สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วารสารศาสตร์ข้อมูล: เราควรจะขอบคุณวิกิลีกส์ #wikileaks #opendata


Wed, 2010-12-15 16:03


Roy Greenslade (twitter: @GreensladeR) เขียน ; อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (@bact) แปลและเรียบเรียง

เผยแพร่ครั้งแรกใน http://bact.blogspot.com/2010/12/wikileaks-opendata.html

(CNN) 30 ก.ค. 2553 – การโพสต์เอกสาร 92,000 ฉบับบนวิกิลีกส์ (WikiLeaks) เกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน เป็นตัวแทนของการฉลองชัยของสิ่งที่ผมเรียกว่า วารสารศาสตร์ข้อมูล” (data journalism)


แน่นอนว่ามันต้องมีแหล่งข่าวที่เป็นบุคคล ใครสักคนในที่ไหนสักแห่ง ส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์วิกิลีกส์ แต่ไม่ว่าผู้แจ้งความไม่ชอบมาพากลคนนี้จะเป็นใคร มันก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับว่า เนื้อหาของเอกสารเหล่านี้มันบอกอะไรกับเรา


ข้อมูลดิบดังกล่าว เป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่สำหรับนักหนังสือพิมพ์ในสามสำนักข่าว นิวยอร์กไทมส์ (New York Times สหัรฐอเมริกา), เดอะการ์เดียน (The Guardian สหราชอาณาจักร), และ แดร์ สปีเกล (Der Spiegel เยอรมนี)ที่จะขุดค้นหาข่าวจากมัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเฉพาะนักข่าวเหล่านั้นเท่านั้น บันทึกประจำวันจากสงครามอัฟกานิสถานนั้นอยู่บนอินเทอร์เน็ต ที่ใครก็เข้าไปขุดค้นสมบัติหาข้อมูลได้


เรื่องเหล่านี้จริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร นักหนังสือพิมพ์ทำเรื่องเหล่านี้มานานแล้ว พวกเขาอ่านกองเอกสารทีละหน้าทีละหน้า เพื่อมองหาสิ่งผิดปกติ ข้อเท็จจริงเพียงหนึ่งหรือสองชิ้น ซึ่งจะนำไปสู่สกู๊ปสำคัญ


แต่ก็นั่นล่ะ เราต้องยอมรับว่า นักหนังสือพิมพ์ที่ทำงานดังที่กล่าวมา แทบจะไม่หลงเหลืออยู่แล้ว มันทั้งใช้เวลาและแรงงาน แล้วก็ไม่มีสีสันตื่นตาตื่นใจ มันไม่มีสเน่ห์ดึงดูด ด้วยแรงกดดันในองค์กรข่าวสมัยใหม่ ที่จำเป็นต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพคุ้มราคา มันเป็นเรื่องยากที่บรรณาธิการข่าวจะอนุญาตให้นักข่าวใช้เวลามาก ๆ ไปกับกองเอกสารท่วมหัว


ความสำเร็จของ วารสารศาสตร์ข้อมูลหรือการทำข่าวจากข้อมูลดิบนั้นมักจะถูกลืม ตัวอย่างหนึ่งโดดเด่นก็คือ กรณีข่าวสืบสวนโดยหนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทมส์ (Sunday Times) ที่ตามติดกรณียาระงับประสาทของบริษัทยาเยอรมันที่ถูกถอนออกจากตลาดในปี 1961 หลังจากพบว่ามีผลกระทบรุนแรงต่อทารก


ระหว่างการสืบสวนดังกล่าว ซันเดย์ไทมส์จ่ายเงินเพื่อซื้อเอกสารภายในจำนวนมากของบริษัทดังกล่าว และต้องแปลมันทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่ง ฟิลลิป ไนท์ลีย์ (Phillip Knightley) หนึ่งในทีมข่าวกล่าวว่าพวกเขาใช้เวลาเกือบหนึ่งปี ทำงานอย่างหนัก เพื่อทำความเข้าใจเอกสารเหล่านั้น


ถึงในปี 1968 จะยังเป็นสมัยที่ซันเดย์ไทมส์มีกำลังคนพร้อมเพรียง และยินดีที่จะจัดสรรทรัพยากรให้กับทีมนักข่าวสืบสวน ไนท์ลีย์ก็ยังบอกกับเราว่า คนก็ยังสงสัยอยู่ดี ว่ามันจะคุ้มค่าหรือ ที่จะทำข่าวที่ต้องใช้ทั้งเงินและเวลายาวนานขนาดนี้


