คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สินค้าปลอม (ตอนที่ ๑)
โดย กาหลิบ
ใน สมัยก่อน ผู้บริโภคที่พบสินค้าปลอมแปลงอาจจะโยนของชิ้นนั้นทิ้งไปโดยไม่คิดอะไรมากและ ไม่คิดจะดำเนินการอะไรต่อ หน้าที่ในการแจ้งความดำเนินคดีเป็นของฝ่ายรัฐและผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บัดนี้ผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตนและอันตรายในการสินค้าหลอกลวงเช่นนี้ มากขึ้น การประท้วงทวงสิทธิจึงเริ่มจะรุนแรงขึ้นและได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่ลากคนที่ เกี่ยวข้องมากระทืบเสียแทบเป็นภัสม์ธุลี
สินค้าปลอมแปลงล่า สุดที่ถูกส่งสู่ตลาดใหญ่ที่มีผู้บริโภคถึง ๖๕ ล้านคน และกำลังจะถูกประจาน ประณาม และชี้ถึงอันตรายอันใหญ่หลวง ก็คือนโยบายล่าสุดของรัฐบาลไทยปัจจุบัน ซึ่งเป็นกรรมต่อเนื่องของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตย ที่เรียกอย่างหรูว่าโครงการประชาวิวัฒน์และในชื่อจริงว่าโครงการเร่งรัด ปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทยจำนวน ๙ ข้อ
๙ ข้อนี่แหละที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลของเขาสู่ประชาชนผู้เสียภาษีอากร
ลอง มาวิสัชนากันหน่อยปะไร แล้วจะรู้ว่าหาก ๙ ข้อนี่เป็นของขวัญ ก็ไม่ต่างอะไรจากซื้อเหล้าเป็นของขวัญในเทศกาลต่างๆ ซึ่งอาจจะลงท้ายด้วยอุบัติเหตุจราจรหรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับขึ้น มาเฉยๆ
๑. “ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์เจ็บป่วยเสีย ชีวิต รวมถึงเบี้ยชราภาพ หรือประชาชนจ่ายเงิน ๑๐๐/๑๕๐ บาทต่อเดือน จ่าย ๗๐ บาทรัฐสมทบ ๓๐ บาท หรือ จ่าย ๑๐๐ บาทรัฐสมทบ ๕๐ บาท กรณีหลังจะประกันกรณีชราภาพด้วย”
นายอภิสิทธิ์ฯ รู้หรือไม่ว่า โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลที่นำโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งเขาพยายามเลียนแบบเพื่อเอาคะแนนนิยมสู่พรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นโครงการที่มิได้แอบอิงทุนสะสมของกองทุนประกันสังคมเอาเลย ผู้ใดที่เอะอะก็คว้าเอาเงินในกองทุนประกันสังคมมาใช้ ผู้นั้นก็คือมนุษย์ลวงโลกที่สะสมปัญหาไว้ให้ลูกหลานเหลนโหลนไปแก้ไขในวัน ข้างหน้า
กองทุนประกันสังคมถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความรับ ผิดชอบร่วมกัน ๓ ฝ่ายคือระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เป็นเรื่องของความเป็นธรรมในหมู่ผู้สร้างงาน (productivity) ให้กับบ้านกับเมือง มิได้ออกแบบมารองรับสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลในกรอบใหญ่ขนาดทั้งประเทศ ไทย
หากนายอภิสิทธิ์ฯ จะแย้งว่าตนจะใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศและในประเทศ จะไม่แอบใช้ในกองทุนประกันสังคมเลย (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) ก็จะเดินตรงไปสู่ปัญหาที่สอง คือโยนเงินกู้ที่ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเข้าสู่ระบบสาธารณสุขแห่งชาติที่ ยังฉ้อฉลและขาดประสิทธิภาพอย่างรุนแรง
