สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ปีเก่า : ปีแห่งความล่มสลาย ของการเคารพหลักการและคุณค่าของชีวิตคน

ปีเก่า : ปีแห่งความล่มสลาย ของการเคารพหลักการและคุณค่าของชีวิตคน

Wed, 2011-01-05 20:12

นักปรัชญาชายขอบ

ช่วง ธันวาคนจนถึงสิ้นปี 2553 (คร่อมมาถึง 2 ม.ค.54) ผมมีงานที่จำเป็นต้องสะสางให้เสร็จ จนแทบไม่มีเวลาติดตามข่าวสารอะไรเลย ไม่รู้ว่าปีที่เพิ่งผ่านไป เขาจัดลำดับข่าวเด่น หรือบุคคลแห่งปีอะไรยังไงกันบ้าง

แต่สำหรับผมแล้ว ปี 2553 คือ ปีแห่งความล่มสลายของการเคารพหลักการและคุณค่าของชีวิตคน อันที่จริงการเคารพหลักการมันพังแล้วตั้งแต่มีมวลชนออกมาเรียกร้องรัฐประหาร และเกิดรัฐประหาร 19 กันยา ต่อจากนั้นมาเราก็ได้เห็นการเหยียบย่ำหลักการ จนกระทั่งนำมาสู่การล่มสลายของการเคารพชีวิตคนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฆ่าประชาชน ช่วง เมษา-พฤษภา 53

ปรากฏการณ์แห่ง การไม่เคารพชีวิตคน ไม่ใช่แค่เพียงด้วยการประณาม กล่าวหา และล้อมปราบประชาชน (รถถัง อาวุธหนัก-เบา กำลังพล 50,000 คน งบประมาณมหาศาล เตรียมพร้อมเพื่อจัดการกับประชาชนที่ออกมาเรียกร้อง การเลือกตั้ง นี่คือสรรพกำลังที่ยิ่งกว่าเตรียมไว้ปราบ อริราชศัตรู) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ ฆ่าซ้ำ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า พวกเสื้อแดงมันฆ่ากันเอง (แต่จนป่านนี้ก็ไม่มีการพิสูจน์ให้คนว่าคนเสื้อแดงฆ่ากันเองตายกี่คน ถูกทหารฆ่ากี่คน)

ซ้ำร้ายคนเสื้อแดงที่ตกเป็น นักโทษการเมือง ร่วม 400 คน ก็ได้กลายเป็น นักโทษการเมืองที่ถูกขังลืม ไปแล้ว เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปฏิเสธข้อเสนอของ นายคณิต ณ นคร ให้ปล่อยตัวชั่วคราว

พูดให้ตรงที่สุดคือ ชีวิตคนที่ไม่ถูกเคารพก็คือ ชีวิตคนเสื้อแดง เท่านั้น ที่ไม่จับคนเสื้อเหลืองมาขังคุกด้วยข้อหาก่อการร้ายนั้นถูกแล้วนะครับ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิทางการเมืองแม้จะ ล้ำเส้น ไปบ้าง มันก็ยังสรุปไม่ได้หรอกว่าพวกเขาเป็น ผู้ก่อการร้าย ฉะนั้นที่ไม่เอาคนเสื้อเหลืองมาขังคุกด้วยข้อหาก่อการร้ายนั้นถูกต้องแล้ว

แต่ทำไมไม่ทำสิ่งที่ถูกต้องเดียวกันนี้กับคนเสื้อแดงบ้าง!?

ที่จริงแล้วการเคารพคุณค่าของชีวิตคน ขึ้นอยู่กับทัศนะต่อ ความเป็นคน อย่างแยกไม่ออก และทัศนะต่อ ความเป็นคน มันก็ขึ้นอยู่กับวัฒนนธรรมทางความคิดของระบบการเมืองการปกครองของชนชาติ นั้นๆ เป็นหลัก คำถามคือระบบการปกครองของเราเป็นระบบที่เคารพความเป็นคนหรือไม่ ปัญหานี้ดูเหมือน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จะอธิบายตรงๆ อย่างนี้ว่า

