต่ ผบ.ทบ.เห็นว่า มันน่าอับอาย

วกมาที่เรื่องที่ผมอยากแลกเปลี่ยนกันดีกว่า คุณประวิตรถามว่า ทำไมคุณจึงคิดว่าอาจมีรัฐประหารอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ พ.อ.ธีรนันท์ ตอบ (ตัดมาเฉพาะประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยน) ว่า “...ใน การทำรัฐประหารครั้งที่แล้ว กองทัพได้เข้ามาใกล้กับการเมืองในระยะใกล้เกินไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมือง แทนที่จะเป็นกลไกของรัฐในการทำงานเรื่องความมั่นคง...ตรงนี้ผมมี คำถามว่า รัฐประหารครั้งที่แล้ว (19 กันยา 49) กองทัพเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมืองอย่างไรครับ? เพราะรัฐประหารไม่ได้ถูกริเริ่มโดยนักการเมือง แต่ริเริ่มโดยใคร? หรือกลุ่มใด? แน่นอนอาจมีพรรคการเมืองบางพรรคนำประชาชนมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรซึ่งเรียก ร้องรัฐประหาร แต่พรรคการเมืองนั้นไม่น่าจะเป็นฝ่ายริเริ่ม หรือบงการให้ทำรัฐประหาร (ใครๆ ก็ได้ทราบจากคำให้สัมภาษณ์ของ สุริยะใส กตะศิลา ว่า มีผู้นั่งบัญชาการอยู่บ้านสี่เสาฯ)

แม้เมื่อมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ สังคมก็ตั้งคำถามว่า รัฐบาลคุมกองทัพหรือกองทัพคุมรัฐบาลกันแน่? การสลายการชุมนุมที่ผ่านมาเป็นความประสงค์ของกองทัพหรือรัฐบาลกันแน่ หรือว่าสมประโยชน์กัน แล้วที่สมประโยชน์กันนั้นใครคือผู้มีอำนาจสั่งการที่แท้จริง!

ประเด็นจากคำตอบข้างบนคือ แม้ พ.อ.ธีรนันท์ จะไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ดูเหมือนโทษว่ารัฐประหารเป็นความผิดของฝ่ายการเมือง คือกองทัพเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมืองจะต่างอะไรกับทหารฝ่ายที่ทำ หรือสนับสนุนรัฐประหาร ซึ่งอ้างว่า เพราะนักการเมืองโกง และ/หรือจาบจ้วง ล้มล้างสถาบัน

มันกลายเป็นว่า สำหรับมุมมองของทหารแล้ว ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับรัฐประหารหรือไม่ แต่สาเหตุของรัฐประหารก็มาจากนักการเมืองอยู่ดี เป็นความผิดของฝ่ายการเมืองอยู่วันยันค่ำ! ดังคำตอบต่อมาของผู้ให้สัมภาษณ์ที่ว่า “...ต้อง ยอมรับว่าช่วงพฤษภาทมิฬ กองทัพได้ห่างจากวงจรอุบาทว์ไปพักหนึ่ง ออกไปยืนในจุดที่ดี แต่อาจเพราะกลุ่มการเมืองดึงเข้ามาหรือผู้นำทหารในยุคหนึ่ง ดึงเข้ามา ทำให้วันนี้กองทัพจะถอยตัวออกไป ก็ไม่ง่าย…”

เป็นคำตอบที่คลุมเครือครับ กลุ่มการเมืองที่ดึงเข้ามาคือกลุ่มไหน? ใช่ นักการเมืองตามที่พูดตอนแรกไหม? แต่ข้อความ ผู้นำทหารในยุคหนึ่ง ดึงเข้ามาไม่ควรเอามาไว้หลังคำว่า หรือนะครับ ถ้าจะเอาไว้หลังคำว่า หรือต้องระบุให้ชัดว่ากลุ่มการเมือง หน้าคำว่า หรือคือ กลุ่มอำนาจนอกระบบการเลือกตั้ง!

