Mon, 2010-12-06 23:49
อรรคพล สาตุ้ม
การ ที่พันธมิตรฯ ออกมาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลกรณีเขาพระวิหาร-แก้ รธน. ฉายภาพคล้ายดั่งการอ่านนิยายเรื่อง “ม็อบมีเส้น” ที่บทของอดีตผู้ช่วยพระเอกอภิสิทธิ์ กลับกลายมาเป็นบทผู้ร้าย และผู้ติดตามอย่างใกล้ชิดก็อาจจะพอคาดเดาจุดจบของนิยายน้ำเน่าเรื่องนี้ได้ บ้าง
บทความนี้ส่วนหนึ่งของผู้เขียน เพื่อรำลึกถึงวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทย และมีการเชื่อมโยงตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงการครบรอบ 8 เดือนการสลายชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยผู้เขียนต้องการอธิบายย่นย่อในบทความที่มีความเกี่ยวโยงปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เรื่อง นิยายและความจริง โดยผู้เขียนมองว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภาพสะท้อนว่า “เรา” (ฝ่ายประชาธิปไตย) กำลังเข้าใกล้เส้นชัย โดยมีตัวละครสำคัญคือ “ม็อบมีเส้น” (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) กับการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์โดยอภิสิทธิ์ ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้อง “พลิก” บทบาทตัวเองจากบท “ผู้ช่วยพระเอก” กลายมาเป็นบท “ผู้ร้าย”
แต่ ในมุมมองเปลี่ยนกลับกันของ “ม็อบมีเส้น” เองนั้น ก็อาจจะคิดไกลไปว่าตัวกูดูเหมือน “พระเอก” มากกว่า “ผู้ช่วยพระเอก” และกำลังทำหน้าที่อันมีเกียรติสูงสุดคือการพิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” (รัฐธรรมนูญ 2550) แล้วเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วยตนเอง … แต่อาจจะเลยเถิดไปถึงการเรียกออกมารัฐประหาร ซึ่งเผลอๆ อาจจะเป็นการกระทำที่หนักมือพลาดพลั้งกลายเป็นการฆ่านางเอกคนนี้ไปเสีย
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ กับปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนนิยาย และความจริง
นับ ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบเป็นประชาธิปไตย มีการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีการต่อสู้และโค่นล้มรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนมองว่าการเขียนรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับการเขียนนิยาย และเมื่อเราเอ่ยถึงนิยายนั้น ก็จะทำให้เราเห็นว่านิยายนั้นมีความใกล้ชิดต่ออารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะว่าในการอ่านนิยายแต่ละเล่ม แต่ละเรื่องนั้น เราไม่สามารถอ่านตามใจอย่างเดียว และหลายครั้งประชาชนบางส่วนเองก็ชอบที่จะตามใจการรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งเราเห็นประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ จากบางปัญหาของรัฐธรรมนูญก็เหมือนดั่งนิยาย [1]
จาก ยุคสมัยของคณะราษฎร กรณีตัวอย่างของปรีดี พนมยงค์ มาจนถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวต่างประเทศได้เขียนอธิบายช่วงประวัติศาสตร์ เหตุการณ์บริบทดังกล่าวว่าจอมพล ป.พิบูล สงคราม ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งถ้าเราดูจากบริบทของประวัติศาสตร์ของไทย หรือกรณีการกล่าวถึงระบอบรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2492 ที่มีความเกี่ยวข้องกับนาย
ถ้า เราจำกันได้ตัวละครในการเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ ก็มีตัวละครเป็นพวกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น นี่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อทำให้ตัวละครอย่างทักษิณเป็นผู้ร้าย และภัยคุกคาม จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ และสร้างรัฐธรรมนูญให้เกิดองค์ประกอบของมาตราและรายละเอียดต่างๆ นี่เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมของการรัฐประหาร เพื่อกำจัดผู้ร้ายและสร้างความเป็นพระเอกของทหาร โดยการใช้วิธีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญ
เมื่อ ประชามติโดยเอาประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในนิยายรัฐธรรมนูญ กลับกลายทำให้ประชาชน เป็นตัวละครที่ไม่อ่านเรื่องรัฐธรรมนูญ ในการอภิปรายประเด็นที่ซับซ้อนก็ถูกลืมไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ง่ายที่ สุดของเผด็จการทหาร ซึ่งเราคิดถึงจินตนาการในการใช้ประชามติในครั้งนั้นก็เหมือนเรื่องเล่าใน นิยายที่มีเผด็จการทหารขึ้นมาแล้ว “บังคับ” ให้คนลงประชามติ ซึ่งเราสามารถสำรวจบทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่มีการใช้ประชามติแบบนี้ เหมือนเรื่องเล่าในนิยายต่างๆ เช่นกัน
