สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

สังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่านกับบทบาทของพรรคการเมือง

Mon, 2011-01-17 19:08


ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ

นับจากการเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475 เป็น ต้นมาได้สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถาบันพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่มาของอำนาจรัฐและการจัดสรรผลประโยชน์ ให้กับประชาชน ตลอดจนเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นระบบพรรคการเมืองมากขึ้นตามลำดับนั่นหมายถึง ประชาชนเริ่มมีจิตสำนึกในจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ จึงเริ่มรวมกลุ่มทางการเมืองและจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาเพื่อเป้าหมายในการ เข้าไปกำหนดนโยบาย

พรรค การเมืองจึงเป็นการรวมกันของกลุ่มบุคคลในสังคมโดยสมัครใจมีอิสระที่จะสร้าง เจตนารมณ์ทางการเมืองของตนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการทำกิจกรรมทางการเมือง เพื่อต้องการส่งตัวแทนเข้าทำหน้าที่ในสภา อันจะได้มาซึ่งอำนาจรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยผ่านกระบวนการสรรสร้างแนวความคิดทางการเมืองเพื่อให้สาธารณชนยอมรับและ สนับสนุนตามทิศทางของกลุ่ม

ความ เป็นองค์กรที่มีลักษณะต่อเนื่องนี่เองที่ทำให้พรรคการเมืองมีความต่างออกไป จากการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ในลักษณะของกลุ่มเคลื่อนไหวเฉพาะกิจเพื่อเรียกร้องบางเรื่องราว ดังนั้นกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองจึงสร้างเงื่อนไขหรือหลักประกันเพื่อให้ เกิดความเคร่งครัดในการสร้างวัตถุประสงค์ทางการเมืองให้เป็นจริง เช่น จะมีกฎเกณฑ์เรื่องลักษณะการจัดตั้งหรือเรื่องจำนวนสมาชิกที่มีพอสมควรหรือ บทบาทหน้าที่ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างแท้จริง

เมื่อ พรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงานในระบบรัฐสภาหรือการเมืองในระบบ ประชาธิปไตยในลักษณะตัวแทน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนจัดตั้งพรรคการเมืองได้ สะดวกขึ้น และให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการจัดตั้งเพื่อให้สามารถใช้สิทธิของตนได้อย่าง เต็มที่

แม้ ว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันของเอกชนที่ปัจเจกมารวมตัวกันโดยตรง ไม่ถือว่าเป็นสถาบันของรัฐหรือเป็นสถาบันที่ถืออำนาจรัฐ แต่หากดูบทบาทหน้าที่ตามระบบกฎหมายจะพบว่ากฎหมายได้ให้ความสำคัญต่อสถาบัน พรรคการเมือง และถือเสมือนว่าเป็นสถาบันรัฐในทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะนอกจากพรรคการเมืองจะมีบทบาทในการสร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตยให้แก่ ประชาชนแล้ว พรรคการเมืองยังเป็นสถาบันที่กำหนดนโยบายสาธารณะและตัดสินใจทางนโยบายให้แก่ รัฐด้วย เราจึงไม่อาจแยกสถาบันพรรคการเมืองออกจากรัฐได้

พรรคการเมืองจึงมีบทบาทสำคัญในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracies)สามารถ ช่วยในการอธิบายเป้าหมายของกลุ่ม ช่วยอุ้มชูกลไกทางการเมือง จัดทำและส่งเสริมทางเลือกด้านนโยบาย และนำเสนอทางเลือกต่างๆให้กับประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียง การเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกันของพรรคการเมืองในรัฐสภาย่อมส่งผลเกื้อหนุนต่อรัฐบาลให้ทำ งานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และนักการเมืองในพรรคเดียวกันมีแนวโน้มที่จะมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น เนื่องจากต้องประสบกับปลายทางการเมืองที่เหมือนกันนั่นคือการลงสมัครรับ เลือกตั้งซึ่งต่างก็มีความมุ่งหวังอย่างเดียวกันว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนใน การเลือกตั้งจากเงื่อนไขของการที่ได้ใช้ชื่อพรรคร่วมกัน ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าพรรคการเมืองสามารถรับประกันว่านโยบายที่นำเสนอใน การเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นทางเลือกในการแปลไปเป็นการตัดสินใจในเวที สาธารณะที่เป็นประโยชน์ของพรรคการเมืองต่อการเลือกตั้ง [1] ในระบอบประชาธิปไตย