คือคำตอบที่ว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ดูเหมือนจะแสดงถึงความเป็นทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า แต่พอพูดถึงสาเหตุและรายละเอียดของรัฐประหาร กลับออกมาในท่วงทำนองโบ้ยความผิดไปให้นักการเมือง หรือพูดอย่างคลุมเครือ

ลองเทียบคำตอบข้างต้นกับคำตอบของคำถามที่ว่า คุณคิดว่าทหารต้องมีส่วนรับผิดชอบกับกรณีที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ หรือไม่ อย่างไร? เขาตอบว่าวันนี้เราเป็นจำเลยของสังคม ผมเคยพูดในหลายที่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่สั่งใช้ทหาร เราจะเป็นจำเลยของสังคมทันทีไม่ว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม เพราะต้องไม่ลืมว่าทหารถูกฝึกมาเพื่อบริหารจัดการความรุนแรงโดยใช้ความ รุนแรง พูดง่ายๆ ก็คือว่าเราเป็นคนที่ใช้กำลังในการจัดการอริราชศัตรู เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการสั่งให้ทหารเข้าปฏิบัติการ ก็อาจมีโอกาสเกิดความสูญเสียขึ้นได้ ผมไม่ได้ป้องกันหรือแก้ตัวให้ใครแต่ผมมองว่าทั้งหลายทั้งมวล คือความรับผิดชอบของผู้สั่งการ เพราะทหารทำตามที่ได้รับคำสั่ง อยากให้เห็นใจผู้ปฏิบัติงาน

คือไม่ว่าเราจะมองจากมุมไหน ทหารก็คือ ผู้ที่น่าเห็นใจการที่ทหารเข้ามาใกล้กับการเมืองมากเกินไป หรือมาทำรัฐประหารก็เป็นเพราะว่านักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองดึงเข้ามา (หรือเพราะนักการเมืองโกง ฯลฯ) ทหารฆ่าประชาชน (14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 เมษา-พฤษภา 35?) มันก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะธรรมชาติของทหาร (ไทย) เป็นอย่างนี้ (จัดการความรุนแรงโดยใช้ความรุนแรง...อย่าง ไม่ต้องแยกแยะหรือ?) ต้องเป็นความรับผิดชอบของ ผู้สั่งการและ พ.อ.ธีรนันท์ ก็บอกว่าผู้สั่งการในเหตุการณ์ที่สลายการชุมนุมที่ผ่านมา ก็คือ ฝ่ายการเมือง

ขณะที่สังคมกังขาว่า ฝ่ายการเมืองคือผู้มีอำนาจจริงหรือไม่? ถ้าสังคมเรามาถึงยุคที่ฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือทหารจริง ทำไม ผบ.ทบ.ที่รัฐบาลทักษิณตั้งมากับมือจึงทำรัฐประหารรัฐบาลนั้นได้ ทำไมรัฐบาลสมัคร สมชาย สั่งใช้กำลังทหารไม่ได้เลย ถ้าเป็นความจริงว่า ทหารทำตามที่ได้รับคำสั่ง

นอกจากจะไม่ทำตามคำสั่งแล้วยังมา ออกทีวีไล่รัฐบาลอีก แสดงให้เห็นว่าทหารก็มีอิสระที่จะปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบใช่ไหม? เช่น ถ้าฝ่ายการเมืองสั่งให้ทหารฆ่าประชาชน ทหารก็ปฏิเสธได้ใช่ไหม? โอเค ถ้า (สมมติ) ว่า รัฐบาลสมัคร สมชายสั่งทหารสลายการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง แล้วทหารตัดสินใจไม่ทำตามคำสั่ง เพราะรู้ดีว่าธรรมชาติของทหารคือการใช้กำลังรุนแรง (ปราบอริราชศัตรู) ถ้าใช้กำลังทหารกับประชาชนย่อมเกิดความสูญเสียอย่างไม่ต้องสงสัย ตรงนี้ผมเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็น แต่ ทำไมเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่คาดการณ์ถึงความ สูญเสียได้เช่นกัน แล้วทหารจึงต้องทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด หรือว่าชีวิตคนเสื้อเหลืองเสื้อแดงมีค่าไม่เท่ากัน?!!!

