สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสวนาที่ ม เชียงใหม่: เสนอไปให้พ้นจากประเด็นชาตินิยม

Sun, 2011-02-13 18:22


งานเสวนาที่ ม.เชียงใหม่ สม ชายเสนอ เรื่องมายาคติ ไทยจะเสียดินแดน ไทยรักสงบ-เขมรเกเร" ชี้รัฐบาล-พันธมิตรฯ พูดภาษาเดียวกัน แต่ชาตินิยมจิ๊กโก๋จุดไม่ติด มีแค่สื่อกระบอกเสียงประโคมข่าว ไชยันต์ รัชชกูลชี้ยังมีไพ่ตัวสุดท้ายที่ยังไม่ได้เปิด สายชลเสนอ ไปให้พ้นชาตินิยม ต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่


เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการจัดงานเสวนา ชาตินิยมในยุคข้ามชาติ ใคร? ทำไม? ประกาศสงครามณ ห้องประชุมชั้น 4 ตึกปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมาุนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้อภิปรายคือ สายชล สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ และ นรุตม์ เจริญศรี สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีอัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ

ไปให้พ้นชาตินิยมต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่


สายชล สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า ชาตินิยม มีประเด็นข้ามพรมแดนเฉพาะเรื่องการตลาด ยกตัวอย่างปราสาทเขาพระวิหาร ในปัจจุบันมีความสำคัญ นอกจากเป็นสัญลักษณ์ความเก่าแก่ ปราสาทเขาพระวิหารก็เป็นสินค้า ในยุคไร้พรมแดนของตลาด ทำให้เป็นสินค้าครอบครองทั้งฝ่ายเขมร และฝ่ายไทย ให้ความสำคัญกับสินค้าวัฒนธรรมในยุคไร้พรมแดน


โดยพลังความรู้สึกของชาตินิยมของเขมรถูกเชื่อมโยงกับอาณาจักรโบราณ ก็ยังถูกใช้โดยฮุนเซน และลูกชายฮุนเซน ในที่สุดแล้วความรู้สึกชาตินิยม รุนแรงมาก แล้วมาถึงฝั่งไทย โดยชาตินิยมของไทย ก็ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ได้หมายความว่า ผลิตซ้ำจุดเดิม แต่ปรับเปลี่ยนประเด็นต่างๆ สอดคล้องกับบริบท อย่างเช่นหลัง ปี 2475 ก็ถูกผลิตซ้ำ เพราะรัฐไทยไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยหลัง 2490 จอมพล ป. ไม่ใช่ตัวแทนของคณะราษฎรอีกแล้ว ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กำเนิดขึ้นช่วงนี้ และมีพรรคการเมืองเกี่ยวกับอุดมการณ์ราชาชาตินิยม คนที่มีบทบาทสูงสุดต่อมา คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพียงแค่เน้นความสำคัญของพระมหากษัตริย์อย่างกว้างๆ ที่บอกว่าพระมหากษัตริย์มีความสำคัญ ในการปกครองแบบไทย ไม่เหมือนประชาธิปไตยแบบตะวันตก


รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ กล่าวช่วงท้ายว่า มีบางกลุ่มยังใช้แนวคิดชาตินิยม จากบทความของอาจารย์อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ซึ่งยกตัวอย่างกลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญมาก เพราะว่า สันติอโศก เริ่มต้นอกหักจากทุนนิยม มาใช้ชีวิตที่พอเพียง แบบพุทธ เข้ากับความเป็นไทย ใน ทำให้มีอัตลักษณ์ใหม่ ปกป้องชาติไทย และความเป็นไทยไว้ ทั้งนี้การปลุกกระแสชาตินิยมเป็นเรื่องอันตราย จะไปให้พ้นประเด็นชาตินิยม ต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่