อย่าง ไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยที่กำลังก้าวย่างไปข้างหน้ามักต้องเผชิญกับภาวะ ชะงักงัน อันเนื่องมาจาก การกำหนดขอบเขตอำนาจของรัฐในการควบคุมดูแลพรรคการเมืองอย่างเข้มงวด ในขณะที่พรรคการเมืองเองจะต้องนำเสนอนโยบายเพื่อจูงใจประชาชนที่สามารถตรึง การตัดสินใจเลือกพรรคที่ตนต้องการให้เข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบาย หากการ จัดทำกฎหมายพรรคการเมืองปราศจากการระบุเงื่อนไขที่กำหนดให้พรรคการเมือง สามารถปฏิบัติได้หรือไม่สามารถปฏิบัติสิ่งใดได้แล้วนั้น ประเทศก็จะเสี่ยงกับการมีระบบการเมืองที่ปราศจากเมตรตาธรรม และจริยธรรมเพราะมีแต่จดจ้องทำลายล้างซึ่งกันและกัน

ใน ขณะเดียวกัน หากรัฐบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดในการควบคุมดูแลการจัดตั้งการรณรงค์ การกำหนดนโยบาย และการดำเนินงานของพรรคการเมืองมากเกินไปก็อาจปิดกั้นมิให้พรรคการเมืองเข้า มามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม [2] และพรรคการเมืองจะไม่ยึดโยงกับความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ดัง นั้นการการพิจารณาสถานะของสถาบันพรรคการเมือง เราจะต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับรัฐ พรรคการเมืองกับพรรคอื่นๆ พรรคการเมืองกับสมาชิกพรรค และที่ไม่อาจมองข้ามได้ต้องพิจารณาถึงพรรคการเมืองกับสาธารณชนเป็นสำคัญ

สิทธิและหน้าที่ของพรรคการเมืองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่รัฐควรคำนึงถึงในอันดับต้นๆสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเป็นไปตามหลักการสากล 4 ประการ คือความมีเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นสาธารณะ และความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรค [3]

หลักเสรีภาพของพรรคการเมืองหมาย ถึง เสรีภาพในการตั้งพรรค ซึ่งถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จะริเริ่มขึ้นมาเอง มิใช่เรื่องของรัฐ นอกเหนือจากเสรีภาพในการตั้งพรรคแล้ว ประชาชนยังมีเสรีภาพในการทำกิจกรรมอื่นๆ ของพรรค ซึ่งหมายถึงการเลือกนโยบาย การจัดองค์กรภายใน การเลือกชื่อพรรค การกำหนดข้อบังคับพรรค การเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง เสรีภาพในการเลือกสมาชิกพรรค การจัดการเรื่องรายรับและทรัพย์สินต่างๆ รวมถึงเสรีภาพที่จะยุบพรรคของตนด้วย ซึ่งเสรีภาพในที่นี้ มิใช่เสรีภาพขององค์กรพรรคการเมืองเท่านั้น แต่หมายถึงเสรีภาพของปัจเจกชนซึ่งเป็นสมาชิกพรรคที่จะมีสิทธิเข้าหรือออกจาก พรรคได้เสมอ ดังนั้น กฎเกณฑ์ของรัฐต้องเอื้อให้เกิดเสรีภาพดังกล่าวนี้

หลักความเสมอภาคในระหว่างพรรคการเมือง โดยเฉพาะการมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือของสาธารณะ เช่น สื่อ หรือพื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมต่างๆ ทางการเมือง ความคุ้มครองเรื่องความเท่าเทียมนี้ ยังมีผลบังคับทางอ้อม ไปยังภาคเอกชนมิให้ปฏิบัติต่อพรรคการเมืองโดยไม่เท่าเทียมด้วย เช่น การเลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมืองหรือการให้พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งผูก ขาดในการพิมพ์หรือการใช้สื่อของเอกชน ทั้งนี้ เพราะการเมืองยุคปัจจุบันเป็นเรื่องของประชาธิปไตยแบบมีพรรคการเมืองหลาย พรรคที่มีการแข่งขันกัน นอกจากนั้นยังรวมถึงการที่ประชาชนทุกๆคนที่อาศัยอยู่ในทุกพื้นที่มีสิทธิลง คะแนนเสียงในการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน เช่นกรณีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในประเทศนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ใดก็มีสิทธิลงคะแนนได้หนึ่งเสียงอย่างเท่าเทียมกัน

หลักการทำงานร่วมกับสาธารณชน หลักการทำงานและสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองร่วมกับสาธารณชน เป็นหลักการสำคัญเพราะพรรคการเมืองที่มีส่วนเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับสังคมและ เป็นผู้ประสานงานระหว่างสภากับประชาชนในเขตเลือกตั้ง ซึ่งหมายความว่าพรรคการเมืองต้องมีการสื่อสารกับสังคม ที่อาจเป็นทั้งการสื่อสารทางตรงกับประชาชนโดยตรง หรือผ่านทางสื่อเพื่อให้ประชาชนเข้าใจแนวทางและความคิดเห็นของพรรค โดยประชาชนมีสิทธิที่จะใช้ดุลพินิจเห็นสมควรในการเข้าร่วมกิจกรรมกับพรรค ต่างๆ หรือไม่ตามประสงค์