ทั้งหมดนี้ผมเอามาแลกเปลี่ยนเพียงบางส่วนของสองคำตอบจากสองคำถามเท่านั้น คือเอามาเฉพาะประเด็น ทหารกับรัฐประหารและทหารกับการใช้ความรุนแรงปราบประชาชนถ้าดูคำตอบสองเรื่องนี้เชื่อมโยงกับบริบทของเนื้อหาการสัมภาษณ์ทั้งหมด จะเห็นว่าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นนายทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้าในหลายๆ เรื่อง

แต่ถ้าวิเคราะห์เนื้อหาจริงๆ ของคำตอบเรื่องสาเหตุที่ทหารทำรัฐประหาร กับทหารใช้ความรุนแรงกับประชาชน คำตอบของนายทหารรุ่นใหม่คนนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับคำตอบที่เราได้รับจาก เสธ.ไก่อู หรือทหารสายอนุรักษ์นิยมอื่นๆ!

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

คุยกับ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง ว่าด้วยบทบาททหารกับการเมืองไทย

คุยกับ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง ว่าด้วยบทบาททหารกับการเมืองไทย


Tue, 2010-10-26 00:15

ประวิตร โรจนพฤกษ์


พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
(ตำแหน่ง ณ วันที่สัมภาษณ์-ดูหมายเหตุด้านล่าง) เป็น หนึ่งในทหารไม่กี่คน ซึ่งพูด ทวีต และเขียนบล็อกเกี่ยวกับบทบาทของกองทัพในการเมืองและสังคมไทย ประวิตร โรจนพฤกษ์ พูดคุยกับเขาถึงกองทัพ การเมืองและสังคม

ประวิตร: ทำไมคุณจึงคิดว่าอาจมีรัฐประหารอีกครั้งในอนาคตอันใกล้

พ.อ.ธีรนันท์: เพราะสถานการณ์ความขัดแย้งทางการ เมืองยังไม่สงบเสียทีเดียว มันเป็นความเชื่อที่ตกค้างมาจากในอดีต และในการทำรัฐประหารครั้งที่แล้ว กองทัพได้เข้ามาใกล้กับการเมืองในระยะใกล้เกินไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหรือกลไกของนักการเมือง แทนที่จะเป็นกลไกของรัฐในการทำงานเรื่องความมั่นคง วันนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดรัฐประหาร ผมเองก็ไม่อยากให้เกิด และผมเองก็เชื่อมาตลอดว่ามันจะไม่เกิด แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่ามันจะไม่เกิด เพราะมันจะกลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์ คือต้องยอมรับว่าช่วงพฤษภาทมิฬ กองทัพได้ห่างจากวงจรอุบาทว์ไปพักหนึ่ง ออกไปยืนในจุดที่ดี แต่อาจเพราะกลุ่มการเมืองดึงเข้ามาหรือผู้นำทหารในยุคหนึ่ง ดึงเข้ามา ทำให้วันนี้กองทัพจะถอยตัวออกไปยืน ก็ไม่ง่าย มันต้องใช้เวลา หากถอยออกมาห่างได้ไม่พอ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะกลับเข้ามาสู่วงจรที่เราไม่ชอบกัน ก็คือวงจรอุบาทว์

ถ้ามีรัฐประหาร ประเทศไทยก็จะถอยหลังเข้าใกล้กับโมเดลพม่าเข้าไปทุกทีหรือเปล่า

ผมว่ามันไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงในพม่ายุคนั้นข้อมูลข่าวสารสื่อสารลำบาก แต่ในปัจจุบันการสื่อสารเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อาจจะมีความพยายามเข้าไปสู่จุดนั้น แต่ผมว่ามันไม่ง่าย เราไม่สามารถปิดกั้นได้ขนาดนั้น

ในฐานะทหารที่มีมุมมองทางประชาธิปไตย บทบาททหารไทยควรจะเป็นอย่างไร

ช่วงใกล้ เป็นช่วงความขัดแย้ง อาจมีความใกล้กับการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเยอะ แต่ในระยะยาว มองถึงความเป็นทหารอาชีพ ที่ยืนอยู่ในจุดที่เหมาะสมของสังคมไทย มีบริบทในการป้องกันประเทศ ส่วนความขัดแย้งภายใน ถ้าไม่จำเป็นในอนาคตควรจะเป็นเรื่องของภาคส่วนอื่นๆ เช่น ตำรวจ ทส. หรือคนอื่นๆ มากกว่าทหาร

แต่ดูเหมือนทหารไทยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไม่จบสิ้นเสียที จากประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ 2475 ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

มันเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจากอดีตถึงปัจจุบัน คิดว่าทหารเองก็พยายามปรับ และคนในกองทัพหลายคนพูดกันเยอะเรื่องกองทัพอาชีพ และการชนกันของกลุ่มอำนาจทหารกับพลังของประชาชนในช่วง 2535 ทำให้เกิดแรงผลักให้ทหารกลับไปยืนในจุดที่ดี หลัง 35 เราไปยืนในจุดที่ดีมากจนถูกดึงเข้ามาในช่วง 19 กันยาที่ผ่านมา คิดว่าวันนี้ทหารหลายคนก็อยากจะกลับไปยืนที่จุดเดิม เพียงแต่ความพัวพันของสถานการณ์ยังทำให้เราถอยออกไปยืนไม่ได้

คุณคิดว่าทหารต้องมีส่วนรับผิดชอบกับกรณีที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ หรือไม่ อย่างไร

วันนี้เราเป็นจำเลยของสังคม ผมเคยพูดในหลายที่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่สั่งใช้ทหาร เราจะเป็นจำเลยของสังคมทันทีไม่ว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม เพราะต้องไม่ลืมว่าทหารถูกฝึกมาเพื่อบริหารจัดการความรุนแรงโดยใช้ความ รุนแรง พูดง่ายๆ ก็คือว่าเราเป็นคนที่ใช้กำลังในการจัดการอริราชศัตรู เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการสั่งให้ทหารเข้าปฏิบัติการ ก็อาจมีโอกาสเกิดความสูญเสียขึ้นได้ ผมไม่ได้ป้องกันหรือแก้ตัวให้ใครแต่ผมมองว่าทั้งหลายทั้งมวล คือความรับผิดชอบของผู้สั่งการ เพราะทหารทำตามที่ได้รับคำสั่ง อยากให้เห็นใจผู้ปฏิบัติงาน

อยากบอกอะไรต่อเพื่อน พี่น้องหรือผู้บังคับบัญชาทหารที่ตอนนี้นิยมชมชอบกับการรัฐประหาร เพราะตอนนี้ก็มีคนกลัว ไม่เพียงแต่คุณ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ก็ออกมาพูดว่าอาจจะไม่มีเลือกตั้งในอนาคตอันใกล้

คงไม่ฝากอะไรถึงใคร เพียงแต่อยากจะบอกว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่า การทำรัฐประหารไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าแต่ทำให้เราถอยหลัง แต่จะทำหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคนที่มีอำนาจ เพราะฉะนั้นทุกคนด้วยความเป็นทหาร ก็อยู่ในเรื่องของระเบียบวินัย เมื่อสั่งการมาก็ต้องปฏิบัติตาม

ทำไมคนไทยจำนวนมากในสังคมนี้จึงคิดพึ่งทหารบ่อยเหลือเกิน คราวที่แล้วเมื่อ 19 กันยา 49 ก็มีการเอาดอกไม้ไปให้

ต้องโทษสังคมไทย เรามักจะรอพระเอกขี่ม้าขาว มักจะไม่ยอมให้ปัญหามันถึงที่สุดแล้วแก้หรือหาทางเลือกที่ดี แต่เรามักจะเลือกทางแก้ปัญหาอะไรก็ได้ให้มันยุติลง โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา เพราะฉะนั้นก็ต้องให้ความรู้กับสังคมไทยว่าเราควรจะเลือกที่จะแก้ปัญหาโดย ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจริงๆ ไม่ควรดึงเอากองทัพเข้ามาวุ่นวายด้วย

ในความเห็นของคุณ ทำไมอเมริกาจึงไม่มีรัฐประหาร

แตกต่างกันแน่นอน ในอเมริกา การเกิดขึ้นของประเทศเขา มีรากฐานมาจากการต่อสู้และเขียนรัฐธรรมนูญร่วมกัน และผ่านวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่คือสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นบริบทที่ผมคิดว่าสร้างบทเรียนสำคัญให้กับสหรัฐฯ และที่สำคัญคือโครงสร้างของกองทัพมีบริบทของการเตรียมกำลังและใช้กำลังที่ แยกจากกันอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่เตรียมกำลังก็ไม่สามารถสั่งใช้กำลังได้

ถึงแม้จะเป็นกองทัพที่ มีแสนยานุภาพสูงที่สุดในโลก คือถ้ามองในแง่นี้อเมริกาอาจจะทำรัฐประหารได้ง่ายที่สุด เพราะทหารมีอาวุธครบทุกอย่าง