ฉะนั้น เราอาจจะตีความโดยแปล “Fictions” คือ “เรื่องโกหก” หรือ “นิยาย” โดยการแปลความเรื่องนิยาย ซึ่งตามใจของตัวเองกลายเป็น “Fact” คือ “ข้อเท็จจริง” และประวัติศาสตร์อันเป็นความจริงบิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนถ้าเราส่องกระจกดูภาพสะท้อนของเราเองในกระจก (In The Mirror) ก็บิดเบี้ยวเพี้ยนไป แต่ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่องอย่างนักประวัติศาสตร์หลายๆ คน ที่มีการนำเสนอเรื่องโครงเรื่องในประวัติศาสตร์ก็เหมือนนิยาย และผู้เขียนนำเสนอว่า การอ่านรัฐธรรมนูญใกล้เข้าไปเหมือนกับการอ่านนิยาย ที่เห็นการเชื่อมโยงต่อกันเป็นจินตนาการ ทำให้เกิดภาพของความคิด ความเชื่อนั่นเอง [3]
ซึ่งม็อบพันธมิตรฯ รณรงค์ในเรื่องว่า เรารักประเทศไทย (We love Thailand) แต่เราต้องไม่ลืมความจริง ก็คือ เราอยู่มีความสุข ที่ได้เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ในโลกแห่งความจริง สำหรับม็อบมีเส้นอย่างกลุ่มพันธมิตรกับการปกป้อง “รัฐธรรมนูญ 2550” ก็เหมือนกับผู้อ่านนิยายกลุ่มหนึ่ง ที่มีความอินกับนิยายเรื่องนี้ จนอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับนิยาย พวกเขาอยากเป็นคนดีหรือพระเอก (โดยไม่รู้ตัวเองหลงผิด) เป็นผู้เสพย์นิยายรักอย่างตาบอดหูหนวก ถ้าเราคิดจินตนาการว่า “พระเอก” พิทักษ์ปกป้อง “นางเอก” คือรัฐธรรมนูญ 2550 นี้เสียเอง .. ม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรอยากเป็นพระเอกพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในชีวิตจริง!
รัฐธรรมนูญกับปัญหาเขตแดน ใกล้เหมือนการอ่านนิยายตอนจบโดยม็อบมีเส้นกับทหาร
รัฐธรรมนูญ 2550 กับปัญหาของเขตแดน มีทีมาจากรากของชุมชนจินตกรรมหรือจินตนาการความใกล้ชิดเชื่อมโยงเขตแดนของความเชื่อตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการสร้างเขตแดนเป็นแผนที่ของสยาม ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนไว้แล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสัญลักษณ์ของเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายประทับเครื่องแบบของทหาร สื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คล้ายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระห้อยคอของคน ทำให้จิตวิญญาณถูกเชื่อมโยงจินตนาการรักชาติ และรักรัฐธรรมนูญ ผ่านเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากยุคคณะราษฎร ต่อมาสฤษดิ์ ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ ซึ่งมีปัญหาเขตแดนเขาพระวิหาร อีกทั้งปัญหาเขตแดนของไทย-กัมพูชา และปราสาทเขาพระวิหาร การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19 และหลังพฤษภา35 ยังมีทีมาใกล้ชิดผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ จากปี 2543 และต่อมาสมัยทักษิณ-หลังรัฐประหารของรัฐบาลสุรยุทธ์-สมัคร(และสมชาย) เป็นต้นมา
โดย ในสมัยรัฐบาลสมัคร ที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้นได้กล่าวในที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนา 2551 มีการบันทึกคำต่อคำของเขาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กล่าวถึงเรื่องเขาพระวิหาร โดยสำนวนโวหารก็ปรากฏมีคำสำคัญอย่างคำว่าพระเอก,หัวใจ เพื่อเป็นโวหาร และวาทศิลป์ให้ผู้คนเข้าใจง่าย ได้ยกข้อโต้แย้งกรณีเขาพระวิหาร และบริบทของเหตุการณ์ช่วงนั้น ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นปัญหาเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับเขาพระวิหาร
ซึ่งกรณีเขาพระวิหารนั้นก็นำมาสู่ความขัดแย้งของพรมแดนเกิดการปะทะของทหารตามชายแดนในช่วงปี2551 และ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนต่างๆ นานา จนกระทั่งอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกเอง ก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์(ที่มีตราสัญลักษณ์ประจำพรรค คือ แม่พระธรณีบีบมวยผม) และปัญหาเขตแดนของเขาพระวิหารดังกล่าวก็ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งโดยกลุ่ม พันธมิตร
เมื่อเราอ่านนิยายที่ยังไม่จบเรื่องนี้ พบว่าตัวละครของม็อบมีเส้น เช่น “ลุงจำลอง” ซึ่งไม่ใช่ “ลุงนวมทอง” [4] มีบทบาทที่น่าสนใจ โดยบทบาทของ พล.ต.