แม้ในที่สุดข่าวสืบสวนชิ้นนี้จะประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การจ่ายเงินชดเชยที่ดีขึ้นแก่ผู้เสียหาย แต่ดูเหมือนว่า ความสงสัยต่อความคุ้มค่าในการลงทุนทำ วารสารศาสตร์ข้อมูลก็ยังคงฝังแน่นอยู่ในองค์กรข่าวส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ที่กำลังจะตัดงบประมาณของกองบรรณาธิการ

แน่นอนว่า ข่าวสืบสวนคดีวอเตอร์เกต (Watergate) ในต้นทศวรรษ 1970 โดย Bob Woodward และ Carl Bernstein ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสกู๊ปข่าวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล นั้นมีความสำคัญ รายงานชิ้นดังกล่าวอาศัยแหล่งข่าวที่ปิดเป็นความลับ ที่รู้จักกันในชื่อ “Deep Throat” และตั้งแต่นั้นมา นักหนังสือพิมพ์ก็ตกเป็นทาสของแหล่งข่าวที่เปิดเผยไม่ได้เหล่านี้เสียเอง แต่ข่าวแบบนี้แหละที่มีสเน่ห์ดึงดูด


แหล่งข่าวที่เปิดเผยไม่ได้ ได้กลายเป็นวิถีชีวิตของวารสารศาสตร์สมัยใหม่ ผมเคยบอกกับนักศึกษาวารสารศาสตร์ของผมอย่างนั้นเสมอ ๆ แต่ตอนนี้ผมยอมรับแล้วว่า ผมให้ความสำคัญกับมันมากเกินไป จนให้ความสำคัญน้อยเกินไปกับการค้นหา อ่าน และวิเคราะห์ข้อมูลดิบ


ถ้าหนังสือพิมพ์นั้น เป็นร่างแรกของประวัติศาสตร์ อย่างที่เรานักหนังสือพิมพ์มักอ้างกัน เราก็ควรจะต้องทำงานให้ใกล้เคียงกับนักประวัติศาสตร์เสียหน่อย บรรดานักประวัติศาสตร์พยายามมองหาแหล่งข้อมูลชั้นต้น เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นกับเหตุการณ์ในอดีต


สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ของข้อมูลต่างๆ ในวิกิลีกส์นั้นคือ มันเป็นข้อมูลที่ทันสมัย มันทำให้นักหนังสือพิมพ์และสาธารณะเข้าใจชัดเจนขึ้น ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในอัฟกานิสถาน ในแง่นี้ ข้อมูลเหล่านี้ที่ทุกคนเข้าไปอ่านได้ ช่วยมอบความเข้าใจที่มีค่ามหาศาลให้กับเรา


อย่างไรก็ตาม การโพสต์เอกสารขึ้นอินเทอร์เน็ตโดยตัวมันเองไม่ใช่การทำข่าว มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการข่าว มันยังต้องการการวิเคราะห์ วางบริบท และในบางกรณี การเซ็นเซอร์ที่จำเป็นเพื่อที่จะปกป้องปัจเจกบุคคลที่ถูกระบุในเอกสารดัง กล่าว


ผมทราบว่า นักข่าวอาชีพไม่ได้เป็นคนเพียงกลุ่มเดียวที่สามารถทำงานนี้ได้ แต่พวกเขาส่วนใหญ่ มีทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ดังกล่าว และมีความรู้ที่จะทำให้พวกเขาทำงานดังกล่าวได้ดี การรายงานโดย เดอะการ์เดียน และ นิวยอร์กไทมส์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน


มันอาจจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรโดยทันที ไม่มีประธานาธิบดีต้องออกจากตำแหน่ง เหมือนกรณีวอเตอร์เกต แต่สิ่งที่ถูกทำให้ปรากฏจากเอกสาร คือการยืนยันสิ่งที่สื่อในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาสงสัยมาโดยตลอด เกี่ยวกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน ว่ามันเลวร้ายและมีแต่จะแย่ลง ๆ นับตั้งแต่ปี 2004 มันตบหน้ารายงานประเมินอย่างเป็นทางการที่แสนสวยงาม


