Wed, 2010-12-01 18:05
นักปรัชญาชายขอบ
เช้าวันหนึ่งขณะที่จะถอยรถออกจากบ้าน ผมบอกลูกชาย (ที่กำลังเรียน ป.1) ว่า “เป็นหนึ่งไปเปิดประตูบ้านให้พ่อหน่อย” เขาย้อนว่า “อีกแล้ว เดี๋ยวนี้พ่อไปค่อยไปเปิดประตูบ้านเลยนะ” ไม่ทันที่ผมจะอธิบายอะไร เขาพูดต่อว่า “เราเป่ายิ้งฉุกกันไหม”
เขา คงคิดว่า ที่เขาต้องคอยเปิดประตูเป็นประจำเวลาพ่อขับรถเข้า-ออกบ้านมันไม่ยุติธรรม และคิดว่าวิธีเป่ายิ้งฉุบเป็นวิธีตัดสินที่ยุติธรรมในบางเรื่องที่เราตกลง กันไม่ได้ แสดงว่าคนเราที่สามารถคิดอย่างมีเหตุผลได้ย่อมต้องการสิ่งที่เรียก “ความยุติธรรม” เราอาจพูดได้ว่าธรรมชาติของความเป็นสัตว์ที่มีเหตุผลสะท้อนถึงธรรมชาติของความเป็นสัตว์ที่ต้องการความยุติธรรม
ความ ยุติธรรมคือสิ่งที่เราอธิบายได้ด้วยเหตุผล หรืออธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล ความเป็นมนุษย์ของเราเรียกร้องความยุติธรรมที่อธิบายได้ด้วยเหตุผลในแทบทุก เรื่อง ดูเหมือนว่าเราจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจ หรือยอมรับไม่ได้หากเห็นว่าเรื่องใดๆ ก็ตามไม่ยุติธรรม เช่น
มัน ยุติธรรมหรือไม่ที่พระเจ้าสร้างมนุษย์แล้วก็สร้างความชั่วร้าย ความทุกข์ยาก โรคภัยไข้เจ็บ ภัยพิบัตินานาประการให้มนุษย์ (ในฐานะเป็นบุตรที่พระองค์รัก) ต้องเผชิญ เพื่อคลี่คลายความอึดอัดใจนี้ เราก็สร้างคำอธิบายว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีเสรีภาพที่จะเลือกกระทำตามกฎหรือขบถต่อกฎของพระองค์ ก็ได้ และเมื่อพระเจ้าตั้งกฎแก่มนุษย์คู่แรกของโลกพร้อมกับแจ้งให้ทราบว่าหากเขา ทั้งสองละเมิดกฎจะถูกลงโทษให้ได้รับความตายและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ตามมา แล้วมนุษย์ก็เลือกที่จะทำผิดกฎ ดังนั้น ก็ยุติธรรมแล้วที่เขาต้องได้รับการลงโทษจากการเลือกนั้น
แต่ พระเจ้าก็ไม่ได้ทอดทิ้งบุตรของพระองค์ หากเขาสำนึกผิด กลับมาศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เขาก็จะพ้นจากบาปกลับไปอยู่ใน สวรรค์ของพระองค์อีกครั้ง ฉะนั้น คนที่ศรัทธาในพระเจ้าก็เพราะมีเหตุผลอธิบายได้ว่าพระเจ้ายุติธรรม
บาง คนสงสัยว่า ทำไมเราเกิดมาแตกต่างกัน เช่น คนหนึ่งเกิดมาสมประกอบ อีกคนเกิดมาพิการ ทำไมคนจึงเกิดมาโง่ ฉลาด รวย จน ฯลฯ ไม่เท่ากัน มันยุติธรรมหรือไม่ที่ธรรมชาติจัดสรรให้เราต้องเกิดมาแตกต่างกันเช่นนี้ เพื่อคลี่คลายความสงสัยนี้ก็มีคำอธิบายว่ามีกฎธรรมชาติบางอย่างคือกฎแห่ง กรรมที่คอยกำหนดว่า “แต่ละคนกระทำอย่างไรย่อมได้รับผลอย่างนั้น”
ตาม กฎข้อนี้ ธรรมชาติสร้างมนุษย์ให้มีเสรีภาพในการเลือกการกระทำ เมื่อเขาเลือกการกระทำเช่นไรเขาย่อมต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา การกระทำของเขาคือการสร้างตัวตนของเขา เมื่อแต่ละคนใช้เสรีภาพเลือกการกระทำที่แตกต่างกันเขาจึงได้รับผลของการ กระทำที่แตกต่างกัน นี่คือความยุติรรมตามกฎธรรมชาติ
ความ ยุติธรรมภายใต้กฎของพระเจ้าก็ดี ความยุติธรรมภายใต้กฎธรรมชาติก็ดี เป็นความยุติธรรมที่คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าอธิบายได้ด้วยเหตุผล ฉะนั้น เขาจึงนับถือศาสนาที่อธิบายความยุติธรรมเช่นนั้นที่ทำให้เขาข้าใจได้ว่า หากปฏิบัติตามคำสอนของศาสนานั้นๆ แล้ว เขาจะได้รับผลที่ยุติธรรม
