โดย ศ.ดร.
ที่มา เวบไซต์ pub-law
6 ธันวาคม 2553
เมื่อ ตอนเช้าวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจาในกรณี ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัต ย์ จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ จากนั้นในตอนบ่ายสองโมง ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟังคำวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ใน ขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ ผมยังไม่เห็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน จึงยังไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ผมเข้าใจว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เกินระยะเวลาที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด กล่าวคือ เกิดการนับวันไม่ตรงกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง กับศาลรัฐธรรมนูญ
โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง นับวันที่ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ฟ้องยุบพรรค ประชาธิปัตย์ ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553 และต่อมา ประธานกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งก็อยู่ภายใน 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญกลับถือเอาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันที่ประธานกรรมการการเลือกตั้งเสนอเรื่องให้ที่ประชุมพิจารณา
ดัง นั้น เมื่อประธานกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองไปแล้ว
แม้ จะยังไม่ได้เห็นคำวินิจฉัยฉบับจริง แต่เมื่อได้ฟังคำวินิจฉัยและรับทราบผลคำวินิจฉัยในเรื่องการยุบพรรคประชาธิ ปัตย์ ในเบื้องต้น ผมมีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับ 2 องค์กร คือ ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่คงต้องนำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ก่อน เมื่อได้อ่านคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวแล้ว หากมีประเด็นน่าสนใจ ก็จะได้ย้อนกลับมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งครับ
องค์กรแรกที่อยากจะกล่าวถึงก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญที่อยากจะพูดถึง
คง ต้องเริ่มจากก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีข่าวไม่ดีไม่งามออกมามากมาย ที่ทำให้เกิดมุมมองในเชิงลบกับศาลรัฐธรรมนูญ และกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ข่าวไม่ดีไม่งามดังกล่าวมีผู้ให้ความเห็นสรุปได้เป็นสองแนวทาง
แนวทางแรกคือ มี “ขบวนการ” จ้องทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ
กับแนวทางที่สองคือ ศาลรัฐธรรมนูญเอง ที่ทำให้องค์กรของตัวเองไม่น่าเชื่อถือ
เรื่อง ดังกล่าวจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดออกมาชี้แจงให้กระจ่างว่า ในที่สุดแล้ว ปัญหาเกิดจากใคร และความรับผิดชอบควรตกอยู่แก่ผู้ใด แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็กลับมีการให้ข่าวออกมาว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้น ในปัจจุบัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ก็ชอบที่ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว จะออกมาชี้แจง หรืออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่สังคมทราบต่อไปว่า สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญครับ
เรื่องต่อมาที่ผมมีข้อสังเกตก็คือ เรื่องผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากมีการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น
ผมได้ลองตรวจสอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ดูแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดเลยที่กล่าวถึงการตรวจสอบเรื่อง “อายุความในการร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ” แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้ หรือไม่ ซึ่งเมื่อเทียบเรื่องดังกล่าวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองแล้ว ก็จะพบว่า ทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กับระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องมีการตรวจสอบคำฟ้องในเบื้องต้นก่อนที่จะรับไว้พิจารณา
นอก จากนี้ จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวกับพนักงานคดีปกครอง ทำให้ได้ข้อมูลว่า การตรวจสอบเรื่อง “อายุความ” หรือ “ระยะเวลาในการฟ้องคดี” จะทำกันอย่างจริงจั งและหลายขั้นตอน แม้กระทั่งเมื่อตุลาการหัวหน้าคณะจ่ายสำนวนคดีให้กับตุลาการเจ้าของสำนวน แล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวนก็จะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำฟ้องก่อนที่จะรับหรือ ไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา
ดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีกระบวนการดังกล่าว ก็ชอบที่จะพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดของตัวเองเสียใหม่ เพื่อให้การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นของ คำร้อง เกิดประโยชน์ มากกว่าพิจารณากันไปตั้งชาติหนึ่งแล้ว ค่อยมาบอกว่ายื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอก จากนี้ ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ยังได้ มีการแต่งตั้ง “ตุลาการประจำคดี” คล้าย ๆ กับ “ตุลาการเจ้าของสำนวน” ของศาลปกครองด้วย แต่จำนวนอาจแตกต่างกัน เพราะของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในข้อกำหนดฯ ข้อ 25 ว่า ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นตุลาการประจำคดี แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ 2 กรณี ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และก็มีข้อยกเว้นซ้อนเข้าไปอีกว่า “หรือในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่แต่งตั้งตุลาการประจำคดีก็ได้” ซึ่งข้อยกเว้นหลังนี้ ก็ไม่เข้าเกณฑ์กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
คำถามของผมคือ ใครเป็นตุลาการประจำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และตุลาการประจำคดีได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบว่าการยื่นฟ้องกรณีดัง กล่าวเกินระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร ครับ เพราะหากพิจารณาข้อกำหนดฯ ข้อ 29 ก็กล่าวไว้ชัดเจนพอสมควรว่า
