สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทความ วรเจตน์ ภาคีรัตน์

jasonbourne

นิติราษฎร์ ฉบับที่ ๘ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)ตุลาการภิวัตน์กับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการ

ตุลาการภิวัตน์ในความหมายที่ให้ศาลแผ่ขยายบทบาทมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการ เมืองที่เ
กิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ที่นำเสนอความคิดนี้ได้พยายามนำเอาหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารโดยองค์กรตุลาการอันเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการ ปกครองในนิติรัฐมาอธิบายสนับสนุนบทบาทของศาลในการตัดสินคดีสำคัญ ๆ ซึ่งกระทบกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันที่จริงแล้ว การที่องค์กรตุลาการทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารโดย เกณฑ์ในทาง กฎหมายโดยตระหนักรู้ถึงขอบเขตแห่งอำนาจของตน ตระหนักรู้ถึงภารกิจและความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยของตนย่อมไม่ใช่เรื่อง ประหลาด การตีความกฎหมายไปในทางสร้างสรรค์ สนับสนุนสิทธิเสรีภาพของราษฎร การตีความกฎหมายให้คุณค่าต่าง ๆ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยปรากฏขึ้น เป็นจริงย่อมเป็นสิ่งที่วิญญูชนได้แต่สนับสนุน

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ (หรือที่บางท่านเรียกว่า ตลก.ภิวัตน์) ในประเทศไทยก็คือ...

การตัดสินคดีหลายคดีในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อยมาจนกระทั่งหลังการรัฐประหาร ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นการตัดสินคดีที่องค์กรตุลาการ (ผู้พิพากษา ตุลาการ) เข้าทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรือตรวจสอบบรรดาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในทางการเมืองโดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ที่ถูกต้อ
งเป็นธรรมจริงหรือไม่ การกล่าวอ้างสิ่งที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการให้คุณค่า ในถ้อยคำดังกล่าวด้วยว่าเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นตัวแทนของคุณธรรมความดีงามทั้งปวง (ดังที่ภิกษุบางรูปเปรียบเทียบตุลาการภิวัตน์ว่าคือธรรมาธิปไตย) ในที่สุดแล้วจะมีผลเป็นการปิดปากผู้คนไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์การใช้ อำนาจตุลาการซึ่งแสดงออกในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลหรือไม่ ผู้ที่เสนอหรือสนับสนุนกระแสความคิดเรื่องตุลาการภิวัตน์ในบริบทของการ ต่อสู้ทางการเมืองที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุกอณูของสังคมดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้แน่ ใจได้อย่างไรว่าการเรียกร้องให้ศาลขยายบทบาทออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการ ทางการเมืองของตนนั้นจะไม่ทำให้ศาลใช้โอกาสนี้ปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความ ผูกพันต่อกฎหมายและความยุติธรรมไปด้วย และในที่สุดแล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าตุลาการภิวัตน์ไม่ใช่เสื้อคลุมที่สวม ทับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

ในระบบกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความผิดฐานบิดเบือนหรือบิดผันการใช้อำนาจ ตุลาการ (ตลอดจนความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย) เอาไว้ การบิดเบือนหรือการบิดผันการใช้อำนาจตุลาการ คือ การที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมายไปในทางที่ผิดโดยเจตนา พิพากษาคดีไปใ
นทางให้ประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร้ายแก่คู่ ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การใช้หรือการตีความกฎหมายไปทางที่ผิดอย่างประสงค์จงใจดังกล่าวถือว่าเป็น อาชญากรรมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามพึงเข้าใจว่าการที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมาย อย่างไม่ถูกต้องหรือยากที่คล้อยตามได้ยังไม่พอที่จะถือว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วย่อมจะกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการ และอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องผู้พิพากษาหรือตุลาการโดยง่ายอันจะทำให้ในที่ สุดแล้ว บรรดาคดีความต่าง ๆ จะหาจุดสิ้นสุดไม่ได้

การวินิจฉัยว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้อำนาจตุลาการอย่างบิดเบือนในทางที่ เป็นประโย
ชน์หรือเป็นผลร้ายแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่าย นัก แต่อย่างใดก็ตามการพิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ตลอดจนเหตุผลที่ปรากฏในคำพิพากษาก็สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมายหรือใช้อำนาจตุลาการอย่างบิดเบือนหรือไม่ กรณีที่ปรากฏในต่างประเทศ เช่น ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาเพื่อ ประโยชน์แก่บุตรสาวของตนทั้ง ๆ ที่คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและผู้พิพากษาผู้นั้นไม่สามารถ ตัดสินคดีได้ เนื่องจากถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี

ในทรรศนะของผู้เขียน การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้พิพากษาหรือ ตุลาการถูกสั่ง
การให้พิจารณาพิพากษาคดีไปทางใดทางหนึ่ง และผู้พิพากษาหรือตุลาการยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้น ทั้ง ๆ ที่การปรับบทกฎหมายหรือการตีความกฎหมายเช่นนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดพลาดอย่าง ชัดแจ้ง หรือผู้พิพากษาตุลาการมีอคติ เกิดความเกลียดชังคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอคติหรือความเกลียดชังดังกล่าวอาจเป็นมาจากอิทธิพลหรือกระแสความรู้สึก นึกคิดของคนในสังคม หรืออิทธิพลจากสื่อมวลชนก็ได้ ภายใต้อิทธิพลหรือกระแสดังกล่าวดังกล่าวนั้น ผู้พิพากษาหรือตุลาการจึงดำเนินกระบวนพิจารณาโดยคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานที่สอดคล้องกับผลของคดีที่ตนต้องการเข้าสู่การพิจารณา ตัดข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานตลอดจนพยานบุคคลที่จะทำให้เห็นความจริงของคดี ออกไปโดยอำเภอใจ และในที่สุดแล้วจึงพิพากษาคดีไปตามที่ตนต้องการนั้น

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในการวินิจฉัยว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการ บิดเบือนก
ารใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ ก็คือกรณีที่การดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีนั้นกระทำในรูปขององค์คณะ และปรากฏว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการบางท่านในองค์คณะนั้นได้ออกเสียงไปในทาง คัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการ ใช้อำนาจตุลาการ แต่ในที่สุดแล้วก็ร่วมลงชื่อในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นด้วย ในกรณีเช่นนี้จะถือว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการผู้นั้นบิดเบือนการใช้อำนาจตุลา การด้วยหรือไม่ เรื่องนี้มีความเห็นในทางตำราแตกต่างกันออกเป็นสองแนว แนวแรกเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ออกเสียงคัดค้านผู้พิพากษาหรือ ตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการไม่มี ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายและไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุน ถึงแม้ว่าจะร่วมลงชื่อเป็นองค์คณะด้วยก็ตาม เพราะได้ออกเสียงคัดค้านไปแล้ว อีกแนวหนึ่งเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวกระทำความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการบิดเบือนกฎหมาย แม้ว่าจะออกเสียงคัดค้านฝ่ายข้างมากไว้ก็ตาม เนื่องจากหากผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยไม่ร่วมลงชื่อในคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยด้วยแล้ว คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่บิดเบือนกฎหมายย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นหลัง เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการในองค์คณะที่เห็นการบิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือน การใช้อำนาจตุลาการซึ่งเป็นการกระทำความผิด ย่อมต้องมีหน้าที่ต้องปฏิเสธการกระทำความผิดนั้น (ส่วนประเด็นที่ว่าผู้พิพากษาตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวสมควรถูกลงโทษหรือ ไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) อย่างไรก็ตามความผิดฐานนี้ไม่ได้รับการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาของไทย และหากจะมีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวขึ้นในอนาคต ก็ควรที่จะบัญญัติประเด็นที่กล่าวถึงนี้เสียให้ชัดเจน

ควรตั้งไว้เป็นข้อสังเกตด้วยว่าการป้องกันไม่ให้ผู้พิพากษาตุลาการบิดเบือน การใช้อำน
าจตุลาการนั้น ไม่ได้อยู่ที่การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวไว้ แต่อยู่ที่การจัดการปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยและการจัดโครงสร้าง องค์กรตุลาการที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวย่อมจะไร้ประโยชน์ หากผู้พิพากษาตุลาการไม่ได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลาให้เห็นในคุณค่าของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากยังปรากฏว่าการจ่ายสำนวนเข้าองค์คณะนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หากปรากฏว่ากลไกการคัดเลือกผู้พิพากษาตุลาการนั้นยังเป็นระบบปิด ฯลฯ ด้วยเหตุนี้การอภิปรายถึงความชอบธรรมทางประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการจึงเป็น ความจำเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้

การแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการ ไม่ว่าจะในลักษณะของการเป็นองค์กรคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ธรรมนูญ (ศาลรัฐธรรมนูญ) องค์กรตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองหรือการคุ้มครองสิทธิ ของปัจเจกบ
ุคคลจากการล่วงละเมิดโดยอำนาจปกครอง (ศาลปกครอง) หรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่น (ศาลยุติธรรม) ผู้พิพากษาหรือตุลาการไม่อาจแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการตามอำเภอใจเพื่อตอบสนอง ข้อเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงได้ ไม่ว่ากลุ่มผลประโยชน์นั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใดก็ตาม การใช้อำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาคดี ผู้พิพากษาตุลาการจะต้องผูกพันตนต่อกฎหมายและความยุติธรรม และต้องสำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่าอำนาจตุลาการที่ตนกำลังใช้อยู่นั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็นของประชาชน

หากข้อเสนอที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ หน้าฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลแผ่ขยายบทบาทเข้าไปแก้ปัญหาทางการเมือง โดยอ้างอิงหลักการจากประเทศที่เป็นนิติรัฐ หลังฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลใช้อำนาจทางกฎหมายเข้าจัดการกับปรปักษ์ทางการ เมืองของต
นโดยอ้างหลักกฎหมายจากต่างประเทศอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่ได้คำนึงถึงลักษณะโครงสร้างของอำนาจตุลาการของไทยว่ามีพัฒนาการมา อย่างไร ตลอดจนไม่ได้คำนึงถึงโครงข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับบนแล้ว คำว่าตุลาการภิวัตน์คงมีความหมายเท่ากับ การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายถือว่าเป็นความผิดอาญาเท่านั้น

สารถึงผู้อ่านนิติราษฎร์

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ในคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับ การใช้จ่า
ยเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองและ การจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้อง ปรากฏว่ามีผู้อ่านเว็บไซต์ได้สอบถามเข้ามาว่าคณาจารย์คณะนิติราษฎร์จะออกแถ ลงการณ์หรือบทวิจารณ์คำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

ขอเรียนให้ทราบว่าขณะนี้คณาจารย์คณะนิติราษฎร์กำลังรอคำวินิจฉัยฉบับที่เป็น ทางการขอ
งศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่เป็นองค์คณะ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบประเด็นต่างๆให้ครบถ้วนและจะได้แสดงทรรศนะทางกฎหมายที่ มีต่อคำวินิจฉัยดังกล่าวไปในคราวเดียว ถึงแม้จากการอ่านคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของศาล รัฐธรรมนูญ คณาจารย์คณะนิติราษฎร์จะเห็นว่าการกำหนดประเด็นในการทำคำวินิจฉัย การนับคะแนนเสียงตุลาการที่ลงมติในประเด็นของคดีตลอดจนการตีความกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนในการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะมี ปัญหาก็ตาม ก็ยังจะไม่วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินคดีของศาลรัฐธรรมนูญในชั้นนี้ และคณาจารย์คณะนิติราษฎร์ขอเรียกร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้เผยแพร่คำ วินิจฉัยฉบับที่เป็นทางการ ตลอดจนคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการทุกคนที่เป็นองค์คณะโดยเร็ว เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในการศึกษาและวิเคราะห์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อไป

พร้อม ๆ กับการเผยแพร่ประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ ๘ นี้ เว็บไซต์นิติราษฎร์ได้เผยแพร่ บทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคการเมือง ซึ่งอาจารย์ณรงค์เดชได้แสดงทรรศนะทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการในการยุบพรรค การเมืองเอ
าไว้อย่างน่าสนใจ อันที่จริงแล้ว พรรคการเมืองที่เป็นสถาบันหรือองค์กรที่เชื่อมประชาชนกับอำนาจรัฐเข้าด้วย กันนั้น ไม่ควรถูกยุบได้โดยง่าย ในอนาคตเราจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้กันใหม่หมด

สำหรับบทความต่าง ๆ ที่ผู้อ่านหลายท่านส่งเข้ามานั้น ขอเรียนให้ทราบว่าขณะนี้คณาจารย์คณะนิติราษฎร์กำลังจะประชุมกันดำเนินการคัด เลือกเพื
่อเผยแพร่ และขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมกับพวกเราในการสถาปนาอุดมการณ์นิติรัฐ -ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะนิติราษฎร์ได้จัดอภิปรายทางวิชาการเรื่องตุลาการ-มโนธรรมสำนึก -ประชาธิปไตย เดือนธันวาคมนี้เราจะจัดการอภิปรายทางวิชาการอีก ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ เรา รายละเอียดโปรดติดตามได้ในเว็บไซต์แห่งนี้

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

๒ ธันวาคม ๒๕๕๓

02 December 2010 | by สาวตรี สุขศรี | tags ข่าวสาร นิติราษฎร์

http://www.enlightened-jurists.com/blog/14
http://www.voicetv.co.th/programs/the_daily_dose

http://www.internetfreedom.us/thread-4523.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น