ปัจจุบันเราเรียกระบอบการปกครอง หรือ form of government ของ เราว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรจะเรียกอีกแบบหนึ่งคือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการ ...เป็นรูปแบบที่จงใจจะจำกัดความหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะในเชิงสังคมวัฒนธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทว่าเป็นการจำกัดความหลากหลายในระดับที่ผมเรียกว่า ระดับ existentialist เป็นความหลากหลายในเชิงความเป็นตัวตนของมนุษย์ ใน existential activity หรือ existential diversity โดยพื้นฐานแล้วความเป็นมนุษย์เราคืออะไร ในความคิดผมสิ่งที่เป็นหัวใจของมนุษย์เลยคือ freedom คือ เสรีภาพ ...ถ้ามนุษย์ไม่สามารถจะคิดอะไรที่อยากจะคิดได้ ไม่สามารถที่จะพูดอะไรในสิ่งที่ตัวเองอยากพูดได้ ก็ไม่ใช่มนุษย์แล้ว ฉะนั้น โดยระบอบการปกครองแบบนี้ เนื้อแท้ของมันออกแบบให้จำกัด existence ของเรา [1]

ถ้า หัวใจ หรือ แก่นสาร (essence) ของมนุษย์ คือ เสรีภาพ ก็หมายความว่าความงอกงามในทุกมิติของชีวิตมนุษย์เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจาก การมีเสรีภาพ ฉะนั้น การเคารพคุณค่าชีวิตก็คือการเคารพเสรีภาพ

ระบบ การปกครองใดก็ตามถ้าไม่เคารพเสรีภาพก็เท่ากับระบบการปกครองนั้นไม่เคารพคุณ ค่าของชีวิตมนุษย์โดยพื้นฐานเลยทีเดียว โดยระบบเช่นนี้เมื่อประชาชนออกมาเรียกร้องเสรีภาพในการปกครองตนเอง พวกเขาจึงถูกฆ่า หรือถูกจับขังคุกเสมือนว่าชีวิตของพวกเขาเป็นสิ่งไร้ค่า

และ การที่สังคมนี้ดูเหมือนไม่แคร์ต่อการเหยียบย่ำคุณค่าของชีวิตคน ก็สะท้อนให้เห็นว่าระบบการเมืองการปกครองของสังคมนี้โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่ ระบบที่เคารพเสรีภาพหรือคุณค่าของชีวิตคนอยู่แล้ว ระบบแบบนี้มันจึงไม่เคยปลูกฝังให้ประชาชน รักเสรีภาพ มากกว่า รักตัวบุคคล

แต่ยังมีมุมมองที่ต่างออกไปว่า แม้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอาจมีปัญหาเรื่อง ความเป็นอิสระทางศีลธรรม แต่ก็แก้ได้โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงให้โอกาสพลเมืองไตร่ตรองตัดสินเรื่อง ต่างๆ เชิงบรรทัดฐานซึ่งเกี่ยวกับวิธีอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่ครอบงำในเรื่อง เฉพาะแต่ละเรื่อง แต่ให้แต่ละคนคิดในกรอบใหญ่ของศาสนาหรือระบบจริยธรรมของตน ทว่าแง่ดีของระบบดังกล่าวนี้คือ คุณค่าเฉพาะ ที่เรามีไม่เหมือนใคร ได้แก่ การที่องค์พระมหากษัตริย์สามารถเป็นจุดส่งต่อความห่วงใยจากพลเมืองคนหนึ่งไปสู่พลเมืองอีกคน ถึงแม้ว่าจะไม่รู้จักกัน การที่พลเมือง รักองค์พระมหากษัตริย์ และการที่พระมหากษัตริย์ห่วงใยพลเมืองทุกคนในลักษณะที่ทำให้พลเมืองทราบ อย่างชัดเจน คุณค่าพิเศษของระบอบนี้สามารถนำไปสู่สังคมที่คนในทุกส่วนของสังคมมองส่วน อื่นเป็นพวกเดียวกัน และต้องการให้มีชีวิตที่สงบสุขเช่นเดียวกันหมด คำขวัญที่ตรงกับประเด็นนี้ คือ รักในหลวง ร่วมกันห่วงใยเพื่อนร่วมชาติ แต่คุณค่าพิเศษดังกล่าวนี้อยู่ในรูปของ ศักยภาพ ที่จะทำให้เกิดสภาพที่พึงปรารถนาที่ว่านั้น ซึ่งการที่ศักยภาพจะกลายเป็น สภาวะจริง ย่อมขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขสำคัญ คือ พระมหากษัตริย์ต้องทรงประพฤติธรรม เช่น ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร [2]