หลักการมีประชาธิปไตยภายในพรรค เป็น การส่งเสริมให้พรรคการเมืองต้องสร้างกลไกประชาธิปไตยภายในให้เกิดขึ้น ไม่ว่าการมีข้อบังคับของพรรค หรือกิจกรรมอื่นใดที่มีหลักการประชาธิปไตยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานย่อมเป็นการ ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งสิ้น ดังนั้น พรรคการเมืองที่ฟังแต่คำสั่งผู้นำเพียงอย่างเดียวจึงเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ มีประชาธิปไตย อย่างที่สื่อมวลชนให้ฉายาว่า เถ้าแก่ หรือนายห้างตราใบห่อ เป็นต้น

อย่าง ไรก็ตาม การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวนี้อาจทำได้เพียงรูปแบบเท่านั้น เพราะในทางปฏิบัติ แม้จะมีข้อบังคับที่ดีแต่พรรคการเมืองก็มักจะมีการปฏิบัติที่ไม่เป็น ประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะการสั่งการจากผู้มีอำนาจตัวจริง ที่มีความเป็นไปได้สูงกว่าการริเริ่มหรือเรียกร้องจากสมาชิกพรรคจากด้านล่าง นอกจากนั้นหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อย ก็เป็นแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบภายในของพรรคการเมืองได้ด้วย หรือแม้กรณีการคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เหมาะสมหรือการควบคุม จริยธรรมของคนในพรรค ก็เป็นเรื่องสำคัญของประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองเช่นเดียวกัน

การเริ่มขยายบทบาทของประชาธิปไตยเสรี ที่ได้พยายามเบียดขับแนวทางสังคมนิยมออกจากกลไกของสังคมโลก ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 การ พัฒนาทางการเมืองของประเทศประเทศประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และประเทศที่อยู่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งประเทศทั้งหลายเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางการเมือง 3 ประการ คือประการแรกการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม ระหว่างพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สองการสร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็งโดยให้ความช่วยเหลือองค์กรที่ประชาชนเป็น เจ้าของเพื่อรณรงค์ทางสังคมและสื่อมวลชนอิสระ และสามการเพิ่มความเข้มแข็งขององค์กรหลักของรัฐให้ระบบความยุติธรรมมีความ เป็นอิสระ รวมทั้งการตรากฎหมายที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลรวมทั้งการจัดระบบ ราชการอย่างมีประสิทธิภาพ [4]

ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในกระบวนการประชาธิปไตยสมัยใหม่ระบบตัวแทนแต่ การพัฒนาระบบสถาบันพรรคการเมืองกลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะสังคมไทยที่มีการยุบพรรคการเมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจากคำสั่งคณะรัฐประหาร คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งศาลฎีกา และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งล้วนแล้วได้ส่งผลกระทบทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเพาะการยุบพรรคจากคำสั่งคณะรัฐประหาร และ มีการตรากฎหมายให้มีผลเป็นการลงโทษย้อนหลัง กลายเป็นความผิดปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ส่งผลให้แนวความคิดของประชาชนในสังคมไทยแตกขั้วนำไปสู่ความขัดแย้งทาง ความคิด ต่อเนื่องไปจนส่งผลกระทบต่อนโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างมากจนถึงปัจจุบันซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง

อ้างอิง

[1] ซูซาน สกาโรว์ (Susan scarrow). พรรค การเมืองและประชาธิปไตยจากมุมมองเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ:การสถาปนาระบอบ ประชาธิปไตยในพรรคการเมือง. สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อการต่างประเทศ(NDI). สหรัฐอเมริกา, 2005 :3

[2] เคนเนธ แจนดา ( Kenneth Janda ). พรรค การเมืองและประชาธิปไตยจากมุมมองเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ:การจัดทำกฎหมายพรรคการ เมือง. สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อการต่างประเทศ(NDI). สหรัฐอเมริกา, 2005 :3

[3] สุนทรียา เหมือนพะวงศ์.ดร.ทฤษฎีกฎหมายเยอรมันเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง. สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม : ประชาไท, 29/5/2550

[4] โธมัส คาโรเธอร์ ( Thomas Carothers ) อ้างใน ปิปปา นอริร์ริส (Pippa Norris).พรรค การเมืองและประชาธิปไตยจากมุมมองเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ: การพัฒนาการสื่อสารของพรรคการเมือง. สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อการต่างประเทศ(NDI). สหรัฐอเมริกา, 2005 :3

http://prachatai.com/journal/2011/01/32674

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น