“เมื่อศาลหรือตุลาการประจำคดี แล้วแต่กรณี มีคำสั่งรับคำร้องที่มีคู่กรณีไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง หรือมีคำสั่งแจ้งผู้ถูกร้องมารับสำเนาคำร้องภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้อง ให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวัน นับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด กรณีผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับ สำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป”
ผมสงสัยจริง ๆ นะครับว่าใครเป็นตุลาการประจำคดีในเรื่องนี้ แล้วทำไมตุลาการประจำคดีถึงได้ไม่หยิบยกเรื่องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนด มาพิจารณาตั้งแต่ต้น ปล่อยให้เสียเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงมาถึงหลายเดือนแล้วก็มาจบลงตรงที่ว่า ยื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอก จากนี้แล้ว ผมยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง “อายุความ” กับ “ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งในอนาคตคงต้องสร้างความชัดเจนให้มากกว่านี้ครับ ผมขอยกตัวอย่างจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 52 ที่ว่า “การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้”
การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลา การฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่า คดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่น โดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้”
ผมคงไม่ต้องอธิบายมาตรา 52 นะครับ แต่จะขอให้ย้อนกลับไปดูกันสักหน่อยว่า การ ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนนั้น หากศาลจะรับไว้พิจารณา จะเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือไม่ครับ !!!
ผมไม่อยากโต้เถียงประเด็นนี้กับ “นักกฎหมายใหญ่” บางคน ที่รีบออกมาให้ความเห็นสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่พิจารณายกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจาก “ขาดอายุความ” ว่า เป็นหลักสากลที่ทั่วโลกทำกันคือต้องดูว่า ถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วในเรื่องดังกล่าว หากถามนักกฎหมายมหาชน “แท้ ๆ ” ก็จะได้คำตอบไม่ต่างกันเท่าไรนัก เพราะหัวใจสำคัญของกฎหมายมหาชนคือ การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ซึ่งก็คือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง หากศาล ซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอ้างว่า กระบวนการของการยื่นคำร้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วปฏิเสธไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ศาลก็จะเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเสียเองครับ
ข้อ สงสัยยังมีอีกว่า ข้อผิดพลาดทางเทคนิคคือ การยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะกลายเป็น “ข้อยกเว้น” ที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่พิจารณาวินิจฉัย “ข้อเท็จจริง” ที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อแผ่นดินได้หรือไม่ครับ
ซึ่งเรื่องนี้ผม ก็จะขอพูดต่อไปเลย และเป็นเรื่องที่ควรจะต้องมีคำอธิบายจากศาลรัฐธรรมนูญก็คือ ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 50 ได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยทุกประเด็นที่ศาลกำหนด โดยตุลาการที่เป็นองค์คณะทุกคนจะงดออกเสียงในประเด็นใดประเด็นหนึ่งตามที่ศาลกำหนดมิได้ นั้น
ใน คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นเอาไว้ถึง 5 ประเด็นด้วยกัน แต่จากการฟังการอ่านคำวินิจฉัยเมื่อบ่ายวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในประเด็นแรกเพียงประเด็นเดียวคือ กระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น ซึ่งก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน พัฒนาพรรคการเมือง เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นจึงชอบที่ประชาชนจะต้องได้รับทราบคำตอบที่ถูกต้องว่า การใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญเอง “บังคับ” ไว้แล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำ
คำถามต่อเนื่องก็คือ จะทำอย่างไรกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการ “ฝ่าฝืน” ข้อกำหนดของตัวเองครับ !!!
ผม ไม่แน่ใจว่า ที่ผมถามไปทั้งหมด จะได้รับทราบคำตอบที่ชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ หรือจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร หรือจะเป็นเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญคือ “silence is golden” แต่ก็อยากจะขอฝากไว้ให้กับ “พลเมือง” ทุกคนให้ช่วยกัน “ผลักดัน” ให้เราได้รับคำตอบเหล่านี้ต่อไปครับ
องค์กร ต่อมาที่ผมคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งครับ ปัญหาทั้งหมดของเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์ เกิดขึ้นจากการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมือง กับประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคน ๆ เดียวกันแต่ทำสองหน้าที่
คง ไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า เกิดความสับสนในหน้าที่ระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมืองกับประธานกรรมการการ เลือกตั้ง หรือเกิดความสับสนในกฎหมายที่จะนำมาใช้ระหว่างกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ กับกฎหมายพรรคการเมืองฉบับเก่า
คนที่ “สมัครใจ” เข้ามาทำงานระดับนี้ ในตำแหน่งนี้ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนแล้วว่า ต้องรู้จริง ต้องทำงานได้ดีและไม่ผิดพลาด ตำแหน่งเหล่านี้ไม่ใช่ที่ “เรียนรู้งาน” เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ และต่อระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ฉะนั้น เมื่อทำงานผิด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องไม่ควรผิด เช่นสับสนในหน้าที่หรือสับสนในกฎหมาย เราจะทำอย่างไรกันดีกับ “คนพวกนี้” ครับ !!