ปัญหาคือ ถ้าเราจะพิสูจน์ความเป็นจริงของ เงื่อนไขสำคัญ ดังกล่าวเราจะมีวิธีพิสูจน์ได้อย่างไร? เพราะตามปกติเวลาที่เราจะพิสูจน์ว่าอะไรจริง (หรือเท็จ) เงื่อนไขที่จำเป็นเลยคือเราต้องมี เสรีภาพ ในการตั้งคำถาม ซักไซ้ไล่เรียง วิพากษ์วิจารณ์ หรือพูดให้ตรงคือเราต้องมีอำนาจตรวจสอบที่มีกฎหมายรับรอง แต่ภายใต้ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จารีตทางวัฒนธรรมและกฎหมายไม่อนุญาตให้ประชาชนทำเช่นนั้นได้ เช่น ประชาชนไม่สามารถที่จะอ้างอิงพระราชสัตยาธิษฐานของรัชกาลที่ 7 ที่มีสาระสำคัญว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงทศพิธราชธรรมและมีหน้าที่รักษารัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย [3] มา ตรวจสอบพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ว่า ทรงปฏิบัติหน้าที่รักษารัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแสดงถึงการทรงมีหรือไม่มี ทศพิธราชธรรมข้อที่ 4 (อาชวะ-ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง) และข้อ 10 (อวิโรธนะ-มิปฏิบัติคลาดจากธรรม) [4] ด้วย เป็นต้น

สุดท้ายแล้ว เราก็ต้องกลับไปหา เสรีภาพ และเราพบว่า ปี 2553 เป็นปีแห่งการล่มสลายของการเคารพ หลักเสรีภาพ (the principle of freedom) ใช่หรือไม่!? และนั่นจึงนำมาซึ่งการล่มสลายของการเคารพคุณค่าชีวิตคน เกิดปรากฏการณ์เชียร์ให้ฆ่า ฆ่าแล้วยัง ฆ่าซ้ำ และยังมีความชอบธรรมในการครอบครองอำนาจรัฐต่อไป เพราะรัฐของเราเป็นรัฐซึ่งโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้เคารพเสรีภาพหรือคุณค่าชีวิต คนใช่หรือไม่!?

แต่ถึงสุดแล้วหากเราต้องการปกป้อง ความเป็นคน เราก็ไม่อาจปฏิเสธที่จะปกป้องเสรีภาพได้ เพราะนี่คือการยืนยันความเป็นมนุษย์ ดังที่ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เขียนไว้ว่า

...เสรีภาพ เป็นเนื้อดิน อากาศ และปุ๋ย ที่จะทำให้พฤกษชาติแห่งความคิดเจริญเติบใหญ่ขึ้นได้ และเมื่อความคิดนำไปสู่อุดมคติ อุดมคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลในสังคมสามารถใช้ความคิดอย่างเสรี ปราศจากพันธนาการของจารีตประเพณี หรืออีกนัยหนึ่ง เราต้องสนับสนุนให้มนุษย์แต่ละคนใช้ความคิดอย่างมีเสรีภาพ ชนิดที่ไม่ต้องพึงหวาดหวั่นว่าจะเป็นความคิดนอกลู่นอกทาง นั่นแหละจึงจะเป็นการสนับสนุนอุดมคติให้ถือกำเนิดได้ (ตัว หนาเน้นโดยผู้เขียน) แม่น้ำลำห้วยยังเปลี่ยนแนวเดิมได้ สมองมนุษย์อันประเสริฐจะแหวกแนวบ้างมิได้หรือ ในเมื่อไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม... [5]

คำถามในปีใหม่คือ เราจะจมปรักอยู่กับความล่มสลายเช่นนี้ต่อไป หรือจะต่อสู้เพื่อทวงคืนความเป็นคนให้แก่ตัวเองและอนุชนในอนาคต!

อ้างอิง

[1] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล.ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมจริง: เงื่อนไขของการยอมรับความหลากหลาย.ใน เกษม เพ็ญภินันท์ (บรรณาธิการ) ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในมนุษยศาสตร์” (กรุงเทพฯ: วิภาษา,2552).หน้า33-34.

[2] ดู มารค ตามไท.การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข.ใน สันติสุข โสภณสิริ (บรรณาธิการ). วิถีสังคมไท: สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระหนึ่งศตวรรษ ปรีดี พนมยงค์ ชุดที่ 2 ความคิดทางการเมืองการปกครอง” (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2544) หน้า 40-42.

[3] ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. สาร’ (message) จากปรีดี พนมยงค์ ถึงในหลวง เมื่อปี 2516.(http://www.prachatai3.info/journal/2010/12/32177.(12/27/2553).

[4] ดู พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม.(พิมพ์ครั้งที่ 14).(กรุงเทพฯ: กองทุนอริยมรรค,2545),หน้า 27-28.

[5] อ้างใน ปกป้อง จันวิทย์ (บรรณาธิการ).20 ปี ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ้งภากรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(กรุงเทพฯ:openbooks,2550).หน้า 21.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น