สมชายชี้มีมายาคติเรื่อง "ไทยรักสงบ เขมรเกเร" จวกรัฐบาล-พันธมิตรฯ พูดภาษาเดียวกัน


ด้านสมชาย ปรีชาศิลปะกุล กล่าวประเมินกระแสชาตินิยม โดยเรื่องแรก จากความขัดแย้งที่เป็นอยู่ เรื่องเสียดินแดน ทั้งรัฐบาลและผู้ชุมนุม พูดเรื่องประเทศไทยเสียดินแดน ทั้งรัฐบาลและผู้ชุมนุมพูดไม่แตกต่างกัน และเรื่องที่สอง มีข้ออ้างว่า ไทย นี้รักสงบ แต่มาพบเขมรเกเร และเขมรยิงก่อนมีการบอกว่าเขมรเข้าไปแอบในเขาพระวิหาร และมีการรุกรานยึดพื้นที่โดยเขมร ไทยพบเพื่อนบ้านนิสัยไม่ดี พบกับคนเกเร จะเห็นว่าทั้งพันธมิตรฯ กับรัฐบาล พูดภาษาเดียวกัน และเรื่องที่สาม ก็พูดภาษาเดียวกัน ในเรื่องการเจรจาต้องเจรจาแบบทวิภาคี ปัญหานี้คนอื่นไม่เกี่ยว ไทยกับเขมรเท่านั้น ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมออกแนวทางจิ๊กโก๋ และปัญหานี้เป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับเขมร เรื่องที่สามก็เป็นอีกปมหนึ่งของสังคม


สมชายกล่าวถึงการ ประเมินผลกระทบชาตินิยม ว่า เมื่อประเมินเบื้องต้น โดยมองโลกแง่ดีมากขึ้น คิดว่า กระแสชาตินิยมในครั้งนี้ จุดติดหรอมแหรม โดยครั้งนี้ จุดติดไม่เท่ากับสองปีก่อน เห็นได้จากสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ยกเว้นสื่อที่เป็นกระบอกเสียง ทำให้เป็นแรงดึงชาตินิยมครั้งนี้ไม่ได้จุดติดเป็นอย่างนั้น และครั้งนี้กระแสชาตินิยม ยังไม่ได้ไปอย่างหน้ามืดตามัว


สมชายกล่าวด้วยว่า มีข้อพิจารณาบางประการในแง่หนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ปัญหาเขาพระวิหาร เป็นการปะทะกันของชาตินิยม เขมร และก็ไทย ซ้ำเติมให้เกิดการเมืองภายในประเทศไทย รวมทั้งการเมืองของเขมรด้วย

ไชยันต์ชี้ยังมีไพ่ตัวสุดท้ายพัวพันชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยังไม่เปิด


ส่วนไชยันต์ รัชชกูล กล่าวว่า กลัวมากเลยกับคำทำนายว่าการมองไปข้างหน้าของผมผิด เหมือนกับที่ผมทำนายผิดมาแล้ว กรณีที่สนธิ ลิ้มทองกุล ชุมนุมที่สวนลุมพินี (ปี 2548) เคยประเมินว่าไม่มีน้ำยา และรัฐประหารเป็นไปไม่ได้ ผมก็คาดผิด ดังนั้น ในสิ่งที่ผมคิด ก็ขอให้ผิดแล้วกัน


โดยการวิเคราะห์ทางการเมืองจริงๆ แล้ว เรามีข้อมูลน้อย โดยไชยันต์เสนอว่ายังมี ไพ่ ตัวสุดท้ายยังไม่เปิด เพื่อดูว่าเป็นใครที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุม ไล่ดูตั้งแต่คนเจ็ดคนถูกจับที่เขมร ปล่อยแล้วจนเหลือสองคน ก็ยังโวยวายอีก ซึ่งถามว่า พันธมิตรฯ จะเลิกชุมนุมไหม ถ้าเลิกเอ็มโอยู เขาจะเลิกชุมนุมไหม? เมื่อสมมติว่าพันธมิตรเจรจากับรัฐบาลในเรื่องเขาพระวิหารแล้ว พันธมิตรจะเลิกไหม แสดงว่ายังมีอะไรมากกว่านี้ ขอให้ลองอ่านหนังสือพิมพ์กันดีๆ