ใช่ครับ แต่อยากให้มองว่าการใช้กองทัพจะมีอยู่หลายภาค หนึ่ง เกณฑ์กำลัง สอง จัดกำลัง สาม ใช้กำลัง สามอันนี้ควรจะมีการแยกส่วน เพราะถ้ารวมอยู่ที่เดียว มันจะเป็น absolute power แต่เราเตรียมโดยคนกลุ่มหนึ่ง สร้างพิมพ์เขียวขึ้นมา แล้วจัดโดยคนกลุ่มหนึ่ง แล้วใช้โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง ความหมายของการจัด เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ขึ้นมา ผู้จัดอาจจะเป็นสภาหรือฝ่ายบริหาร แต่ผู้ที่จะใช้กำลัง ต้องได้รับการเลือกสรรโดยผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้น คนที่เตรียมกำลัง เมื่อไม่สามารถใช้กำลังได้ ก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวโดยเอากองทัพไปใช้ในเรื่องส่วนตัวได้

ของไทยเป็นแบบรวมศูนย์หรือ

ของไทยคือการจัดกำลัง เตรียมกำลัง และใช้กำลังเป็นอำนาจของผู้นำเหล่าทัพ เพราะฉะนั้นจึงอยู่ในสภาพของ absolute power อยู่อย่างนี้ มันจึงมีความแตกต่าง เพราะโครงสร้างที่มีมาแต่อดีต จึงทำให้ไม่เหมือนสหรัฐฯ

ในความเห็นของคุณ ทหารจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีสถานีโทรทัศน์และวิทยุจำนวนมาก ซึ่งในต่างประเทศ มีกองทัพไม่กี่ประเทศที่ทหารมีทีวี ที่ผมเข้าใจเช่น กองทัพอเมริกาที่เกาหลี ที่มีทีวีก็เป็นทีวีเฉพาะให้ทหารของอเมริกันที่ประจำอยู่ต่างประเทศดู แต่ไม่ใช่ทีวีแบบช่อง 5

การเกิดขึ้นของทีวีวิทยุทหารเกิดในช่วงสงครามเย็น ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ปัจจุบันมันก็สืบทอดมา แต่ในอนาคตน่าจะเป็นแบบที่หลายคนมองกัน คือมีทีวี 3 รูปแบบ คือทีวีเพื่อธุรกิจ เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งจะมีภาคธุรกิจเข้ามายุ่งน้อย มีโฆษณาน้อย และสุดท้ายคือทีวีท้องถิ่นหรือทีวีชุมชน ถ้าเราจัดโครงสร้างได้แบบนี้ก็จะไม่เป็นแบบในปัจจุบัน แต่หากเรามีแล้ว หากใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพก็ไม่ต่างอะไรกับการไม่มี หมายความว่าในช่วงเกิดภาวะวิกฤต เราก็จะไม่มีอิสระในการใช้ช่วงเวลาได้อย่างที่เราต้องการ

กองทัพไทยกับพม่ามีความแตกต่างกันไหม ในแง่การยึดหลักประชาธิปไตย ไม่ใช่ในแง่แสนยานุภาพหรือศักยภาพ

ผมว่ากองทัพพม่าอยู่ในภาวะที่บาดเจ็บจากประเทศอังกฤษมาห้วงหนึ่ง คือคนพม่ามีความเจ็บช้ำน้ำใจจากการเข้ายึดครองของอังกฤษ เพราะฉะนั้นมันเป็นอะไรที่หลายคนยินยอมไม่ได้ที่จะกลับไปสู่ภาวะแบบเดิมอีก แต่กองทัพไทย ผมว่าหลายคนก็เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย มีความรู้ด้านพลเรือนเป็นอย่างดี เพียงแต่เมื่อมองความเชื่อมโยงของประวัติศาสตร์กับบริบท มันทำให้เราเองก็ยังไปไม่ถึงสภาพของกองทัพมืออาชีพแบบในมุมมองตะวันตก ต้องใช้เวลา มันยังอยู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่าน

อีกนานไหม

ไม่นาน เพราะทุกอย่างมันเร็ว ความขัดแย้งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเป็นครั้งแรกที่พลเรือนคุมและสั่งใช้กองทัพ เพราะฉะนั้นอำนาจก็เริ่มถูกถ่ายไปสู่ฝ่ายการเมืองมากขึ้น