ข้อมูลดิบทั้งหมดดังกล่าวมานั้น เชื่อถือได้มากกว่า เพราะมันเป็นรายงานโดยทหารในสนามรบจริง ๆ ว่าพวกเขาพบเห็นและประสบอะไรบ้าง มันไม่มีการปั่นข่าว ตัวรายงานนั้นอาจไม่ได้เป็นวัตถุวิสัย ซึ่งก็ไม่เคยมีอะไรที่เป็นเช่นนั้น แต่รายงานเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทาง การเมือง

ใช่ เราอาจพูดได้ว่า การที่วิกิลีกส์โพสต์ข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวในพื้นที่สาธารณะ ในตัวมันเองนั้นก็ไม่ได้เป็นวัตถุวิสัยอยู่แล้ว แต่ผมขอสนับสนุนสิ่งที่ จูเลียน อัสซานจ์ (Julian Assange) หัวหน้าบรรณาธิการของวิกิลีกส์ เรียกร้องต่อองค์กรข่าวต่าง ๆ ให้เปิดเผยข้อมูลดิบออกสู่สาธารณะให้มากขึ้น


เขาเชื่อว่าการกระทำดังกล่าว จะทำให้กิจกรรมของงานข่าวโปร่งใสมากขึ้น ในการสัมภาษณ์เมื่อไม่นานนี้ เขายืนกรานว่าวารสารศาสตร์ควรจะเป็นเหมือนวิทยาศาสตร์มากขึ้นและเสริมว่า:มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะต้องถูกตรวจสอบยืนยันได้ ถ้านักหนังสือพิมพ์ต้องการที่จะให้อาชีพของพวกเขามีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ได้มากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องเดินไปในทิศทางนั้น เคารพคนอ่านให้มากขึ้น


โดยธรรมชาติของตัวมันเอง การทำข่าวจากแหล่งข่าวบุคคล (source journalism) ย่อมถูกปิดบังไม่ให้สาธารณะได้เห็น การทำข่าวจากข้อมูลดิบ (data journalism) นั้นเปิดเผยมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลดิบนั้นถูกโพสต์ขึ้นอินเทอร์เน็ต เพราะในกรณีที่มีการวิเคราห์ข้อมูลชุดเดียวกันในแนวทางที่ต่างกัน ข้อมูลดิบเหล่านั้นมันอนุญาตให้สาธารณะตัดสินได้ว่าการวิเคราะห์อันไหนที่ น่าเชื่อถือกว่า


เรานักหนังสือพิมพ์ ควรจะต้องดีใจที่มีเว็บไซต์อย่างวิกิลีกส์อยู่ นั่นเพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเราก็คือการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ สาธารณะ ที่คนที่มีความเชื่อเป็นอย่างอื่นต้องการจะเก็บมันเป็นความลับ


เว็บไซต์ดังกล่าวสมควรจะได้รับการสรรเสริญชื่นชมจากพวกเรา และมันจำเป็นจะต้องได้รับการปกป้องจากพลังฝ่ายขวา ที่หาทางจะหลีกเลี่ยงจากการถูกเปิดโปง


Roy Greenslade เป็นศาสตราจารย์ด้านวารสารศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยซิตี้ยูนิเวอร์ซิตี้ ลอนดอน เขาเขียนบล็อกรายวันเกี่ยวกับสื่อให้กับเว็บไซต์ The Guardian และเขียนคอลัมน์รายสัปดาห์ในหนังสือพิมพ์ London Evening Standard เขาเป็นนักวิจารณ์สื่อมา 18 ปี โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Daily Mirror ของสหราชอาณาจักร บรรณาธิการบริหารของ Sunday Times และผู้ช่วยบรรณาธิการของ The Sun


เรียบเรียงจาก “We should be thankful for WikiLeaks” โดย Roy Greenslade ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ CNN.com 30 ก.ค. 2553 (ลิงก์ต่าง ๆ ที่แทรกในเอกสารนี้โดยผู้แปลเอง)


เข้าถึงเนื้อหาของ WikiLeaks จากเมืองไทย ได้ที่เว็บไซต์ ThaiLeaks.info
โดยทุกคนสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดของวิกิลีกส์ได้ทาง torrent

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น