จับตาการเดินหมากสร้างศัตรูเรากับเขาจากข้อหา คอมมิวนิสต์ถึง คนไทยหัวใจเขมร


ไชยันต์ กล่าวต่อว่า ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่จำลอง เขายังมีตัวเปิด ตัวปิด แยบยลของหมากรุกก็ยังอยู่ และประเด็นเครื่องมือทางการเมือง และกรณีที่มีวาระซ่อนเร้น ก็ยังไม่หมดเลย ก็เคยเห็นว่า ไพ่ตัวสุดท้ายยังไม่หมด ซึ่งประเด็นนี้คืออะไร คือประเด็นที่ทำไห้เกิดความขัดแย้ง คือมี เรากับเขาสมัย 6 ตุลา ก็มีการกล่าวหาว่าเป็น พวกคอมมิวนิสต์แต่สมัยนี้มี พวกรักชาติ กับ ไม่รักชาติโจมตีพวกสีแดงเป็นพวก คนไทยหัวใจเขมรคือเขามีวิธีการสร้างศัตรูขึ้นมา


ไชยันต์ยังเชื่อว่าสถานการณ์ในช่วงนี้ รายการนี้เล่นกันภายใน และมี hidden agenda” ซึ่งขอย้ำว่า อันตรายอย่างใหญ่หลวง และจะทำให้เหตุการณ์ 19 พฤษภา (2553) เป็นของเด็กเล่น และประเด็นที่ซ่อนอยู่ยังไม่หมดลง


แต่ผมอยากให้สิ่งที่ผมคิดนี้เป็นการคิดผิดด้วย เพราะว่าครั้งนี้เป็นครั้งอันตราย และศึกนี้ใหญ่หลวงหนัก ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มันจะจบอย่างนี้หรือ ซึ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดมาต่อเนื่องกัน อย่างอื่นๆ ก็เหมือนกัน สิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นตรรกะที่เดินไปทางนั้น ซึ่งมีข้อมูล และส่วนที่เราต้องเดาเยอะ เพราะเราไม่มีข้อมูล เป็นตัวจิ๊กซอว์ และอันตรายมากในอนาคตในระยะเวลาอันสั้นนี้ จะเกิดเสียหายใหญ่หลวง ซึ่งผมไม่อยากพูดแบบฉลาดหลังเหตุการณ์ ขอให้พยายามที่จะกระจายข้อมูล จัดการอภิปรายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายที่จะมา อาจจะเป็นแรงเล็กๆ ให้ข้ามได้ในช่วงเฉพาะที่เกิดขึ้น

ความขัดแย้งรอบนี้ กระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ


นรุตม์ เจริญศรี กล่าวถึงการเขียนบทความของเขาเรื่องปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา (อ่านบทความย้อนหลัง) ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างผลกระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งโครงการจีเอ็มเอส ในเรื่องการพัฒนาแม่น้ำโขงจากเรื่องคมนาคมขนส่ง ปัญหาไทย-กัมพูชา เป็นตัวกระทำให้เกิดผลกระทบด้านการขยายความร่วมมือที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย รัฐบาลทักษิณ แล้วปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา ยังส่งผลกระทบต่อการค้าด้วย


เขายังกล่าวด้วยว่า ประเด็นต่อไปในอนาคต เรื่องความร่วมมือทวิภาคี กับพหุภาคี ที่มีคำอธิบายเช่นนี้ใช้ในประเทศอื่นๆ แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำเหล่านี้ใช้ไม่ได้ผล ส่วนในภูมิภาคอื่น ใช้ได้ผลมาก แล้วรูปแบบการเผชิญความขัดแย้ง


ทั้งนี้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา นอกจากส่งผลกระทบกับไทยถึงกัมพูชา และกับอาเซียน ในอนาคตจึงต้องละทิ้งเรื่องการเมือง ไม่อยากให้มองว่าเป็นการเมืองภายในทั้งสองประเทศ และไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องชาตินิยม


http://prachatai.com/journal/2011/02/33100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น