อาจเพราะกองทัพตระหนัก ว่าถ้าเทคโอเวอร์รัฐบาล ก็ไม่สามารถคุมได้อยู่ดี มันก็จะมีปฏิกิริยาออกมารุนแรงกว่า ก็เลยคล้ายๆ กับยืมมือรัฐบาล รัฐบาลก็รู้ว่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากใช้กองทัพแบบนี้ กองทัพก็รู้ว่าอยู่ตรงตำแหน่งนี้น่าเหมาะที่สุดหรือเปล่า

ก็มีสิทธิมองได้ แต่ด้านของคนที่ทำงานเป็นทหาร หลายคนมองว่าเขารักประเทศชาติ คือ เขาอาจจะเลือกทางเดินที่ต้องยอมรับการที่มีพลเรือนคุมทหาร กระแสโลกก็ผลัก คือ Security Sector Reform และ Security Sector Governance สองคำนี้เป็นคำที่วันนี้กองทัพถูกท้าทาย คือ ในอดีต หน่วยงานความมั่นคงทำงานในลักษณะ mission-based เป็นกล่องดำ มองไม่เห็นกระบวนการทำงาน แต่ปัจจุบัน อย่างใน พ.ร.บ.ความมั่นคง ต้องเขียนแผนก่อนการปฏิบัติ ก็จะขยับจาก mission-based เป็น process และสุดท้ายก็คือ governance based คือต้องถูกตรวจสอบ ควบคุม และบริหารจัดงาน คิดว่าไม่นานหลายคนจะได้เห็น เพราะมันถูกกระแสสังคมผลักมาแล้ว

ทำไมคุณจึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์กองทัพหรือบทบาทของทหาร ไม่กลัวถูกลงโทษทางวินัยหรือ

ผมรักกองทัพ ผมรักอาชีพผม แล้วผมก็ยังไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เสียหาย แต่ผมมองในมุมมองวิชาการและบริสุทธิ์ใจกับสิ่งที่ตัวเองพูด ผมไม่ได้พูดเรื่องปัจจุบันเลย แต่ผมพูดถึงเรื่องอนาคตว่ามันควรจะเป็นอย่างไร

แล้วทำไมคนที่มีความคิดแบบคุณในกองทัพจึงมีจำนวนน้อย

อาจจะมีมากก็ได้ แต่เขาไม่มีช่องทางในการสื่อสาร

ประชาไท: หลังรัฐประหารใหม่ๆ มีการพูดว่า การรัฐประหารเมื่อ 19 กันยาที่ผ่านมา ทำให้ทหารมีบทบาททางการเมืองสูงขึ้น และตอนนี้ดูเหมือนว่าการเรียกร้องให้ทหารกลับไปเป็นทหารอาชีพแทบจะไม่มีเลย ทหารกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่

ผมเคยเขียนบทความเรื่องหนึ่ง แต่ยังไม่เสร็จ โดยแบ่งสภาวะของสังคมไทยเป็นหลายแบบ แบบหนึ่งคือเมื่อไรก็ตามถ้าทหารเข้าไปใกล้กับกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มผล ประโยชน์ ก็จะทำให้สังคมเสียสมดุล คือผมแบ่งกลุ่มอำนาจเป็นสามกลุ่มคือกลุ่มการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มผู้นำทางทหาร ถ้าสามกลุ่มมีระยะที่ดี ก็จะทำให้สังคมมีความสมดุล แต่หากใกล้กันเกินไป ก็จะทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ต่อกัน ทำให้สังคมไม่มีความสมดุล

ประชาไท: กองทัพดูเหมือนจะมีอำนาจมากขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเรื่อง GT 200 ซึ่งมีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่าน่าจะมีการทุจริต แต่ก็ไม่เห็นมีใครออกมารับผิดชอบ มองอย่างไร

ผมมองเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสียของผู้ที่เกี่ยวข้อง อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ซื้อด้วยภาษีของประชาชน จะทำอย่างไรให้มีความโปร่งใส ผมเคยไปเดินแถวฐานทัพเรือสหรัฐขนาดใหญ่ เดินๆ อยู่เขาก็ลากผมขึ้นไปบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ใช้เวลาเดินอยู่ประมาณชั่วโมงหนึ่ง เมื่อถามว่าทำไมจึงพามาเดิน เขาก็บอกว่านี่คือภาษีประชาชน เขาต้องเปิดแสดงให้ประชาชนมีความมั่นใจว่าอาวุธใช้งานได้ และเอามาใช้ทำอะไร เช่นเดียวกัน คำถามหนึ่งของสังคมไทยก็คือ ถ้าเรามีการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์โดยขาดความเคลือบแคลงใจของประชาชนแล้ว ผมคิดว่าไม่ว่ากองทัพอยากได้อะไร ประชาชนก็น่าจะยินดีสนับสนุนมากกว่าการซื้อแบบปิดลับ

ประวิตร: ถ้าให้เลือกตัวอย่างที่ดีของกองทัพในประเทศอื่นเท่าที่คุณรู้จัก คุณชื่นชมกองทัพประเทศไหนมากที่สุด และทำไม

ตอบยาก ผมไม่อยากจะโปรประเทศใดประเทศหนึ่ง ผมชอบความมีวินัยของทหารเยอรมันกับญี่ปุ่น วินัย สำคัญตรงที่ว่าวันนี้ถ้าเราสั่งซ้ายหันขวาหัน เขาก็หัน แต่ว่าถ้าเขาคิดเริ่มมีความคิดเป็นอิสระ จะหันเข้าหากันเอง นี่คือความน่ากลัวของสังคม สำหรับทหารไทย กองทัพก็ดีของมันอยู่แล้ว เปลี่ยนแค่ผู้นำเหล่าทัพ เขาก็จะหันไปตามผู้นำเหล่าทัพ แต่ในอนาคตถ้าเรายิ่งเร่งหรือทำให้กองทัพมีการเมืองเข้ามาปะปน ทุกคนก็จะมีขั้วของตัวเอง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ขั้วต่างเหล่านี้ก็จะหันปืนเข้าหากัน และจะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง นั่นคือความน่ากลัว

เมื่อเร็วๆ นี้กองทัพสหรัฐฯ เพิ่งประกาศว่าพื้นที่ในไซเบอร์สเปซเป็นพื้นที่ที่ต้องปกป้องอธิปไตยพอๆ กับพื้นที่ทางอากาศ อวกาศและบนดิน ซึ่งเป็นครั้งแรกของกองทัพหรือรัฐบาลใดในโลก ที่ประกาศออกมาชัดเจนว่าเรามีพื้นที่ที่ต้องรักษาอธิปไตยอีกที่หนึ่ง นั่นคือโลกในอินเทอร์เน็ต ในฐานะที่คุณก็ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้ทวิตเตอร์ และมีความสนใจเรื่องอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษ มองอย่างไร เพราะตอนนี้ก็มีเสียงโจษจันว่าจะนำมาสู่การมอนิเตอร์อีเมลของประชาชน อเมริกันหรือคนที่ไม่ใช่อเมริกันมากขึ้น ขณะที่ตอนนี้ยังไม่มีข้อตกลงร่วมกันว่าชาติอื่นจะมองอย่างไร แต่อเมริกาประกาศนำทางไปแล้ว และมีศูนย์บัญชาการ ซึ่งเริ่มปฏิบัติการแล้วเมื่อวันที่ 10 หรือ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา

เขามีหลักการคือระบบการสื่อสารเขาล่มไม่ได้ และสิ่งที่เขาประกาศนั้นไม่น่าแปลกใจเพราะเขามีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น National Security Agency (NSA) ที่มีหน้าที่มอนิเตอร์ทั้งโลก เพียงแต่การประกาศครั้งนี้เหมือนกับการครอบครองพื้นที่ก่อน เพราะสหรัฐฯ มองเรื่องผลประโยชน์ชาติไม่ว่าในการค้าขายหรือทำธุรกิจก็ตาม เป็นตัวตั้งอันดับหนึ่ง แต่คำถามคือมันจะนำไปสู่อะไรบ้าง ก็คงเกิดการเคลื่อนไหวใต้ดินในเน็ต เพราะมันคือความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของชาติ กับความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งหากมีการทำตรงนี้ก็คือมีการละเมิดสิทธิ์ ก็ต้องเกิดการต่อต้านแน่นอน ส่วนเรื่องการดักฟังก็เป็นเรื่องที่สหรัฐฯ ทำมาอยู่แล้วเพื่อป้องกันภัยต่อความมั่นคง นี่จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพียงแต่เป็นบริบทใหม่