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเป็นผม ผมลาออกไปแล้วครับ สง่างามกว่าอยู่ทำงานต่อไป เพราะ “พลเมือง” อย่างพวกเรา คงไม่มีอะไรเป็นหลักประกันอีกแล้วว่า ในการทำงานต่อ ๆ ไปคุณจะไม่ “สับสนในหน้าที่” หรือ “สับสนในกฎหมาย” อีก
แต่ ถ้าให้ผม “เดา” ผมคิดว่า คงไม่มีใครลาออกแน่ จะลาออกกันไปทำไมครับ มีตัวอย่าง ที่เห็น ๆ กันอยู่หลายเรื่อง ล่าสุดที่เคยเกิดขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เถียงกันว่า การสอนหนังสือเป็นการรับจ้างหรือไม่ หรือกรณีล่าสุด กรณีเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ทุกคนเงียบ ไม่ลาออก ไม่ชี้แจง ปล่อยให้เวลาผ่านไป ไม่ช้าเรื่องก็เงียบ ตัวเองก็มีงานทำ มีเงินใช้ มีอำนาจวาสนาบารมีต่อไปครับ !!!
ไม่ทราบว่า กรรมการการเลือกตั้งคนอื่น จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างนะครับ น่า จะลองแนะนำนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ลาออก เนื่องจากบกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง รวมทั้ง “ตอกย้ำ” ความแตกแยกในสังคมให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย
จริง ๆ แล้วประเด็นนี้ สื่อมวลชน น่าจะลองไปรื้อข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วในช่วงเวลาที่ผ่านมาเสนอต่อ สาธารณะให้ทราบว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องการฟ้องไม่ฟ้องมาหลายครั้งแล้ว จนกระทั่ง “เสื้อแดง” บุกไปที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องจึงออกจาก กกต. ไปที่อัยการ จำกันได้ไหมครับ !
มีข้อสงสัยสุดท้ายที่คาใจอยู่ก็คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รู้ หรือเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจครับ…..
ก่อน ที่จะจบบทบรรณาธิการครั้งนี้ผมต้องขอฝากเป็นข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นปัญหาที่ “นักกฎหมาย” ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งก็มาจากนักกฎหมายที่มีระดับ เช่น ผู้พิพากษา อัยการซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นนักกฎหมายใหญ่ ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มาจากนักกฎหมายและมาจากผู้พิพากษาจำนวนหนึ่ง ทำไมคนทั้งหมดซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในวงการเดียวกันแต่กลับมองหรืออ่าน กฎหมายไม่เหมือนกัน
เรื่องนี้คงไม่ต้องการคำตอบว่า การมองของใครถูกต้องที่สุด เพราะในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด ผูกพันทุกองค์กร อย่างไรเสียก็ต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะ “คิดว่า” เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญถูกหรือผิดก็ตาม
ท้ายที่สุด ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ “โชคดีซ้ำซาก” รอดพ้นจากทุกเหตุการณ์ไปได้อย่างง่ายดายครับ จริงอยู่ แม้จะมีคนออกมาตั้งข้อสงสัยในความ “โชคดีซ้ำซาก” ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถ “สลัด” ข้อกังขาที่เป็นประเด็นให้หลุดไปได้ แต่ไม่ช้าไม่นานคนก็จะลืมกันไปเองเหมือนกับทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยิ่งถ้ามีข่าว “เหมือนเดิม” ออกมา เช่น ข่าวการลอบทำร้าย หรือข่าวหมิ่นต่าง ๆ คนก็จะหันไปสนใจเรื่องเหล่านั้นจนไม่สนใจว่า การ “รอด” จากการถูกยุบพรรคด้วยข้อผิดพลาดทางเทคนิคนั้น เป็นความ “สง่างาม” หรือเป็นความ “ถูกต้อง” ที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศโดยควรจะ “ภูมิใจ” หรือไม่ เพราะข้อกล่าวหาว่า ใช้เงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนผิดประเภท ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้กระจ่างครับ !!!
ฮักประชาธิปไตย บ่อเอาเผด็จการ ต่อต้านก๋านรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญก่ำลังใจ๋และความสุข เปื่อป๋วงชน
สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่
ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )
ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "
ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )
ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "
รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff
การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ
.
ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ )
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
Voter's Uprising Thai
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ : พรรคประชาธิปัตย์ 'รอด' ถูกยุบพรรค : ผิดพลาดโดย 'ไม่รู้' หรือ 'ตั้งใจ' ??
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น