พล.ต.จำลอง กล่าวว่า “ขอพูดถึงนายประพันธ์ที่พาดพิงว่าตนนั่งทางในยังรู้เลยว่านายกฯจะแก้รัฐ ธรรมนูญเพื่อให้เสียดินแดน ตนไม่ได้นั่งทางใน แต่รู้ว่าสามารถปราบมันได้ ซึ่งก็ได้ถามนายประพันธ์ก่อนขึ้นเวทีว่าชุมนุม 11 ธ.ค. นี้แก้ไขทันใช่มั๊ย นายประพันธ์ก็ตอบว่าทัน ดังนั้นถือว่า 3 วันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ก็แล้วกัน “11 ธ.ค.นี้ครบเครื่อง เครื่องขยายเสียงเต็มที่ มีเวที ดนตรี เป็นไงเป็นกัน ไม่รู้จักพวกเราซะแล้ว นายกฯ คนไหนทำความเสื่อมเสียให้บ้านเมือง เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร เราไล่มา 3 คนแล้วใช่มั้ย ไล่คนที่ 4 อีกคนจะเป็นยังไง พี่น้องไม่ต้องหวั่นไหว พรุ่งนี้มติสภาฯ ออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร วันที่ 11 ธ.ค. มาสู้อย่างยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ไม่ต้องห่วงแม้จะมี พรก.อะไรก็แล้วแต่ แต่การเสียดินแดนยิ่งใหญ่กว่า” [5]
ทั้ง นี้บทละครน้ำเน่าแบบนางอิจฉา(กำกึ่งดูเหมือนพระรอง)ของประพันธ์ คูณมี ในวันที่พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา ที่เขาได้เรียกร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ โดยกล่าวว่า “ถ้าเป็น ผบ.ทบ. จะปฏิวัติวันนี้เลย ผมพูดอย่างนี้ใครจะมาจับผม .. เขา อยากให้ปฏิวัติเพราะอยากให้เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ให้นักการเมืองชั่วหมดไปจากแผ่นดิน ถ้าเขาปฏิวัติจริงๆ มึงก็มุดหัวหางจุดตูดไปไหนไม่รู้ ถามจริงๆ เถอะที่ติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนั้นประเทศนี้ เตรียมสอนหนังสือหลังหมดอำนาจนั้น ลื้อทำจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็แสดงว่าแม้แต่คุณก็ไม่มั่นใจ … มันผิดตรง ไหนที่กูอยากให้มีการปฏิวัติ ถ้าไม่มีการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นเด็กบ่มแก๊สไม่สุก อยู่ตรงไหนไม่รู้ ถ้าไม่มีการปฏิวัติปี 49 นายอภิสิทธิ์ชาตินี้ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ไฉนจึงพูดจาแบบไม่รู้จักบุญคุณประชาชน” [6]
กระแส ของทหารจะกลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูบทบาทตัวละครทหาร ซึ่งเป็นผู้ช่วยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ ทหารเป็นตัวช่วยต่อเติมจิ๊กซอว์ให้ช่องว่างของเรื่องราวเติมเต็มกับม็อบมี เส้นพันธมิตร เช่น พล.อ.
