สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญา อมาตยา เซน : เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่

Maquid

"มาร์ค" 8 แสนล้าน ศิษย์ที่ไม่คิดเชื่อครู!!


ปรัชญา อมาตยา เซน
เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่
ศาสตราจารย์ ดร.อมาตยา เซน ( Prof.Dr. Amartya Sen) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2551 และหนึ่งในประดาลูกศิษย์ที่เขาถ่ายทอดวิทยาการในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน

อมา ตยา เซนภูมิใจ "อภิสิทธิ์"ฐานะลูกศิษย์ ขอให้ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ห่วงสถานการณ์ในพม่าฝากการบ้านนายกฯช่วยหารือ แต่..ลูกศิษย์คนนี้จะเดินตรมรอยอาจารย์หรือไม่ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของบ้าน เมืองตามหลักยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องหรือเปล่า ไม่มีใครให้คำตอบในวันนี้ได้??

ตราบ ใดที่ วิธีคิดของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ภายใต้การนำเสนอของ เพื่อนซี้รัฐมนตรีคลัง กรณ์ จาติกวณิช ยังวนเวียนอยู่กับการกู้ทุกอย่างที่ขวางหน้า คิดจะผุดโครงการประเทศไทยเข้มแข็งก็กู้เขามา 800,000 ล้านบาท เงินมากมายมหาศาลขนาดนี้ จะใช้หนี้เขาคืนอย่างไร คำตอบคือ..

ไปตายเอาดาบหน้า”!!

พิเคราะห์แล้วศิษย์กับอาจารย์คือ อภิสิทธิ์ กับอมาตยาเซนคงใช้ตำรากันคนละเล่ม

ความคิดของ อมาตา เซนมีผลกระทบต่อนโยบายขององค์กรระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ ธนาคารโลก ไม่น้อย

อมา ตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1998 ด้วยแนวคิดที่ ยืนอยู่ข้างคนจนทำให้มีคนขนานนามว่าเป็นคุณแม่เทเรซาทางด้านเศรษฐศาสตร์

อมาตยา เซน อธิบายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ว่า ความหิวโหยในโลกนี้มิได้เกิดจากการขาดแคลนอาหาร แต่มาจากความไม่เสมอภาคในการแจกจ่ายอาหาร

ฟัง ดูอาจจะคิดว่า ไม่มีอะไรใหม่ แต่เขาก็ชี้ให้เห็นอย่างเป็นวิชาการและได้รับการยอมรับ พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยคำกล่าวที่ถูกอ้างอิงอยู่ เนืองๆ ว่า

เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่

และ เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง

เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ที่เพิ่งผ่านมาหมาดๆ อมาตยา เซน" ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2541 ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม" (Building social justice to close the social GAP) ในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ.2553 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ อมาตยา เซนมองว่าความยุติธรรมทางสังคมต้องเน้นไปที่คุณภาพชีวิตควบคู่กับเศรษฐกิจและ สังคม แต่ตอนนี้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจถดถอยกว่าในอดีต เพราะมีความไม่พอใจในเรื่องการกระจายอำนาจทางการเมืองเกิดขึ้น
เมื่อปี ค.ศ.1964 ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก ไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างก้าวหน้า แต่ไทยยังมีช่องว่างทางสังคมที่ประชาชนยังไม่พอใจอยู่เยอะเหมือนกัน มีการวิจารณ์กันมากว่าในสังคมไทยมีทั้งผู้มีอำนาจและผู้ที่ไม่มีอำนาจ

ซึ่ง ก็ได้เข้าใจว่า ความเข้าใจของคนไทยที่ไม่มีความรู้นั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดความระแวงขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจทางการเมืองมาตอบสนองความต้องการทุกอย่างไม่ได้

เกิดความไม่พอใจระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับประชาชน

ท้ายที่สุดเราก็ยังต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมความไม่พอใจยังมีอยู่ในสังคมไทย และอาจส่งผลกระทบไปถึงความรุนแรง

ดัง นั้นในการเสวนาหรือการพูดคุยกัน รัฐบาลจะต้องมีส่วนร่วมเพื่อหาช่องว่างทางสังคม หมายความว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันแก้ไข จากการที่ได้มาเยี่ยมประเทศไทยบ่อยครั้ง ปัญหาของไทยถือว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญเหมือนกัน ความไม่พอใจมีอยู่ทั่วโลกนั้น ต้องคิดต่อไปว่าคนไทยต้องทำอย่างไร มีการใช้ประโยชน์ทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน

กรณีของไทยไม่ได้โดด เด่นหรือแปลกไปจากประเทศอื่นเลย จะแปลกก็อยู่ที่ว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไข มีการที่ปล่อยให้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มก้อน แยกกันคิด ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่ก็คือช่องว่างทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่นกันอมาตยา เซน สอนตรงๆ

เพียง แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข แต่กลับปล่อยให้แตกแยกออกเป็น 2 ฝ่ายนั้น ฟังแล้วจะได้คิดขึ้นมาบ้างหรือไม่เท่านั้น Huh??
.
.
.
หลัง เหตุการณ์พฤษภาอำมะหิต อมาตยา เซน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ สันติภาพ ความรุนแรง และการพัฒนาในสังคมสมัยใหม่เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ว่า บรรดาสื่อต่างประเทศอธิบายง่ายเกินไปในเรื่องของปัญหาความขัดแย้งในไทย ว่าเป็นสงครามชนชั้นระหว่างคนจนและคนรวย ที่ผ่านมา ค่อนข้างไม่มั่นใจในการรายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในไทยของบรรดา สื่อชั้นนำระดับโลก เช่น บีบีซี ซีเอ็นเอ็น หรือแม้แต่นิวยอร์ก ไทมส์ เท่าใดนัก

การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ความ ขัดแย้งดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออธิบายปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่าเป็นสงครามชนชั้นระหว่าง คนจนและคนรวย ผมว่าเป็นการสรุปง่ายเกินไปเซน กล่าว

อมาตยา เซน ยอมรับว่าไม่ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ในไทยมากพอที่จะอธิบายได้ว่าเป็นสงครามชนชั้น

แต่ มั่นใจว่าต้องมีอะไรมากกว่านั้นที่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ที่มีต้นตอมาจากคนจนในประเทศลุกฮือขึ้นมาชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ โดยมีคนรวยที่สุดในประเทศเป็นผู้นำ

ปัญหาก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ อมาตยา เซน จะได้ฟัง และได้คิดอะไรบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของประเด็นขัดแย้งในไทย

ที่ว่า มั่นใจว่าต้องมีอะไรมากกว่านั้น ที่นำไปสู่ความขัดแย้ง

หรือว่าจะคิดต่าง คิดเชื่อมั่นเสียจน กลายเป็นใก้ลเกลือกินด่าง... อย่างน่าเสียดาย

http://www.bangkok-today.com/node/8055

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น