รัฐบาลทักษิณจึงริ เริ่มโครงการ ๓๐ บาท ซึ่งแท้ที่จริงคือ วิธีการใหม่ในการบริหารต้นทุนและการบริการของระบบสาธารณสุขของประเทศ หลักการที่สำคัญคือ ยึดเอาความพอใจและสิทธิของผู้ป่วยเป็นหลัก ไม่ใช่เอาผลประโยชน์และความสะดวกของโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก อย่างที่ทำมาตั้งแต่รัชกาลก่อนๆ หลังจากนั้นแต่ละสถานพยาบาลเริ่มเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบบริการเพื่อผูกใจคน เพื่อรักษา “ค่าหัว” ของผู้ป่วยแต่ละรายมารวมเป็นงบประมาณของตน
แต่ วิธีการจอมปลอมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ นอกจากจะทำให้เกิดระบบรักษาพยาบาลที่ด้อยประสิทธิภาพทั้งประเทศแล้ว ยังสิ้นเปลืองเงินทุนมหาศาลจากกองทุนประกันสังคม และเงินงบประมาณอื่นๆ จนอาจถึงขั้นทำให้กองทุนนั้นขาดทุนในระยะยาว รัฐบาลมีปัญหางบประมาณในระยะไกล ส่งผลกระทบถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงานในทุกระดับและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ถ้า สื่อมวลชนและนักวิชาการส่วนใหญ่ของไทยยังมีมโนธรรมอยู่บ้าง ขอให้ไปติดตามผลการดำเนินการของนโยบายข้อนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนเอาเองเถิด แล้วจะเกิดสยองขวัญขึ้นเองว่าสิทธิของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้กำลังจะถูกทำลาย ลงอย่างไร
ยังไม่ต้องพูดถึงความสามารถในการแข่งขันของชาติที่จะถูกกระหน่ำซ้ำเติมอย่างหนัก (ยังมีต่อ)
สินค้าปลอม (ตอนที่ ๒) โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สินค้าปลอม (ตอนที่ ๒)
โดย กาหลิบ
ยิ่ง มองลึกลงไป จะยิ่งพบว่านโยบายที่เรียกเสียเพราะว่าประชาวิวัฒน์นั้น เอาเข้าจริงก็เป็นของเลียนแบบนโยบายประชานิยมของรัฐบาลเลือกตั้ง แต่เป็นการเลียนแบบอันเลวร้ายเพราะไม่เคยคิดที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใน ทางบวกอย่างแท้จริง ผลประโยชน์ที่หวังจากนโยบายทั้ง ๙ นี้ก็คือคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่ไม่ช้าก็เร็วจะต้องเกิดขึ้นเท่านั้นเอง
มาลองดูกันต่อไป
“๒. การเข้าถึงสินเชื่อเป็นกรณีพิเศษให้กับแท็กซี่และหาบเร่แผงลอย เชื่อจะเป็นลูกค้าดีของสถาบันการเงิน เพราะมีรายได้ชัดเจน”
ฟัง ดูดีและน่าจะทำให้มวลชนกลุ่มที่รักเสื้อแดงและได้รับประโยชน์โดยตรง จากนโยบายของรัฐบาลเลือกตั้งยุคก่อนรัฐประหาร ได้หันกลับมาสวมกอดรัฐบาลชุดนี้บ้าง
แต่ก็ไม่
คำ ว่า “การเข้าถึงสินเชื่อฯ” แทนที่จะใช้คำว่า การตั้งกองทุน หรือ การผลักเงินลงสู่มือของผู้ที่มีความจำเป็น หรืออะไรทำนองนี้นั้น หมายความว่า กว่าจะได้เงินจากรัฐบาลชุดนี้ ผู้กู้จะต้องกระทำผ่านสถาบันการเงินหรือหน่วยงานของรัฐในรูปแบบใดรูปแบบ หนึ่ง ซึ่งจะพบขั้นตอนและความฉ้อฉลมากมาย เรียกร้องให้สอพลอวิ่งเต้น เงินก็จะไปสู่มือของคนมีเส้น และไม่ถึงคนจนที่จำเป็นจริง ต่างจากนโยบายธนาคารคนจน แปลงสินทรัพย์เป็นทุน และอื่นๆ ของรัฐบาลทักษิณ
แท็กซี่ มากมายที่รักเสื้อแดงและชิงชังฝ่ายตรงข้าม เกิดขึ้นจากการสัมผัสได้ว่ารัฐบาลของคุณทักษิณฯ มีความจริงใจ และ “ให้” คนจนอย่างแท้จริง โดยมุ่งขจัดคนกลางที่เป็นเหลือบทางธุรกิจออกไปจนเกือบหมดสิ้น จนสามารถแปลงสภาพจากผู้เช่าไร้อนาคตมาเป็นผู้ประกอบการย่อยโดยมีรถยนต์นั้น เองเป็นเครื่องมือ