ทั้งนี้ เราอยู่ในช่วงเวลาของยุคสมัยที่ต้องมานั่งหวาดระแวงอันตรายของรัฐประหารไม่สิ้นสุดกัน จาก การเคลื่อนไหวทางการเมืองของม็อบมีเส้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ กรณีเขาพระวิหารซึ่งอาจจะนำไปสู่พรมแดนของความขัดแย้งสู่สงครามทหารตามแนว ชายแดนรอบใหม่ โดยเราอาจจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ที่มีปัญหาของวัฒนธรรมการอ่าน “นิยาย” ดังที่ได้กล่าวมาในขั้นต้น
เมื่อความจริงกับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?
ผู้ เขียนลองสำรวจหาความรู้โดยได้อ่านเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญและการแก้ไขจาก ตัวอย่างของการอ่านแนวคิดในสิ่งที่ไม่มีในทางแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญไทย และค้นหาวิธีการอ่านรัฐธรรมนูญไทยโดยพยายามทำความเข้าใจกับมุมมองเรื่องหลัก การ กระบวนการ และวัฒนธรรม กรณี unfinished constitution ต่างๆ นานา ซึ่งถ้าเราดูตัวอย่างต่างประเทศในการแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญก็แล้ว แต่กระนั้นปัญหาภายในประเทศของเรา ก็ยังต้องคงใช้เวลาเป็นเราเรียนรู้ความจริง เพราะตั้งแต่ยุคคณะราษฎรก็มีปัญหารัฐธรรมนูญในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของ เราที่สูญเสียค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางชุมชน และสูญเสียชีวิตของคนในสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้เราเหมือนจะ “อ่าน” นิ ยายม็อบมีเส้นอย่างไม่ด่วนใจเร็วสรุปทันที ทำให้จินตนาการรวมหมู่ว่าม็อบมีเส้น ต้องการชัยชนะ จึงชวนมาฆ่ารัฐธรรมนูญ โดยเราจะต้องไม่สร้างวัฒนธรรมมวลชนที่นำทหารมาแทรกแซงทางการเมือง และในตอนนี้ม็อบมีเส้นก็ใกล้จะจบเรื่องการโกหกอันเป็นนิยายน้ำเน่า ดังเช่นการประกาศไม่ชุมนุมวันที่ 11 ธันวาคม 2553
อย่าง ไรก็ตาม เราต้องมีอิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพแห่งพี่น้อง และความยุติธรรม จากความจริงเป็นสากลของโลกเป็นเพื่อนมนุษยชาติร่วมกัน เราจะต้องไม่ยอมให้คนถูกขังคุกหมดอิสระ เสรีภาพ และความยุติธรรม โดนถูกลืมจากรัฐชาติไทย เราต้องร่วมมือสร้างชุมชนจินตนาการของชาติสอดคล้องร่วมกัน และต้องหาความคิดสร้างสรรค์เพื่อชาติไทย เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับเอามวลมหาประชาชนมาควบคุมทหาร ทำให้ประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน ร่วมสร้างเข้าใกล้เส้นชัยเสร็จสมบูรณ์เพื่อประชาชน สิ่งนี้เป็นเรื่องความจริงได้
โดยเตรียมยินดีต้อนรับเดือนแห่งความสุข ทั้งเข้มแข็งโดยสุขภาพแข็งแรงสำหรับสวัสดีปีใหม่ของทุกคน
อ้างอิง
[1] ผู้เขียนได้ความคิดที่มาของ constitutional fictions โดยหนังสือเรื่อง Some problems of the constitution. by Geoffrey Marshall, Graeme Cochrane
[2] ผู้เขียนได้ความคิดทีมาโดย Writing another Thai Constitution amounts to writing a fiction one more time “A human rights group castigates Coup leaders”
http://www.asiantribune.com/index.php?q=node/2406
[3] ส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนได้แรงบันดาลใจที่มาของในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
[4] รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 http://www.prachatai3.info/journal/2010/10/31646
[5] จำลอง ศรีเมือง: “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
http://prachatai.com/journal/2010/11/32050
[6] พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา "ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ
http://prachatai.com/journal/2010/11/32016
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น