ใน ทางสังคม-การเมือง ความยุติธรรมยิ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน หรือเป็นรากฐานของสัญญาประชาคมในการสร้างระบบสังคม-การเมือง หมายความว่าระบบสังคม-การเมือง การปกครอง กฎหมายหรือกระบวนการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ จำเป็นต้องอธิบายด้วยเหตุผลได้ว่าให้ยุติธรรมแก่สมาชิกของสังคมอย่างเท่า เทียม หากอธิบายไม่ได้ความปรองดองหรือสันติภาพก็ไม่มีวันเกิดขึ้นในสังคมนั้นได้
อย่าง ที่เห็นในบ้านเรา ระบบสังคม-การเมืองไม่ได้ถูกสถาปนาขึ้นบนรากฐานของหลักความยุติธรรมที่เคารพ ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ตั้งแต่ต้น ฉะนั้น ระบบการปกครอง การใช้อำนาจรัฐ การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายเป็นต้น จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมได้
สำหรับ คนที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมนี้ ฝ่ายที่เหนือกว่าย่อมได้รับการปกป้องเป็นพิเศษจากกฎหมายของรัฐ จารีตประเพณี หากเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่มีสถานะความเป็นคนที่เหนือกว่า (รวมทั้งพวกเดียวกับเขา) กับฝ่ายที่ด้อยกว่า แน่นอนว่ากระบวนการบังคับใช้กฎหมายย่อมไม่แฟร์หรือไม่เป็นธรรมแก่ทั้งสอง ฝ่ายอย่างเท่าเทียม
ความ ไม่เป็นธรรมดังกล่าวนี้ คือ ความไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลได้ว่ายุติธรรมอย่างไร เช่น ไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลว่า กรณีเขายายเที่ยงกับเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กรณีทำกับข้าวออกทีวีกับเป็นอาจารย์พิเศษรับจ้างสอนหนังสือ กรณียุบพรรคการเมืองอื่นๆ กับไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ คือความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมอย่างไร
กรณีคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ศาลให้ความสำคัญสูงสุดกับสิ่งที่เรียกว่า due process หรือ กระบวนการดำเนินการทางกฎหมายที่ชอบด้วยหลักนิติรัฐ แต่กรณีทำรัฐประหาร แล้วโจทย์ตั้งข้อกล่าวหาผู้ถูกทำรัฐประหารเอง ตั้งคณะบุคคลขึ้นมาสอบสวนความผิดเอง และส่งฟ้องศาลเองได้ (ไม่นับว่าอัยการ ศาลเป็นฝ่ายเขาเองหรือไม่?) สิ่งที่เรียกว่า due process กลับถูกละเลย หรือเสมือนว่าจงใจตัดทิ้งไป
เพียง บางตัวอย่างที่ยกมา ใครอธิบายด้วยเหตุผลได้บ้างว่าสังคมเรามีความยุติธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่า เทียม หรือทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาค!
หาก อธิบายไม่ได้ ก็หมายความว่าสังคมนี้ไม่มีความยุติธรรม และในเมื่อธรรมชาติของมนุษย์ย่อมต้องการความยุติธรรม เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าหรือมีศักดิ์ศรีก็ต่อเมื่อเขาได้รับการ ปฏิบัติอย่างยุติธรรมเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ฉะนั้น ความไม่ยุติธรรมจึงเป็นอันตรายต่อความเป็นมนุษย์ เป็นภัยคุกคามต่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เมื่อ มนุษย์อีกฝ่ายหนึ่งถูกทำลายสิทธิและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียม เราจะเรียกร้องให้เกิดความปรองดอง ให้เกิดความรู้รักสามัคคี หรือความสงบสุขในสังคมได้อย่างไร
หาก ไม่รื้อระบบความยุติธรรมอย่างถึงรากฐาน จนสามารถสถาปนาระบบสังคม-การเมืองขึ้นจากสัญญาประชาคมที่ยึดหลักความ ยุติธรรมบนหลักความเสมอภาคในความเป็นคน ปัญหาสองมาตรฐานย่อมไม่มีวันพบทางแก้
ความสงบสุขของสังคมยิ่งเป็นจินตนาการที่ไม่มีทางเป็นไปได้!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น