การที่สังคมไทยมีการ รายงานข่าวนายพลดังๆ ไม่เพียงแค่ ผบ.ทบ. เยอะมาก ยกตัวอย่างในช่วงหลัง เช่นคุณวาสนา นาน่วม ให้ความสำคัญกับทหารโดยเฉพาะระดับอาวุโสเยอะ เป็นกึ่งๆ celebrity ไม่ใช่แค่ เสธ.ไก่อู การที่ทหารมีบทบาทในการแสดงความเห็นเรื่องการเมือง เยอะมากและบ่อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอื่น เป็นปัญหาหรือไม่

ผมมองว่าเป็นเรื่องงูกินหาง สื่ออยากรู้ก็ไปถาม เมื่อไม่ตอบก็เป็นปัญหา เมื่อตอบก็เป็นข่าว ผมว่าถ้าสื่อไม่เล่นก็ไม่มีเรื่องนี้ออก อาจจะเป็นมุมมองของสื่อหรือความเชื่อของสื่อเองที่มองว่าทหารยังคงเป็นกลุ่ม ที่มีอิทธิพลในสังคมไทย ผมคิดว่าถ้าสื่อไม่ถามก็คงไม่มีคำตอบจากทหาร เพราะทหารคงไม่แสดงความคิดเห็น เท่าที่ผมทราบคนหลายคนอยากพูด แต่สื่อไม่สนใจ ก็ไม่มีข่าวออก แต่คนบางคนแค่กระแอม สื่อได้ยินก็เอาไปออก เพราะฉะนั้นผมคิดว่าต้องถามสื่อว่าทำไมจึงให้ความสำคัญ ถ้าเราลดความสำคัญ โดยสื่อไปเล่นข่าวด้านอื่น ก็อาจจะทำให้มันหายไปจากสังคมไทยก็ได้

ผมคิดว่าผู้อ่านประชาไท กว่า 90% คงมองว่าทหาร โดยเฉพาะกองทัพบกถ่วงกระบวนการประชาธิปไตยของไทย คุณคิดว่าการมองเช่นนี้คลาดเคลื่อนหรือไม่อย่างไรและอยากจะบอกอะไรกับผู้ อ่านที่อาจมองเช่นนี้

ผมอยากให้มองว่ามันมีภาพหลายภาพซ้อนกัน ภาพที่หนึ่งคือผมหรือหลายๆ คนแต่งเครื่องแบบทหาร แต่ภายใต้เครื่องแบบทหาร ก็ถือบัตรประชาชนคนไทย เพราะฉะนั้น มันแยกกันยาก ด้วยบริบทที่กองทัพเข้ามาใกล้กับการเมือง ทำให้เสียสมดุลทางสังคมอย่างที่กล่าวไปตอนต้น เพราะฉะนั้น ทำให้ถูกมองว่ากองทัพเป็นคนที่เข้ามาทำให้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยช้าลง แต่ผมคิดว่าเราก็คงต้องช่วยกัน เช่น ภาคประชาชนต้องเข้มแข็งขึ้นเพื่อมาตรวจสอบหรือการสร้างภูมิต้านทานทางสังคม ที่จะไม่เห็นดีเห็นงามกับการใช้อำนาจทหารจากฝ่ายการเมือง หรือการที่ฝ่ายการเมืองจะใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการแสวงประโยชน์ฐานอำนาจ ของตัวเอง ผมคิดว่าเมื่อไรก็ตามที่เราแยกฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายผลประโยชน์ออกจากกองทัพ ได้ กองทัพก็กลับไปยืนในจุดที่ดี เพราะฉะนั้นถ้าทุกฝ่ายตรวจสอบกองทัพด้วยก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี

…………………………

หมายเหตุ:
-บทสัมภาษณ์นี้เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 17 ต.ค. 53 http://www.nationmultimedia.com/home/2010/10/17/politics/Army-man-calls-it-as-he-sees-it-30140246.html
-วันที่ 18 ต.ค. 53 เขาทวีตข้อความว่าได้รับคำสั่งย้ายเป็นรองผู้อำนวยการกองการเมือง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

http://www.prachatai.com/journal/2010/10/31623