หาบ เร่แผงลอยนั้นก็เอ่ยให้ชัดเจนเพื่อผลในการหาเสียงเท่านั้น รัฐบาลที่เขาจะทำให้เกิดผลจริงเขาตั้งกองทุนเพื่อคนจนทั้งมวลเลยทีเดียว จะหาบเร่แผงลอยหรืออื่นใดก็เปิดโอกาสให้ทั้งนั้น การผลักให้พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยไปเป็น “ลูกค้า (ชั้น) ดีของสถาบันการเงิน” ย่อมไม่ต่างอะไรจากผลักเข้าสู่ความเป็นทาสทางการเงินชนิดโงหัวไม่ขึ้น แทนที่จะช่วยให้พ้นจากดงหมาป่าหรือนายทุนกระหายเลือดทั้งหลายซึ่งสนับสนุน ทุกสีที่ไม่ใช่สีแดง เหมือนพี่น้องแท็กซี่ที่เขาต้องการอิสระเสรียิ่งกว่าอะไรทั้งหมด แต่รัฐบาลชุดนี้กลับจะยัดเยียดความเป็นทาสให้เขา
รัฐบาลที่ชวนประชาชนไปอยู่ใต้ตีนนายทุน ย่อมชี้ว่ารัฐบาลก็คงมีสันดานเช่นนั้น
“๓. ขึ้นทะเบียนมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จัดทำบัตร ให้เบอร์เสื้อวิน แจกหมวกนิรภัย ปรับปรุงวิน การทำบัตรจะนำไปสู่การพัฒนาสวัสดิการ”
เริ่ม ต้นก็ต่างกันลิบลับแล้ว รัฐบาลเลือกตั้งของคุณทักษิณเริ่มช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมวลชนวิ น ไม่ใช่ด้วยการขึ้นทะเบียนกันเหมือนวัวเหมือนควาย แต่ขจัดอิทธิพลมืดให้กับพี่น้องประชาชนเหล่านี้ทั้งระบบ เมื่ออิทธิพลมืด ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ หรือ “ขาใหญ่” ทั้งหลายลดลงบ้าง (ถึงไม่หมดทีเดียว) ชีวิตของมวลชนเหล่านี้ก็ดีขึ้น หายใจคล่องขึ้น หลังจากนั้นจึงพูดกันเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครบทั้งระบบ เพื่อให้อยู่ได้และอยู่ดี ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายการสัญจรที่มีประสิทธิภาพของผู้คนทั้งหลายด้วย
“๔. เพิ่มจุดผ่อนปรนให้หาบเร่แผงลอย หวังลดรายจ่ายนอกระบบและจะจัดโซนการค้าให้เป็นระบบระเบียบ แต่จะไม่กระทบผู้ใช้ทางเท้า”
เอา อีกแล้ว วิธีการ “พัฒนา” ด้วยการลากประชาชนไปอยู่ใต้ระบบราชการและเจ้าหน้าที่ขี้ฉ้อของรัฐ คือความถนัดของรัฐบาลเสมียนราชการเยี่ยงนี้
การ จัดโซนการค้านั้นไม่ต้องเอารัฐบาลลงมาทำหรอก ผู้ว่าราชการจังหวัดเขาก็จัดได้ การขึ้นทะเบียนผู้ค้าสุดท้ายจะกลายเป็นการสร้างระบบควบคุมอันสมบูรณ์ โดยให้คนของรัฐเข้ามาเรียกร้องผลประโยชน์ใต้ดินและกลั่นแกล้งประชาชนที่ไร้ เส่้นสายมากกว่าเดิม
ข้อนี้ไม่ใช่นโยบายด้วยซ้ำ เป็นเพียงการคิดแคบๆ ตื้นๆ เพื่อหวังผลเลือกตั้งเท่านั้นเอง
“๕. นำเงินกองทุนน้ำมันมาตรึงราคาก๊าซ (แอลพีจี) ในภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง แต่จะเลิกอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม”
ดี ไหมรัฐบาลชุดนี้ เอาเงินจากกองทุนที่ควรจะยกเลิกไปแล้วมาอุดหนุนค่าการตลาดให้กับผู้ค้าขายใน วงการก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นผลประโยชน์มหาศาลให้กับผู้ออกนโยบาย แถมยังเอื้อภาคขนส่ง เอาเงินที่ควรเป็นของชาติไปให้เขา เอาผลมาอ้างกับประชาชนว่าราคาจะได้คงเดิม
รัฐบาล เลือกตั้งในยุคคุณทักษิณฯ พูดถูกแล้ว เมื่อสร้างนโยบายขึ้นบนสามขาคือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาส ทุกนโยบายต้องอยู่ในกรอบทั้งสามนี้ แต่นโยบายอย่างนี้เพียงทำให้ประชาชนดูเหมือนจะจ่ายเท่าเดิม แต่เตะเงินของชาติไปให้พรรคพวกอย่างสง่าผ่าเผยและมากมหาศาล สุดท้ายรายจ่ายของประชาชนก็ไม่ลดจริง อย่างเก่งก็คงเดิมเพียงชั่วระยะหนึ่ง แต่ประเทศชาติผู้จ่ายจริง จะเกิดความเสียหายอย่างประมาณมิได้
(ยังมีต่อ)
http://www.democracy100percent.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น